You are on page 1of 10

วันแรก

วินาทีที่ลูกคลอดออกมาเป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่คุณสุดแสนจะเหนื่อยที่สุดด้วย
หากคุณทราบถึงวิธีการให้นมบุตรที่ถูกต้องจะช่วยให้วันแรกของคุณง่ายขึ้น
หลังคลอด
เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มให้นมบุตรคือ การให้นมบุตรทันทีหลังคลอด  โดยปกติลูกน้อยของคุณจะตื่นตัวมากหลังคลอด 
และเมื่อวางลูกน้อยบนหน้าอกของคุณ ลูกอาจเคลื่อนตัวไปที่เต้านมและเริ่มดูดนมได้เอง อย่ากังวลว่าคุณไม่สามารถให้นม
ลูกได้ทันทีหลังคลอด เด็กแรกคลอดส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาแม้ว่าน้ำ�นมของคุณจะมาช้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจะ
ช่วยแนะนำ�เกี่ยวกับวิธีการผลิตและรักษาปริมาณน้ำ�นมจนกว่าคุณจะให้นมแก่ลูกได้

การสัมผัสผิวหนังต่อผิวหนัง (การเลี้ยงดูแบบแม่จิงโจ้)
ให้พยาบาลวางลูกลงบนเต้านมของคุณ ใช้ผ้าห่มคลุมตัวคุณและลูกไว้ด้วยกัน กอดลูกไว้ในอ้อมอกอย่างอบอุ่น ปล่อย
ให้ลูกดูดนมอย่างน้อย 30 นาที หรือจนกว่าลูกจะเลิกดูดนมเอง การสัมผัสผิวหนังต่อผิวหนังกับลูกน้อยหลังคลอด
มีประโยชน์กับลูกดังต่อไปนี้:
… คุณกับลูกน้อยจะรู้จักกันมากขึ้น
… ลูกสามารถรับรู้การเต้นของหัวใจของคุณได้
… การที่ลูกได้อยู่ใกล้แม่ คือ สถานที่ที่ดีที่สุดสำ�หรับลูกเมื่อต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่
… อุณหภูมิผิวหนังคงที่ อัตราการเต้นหัวใจคงที่ และความดันเลือดคงที่ ลูกจะร้องไห้น้อยลง

น้ำ�นมหลังคลอด
หลังจากคลอดลูกประมาณ 3 – 4 วัน เต้านมของคุณจะเริ่มสร้างน้ำ�นมที่เรียกว่า น้ำ�นมแรกหลังคลอด (colostrum) ซึ่ง
จะมีความเข้มข้นมากกว่าน้ำ�นมแม่ปกติ น้ำ�นมแรกหลังคลอดจะมีสีออกเหลืองทอง และอุดมสมบูรณ์ด้วยสารอาหาร
ครบถ้วนทีล่ กู น้อยต้องการในช่วงสองสามวันแรกในปริมาณทีเ่ หมาะสม และมีสารกระตุน้ ภูมคิ มุ้ กันเพือ่ ป้องกันการติดเชือ้
ดังนั้น คุณแม่ควรให้นมลูกน้อยทันทีที่ทำ�ได้ อย่ากังวลหากลูกน้อยได้รับน้ำ�นมเพียงเล็กน้อยในระหว่างการดูดนมครั้งแรก 
ก่อนที่เต้านมของคุณจะผลิตน้ำ�นมมากขึ้น (โดยปกติในวันที่ 3 หรือ 4) ลูกของคุณจะได้รับน้ำ�นมหลังคลอดเพียงเล็กน้อย
จากเต้านมของคุณ การได้รบั น้�ำ นมเพียงหนึง่ ช้อนชา หรือหนึง่ ช้อนโต๊ะทุกครัง้ ทีล่ กู ดูดนมจากเต้านมของคุณปริมาณเล็กน้อย
เพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำ�หรับการเลี้ยงลูกของคุณแล้ว

ไปที่หน้าถัดไป »
ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

รับประกันคุณภาพข้อมูลโดย:
พยาบาลและทีป่ รึกษาการให้นมบุตรให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชัว่ โมง ทุกวัน
โทรติดต่อ Feeding Expert ทีห่ มายเลข: 1-800-986-8800
o เคล็ดลับและเทคนิคในการให้นมบุตร: วันแรก

ความถี่ในการให้นม
ให้นมบ่อยๆ ทุก 1 – 3 ชั่วโมง ในช่วงสองสามวันแรก (นับตั้งแต่เริ่มการให้นมไปจนถึงการให้นมครั้งถัดไปเพื่อ) :
… ช่วยสร้างน้ำ�นมที่ดีและปริมาณที่เพียงพอ
… ให้ลูกได้รับสารอาหาร ภูมิคุ้มกัน และมีประโยชน์ด้านสุขภาพอื่นๆ
… ช่วยลูกถ่ายอุจจาระครั้งแรกออก (ขี้เทา)
… ช่วยลดการคัดเต้านมเมื่อเต้านมผลิตน้ำ�นมเต็มเต้า
… ฝึกหัดให้นมลูกและขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ และก่อนเต้านมจะผลิตน้ำ�นมจนเต็มเต้า

การเริ่มต้น
การที่คุณจะให้นมลูกได้อย่างประสบความสำ�เร็จ คุณต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสมโดยให้เต้านมและปากของลูกอยู่ตรงกัน 
ท่าให้นมที่ดีต้องให้ลูกสามารถงับเต้านมของแม่ได้เต็มปาก ใช้หมอนรองลำ�ตัวลูกของคุณ ให้นมลูกบ่อยๆ เพื่อให้เต้านม
ของแม่ผลิตปริมาณน้ำ�นมที่เพียงพอ คุณอาจต้องลองหลายครั้งเพื่อให้ลูกงับเต้านม ถ้าลูกไม่สามารถงับเต้านมอย่างถูกวิธี 
ควรเริ่มต้นใหม่ และถ้าการให้นมครั้งแรกยังไม่สมบูรณ์ ลองพักผ่อนก่อน คุณและลูกยังใหม่ต่อวิธีการเหล่านี้ กรุณาอดทน 
ลองอีกครั้งในอีก 30 นาที ขอความช่วยเหลือ และโปรดรำ�ลึกว่าคุณต้องนอนงีบหลับขณะที่ลูกหลับ

หลังการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง 
การให้นมลูกเร็วที่สุดและบ่อยที่สุดมีประโยชน์มากทั้งกับคุณและลูกหลังการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง เมื่อลูกดูดนม 
ช่วยให้มดลูกของมารดากลับเข้าสู่สภาพเดียวกับก่อนตั้งครรภ์ และฟื้นฟูให้คุณแม่กลับสู่สภาวะร่างกายปกติได้รวดเร็วขึ้น 
การให้นมลูกจะช่วยให้คุณกับลูกมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยเฉพาะสำ�คัญอย่างยิ่ง หากคุณถูกแยกจากลูกหลังคลอดหรือ
หากการคลอดมีความผิดปกติ

ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ °
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

©2011 Abbott Laboratories Inc. ม.ค. 2554 73150 Thai – The First Days
ท่าอุ้มขณะให้นมบุตร
ท่าอุ้มขณะให้นมบุตร
ท่าอุ้มแบบศีรษะของลูกอยู่บนข้อพับแขน | ท่าอุ้มแบบท่าเฉียงแนบลำ�ตัว | ท่าอุ้มลูกแบบฟุตบอล | ท่าให้นมลูกในท่านอน
ท่าอุ้มขณะให้นมบุตร
ขณะให้นมบุตร คุณจะต้องหาตำ�แหน่งหรือท่าที่สะดวกสบายที่สุดสำ�หรับทั้งคุณและลูก ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำ�
ให้มารดาเปลี่ยนท่าขณะให้นมบุตร วิธีการนี้ลูกของคุณจะไม่ดูดและกดที่จุดเดียวทุกครั้ง ลองใช้ท่าต่อไปนี้และดูว่าท่าใด
เหมาะกับคุณที่สุด

ท่าอุ้มแบบศีรษะของลูกอยู่บนข้อพับแขน
…น
 ั่งบนเก้าอี้ที่นั่งสบายมีที่พักแขน และหมอนหนุนหลัง — อย่าโน้มตัวมาทับลูก ใช้หมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่ม
อื่นๆ พันเป็นม้วนรองแขนของคุณและอุ้มลูกให้สูงถึงระดับเต้านม มารดาบางคนอาจใช้เก้าอี้รองขาเพื่อให้อยู่ในระดับ
เดียวกับตะโพก
…ป  ระคองตัวให้ลูกหันหน้าเข้าหาคุณและให้ลูกแนบชิดกับท้องของแม่ โดยให้ท้องของลูกแนบกับท้องของแม่ หันหน้า
ลูกเข้าหาคุณ และเข่าชิด 
… ว างศีรษะของลูกบนข้อศอกโดยให้ปากของลูกอยู่ที่ด้านหน้าของหัวนม และให้แขนล่างของลูกน้อยกอดเอวของแม่ไว้
… อ ุ้มลูกขึ้นให้ถึงระดับเต้านมเมื่อลูกอ้าปาก ให้ลูกงับเต้านมโดยให้จมูก แก้ม และคางทุกส่วนสัมผัสกับเต้านมของคุณ

ท่าอุ้มแบบท่าเฉียงแนบลำ�ตัว
ท่าอุ้มนี้ดีสำ�หรับแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการอุ้มลูกและลูกตัวเล็กหรือคลอดก่อนกำ�หนด คุณจะมองเห็นการดูดนมของลูก
ได้ถนัดกว่าท่าอุ้มแบบศีรษะอยู่บนข้อพับแขน
สำ�หรับท่านี้ นั่งในท่าที่สบายมีหมอนหนุนหลัง พิงไปข้างหลังเล็กน้อยเพื่อไม่ให้คุณโน้มตัวทับลูกของคุณ
… อุ้มลูกให้แนบชิดลำ�ตัวของคุณ โดยอุ้มลูกให้อยู่ในแขนด้านตรงข้ามกับเต้านมที่จะให้ลูกดูดนม ใช้มือด้านเดียวกัน
ประคองคอ และศีรษะของลูกโดยให้ลำ�ตัวของลูกวางอยู่บนแขนของคุณ
… ร องรับเต้านมด้วยมืออีกข้างหนึ่งด้านเดียวกับเต้านมที่ให้นม
… ใ ห้ปากลูกอยู่ที่ระดับหัวนมของคุณ และลำ�ตัวของลูกน้อยอยู่ด้านข้างและหันหน้าเข้าหาคุณ
… อมุ้ ลูกขึน้ ให้ถงึ ระดับเต้านมเมือ่ ลูกน้อยอ้าปาก ให้ลกู งับเต้านมโดยให้จมูก แก้ม และคางทุกส่วนสัมผัสกับเต้านมของคุณ

ไปที่หน้าถัดไป »
ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

รับประกันคุณภาพข้อมูลโดย:
พยาบาลและทีป่ รึกษาการให้นมบุตรให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชัว่ โมง ทุกวัน
โทรติดต่อ Feeding Expert ทีห่ มายเลข: 1-800-986-8800
o เคล็ดลับและเทคนิคในการให้นมบุตร: ท่าอุม้ ขณะให้นมบุตร

ท่าอุ้มลูกแบบฟุตบอล
ท่านี้ดีสำ�หรับมารดาที่มีเต้านมขนาดใหญ่ สำ�หรับมารดาที่ได้รับการผ่าเพื่อเอาเด็กออกทางหน้าท้องที่มีปัญหาในการอุ้มลูก 
หรือมารดาที่มีลูกตัวเล็ก หรือคลอดก่อนกำ�หนด 
ท่าอุม้ นีช้ ว่ ยให้คณ ุ ปล่อยมือเป็นอิสระหรือให้คณ ุ สามารถให้นมบุตรสองคนพร้อมกันได้ ประโยชน์ของท่านีค้ อื  คุณสามารถ
เห็นลูกน้อยของคุณดูดนมได้อย่างชัดเจน
… นั่งบนเก้าอี้ที่นั่งสบายที่มีที่รองแขนและหลัง — อย่าโน้มตัวทับลูก ใช้หมอนหรือผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่มอื่นๆ
พันเป็นม้วน สำ�หรับหนุนแขนของคุณ
… ใช้หมอนหรือผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่มอื่นๆ พันเป็นม้วนที่ด้านข้างเพื่อรองรับข้อศอกของคุณ และก้นของลูก 
… วางศีรษะของลูกให้อยูใ่ นฝ่ามือของคุณ และอยูใ่ นระดับเต้านม ประคองลูกของคุณเข้าทีด่ า้ นข้างเอว ประคองกอดลูกไว้
ใต้แขน
… ใช้นวิ้ หัวแม่มอื และนิว้ ชีร้ องศีรษะของลูกไว้ ใช้ผา้ ห่มนุม ่ รองระหว่างมือของคุณกับศีรษะของลูกหากคุณคิดว่าลูกอาจ
รู้สึกไม่สบายตัว
… อุม้ ลูกขึน ้ ให้ถงึ ระดับเต้านมเมือ่ ลูกน้อยอ้าปาก ให้ลกู งับเต้านมโดยให้จมูก แก้ม และคางทุกส่วนสัมผัสกับเต้านมของคุณ 
ถ้าลูกของคุณมีปญ ั หาเกีย่ วกับลมในท้อง คณ ุ อาจเปลีย่ นท่าอุม้ นีโ้ ดยให้ลกู นัง่ ตัวตรงเล็กน้อย เพือ่ ให้มชี อ่ งว่างสำ�หรับไล่
ลมออกจากท้องของลูก

ท่าให้นมลูกในท่านอน
ท่านี้ดีสำ�หรับการให้นมลูกในตอนกลางคืนและเมื่อคุณไม่สะดวกที่จะนั่งให้นมลูก
… นอนตะแคง ใช้หมอนรองศีรษะและคอของคุณ และหมอนอีกใบหนุนหลังของคุณถ้าต้องการ หรือนอนตะแคงโดยให้
แขนข้างหนึ่งรองไว้ใต้ศีรษะของคุณและแขนอีกข้างหนึ่งรองเต้านม 
… วางลูกให้นอนข้างคุณบนเตียง ให้ปากลูกอยู่ตรงข้ามกับหัวนมและวางผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่มที่พันเป็นม้วน
เล็กๆ รองด้านหลังของลูก ใช้นิ้วแม่มือและนิ้วชี้รองศีรษะของลูกไว้
… อุม
้ ลูกขึน้ ให้ถงึ ระดับเต้านมเมือ่ ลูกน้อยอ้าปาก ให้ลกู งับเต้านมโดยให้จมูก แก้ม และคางทุกส่วนสัมผัสกับเต้านมของคุณ
… ถ้าต้องการสลับข้างเต้านม ให้อุ้มลูกแนบชิดกับลำ�ตัวของคุณและพลิกตะแคงอีกข้างหนึ่ง
ไม่ว่าคุณจะเลือกท่าอุ้มให้นมลูกในท่าใดก็ตาม สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือ ปากของลูกจะต้องอยู่ระดับเดียวกับหัวนมของ
คุณ ศีรษะของลูกควรอยู่ในแนวตรงกับสะดือของลูก หันหน้าเข้าหาคุณ และไม่พลิกไปอีกด้านหนึ่ง โปรดรำ�ลึกว่าถ้าศีรษะ
ของลูกพลิกไปอีกด้านหนึ่ง ลูกจะกลืนนมได้ยาก (ลองทดสอบด้วยตัวคุณเอง: พลิกศีรษะและกลืน แล้วหันไปด้านหน้าและกลืนอีก
ครั้ง สังเกตดูความแตกต่าง) นอกจากนี้ถ้าศีรษะของลูกพลิก ลูกจะงับหัวนมและได้รับนมเข้าในปากได้ยากขึ้น 

ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ °
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

©2011 Abbott Laboratories Inc. ม.ค. 2554 73153 Thai – Positions


ข้อมูลเบือ้ งต้น
เมื่อกล่าวถึงการให้นมบุตร
นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดและมีประโยชน์สูงสุดสำ�หรับลูกมากกว่าสารอาหารชนิดใดๆ
นมแม่:
… อุดมด้วยสารอาหารครบถ้วนที่ช่วยให้ลูกของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อ และอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในวัยระยะแรกเริ่ม
… สะดวก พร้อมให้ลูกดื่มได้ตลอดเวลาและอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
… ช่วยให้มดลูกของมารดากลับเข้าสู่สภาพเดียวกับก่อนตั้งครรภ์
… ลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งในเต้านมสำ�หรับมารดา
… ประหยัดเงิน

การเรียนรู้การให้นมบุตร
หญิงมีครรภ์หลายคนสนใจอยากรู้ว่าพวกเธอจะประสบความสำ�เร็จในการให้นมลูกหรือไม่ และเธอจะมีปริมาณนม
เพียงพอสำ�หรับลูกหรือไม่ สำ�หรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ คุณจะต้องเรียนรู้ให้มาก
ที่สุด และขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการได้จากแพทย์ หญิงผดุงครรภ์ พยาบาลเวชปฏิบัติ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแล
สุขภาพอื่นๆ ที่ปรึกษาการให้นมบุตร และหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตลอดจนโปรแกรมการเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่ในทีท่ �ำ งาน ซึง่ จะคอยสนับสนุนให้คณ ุ สามารถให้นมบุตรได้นานทีส่ ดุ
เคล็ดลับต่อไปนีช้ ว่ ยให้คณ
ุ เตรียมพร้อมสำ�หรับการให้นมบุตร และตอบคำ�ถามบางอย่างที่คุณอาจมี

พักผ่อนเพื่อการเริ่มต้นที่ดีหลังคลอด
… นอนพักผ่อน: นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่ทำ�ได้ ให้เวลาร่างกายได้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติ อย่าพยายามทำ�สิ่งต่างๆ มาก
เกินไป ควรหาเวลานอนพักอย่างน้อยงีบหนึ่งเป็นประจำ�ทุกวัน นอนหลับเมื่อลูกหลับ ทำ�จิตใจให้เบิกบานเมื่อมีแขกมา
เยี่ยมเยียน แต่โปรดรำ�ลึกว่าคุณต้องการการพักผ่อนที่มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ในช่วงสองสัปดาห์แรกหลังคลอด
… ตารางเวลาให้นมบุตร: ให้นมลูกของคุณทุกๆ 1 – 3 ชั่วโมงในช่วงสองวันแรก (นับจากเวลาเริ่มให้นมลูกไปจนถึงเวลา
เริ่มให้นมลูกในครั้งถัดไป) วิธีนี้จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำ�นมมากขึ้น และเพื่อลดหรือป้องกันอาการคัด
เต้านมเมื่อน้ำ�นมไหล
… สถานที่: จัดตำ�แหน่งให้ลูกนอนแนบตัวของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนที่บ่อยครั้งเกินไป นอกจากนี้ ควรจัดวาง
ผ้าอ้อมเด็ก ของใช้เด็ก น้ำ�หรือน้ำ�ผลไม้แช่เย็น และขนมขบเขี้ยวให้อยู่ใกล้มือ มารดาบางคนอาจชอบจิบน้ำ�เย็นหรือ
น้ำ�ผลไม้ขณะให้นมลูก โดยที่มารดาคนอื่นๆ อาจชอบฟังเพลงเย็นๆ หรืออาจชอบทำ�ทั้งสองอย่างก็ได้

ไปที่หน้าถัดไป »
ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

รับประกันคุณภาพข้อมูลโดย:
พยาบาลและทีป่ รึกษาการให้นมบุตรให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชัว่ โมง ทุกวัน
โทรติดต่อ Feeding Expert ทีห่ มายเลข: 1-800-986-8800
o เคล็ดลับและเทคนิคในการให้นมบุตร: ข้อมูลเบือ้ งต้น

… ความสะดวกสบาย: ทั้งคุณและลูกน้อยควรอยู่ในท่าที่สบายที่สุดขณะให้นมลูก ด้วยการใช้หมอนหรือที่เท้าแขน
รองรับน้ำ�หนักตัวของลูก มารดาบางคนนำ�ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือผ้านุ่มๆ มาม้วนแทนหมอน ส่วนมารดาคนอื่นๆ 
อาจรู้สึกว่าถ้ามีบางสิ่งรองใต้เท้าขณะให้นมลูกจะช่วยรองรับลูกน้อยได้ดีกว่าการอุ้มลูกน้อยนอน “บนตัก”
… การขอความช่วยเหลือขณะให้นมบุตร: ขอให้ผู้อื่นช่วยจัดวางตำ�แหน่งลูกของคุณและจัดท่าให้ลูกดื่มนม โดยเฉพาะ
เมื่อคุณให้นมลูกเป็นครั้งแรก มารดาหลายคนได้รับความช่วยเหลือจากผู้ฝึกสอนการให้นมบุตร ซึ่งเป็นผู้ที่ทราบถึง
ทักษะการให้นมบุตรอย่างถูกวิธี เช่น ที่ปรึกษาการให้นมบุตร กุมารแพทย์ หรือพยาบาลเวชปฏิบัติ ขอความช่วยเหลือ
ทุกครั้งที่คุณต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้นมบุตร หรือเมื่อรู้สึกเจ็บในระหว่างให้นมบุตร
… เครือข่ายการสนับสนุน: หลังจากที่คุณคลอดบุตรแล้ว ทุกคนที่อยู่รอบข้างอยากให้ความช่วยคุณในทุกๆ ด้าน 
ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นจนกว่าแพทย์จะบอกคุณว่า คุณสามารถทำ�กิจวัตรประจำ�วันได้ตามปกติ ขอให้ครอบครัว 
เพื่อน และเพื่อนบ้านช่วยจัดเตรียม หรือซื้ออาหารให้ ช่วยทำ�ความสะอาด ซักผ้า ล้างจาน หรือทำ�งานบ้านอื่นๆ 
ช่วยดูแลลูกคนโต และทำ�ธุระอื่นๆ แทน โปรดรำ�ลึกว่าการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเป็นเรื่องปกติที่ทำ�ได้และควรทำ�
… การรับประทานยา วิตามิน และยาบำ�รุงอื่นๆ: ปรึกษาแพทย์ หญิงผดุงครรภ์ หรือที่ปรึกษาการให้นมบุตร หากคุณ
จำ�เป็นต้องรับประทานยา วิตามิน หรือสมุนไพรเสริม แม้เพียงเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะหรือเป็นไข้เล็กน้อยที่ไม่มี
ใบสั่งยา เนื่องจากยาส่วนใหญ่อาจถูกดูดซึมเข้าในน้ำ�นมแม่ แม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการดื่ม
แอลกอฮอล์และจำ�กัดปริมาณคาเฟอีนในร่างกาย
… การควบคุมอาหารของมารดา: นมแม่คือสิ่งเดียวที่ลูกต้องการในช่วง 4 ถึง 6 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม คุณจำ�เป็นต้อง
ควบคุมการรับประทานอาหารให้มีความสมดุลเป็นอย่างดี โปรดรำ�ลึกว่าทุกสิ่งที่คุณรับประทานหรือดื่มมีผลต่อตัว
คุณและบุตร ในระหว่างการให้นมบุตร จะต้องแน่ใจว่าคุณต้องบริโภคให้ร่างกายได้รับแคลอรีมากกว่าก่อนการตั้ง
ครรภ์ (สำ�หรับผู้หญิงส่วนใหญ่ ปริมาณแคลอรีที่ได้รับต่อวันคือ 2500 แคลอรี) เพิ่มอีกอย่างน้อยวันละ 500 แคลอรี 
รับประทานแคลเซียมบำ�รุงและดื่มน้ำ�อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
… การสวมใส่เสื้อยกทรงสำ�หรับการให้นมบุตรและแผ่นซับน้ำ�นม: เลือกเสื้อยกทรงสำ�หรับการให้นมบุตรที่ใส่สบาย
พอดีตัว รองรับทรงแต่ไม่คับเกินไป และไม่รัดทรวงอกหรือหลังของคุณมากเกินไป ใช้ซับในที่ทำ�จากวัสดุผ้าฝ้ายจะ
ดีกว่าวัสดุใยสังเคราะห์ เนื่องจากจะถ่ายเทอากาศรอบหัวนมได้ดีกว่า บางครั้งควรนำ�แผ่นซับน้ำ�นมติดตัวไปด้วย
และสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถให้นมลูกได้ง่าย (เช่น เสื้อเชิ้ตปลดกระดุม หรือเสื้อแบบเปิดขึ้น)

ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ °
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

©2011 Abbott Laboratories Inc. ม.ค. 2554 73149 Thai – The Basics
การให้ลกู น้อยดูดนมแม่
การเรียนรู้เรื่องการให้นมบุตร ทั้งคุณและลูกน้อยต้องใช้เวลาและต้องฝึกฝน การให้ลูกน้อยดูดนมอย่างถูกต้องนั้น
นับเป็นขั้นตอนที่มีความสำ�คัญต่อความสำ�เร็จในการให้นมบุตร
การจัดท่าทารก
จัดให้หน้าและลำ�ตัวของลูกน้อยหันเข้าหาคุณโดยให้ศรี ษะของลูกน้อยอยูใ่ นระดับเดียวกับหน้าอกของคุณ หากคุณสามารถ
วาดเส้นตรงจากไหล่ไปยังตะโพกของลูกน้อยได้ แสดงว่าคุณอุม้ ลูกอยูใ่ นท่าทีถ่ กู ต้องแล้ว จะต้องแน่ใจว่าทัง้ คุณและลูกน้อย
อยู่ในท่าที่สบายที่สุด ใช้หมอนหรือเก้าอี้แบบมีที่เท้าแขนรองรับน้ำ�หนักของลูก 

การจัดตำ�แหน่งเต้านม
ค่อยๆ ยกและใช้นิ้วของคุณรองรับไว้ที่ด้านล่างของเต้านมและให้นิ้วหัวแม่มือของคุณอยู่ด้านบนสุดของเต้านม ห่าง
จากฐานหัวนม (วงปานนมรอบๆ หัวนม) พอสมควร ให้ใช้มือช้อนเต้านมโดยทำ�มือเป็นรูปตัว “C” หรือ “U” ระวังไม่ให้
นิ้วมือที่อยู่ใต้เต้านมสัมผัสกับฐานหัวนม

การป้อนนม 
ค่อยๆ ใช้หัวนมคลึงไปมาเบาๆ บนริมฝีปากล่างหรือแก้มของลูกน้อยโดยให้หัวนมชี้ลงหรือใช้นิ้วของคุณแทน จนกระทั่ง
ลูกน้อยอ้าปากกว้าง หากลูกน้อยยังอ้าปากไม่กว้างพอ ให้ทำ�ซ้ำ�จนกระทั่งเด็กอ้าปากกว้างพอ จากนั้นรีบดึงลูกน้อยเข้ามา
ให้แนบกับหน้าอกของคุณ เพื่อให้จมูก แก้ม และคางของลูกสัมผัสกับเต้านมของคุณเพียงเล็กน้อย หากจมูกของลูกถูก
ปิดกั้น ให้ยกก้นของลูกขึ้น ในลักษณะเข้าหาตัวคุณแม่ เพื่อที่ศีรษะของลูกน้อยจะได้เคลื่อนห่างออกไปทางด้านหลัง
เล็กน้อย
ลูกน้อยของคุณจำ�เป็นต้องดูดมากกว่าส่วนที่เป็นหัวนม เด็กจำ�เป็นต้องอมฐานหัวนมอย่างน้อย 2.5 ซม. (1 นิ้ว) โดยที่
ปากมีตำ�แหน่งอยู่เหนือส่วนเก็บน้ำ�นม ซึ่งอยู่ที่ด้านหลังหัวนมเป็นระยะ 2.5 – 4 ซม. (1 – 1½ นิ้ว) เมื่ออยู่ในลักษณะนี้ 
ลูกน้อยจะได้รับนมมากที่สุดและคุณจะมีโอกาสที่หัวนมเจ็บน้อยลง
เมื่อป้อนนมให้ลูกน้อยครั้งแรก คุณจะเกิดความรู้สึกเหมือนถูกดึง ควรคอยฟังเสียงการกลืนนมของลูก หากได้ยินเสียง
เดาะลิ้น (ลิ้นของลูกที่กระทำ�กับเพดานปาก) อาจหมายความว่า ลูกน้อยไม่ได้อยู่ในท่าดูดนมคุณแม่อย่างเหมาะสม 
สัญญาณอื่นๆ ที่แสดงถึงการดูดนมที่ไม่เหมาะสมคือ

ไปที่หน้าถัดไป »
ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

รับประกันคุณภาพข้อมูลโดย:
พยาบาลและทีป่ รึกษาการให้นมบุตรให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชัว่ โมง ทุกวัน
โทรติดต่อ Feeding Expert ทีห่ มายเลข: 1-800-986-8800
o เคล็ดลับและเทคนิคในการให้นมบุตร: การให้ลกู น้อยดูดนมแม่

การที่หัวนมเจ็บหรือหัวนมบีบ

การสลับข้างเต้านมในการให้นม 
การสลับข้างเต้านมข้างที่เริ่มให้นม เพราะลูกน้อยของคุณดูดนมได้อย่างมีประสิทธิผลในข้างที่ดูดครั้งแรก ถ้าลูกน้อย
ของคุณ ไม่ได้ดูดนมจากข้างที่สอง หรือไม่ได้ดูดนมข้างที่สองจนหมด ในครั้งต่อไปให้เริ่มให้นมด้วยข้างนั้นก่อน

การถอนหัวนมออกจากปากลูกน้อย
หากจำ�เป็นต้องจัดท่าให้ลูกน้อยใหม่ในระหว่างการให้นมหรือเพื่อให้ลูกน้อยดูดนมคุณแม่ได้ดียิ่งขึ้น ให้ค่อยๆ เลื่อน
นิ้วใดนิ้วหนึ่งของคุณ เข้าไปข้างในมุมปากของลูกน้อยเพื่อยับยั้งการดูดนม อันนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้หัวนม หรือฐาน
หัวนมเกิดการบาดเจ็บ อย่ารู้สึกท้อถอยง่ายๆ ในตอนเริ่มแรกอาจต้องพยายามหลายครั้งเพื่อให้ลูกน้อยดูดนมได้อย่าง
ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีอีกสองวิธีในการหยุดการดูดนมของลูกน้อยซึ่งได้แก่ ค่อยๆ ดึงคางของลูกน้อยลงมา หรือ
กดส่วนของเต้านมที่อยู่ใกล้กับปากของลูกน้อยให้มากที่สุด

ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ °
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

©2011 Abbott Laboratories Inc. ม.ค. 2554 73152 Thai – Latching On


สัปดาห์แรก
การให้นมแม่เป็นทางเลือกธรรมชาติสำ�หรับทั้งคุณและลูกของคุณ อีกทั้งช่วยเพิ่มความผูกพันระหว่างแม่กับลูก
อย่างน่ามหัศจรรย์ รวมทั้งมีประโยชน์มากมายสำ�หรับทั้งคุณและลูก
ความถี่ในการให้นม
เมื่อลูกของคุณเติบโตขึ้น นมจากเต้านมของแม่ก็จะอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย หลังจากคลอดลูก น้ำ�นมแรกที่ผลิตจาก
เต้านมเรียกว่า น้ำ�นมหลังแรกคลอด (colostrum) น้ำ�นมหลังแรกคลอดนี้จะมีสีออกเหลืองทองอุดมสมบูรณ์ด้วยสาร
กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนที่สุดสำ�หรับทารกแรกเกิด ภายในสองสามวัน น้ำ�นมหลังแรกคลอด 
(colostrum) จะถูกแทนทีด ่ ว้ ยน้�ำ นมแม่ปกติ ความถีใ่ นการให้นมแม่จะช่วยคลายความคัดตึงเมือ่ คุณรูส้ กึ ว่ามีน�ำ้ นมแรก
หลังคลอดนี้เต็มเต้านม 
มารดาทุกคนอยากทราบว่าควรให้นมลูกบ่อยครั้งเพียงใดและการให้นมแต่ละครั้งต้องใช้เวลาเท่าใด ต่อไปนี้ข้อควรรู้
สำ�หรับคุณ:
… ลูกของคุณต้องการดื่มนมแม่ทุกๆ 1 – 3 ชั่วโมง อย่างน้อยวันละ 9 – 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ครั้งละอย่างน้อย 10 นาที
หรือมากกว่า
… ไม่แนะนำ�ให้คุณให้นมลูกนานเกินกว่า 30 นาทีเนื่องจากอาจทำ�ให้คุณเจ็บหัวนมได้
… ให้ลูกเป็นผู้กำ�หนดระยะเวลาการให้นม อย่ากำ�หนดการให้นมด้วยเวลาตามนาฬิกา

ปริมาณน้ำ�นมของแม่และความต้องการน้ำ�นมของลูก
การผลิตน้ำ�นมจากเต้านมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำ�นมของลูกและปริมาณการผลิตน้ำ�นมของแม่ ยิ่งคุณ
ให้นมลูกมาก น้ำ�นมของแม่ก็จะผลิตมากขึ้น เมื่อคุณลดความถี่ในการให้นมหรือลดระยะเวลาการให้นม น้ำ�นมจากเต้านม
ก็จะลดปริมาณการผลิตลง ทำ�ตามข้อเสนอแนะต่อไปนี้:
… ให้ลูกดูดนมจากเต้านมข้างใดข้างหนึ่งจนหมดเต้าในระหว่างการให้นมลูกแต่ละครั้ง
… ให้ลูกดูดนมจากเต้านมอีกข้างหนึ่งหลังจากลูกดูดนมจากเต้านมข้างแรกจนหมดเต้าแล้ว 
… ถ้าลูกไม่ดูดนมจากเต้านมข้างที่สองหรือดูดนมจากเต้านมข้างที่สองไม่หมดเต้า การให้นมในครั้งถัดไป ควรให้นมลูก
จากเต้านมข้างนี้ (คุณจะรู้สึกว่าเต้านมนิ่มขึ้นและไม่มีน้ำ�นมเมื่อลูกดูดนมจนหมดเต้า) 
… ใช้เข็มกลัดติดที่เสื้อเชิ้ตหรือสายเสื้อชั้นในเพื่อเตือนว่าจะเริ่มให้นมข้างใดก่อนในการให้นมลูกน้อยในครั้งถัดไป
… ลูกของคุณจะรู้สึกง่วงและอิ่มหลังจากได้รับนม แต่หากคุณรู้สึกกังวล ขอให้เรียกแพทย์หรือที่ปรึกษาการให้นมบุตร 

ไปที่หน้าถัดไป »
ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

รับประกันคุณภาพข้อมูลโดย:
พยาบาลและทีป่ รึกษาการให้นมบุตรให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชัว่ โมง ทุกวัน
โทรติดต่อ Feeding Expert ทีห่ มายเลข: 1-800-986-8800
o เคล็ดลับและเทคนิคในการให้นมบุตร: สัปดาห์แรก

การปลุกลูกเพื่อให้นม
ทารกแรกเกิด ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัวและความต้องการในการนอนหลับแตกต่างกันไป ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะ
นอนหลับประมาณ 18 – 22 ชั่วโมงในช่วง 2 – 3 วันแรกหลังคลอด ในระหว่างสองสามสัปดาห์แรก คุณจำ�เป็นต้อง
ปลุกลูกของคุณให้ดูดนม ทารกบางคนอยากนอนมากกว่าดื่มนมในระหว่างสองสามสัปดาห์แรก เคล็ดลับในการปลุก
ลูกของคุณเพื่อให้นม มีดังนี้: 
… ปลุกลูกในระหว่างวันเพื่อให้นมลูก ทุกๆ 3 ชั่วโมงนับจากการให้นมครั้งหลังสุด หรือเมื่อรู้สึกว่าเต้านมคัดตึงเนื่องจาก
มีน้ำ�นมเต็มเต้านม 
… ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณตื่นเต็มที่แล้วก่อนให้นม ทารกที่นอนไม่เต็มตื่น จะอยากนอนต่อเมื่อคุณให้นม 
พูดคุยกับลูกของคุณ ตบก้นลูกเบาๆ คลี่ผ้าที่ห่อตัวลูกออก หรือถอดเสื้อผ้าของลูกออก เพื่อปลุกให้ลูกตื่น ให้ลูก
ตื่นนอนประมาณ 5 – 10 นาทีก่อนให้นมเพื่อให้แน่ใจว่าลูกตื่นเต็มที่แล้ว 
… โปรดรำ�ลึกว่าทารกแรกเกิดจะไม่นอนหลับตลอดทั้งคืน
… หาเวลางีบหลับพักผ่อนเมื่อลูกของคุณหลับ

น้ำ�หนักตัวของลูก
เมื่อคุณมีปริมาณน้ำ�นมที่สม่ำ�เสมอและเพียงพอแล้ว ลูกของคุณควรได้รับน้ำ�นมประมาณ 18 – 20 กรัม/วัน (ประมาณ
2/3 ออนซ์/วัน)ในช่วงสามเดือนแรก ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะมีน้ำ�หนักตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงสองสามวันแรกหลัง
คลอด และจะมีน�ำ้ หนักตัวเพิม่ ขึน้ หลังจากสัปดาห์แรก หลังจากสองสัปดาห์ ทารกส่วนใหญ่จะมีน�ำ้ หนักตัวเท่ากับน้�ำ หนัก
ตัวหลังคลอด 

ผ้าอ้อมเด็ก
หลังจากผ่านไปประมาณ 4 วัน ลูกของคุณจะไม่มีขี้เทาออกมาแล้ว (ลักษณะข้น ดำ� หรือสีเขียวเข้ม) แต่ลูกของคุณจะมี
การขับถ่ายอุจจาระเหลวสีเหลืองอย่างน้อยวันละสามครั้ง AAP ขอแนะนำ�ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมที่เปียกชื้นอย่างน้อยวันละ 
6 ผืนต่อวัน หลังจากวันที่ 5 ในช่วงเดือนแรก ลูกของคุณจะใช้ผ้าอ้อมอย่างน้อยวันละ 6 ผืน และจะขับถ่ายอุจจาระ
วันละ 2 – 5 ครั้ง ปัสสาวะของลูกควรมีลักษณะเกือบใส

ต้องการ
คำ�แนะนำ�หรือขอความช่วยเหลือ °
เกี่ยวกับการให้นมบุตร
การขอความช่วยเหลือจากผูอ้ น่ื เป็นเรือ่ งปกติทท่ี �ำ ได้และควรทำ�:
โทรปรึกษาแพทย์ กุมารแพทย์ หรือพยาบาล » ติดต่อทีป่ รึกษาด้านการให้นมบุตร » ศึกษาจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทีแ่ สดงอยูใ่ น www.abbottnutrition.com/breastfeeding

©2011 Abbott Laboratories Inc. ม.ค. 2554 73151 Thai – The First Weeks

You might also like