You are on page 1of 182

สารบัญ

Contents
หน้า
Pages
บรรณาธิการแถลง 7
Editorial 11

ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” 17


ประเวศ วะสี
Education Reform based on the Strategy of 31
“One University, One Province”
Praves Vasee

แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 41
วิรุณ ตั้งเจริญ

Crisis-free State through Sufficiency Economy 49


Wiroon Tungcharoen

มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก 59
อำนาจ เย็นสบาย

University and Alternative Education 71


Amnard Yensabye

ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย 81
กวี วรกวิน
Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya
Kawee Worakawin

 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก 89
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Sufficiency Economy in Global View
Pipat Yodprudtikan
การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ 101
ดุษฎี สีตลวรางค์
Education for Humanity
Dusadee Sitalavarang
การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก 111
กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education
of Asoke Community
Kanoksak Kaewthep

วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน 143


สุวิดา แสงสีหนาท
Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach
Suwida Sangsehanat

บทความปริทัศน์ -
Review Articles

บทวิจารณ์หนังสือ -
Book Reviews

เกี่ยวกับผู้เขียน 173
Author’s Profile

ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์ 177
Instruction to Authors

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 
วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
“คือพืน้ ทีท่ างวิชาการ สำหรับบทความ ผลงานวิจยั หรือข้อคิดเห็น ทีเ่ ปิดโลกทัศน์ทางปัญญา
ในศาสตร์ทุกสาขา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับ โดย
มีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนและสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม
จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๑ ครั้ง ในเดือนกันยายน โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณการ
จัดพิมพ์จากโครงการต้นแบบโพธิวิชชาลัย บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในโครง
การบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”
Bodhi Research Journal:
A Journal on Holistic Sustainable Development
This journal provides an academic space for sharing your thinking,
original and innovative research, findings and practices of all sciences related
to sustainable and community development. It also aims to stimulate research
and works in sustainable development with right knowledge and ethics in every
aspect and at every level, particularly in the strategies, theories and practices
of alternative development, and in the empowerment and development of self-
reliance and autonomy of communities and societies. The journal is published once
a year, in September. The publication of Bodhi Research Journal is sponsored
by Srinakharinwirot University.
วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
คณะที่ปรึกษา Advisory Board
๑. วิรุณ ตั้งเจริญ (ศ.ดร.) 1. Wiroon Tungcharoen (Professor Dr.)
๒. วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์ (รศ.) 2. Vipavee Anupunpisit (Associate Professor)
๓. สุมาลี เหลืองสกุล (รศ.) 3. Sumalee Leungsakul (Associate Professor)
๔. อำนาจ เย็นสบาย (รศ.) 4. Amnard Yensabye (Associate Professor)
๕. กวี วรกวิน (ผศ.) 5. Kawee Worakawin (Assistant Professor)
๖. สมปรารถนา วงศ์บุญหนัก (ดร.) 6. Somprathna Wongbunnak (Dr.)
๗. ละออ อัมพรพรรดิ์ (ดร.) 7. La-aw Ampornpan (Dr.)
๘. อภิชัย พันธเสน (ศ.ดร.) 8. Apichai Puntasen (Professor Dr.)

บรรณาธิการ Editor
สุวิดา แสงสีหนาท (ดร.) Suwida Sangsehanat (Dr.)

คณะบรรณาธิการ (ภายใน) Editorial Board (Internal)


๑. พิพัฒน์ นวลอนันต์ 1. Pipat Nualanant
๒. สิทธิธรรม โรหิตะสุข 2. Sitthidham Rohitasuk
๓. สมศักดิ์ เหมะรักษ์ 3. Somsak Hemarak
๔. ประภัสสร ยอดสง่า 4. Prapatsorn Yodsa-nga
๕. ศิริวรรณ วิบูลย์มา 5. Siriwan Wibunma
๖. ศศิธร อินทร์ศรีทอง 6. Sasidhorn Insrithong

 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
คณะบรรณาธิการ (ภายนอก) Editorial Board (External)
1. กนกศักดิ์ แก้วเทพ (รศ.ดร.) 1. Kanoksak Kaewthep (Associate Professor Dr.)
(คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (Faculty of Economics, Chulalongkorn
2. กนกรัตน์ ยศไกร (ดร.) University)
(คณะวิทยาการจัดการ 2. Kanokrat Yossakrai (Dr.)
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม) (Chandrakasem Rajabhat University)
3. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ดร.) 3. Pipat Yodprutikarn (Dr.)
(สถาบันไทยพัฒน์) (Thai Pat Institution)
4. บอง ซู่ เหลียน (ดร.) 4. Bong Sue Lian (Dr.)
(อาจารย์เกษียณ ประเทศมาเลเซีย) (Retired lecturer, Malaysia)
ผู้ช่วยคณะบรรณาธิการ Editorial Board Assistants
๑. กฤษณา สังคริโมกข์ 1. Kritsana Sungkrimoke
๒. ณัฐวรรณ เฉลิมสุข 2. Nattawan Chalermsuk
๓. ธีร์วรา สุวรรณศักดิ์ 3. Teewara Suwannasak
๔. จักราวุธ นิยมเดชา 4. Chackrawudha Niyomdecha
๕. ศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร 5. Sornanan Charoenthitakon
๖. วารุณี อัศวโภคิน 6. Varunee Asavabhokin
๗. อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล 7. Onuma Rungreangwanitkun
๘. ณิชชิศา พรประเสริฐรัตน์ 8. Neatchisa Pornprasertrat
๙. แสง คำมะนาง 9. Sang Commanang
จัดทำโดย: วิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัย และโครงการบริการวิชาการแก่ชมุ ชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ซอยประสานมิตร) กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐
Publish by: College of Bodhi Vijjalaya, Srinakharinwirot University,
114 Sukhumvit 23 (Soi Prasanmitra), Bangkok 10110, Thailand
Tel/Fax: (66)22602141 E-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.com
พิมพ์ที่ : เลคแอนด์ฟาวด์เท่นพริ้นติ้งจำกัด
จำนวนพิมพ์ : ๖๐๐ เล่ม

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 
สารบัญ
Contents
หน้า
Pages
บรรณาธิการแถลง 7
Editorial 11

ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” 17


ประเวศ วะสี
Education Reform based on the Strategy of 31
“One University, One Province”
Praves Vasee

แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 41
วิรุณ ตั้งเจริญ

Crisis-free State through Sufficiency Economy 49


Wiroon Tungcharoen

มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก 59
อำนาจ เย็นสบาย

University and Alternative Education 71


Amnard Yensabye

ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย 81
กวี วรกวิน
Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya
Kawee Worakawin

 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก 89
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Sufficiency Economy in Global View
Pipat Yodprudtikan
การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ 101
ดุษฎี สีตลวรางค์
Education for Humanity
Dusadee Sitalavarang
การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก 111
กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education
of Asoke Community
Kanoksak Kaewthep

วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน 143


สุวิดา แสงสีหนาท
Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach
Suwida Sangsehanat

บทความปริทัศน์ -
Review Articles

บทวิจารณ์หนังสือ -
Book Reviews

เกี่ยวกับผู้เขียน 173
Author’s Profile

ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์ 177
Instruction to Authors

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 
 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
บรรณาธิการแถลง
วารสาร “โพธิวิจัย”: วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน
ทางปัญญาสำหรับผูข้ บั เคลือ่ นการพัฒนาแนวทางเลือกในทุกศาสตร์สาขาซึง่ หมายรวมถึงนักวิชาการ
ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสรรสร้างสังคมที่มีความสุข สันติ
และสมดุลอย่างยั่งยืน ทั้งในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเริ่มด้วย ๔
มิติสำคัญ ซึ่งจะเป็นประเด็นหลักประจำฉบับที่ ๑ - ๔ ดังนี้
๑) มิติทางการศึกษา ที่จะสรรสร้างอย่างไร เยาวชนรุ่นใหม่จึงจะเป็นพลังในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้ามพ้นระบบทุนนิยมแข่งขันขูดรีด ก้าวมาสู่การร่วมมือกัน
ร่วมพลังกัน บนฐานคุณธรรม ในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศ ให้พึ่งตนเองได้
ขณะเดียวกัน ก็มีภูมิคุ้มกันที่จะรู้ทันคัดกรองกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำหรับ
ฉบับปฐมฤกษ์ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ นี้ ด้วยหัวข้อ
“เมล็ดพันธุ์โพธิ ในระบบการศึกษาไทย - การถอยกลับสู่ปรัชญา
และเป้าประสงค์เริ่มต้นของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์”
ในฉบับนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กรุณาให้เรียบเรียงบทความจากการบรรยายพิเศษในการ
สัมมนาวิชาการเพือ่ การปฏิรปู ศึกษาศาสตร์ ท่านได้เปิดโลกทัศน์ทางปัญญาให้แก่แวดวงวิชาการใน
ประเด็น “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” สู่การปฏิรูปศึกษาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปิดประเด็นการ
“แก้ไขวิกฤตของสังคมด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” ซึง่ เป็นปณิธานแห่งการก่อเกิดวิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัย
และท่านได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยไปสู่การบ่มเพาะ
“ความเป็นมนุษย์” ที่แท้จริง
“มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก” โดย รศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่าย
เครือข่ายการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นอีกแว่นความคิดหนึ่งที่เปิดโลกทัศน์
ทางการศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องแข่งขันเพียงเพื่อผลิตบัณฑิตที่ต้องพึ่งพิงตลาดแรงงาน และวิ่ง
หนีจากถิ่นเกิดเข้ามากระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 
“ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย” โดย ผศ.กวี วรกวิน คณบดีวิทยาลัย
โพธิวชิ ชาลัย กล่าวถึงบทบาทของการศึกษาทีจ่ ะต้องพัฒนาคนให้สมดุล ก่อนจะไปพัฒนาสังคม
ให้สมดุลได้
ในฉบับ ท่านผู้อ่านจะได้พบกับรูปแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาในสถานศึกษา
หลายแห่ง ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น การศึกษาที่เน้นศีลและการทำงานจริงของชุมชน
ศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
จังหวัดสุโขทัย และการศึกษาที่ปลูกฝังคุณธรรมของสถานศึกษาฉือจี้ ประเทศไต้หวัน เป็นต้น
๒) มิติศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่ศิลปะและ
วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสังคมสมัยใหม่อาจมองว่าคร่ำครึไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ศิลปะและ
วัฒนธรรมชุมชนท้องถิน่ เหล่านีอ้ าจเป็นการสร้างสรรค์ดว้ ยภูมปิ ญั ญา เพือ่ แสดงถึงวิถแี ห่งการเคารพ
แสดงถึงความจริง ความดี และความงาม ของความเป็นมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยังหมายถึง การวิพากษ์ศิลปะและวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่
ยอมรับปฏิบัติ แต่อาจไม่สร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนที่จับต้อง
ได้และจับต้องไม่ได้ ที่เรา-มนุษย์ทุกคนถูกหล่อหลอมโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน ก็มีส่วนสร้าง
ศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมเราจึงไม่ร่วมกันสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมที่
จะนำไปสู่ความสงบสุขสันติ ความเข้มแข็งของชุมชน การพึ่งตนเองได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๒)
๓) มิติวิถีชีวิตกับธรรมชาติ มนุษย์ได้ตักตวงขูดรีดธรรมชาติมานานหลาย
ศตวรรษ เพียงเพื่อคำลวงโลกที่ว่า “ความก้าวหน้า ความศิวิไลซ์ และการพัฒนา” จนกระทั่ง
โลกใบนี้ผอมแห้งขาดความอุดมสมบูรณ์ บอบช้ำเน่าเหม็นด้วยมลพิษทั้งทางน้ำ ดิน และอากาศ
อีกทัง้ เป็นแผลฉกรรจ์ในระดับชัน้ โอโซน ถึงเวลาแล้วหรือยังทีเ่ รา-มนุษย์ทแ่ี สนศิวไิ ลซ์ จะหันกลับ
มามองน้ำตาของแม่ (ธรณี) ทีก่ ำลังเจิง่ นองจากภาวะโลกร้อน เราต้องร่วมกันปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ
ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการร่วมรักษาระบบนิเวศน์ ใช้พลังงานทดแทน ฟืน้ ฟูและอนุรกั ษ์
ทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ค้นหาภูมิปัญญาที่มนุษย์เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่ง
กันและกัน และมีสมั มาชีพทีไ่ ม่เบียดเบียนเพือ่ นมนุษย์และธรรมชาติ (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๓)

 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
๔) มิติวิถีศานติสุข กับ ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ แม้ผู้คนบางส่วนในโลก
สมัยใหม่บอกว่าตนเองไม่มีศาสนา แต่เราอาจจะเพียงกำลังต่อต้านศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ
ที่ไม่สามารถนำทางชีวิตของเราไปสู่ศานติสุขที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้น วารสารโพธิวิจัยจึงเปิดพื้นที่
สำหรับการวิพากษ์ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ อีกทั้ง มีพื้นที่สำหรับการนำเอาศาสนา ปรัชญา
ความเชื่อ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อไปสูก่ ารพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้ง การ
เสวนาระหว่างศาสนาเพือ่ เปิดโลกทัศน์ทางจิตวิญญาณและปัญญา (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๔)
มิติทั้งสี่ ที่วารสารโพธิวิจัยเสนอตัวเป็นพื้นที่ทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนในเชิง
ปัญญานี้ ยังคงเปิดรับแว่นความคิดและบทความในประเด็นอืน่ ๆ ทีส่ ร้างสรรค์การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน
เพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ ๕ ประการ ดังนี้
๑. เพื่อเป็นพื้นที่ทางวิชาการให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและนักวิชาการได้ตีพิมพ์
บทความงานวิจัย บันทึกงานวิจัย และบทความทางวิชาการ ที่บูรณาการทฤษฎีเข้ากับ
การปฏิบตั จิ ริงอย่างมีคณุ ภาพ และสร้างสรรค์ให้เกิด “ปัญญา” ในการขับเคลือ่ นการพัฒนา
ทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับโดยมีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชน
และสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม
๒. เพื่อเป็นพื้นที่ให้แก่ปราชญ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แสดงข้อคิดข้อเห็นทั้งในเชิงทฤษฎีและการ
ปฏิบัติ ที่เป็นนวัตกรรม และเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” ให้แก่แวดวงผู้ขับเคลื่อนการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน
๓. เป็นวารสารเชิงบูรณาการศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่มีนวัตกรรม
ข้ามพ้นขอบเขตจำกัดแห่ง “ศาสตร์สาขา” เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ในวิถีแห่ง
“ปัญญา” (ความรู้และคุณธรรม) สู่ความยั่งยืนทางสังคม ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
ทางด้านการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ที่คำนึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์
ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม
๔. มุ่งไปสู่การเป็นวารสารนานาชาติชั้นนำ ด้วยผลงานวิชาการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ซึ่ง
ผ่านระบบการให้คำแนะนำด้วยกัลยาณมิตรที่เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน
๓ ท่าน

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 
๕. มุ่งให้วารสารเปรียบเสมือนพื้นที่แห่งการหล่อเลี้ยงและฝึกฝน “ปัญญา” เพื่อการพัฒนา
อย่างเป็นองค์รวมและยั่งยืน ดังชื่อของวารสาร

คณะบรรณาธิการหวังว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” และสร้างสรรค์
การพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน ซึง่ วารสารจะเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาและศูนย์เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียงและ
การพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆทั่วประเทศ ท่านสามารถส่งบทความเข้ามาให้พิจารณาได้ทุกเมื่อ
และติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆผ่านทาง e-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.
com

ดร.สุวิดา แสงสีหนาท
บรรณาธิการ

10 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
Editorial
“Bodhi Research Journal” is a journal that focuses on holistic sustainable
development. It provides an academic space for sharing the latest knowledge
and thinking on all sciences and practices of sustainable alternative development
among academicians, scientists, experts and field practitioners of alternative
development. The journal serves as a forum for discussion and advancing
development on creating a society that is at peace and harmony with itself,
with the environment and all living beings within it. The journal focuses on four
essential aspects of sustainable development which will be the main themes of
the first four issues of the journal. These four aspects are:

1. Education - The inaugural issue of the Journal published in September,


2010 carries this theme on education, ‘Bodhi seed in Thai Education
System - Returning to the Philosophy and Primary Objectives of
Education for Sustainable Development’
2. Creative Arts and Culture - A theme on creative arts and culture will
be carried in the second issue of the Journal.
3. Way of Life and Nature - The third issue of the Journal will feature
‘way of life and nature’ as its main theme.
4. Religions, Spirituality, Beliefs and Philosophy - The fourth issue of the
Journal wil feature the theme on ‘religions, beliefs and philosophy’.

1. Education - This aspect addresses the issue of how to create new


generations of youths who are ethically upright, who will form an ethically
conscious workforce that drives sustainable development. They will be able
to resist the profiteering type of capitalistic exploitation of resources. They
wil be capable of building a self-reliant community and country to meet
the challenges and protect from the devastating effect of globalization.
This is the main theme of the inaugural issue of the Journal published in
the month of September B.E. 2553, ‘Bodhi seed in Thai Education System
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 11
- Returning to the Philosophy and Primary Objectives of Education for
Sustainable Development’. Thanks to Professor Dr. Praves Vasee who kindly
contributed an article that he extracted from his special lecture given
at the academic seminar on education science reform. In this article
on education reform, he revealed the vision of ‘One University, One
Province’.

Professor Dr. Wiroon Tungcharoen, the Rector of Srinakharinwirot University,


contributed the article on “Crisis-free State through Sufficiency Economy”.
He highlighted the background and aspiration of the inception of College
of Bodhi Vijjalaya, and the need for transforming Thai education for the
advancement of humanity and crisis-free growth based on the philosophy
of Sufficiency Economy.

“University and Alternative Education”, an article contributed by Associate


Professor Amnard Yensabye, Vice-Rector of the Learning Network of
Srinakharinwirot University, provided another aspect of a fresh vision on
alternative education in correct training of the graduates who will be
equipped with entrepreneurial skil s and knowledge for developing rural
areas or their own community without the need to compete for a place
in the conventional labor market.

In this inaugural issue, you wil find more articles of current works on
producing “intellectual seeds (graduates)” in a number of education
institutions, both local and abroad. These include the education focusing on
Buddhist precepts and field project assignments of Srisa Asoke Community
in Srisaket Province; the education for advancement of humanity at Gong
Grai-lart Witthaya School in Sukhothai Province; and the education for
cultivating ethical conduct at Tzu Chi educational institutes in Chinese
Taipei.

12 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
2. Creative Arts and Culture - Traditional arts and culture of local community
may be considered old-fashioned, not scientific or non-academic, or not
trendy by some. Some critics are of the opinion that working in arts and
culture does not contribute to development. However, arts and culture of
local community express the creativity and local knowledge and skills of
the local people. They reflect on the people’s respect for truth, goodness
and beauty of humankind, a part of nature. Arts and culture are both
tangible and intangible; they are part of us in our everyday life and
activities. Hence, why don’t we work together in creating arts and culture
that could lead to peace and non-violence; that could instill a spirit of
strong self-reliance; that could contribute to sustainable development by
way of preservation or conservation or any other ways? This would be a
theme for the second issue of Bodhi Research Journal .

3. Way of Life and Nature - Under the pretext of ‘pushing for growth, progress,
advancement, development’, human-beings have so aggressively exploited
nature for so long that we are actually getting the opposite - this world is
actually crumbling with severe life-threatening pollution, environmental crises,
natural disasters, climate change and global warming. Is it time now that
we, supposedly civilized people, should start nurturing mother earth back to
health? It is time for us all to work together in changing our way of life
to be back in accord with nature; protective of the ecosystem through
conservation of the earth’s resources and use of green alternative energy
and other such measures. In the past, we used to be able to live in
harmony with nature, supporting it and not destroying it as it supported our
lives. What has been happening between then and now? Harmony with
nature and how we live and advance in sustainable development would
be a theme for the third issue of Bodhi Research Journal.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 13
4. Peace with Religion, Spirituality, Beliefs and Philosophy - Some people may
declare that they are agnostics or atheists; still others are opposed to any
religious beliefs. Those who have faiths claim to find some form of peace
or solace in their faiths or practice. How do the agnostics, atheists and
those who are against any religious beliefs or practice find tranquility?
Bodhi Research Journal provides a space for critical discussion on religions,
beliefs (for or against), spirituality, and philosophy and their practice (mental
and spiritual cultivation); and how these contribute, positively or negatively
or not at all, to the sustainable development of human beings and their
society and environment. This wil be a theme for the fourth issue of Bodhi
Research Journal.
In addition to the above, Bodhi Research Journal also serves as a forum for
all to exchange their expertise and findings on sustainable development in line
with the following five objectives.

1. Bodhi Research Journal provides an academic space for lecturers, students,


practitioners and others to present their research findings, thesis and academic
articles on integrated sustainable development. This would contribute to
building up knowledge on alternative and sustainable development.

2. Bodhi Research Journal is also the journal for philosophers and intellectuals
and all interested parties to express their vision, their views and analyses
of the theory and practice of alternative or sustainable development.

3. The journal promotes and publishes findings from multidisciplinary studies,


integrated sciences and any sciences that focus on holistic development
that necessarily is multi and interdisciplinary in approach and practice that
encompass aspects of economics, politics, religions, arts, cultures, humanity,
natural resources, ecology and environment. It is a multidisciplinary journal
that publishes innovative research and applications that push further the

14 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
frontier of knowledge and the advancement of humanity in socio-politico-
economically, culturally, ecologically and environmentally sustainable way.

4. Aims to be a leading international journal in latest research and advances


on the theory and practice of integrated and sustainable development of
the society and its cultures and traditions, human and material resources,
conservation and preservation of the ecology and environment.

5. Aims to be a journal synonymous with culturing and practicing ‘WISDOM’


in holistic sustainable development, as the name indicates.

The editors welcome contributions in social and other sciences of life


and development, and any innovative research works or critical reviews related
to the theory and practice of holistic sustainable development, particularly in
community-centered, culturally and ecologically sustainable and/or alternative
development, empowerment and development of communities, especially
community autonomy and self-reliance. The journal will be distributed to
all educational institutes, and learning centres of sufficiency economy and
sustainable development nationwide. You are welcome to send your articles to
us. For more details please contact the editor at suwida@swu.ac.th, suwida.ss@
gmail.com.

Dr. Suwida Sangsehanat


Editor

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 15
16 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์
“หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด”
Education Reform based on the Strategy of “One University, One Province”
ประเวศ วะสี
Praves Vasee
บทคัดย่อ
การปฏิ ร ู ป การศึ ก ษาศาสตร์ จะต้ อ งปรั บ มโนทั ศ น์ ไม่ เ อาวิ ช าเป็ น ตั ว ตั ้ ง
ซึ่งเป็นการคิดแบบแยกส่วน ต้องมีมโนทัศน์ใหม่ที่บูรณาการโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานสำคัญ
ของพระเจดียแ์ ห่งการพัฒนาและการปฏิรปู การศึกษาศาสตร์ มีมโนทัศน์แบบใหม่ทใ่ี ช้พน้ื ทีเ่ ป็นตัวตัง้
ต้องประกาศยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้เข้า
ไปเรียนรูแ้ ละปฏิบตั ริ ว่ มกับชาวบ้าน แล้วนำวิชาการเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมเข้าไปหนุนเสริมชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการสังเคราะห์นโยบายจากการปฏิบัติ ไปสู่การจัดทำ
นโยบายสาธารณะ ตามยุทธวิธี ๕ ลำดับขั้น เพื่อให้จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้
จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นมหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยรูปใหม่ที่มีชีวิต และเมื่อนั้น ทั้งจังหวัดจะ
เป็นสวรรค์บนดิน และการศึกษาศาสตร์เป็นพลังที่สร้างความสุข สันติ ให้แก่แผ่นดิน

ก าร ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะโดยมากจะกล่าวเพียงปฏิรูป
การศึกษา ทัง้ ที่ “ตัวศาสตร์” เองก็ตอ้ งการปฏิรปู ให้เราเพ่งเล็งเข้าไปดูวา่ ตัว “การศึกษา”
นัน้ คืออะไร ซึง่ เป็นจุดสำคัญ การศึกษาควรจะเป็นพลังทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ของการพัฒนาชีวติ และการ
อยู่ร่วมกัน เพราะเป็นระบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าระบบอื่นๆ ทั้งสิ้น ควรจะเป็นพลังที่พาชาติ
ออกจากวิกฤติ แต่ว่าที่ผ่านมา ก็ไม่เป็นพลังอย่างที่ว่านั้นได้ เราคงต้องมาทบทวนสิ่งที่เรียกว่า
ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์อีกครั้ง
การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและลึกที่สุดที่จะมีพลังเรียกว่าการปรับมโนทัศน์ หรือ Recon-
ceptualization ธุรกิจใดๆ ที่เคยประสบกำไรอย่างมาก ถ้ายังทำไปอย่างเดิม ต่อไปจะขาดทุน
เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปแล้ว จึงต้องปรับมโนทัศน์ในเรื่องที่กำลังทำ อันนี้เป็นหลัก
หากกล่าวถึงเรื่องสุขภาพ ในอดีต สุขภาพดีคือการไม่มีโรค การมีโรคคือสุขภาพไม่ดี อาจจะ
คุ้นเคยจนไม่เห็นว่าแปลก แต่การนิยามเช่นนั้น ทำให้เรื่องระบบสุขภาพเข้าไปสู่สภาวะ
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 17
วิกฤติ เพราะว่าจำกัดความคับแคบและไม่ตรงกับความจริง เนื่องด้วย พบว่ามีหลายคนที่
ไม่สบายแต่แพทย์ตรวจเท่าไรก็ไม่พบโรค จนคิดไปว่าคนไข้แกล้งทำ ในความเป็นจริงคน
ไข้ที่ไม่มีโรค ก็ไม่สบายได้ สุขภาพไม่ดีได้ หรือไม่มีโรคก็สุขภาพดีได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
คนเป็นเบาหวานความดันสูงคือการมีโรค แต่ถ้าสามารถควบคุมให้มีความสมดุล ก็สุขภาพดีได้
ดังนั้น จึงไม่เป็นความจริงที่ว่า การมีสุขภาพดีคือการไม่มีโรค และการมีโรคคือสุขภาพ
ไม่ดี ต้องปรับมโนทัศน์ใหม่ว่า “การไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ และการมีโรคก็สุขภาพดีได้”
การนิยามแบบเดิมที่ว่าสุขภาพดีคือการไม่มีโรค ทำให้วิธีการคับแคบอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญ
เท่านั้นคือเรื่องโรค ใครจะรู้เรื่องโรคนอกจากหมอ เมื่อปรับนิยามใหม่ว่า “สุขภาพคือดุลยภาพ”
สิง่ ต่างๆทีไ่ ด้สมดุลก็จะมีความเป็นปกติและความยัง่ ยืน เวลาทีร่ า่ งกายของเราได้ดลุ ก็จะสบายดี
และการที่เราไม่สบายทุกชนิดก็คือการเสียดุล ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือมีปัญหาทางจิตใจ
ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งมาตรวจเท่าไหร่ก็ไม่พบโรค แต่ว่าปัญหามาจากสามีทำให้ไม่
สบายมาก เพราะฉะนั้นการปฏิรูประบบสุขภาพ จึงให้นิยามสุขภาพใหม่ ปรับมโนทัศน์ใหม่
จะได้ไปได้ไกลได้ลึก เมื่อสุขภาพคือดุลยภาพ จึงหมายถึงทั้งหมด ดุลยภาพระหว่างกายกับใจ
ระหว่างมนุษย์กบั สังคมกับสิง่ แวดล้อมครอบคลุมทุกอย่าง และทุกอย่างก็เข้ามามีบทบาททัง้ หมด
เช่นกัน ถ้านึกถึงว่าสุขภาพคือการไม่มโี รค เทคโนโลยีทจ่ี ะนำมาใช้กเ็ ป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์
เท่านั้น แต่ถ้าบอกว่าคือดุลยภาพ ก็จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษา สมาธิ โยคะ ไทเก๊ก
การแพทย์แผนไทย และทุกด้าน เปิดพื้นที่ให้แก่การรักษาสุขภาพได้กว้างกว่าความหมายเดิม
เพราะฉะนัน้ การปฏิรปู ใดๆ จำเป็นต้องปรับมโนทัศน์เรือ่ งนัน้ การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ถ้า
ต้องการให้มพี ลังก็ตอ้ งปรับมโนทัศน์ การใช้คำว่าปฏิรปู การศึกษาศาสตร์ คือปรับมโนทัศน์วา่ การ
ศึกษานีค้ อื อะไร ทีแ่ ล้วมาการศึกษาเอาวิชาการศึกษาเป็นตัวตัง้ มาร้อยกว่าปี เราอาจจะไม่รสู้ กึ ว่า
แปลกเพราะเราคุน้ เคย จนเกิดจินตนาการในสังคมไทยว่า การศึกษาคือการท่องหนังสือ “เออลูก...
ท่องหนังสือหรือยัง” ทุกคนนึกเช่นนัน้ หมด เพราะเราเอาวิชาเป็นตัวตัง้ เด็กนักเรียนไม่อยากคุยกับ
พ่อแม่ ปูย่ า่ ตายาย เพราะคุยแล้วไม่ได้คะแนน คะแนนอยูท่ ก่ี ารท่องวิชา ซึง่ ทำลายสังคมขนาดหนัก
เพราะว่า พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย นั้นมีความรู้ในตัว มีความรัก มีอะไรมากมาย นโนทัศน์ดังกล่าว
ได้ตดั ความสัมพันธ์นล้ี ง เป็นความคิดแยกส่วน เพราะเอาวิชาเป็นตัวตัง้ ในอดีตครัง้ รัชกาลที่ ๕ หลัง
จากใช้การศึกษาแบบใหม่มาได้ ๘ ปี พระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เตือนว่า
การศึกษาแบบนี้จะทำให้คนไทยขาดจากรากเหง้าของตัว ปรากฏเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษร

18 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ในหนังสือที่เกี่ยวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งมีอยู่ ๘ เล่ม และเล่มหนึ่งว่าด้วยการศึกษา
คำเตือนดังกล่าวปรากฏอยู่ในเล่มนี้ รากเหง้าของสังคมคือวัฒนธรรม ต้นไม้จะต้องมีรากฉันใด
สังคมก็ต้องมีรากฉันนั้น การตัดรากต้นไม้แล้วเป็นเช่นใด การพัฒนาโดยตัดรากของสังคมก็เช่น
เดียวกันนัน้ การพัฒนาทีต่ ดั รากสังคม ตัดเรือ่ งวัฒนธรรมออกไป จนมหาวิทยาลัยเกือบไม่เข้าใจ
แล้วว่าวัฒนธรรมคืออะไร ความเข้าใจคับแคบมาก ภารกิจข้อ ๔ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมก็
มีเพียงการสร้างเรือนไทย มีวงดนตรีไทย เก่งหน่อยก็ไปอัญเชิญสมเด็จพระเทพฯ มาทรงดนตรี
ก็เรียกว่าทำนุบำรุงแล้ว
ที่จริงคำว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นคำที่ใหญ่มากมีความหมายครอบคลุมมาก หมายถึง
วิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ ซึ่งมีความหมายกว้างรวมถึง
ความเชือ่ ร่วมกัน คุณค่าร่วมกัน การทำมาหากินทีค่ นุ้ เคยถ่ายทอดกันมาสอดคล้องกับภูมปิ ระเทศ
ก็เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา การไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การใช้ทรัพยากร
อย่างเป็นธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลรักษาสุขภาพ อยู่ภายใต้ร่มวัฒนธรรมทั้งสิ้น
เศรษฐกิจก็อยู่ในร่มนี้ ไม่ได้ทิ้งอะไรออกไปเลย เพราะวัฒนธรรมหมายถึงระบบการอยู่ร่วมกัน
มนุษย์แต่โบราณมาโดยธรรมชาติจะคิดถึงการอยู่ร่วมกัน แม้แต่สัตว์ก็อยู่เป็นฝูง เพราะการอยู่
เป็นฝูงการอยู่ร่วมกันทำให้รอดชีวิตมากกว่าอยู่เดี่ยวๆ มีการศึกษาสุนัขป่า สังเกตพบว่ามันมี
จริยธรรมของการอยูร่ ว่ มกัน เช่น เวลาเล่นกันตัวทีแ่ ข็งแรงกว่าต้องทำเป็นแพ้ตวั ทีอ่ อ่ นแอกว่าบ้าง
ถ้าชนะทุกคราวการเล่นไม่สนุก แล้วก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการอยู่ร่วมกัน
ชนทุกหนทุกแห่งเกิดระบบจริยธรรมขึ้นเมื่อมีการอยู่ร่วมกัน เพราะถือว่าการอยู่ร่วมกันนี่สำคัญ
มาก มนุษย์ทอ่ี ยูใ่ นร่มวัฒนธรรม ร่มของการอยูร่ ว่ มกัน มีวถิ วี ฒั นธรรมอยูย่ ง่ั ยืนมาเป็นหลายพัน
ปีหมื่นปีก็ได้
แต่ในระยะหลังมานี้ เรามาทำแบบแยกส่วนหมดทุกอย่าง การพัฒนาก็แยกส่วน
ไปเป็นพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจก็แยกส่วนไปเป็นการเงิน แยกส่วนไปเรื่อยๆ
การศึกษาก็เช่นเดียวกัน การศึกษาไปแยกส่วนเอาวิชาเป็นตัวตัง้ ไม่ได้เอาชีวติ และการอยูร่ ว่ มกัน
เป็นตัวตัง้ ท่านพระธรรมปิฎกหรือพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวว่าปัญหาใหญ่ของการศึกษาคือการ
คิดแบบแยกส่วน ว่าชีวติ ก็อย่างหนึง่ การศึกษาก็อกี อย่างหนึง่ ทิง้ ชีวติ ไปเลย ไปเอาวิชาเป็นตัวตัง้
เมื่อไม่เอาชีวิตและการอยู่ร่วมกัน (Living Together) เป็นตัวตั้งจะพลาดเสมอ อย่างเรื่อง
เศรษฐกิจ ไปเอาเรือ่ งตลาดเสรีเป็นตัวตัง้ หลายคนได้รางวัลโนเบล (Noble Prize) จากทฤษฎีตลาด
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 19
เสรีจากการเอาตลาดเป็นตัวตั้ง ซึ่งจะต้องพลาดแน่ เมื่อพิจารณาวิกฤติโลก คือวิกฤติอะไร
ก็คือวิกฤติการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล อเมริกามีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องสถาบันการเงิน
รวมทั้งเรื่องการศึกษา เพราะไปเอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้ง จึงพลาดหมด ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปเรื่อง
ศึกษาศาสตร์ ต้องปรับมโนทัศน์ว่าการศึกษาคืออะไร ที่แล้วมาได้พยายามปฏิรูปกันไปหลาย
ระลอก ก็ปรากฏว่าไม่มีพลัง และกินผู้คนกินรัฐมนตรีไปหลายคน กินต่างๆ ไป แต่ไม่เกิดอะไร
ไปติดบ่วงไปติดอยูใ่ นหลุมดำ หลุมดำของมโนทัศน์แบบเดิม ไม่ใช่คนไม่พยายาม ไม่ใช่คนไม่เก่ง
เช่นท่านอาจารย์สปิ ปนนท์ ก็ถอื ว่าเป็นคนไทยทีเ่ ก่งฉลาด (Bright) ทีส่ ดุ คนหนึง่ แล้ว และทุม่ เทเรือ่ ง
การศึกษามาโดยตลอด เป็นเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ออกนโยบายต่างๆแต่ก็ไม่มีผลตอบรับที่เป็นพลังแต่อย่างใด

เรื่องดุลยภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ วิกฤติโลกในทุกวันนี้คือวิกฤติดุลยภาพ เสียดุล


หมดระหว่างกายกับใจ ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เสียดุลทาง
เศรษฐกิจ เสียดุลทุกอย่าง เพราะว่าการพัฒนาการคิดและทำแบบแยกส่วนใดๆ นำไปสู่การ
เสียดุลทั้งหมด ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือร่างกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบอันหลาก
หลาย เซลล์ต่างๆอวัยวะต่างๆซึ่งแตกต่างกันมากตั้งแต่สมองจนถึงหัวแม่เท้า มีปอด มีตับ
มีไต หลากหลายสุดประมาณ และทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงกันเป็นระบบจึงจะเกิดพลัง ต้อง
บูรณาการจึงจะเกิดดุลยภาพ หากเซลล์ของปอดเซลล์ของตับอยากจะเติบโตโดยไม่คำนึงถึง
ส่วนรวมทั้งหมด นั่นก็คือมะเร็งนั่นเอง ร่างกายก็เสียดุลคือป่วยและหนักเข้าก็ตายไปต่อไป
ไม่ได้ เพราะเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน การที่จะมีดุลยภาพได้ต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ
ไม่ใช่แยกส่วน กรมตำรวจคิดจะปรับมโนทัศน์เรื่องตำรวจ ก็ต้องไปดูระบบความยุติธรรม
ซึ่งแยกส่วนมาเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของอัยการ เรื่องของศาล จึงเกิดวิกฤติ เพราะแยก
ส่วนออกมาจากเรื่องชุมชนท้องถิ่น ชุมชนก็เหมือนฐานพระเจดีย์ ถ้าพัฒนาโดยไม่เอาฐานก็ทำ
ไม่ได้ ไม่มพี ระเจดียอ์ งค์ใดสร้างสำเร็จจากยอดเพราะมันจะพังลงๆ พระเจดียต์ อ้ งสร้างจากฐาน
ฐานจะได้รองรับข้างบน ประเทศไทยพัฒนาจากยอดทุกอย่าง เศรษฐกิจก็จะเอาจากข้างบนแล้ว
บอกว่าส่วนเกินจะกระเด็นลงข้างล่างหรือ Shift a down ก็ไม่สำเร็จ ช่องว่างห่างมากขึน้ เรือ่ ยๆ
การศึกษาเช่นเดียวกันแทนที่การศึกษาจะทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง กลับไปดึงคนออกมาหมด
ให้ทุกคนพุ่งไปสู่การท่องหนังสือ ที่เรียกว่าอุดม แล้วก็ทำอุดมเป็นธุรกิจทั้งหมด จึงวิกฤติ

20 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
มีประชาธิปไตยมา ๗๐ กว่าปี ยังฆ่ากันตาย เพราะไม่มปี ระชาธิปไตยระดับชาติทไ่ี หน
ทำได้สำเร็จโดยปราศจากประชาธิปไตยทีฐ่ านล่าง เมือ่ หันไปดูสหรัฐอเมริกาก่อนทีจ่ ะตัง้ ประเทศ
มีการวิเคราะห์ถกเถียง (Debate) กันว่ากรอบมโนทัศน์ (Concept) ของประเทศคืออะไร
แล้วก็ตกลงกันว่ากรอบมโนทัศน์ของประเทศอเมริกาคือ กรอบมโนทัศน์ท้องถิ่น แล้วนำไปใส่ชื่อ
ประเทศเป็น United State of America ไม่ได้เรียกประเทศอเมริกา แปลว่าอเมริกา
เกิดจากท้องถิ่นรวมตัวกัน United State; State คือท้องถิ่น ดังนั้น ประชาธิปไตยของ
อเมริกามาจากรากฐานขึ้นมา ไม่ได้มีแต่ที่วอชิงตัน อเมริกาจึงมีหลักทางความคิดที่แข็งแรงมาก
รัฐธรรมนูญฉบับเดียวใช้มากว่า ๒๐๐ ปี ของไทย ๑๘ - ๑๙ ฉบับแล้ว เพราะเราไปทำข้างบนเรา
สร้างพระเจดียจ์ ากยอดไม่สำเร็จ จึงต้องทำใหม่พระเจดียต์ อ้ งสร้างจากฐาน เมือ่ ต้องการสันติสขุ
ต้องการความสุข ความเป็นปกติ ความยั่งยืน ก็ต้องมีดุลยภาพ อะไรที่ไม่ได้ดุลก็ไม่ยั่งยืน
เหมือนเรือที่เสียดุลวิ่งไปเดี๋ยวก็ล่ม ถ้าเรือได้ดุลก็วิ่งไปได้ไกล
ดังนัน้ เราจะพัฒนาอย่างมีดลุ ยภาพแล้ว ก็ตอ้ งพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ใช่แบบแยกส่วน
ก็ตอ้ งคิดเป็นลำดับไป เมือ่ พัฒนาอย่างบูรณาการ ก็ตอ้ งเอาพืน้ ทีเ่ ป็นตัวตัง้ ไม่ใช่เอากรมเป็นตัวตัง้
เพราะการพัฒนาที่เอากรมเป็นตัวตั้ง ก็แยกเป็นเรื่องๆ เช่น กรมน้ำ กรมดิน กรมข้าว
ก็ไม่บูรณาการ เมื่อมหาวิทยาลัยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็แยกเรื่อง มหาวิทยาลัยถึงไม่มีพลัง ถ้าจะ
พัฒนาอย่างบูรณาการแล้วต้องเอาพืน้ ทีเ่ ป็นตัวตัง้ เอากรมเป็นตัวตัง้ ไม่ได้ เอาวิชาเป็นตัวตัง้ ไม่ได้
เอาเรื่องเป็นตัวตั้งไม่ได้ ให้สังเกตว่าอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถ้าเอากรมเป็นตัวตั้ง กรมข้าวก็แยกไป
กรมต้นไม้ก็แยกไป กรมน้ำก็แยกไป แต่ถ้าบูรณาการก็ต้องใช้หมดทุกเรื่อง แยกส่วนทั้งวิธีการ
และงบประมาณ ให้งบประมาณตามกรม และกรมก็เป็นนิตบิ คุ คลด้วย จึงมีปญั หาเชิงโครงสร้าง
ตามมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าตั้งกรอบมโนทัศน์ให้มั่นคง ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในพื้นที่ก็มีหมู่บ้าน
มีตำบล มีเมือง มีจังหวัด วิธีจำตัวเลขง่ายๆ แม้จะไม่ตรงทีเดียว คือใช้ ๑๐ คูณ ไปเรื่อยๆ
มี ๗๖ จังหวัด ก็มีประมาณ ๗๖๐ อำเภอ ที่จริงแล้วกว่านั้น แล้วก็มีประมาณ ๗,๖๐๐ ตำบล
มีประมาณ ๗๖,๐๐๐ หมู่บ้าน
การพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งนั้นมีตัวอย่างเป็นรูปธรรม ที่บ้านหนองกลางดง
อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ใหญ่โชคชัยเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีสภาผู้นำชุมชน
โดยมีสมาชิกสภา ๕๙ คน มีผู้นำที่เป็นทางการ ๓ คน คือผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาผู้นำชุมชน
และสมาชิกสภาผูน้ ำชุมชน ตำแหน่งละ ๑ คน ซึง่ เป็นจำนวนทีก่ ำหนดโดยกฎหมาย สมาชิกสภา
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 21
ผู้นำชุมชนทั้งหมดมาจากกลุ่มละ ๒ คน โดยมีผู้นำตามทางการ ๓ คน นอกนั้นเป็นผู้นำไม่เป็น
ทางการอีก ๕๖ คน โดยเป็นผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำกลุ่มสตรี ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์ ผู้นำเยาวชน
และผูน้ ำต่างๆอีกมาก นีค่ อื หมูบ่ า้ นเดียวรวมเป็น ๕๙ คน สภาผูน้ ำชุมชนจะไปสำรวจข้อมูล
ชุมชน ซึ่งเป็นจุดสำคัญ การสำรวจถือเป็นการวิจัย และการวิจัยจะไม่ประสบความสำเร็จ
ถ้าไม่ใช้ข้อมูล แต่นี่ชาวบ้านทำวิจัยเองเข้าไปสำรวจข้อมูลชุมชน เสร็จแล้วเอาข้อมูลมาพูดคุย
กันว่า พื้นที่มีเท่าไหร่ การทำมาหากินเป็นอย่างไร ใครมี/ไม่มีที่ดินทำกิน มีปัญหาอะไรบ้าง
มียาเสพติดไหม ใครเสพ ใครค้า ใครทำอะไร สำรวจหมด แล้วนำมาทำแผนชุมชน แผนชุมชนที่
ได้นจ้ี ะเป็นแผนพัฒนาอย่างบูรณาการ พัฒนาทุกด้านเชือ่ มโยงกันทัง้ หมด เสร็จแล้วก็เอาแผนชุมชน
ทีส่ ภาผูน้ ำชุมชนจัดทำนี้ไปให้คนทั้งหมู่บ้านดู ซึ่งเรียกว่า สภาประชาชน ซึ่งมีสมาชิกเป็นคนทั้ง
หมู่บ้าน เนื่องจากหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่ จึงสามารถเป็นประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Demo-
cracy) ประชาธิปไตยทีเ่ ราใช้อยูใ่ นระบบสภาผูแ้ ทนเป็นประชาธิปไตยตัวแทน (Indirect Demo-
cracy หรือ Represented Democracy) ซึ่งเกิดขึ้นแต่ครั้งโบราณที่การคมนาคมยังไม่สะดวก
การสือ่ สารน้อย ประชาชนจึงต้องเลือกตัวแทนเข้าไปประชุมกันในเมืองหลวง ซึง่ ล้าสมัยมากแล้ว
เพราะเดีย๋ วนีก้ ารคมนาคมสะดวก การติดต่อรูถ้ งึ กันหมด แล้วประชาธิปไตยตัวแทนก็มปี ญั หามาก
มีการใช้เงินใช้ทอง หลังจากนั้นไปโกงกินมีคนมาล็อบบี้ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย จุดสำคัญ
ที่บ้านหนองกลางดงนี้เป็นประชาธิปไตยชุมชน นำแผนพัฒนาชุมชนไปให้ประชาชนทั้งหมู่บ้าน
ดู ชอบไม่ชอบ จะเพิ่มเติมอะไรจะตัดอะไร สภาประชาชนทั้งหมู่บ้านเป็นผู้รับรองแผนชุมชน
เป็นแผนที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม เข้าใจและร่วมขับเคลื่อนได้ ถ้าแผนนั้นทำมาจากสภาพรรคการ
เมือง ชาวบ้านไม่เข้าใจ ก็ร่วมขับเคลื่อนไม่ได้ แต่แผนนี้ชาวบ้านทำเอง จึงขับเคลื่อนแผน
ร่วมกันได้ เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการขึ้นในชุมชน ผลปรากฏว่าทุกอย่างดีขึ้น อย่างน้อย ๘
เรือ่ งเข้ามาเชือ่ มโยงกัน เศรษฐกิจความยากจนลดน้อยลง หนีส้ นิ น้อยลง เงินออมเพิม่ ขึน้ จิตใจดีขน้ึ
ความรุนแรงน้อยลง สังคมดีขึ้น วัฒนธรรมดีขึ้น สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา ประชาธิปไตย
เพราะกระบวนการทั้งหมดเป็นประชาธิปไตย จึงเชื่อมโยงกันหมดเป็นบูรณาการ เป็นมรรค ๘
ของการพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา
เป็นประชาธิปไตยเชื่อมโยงเป็นกระบวนการเดียวกัน เมื่อเกิดผลแล้วเหมือนสวรรค์บนดิน
นอกจากนี้ ยังมีสวรรค์บนดินที่ บ้านท่านางแมว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
บ้านคีรีวงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะที่บ้านคีรีวงศ์นี้ ชาวบ้านเศรษฐกิจดี

22 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ร่วมมือกันทำ ดูแลสิ่งแวดล้อม มีผ้าทอมือย้อมคราม เดิมขายไม่ดี ตัดเป็นเสื้อผ้าก็ยังขายไม่ดี
ต่อมามีคนช่วยเรือ่ งการออกแบบ ก็ตดั ออกมาสวย จึงขายดีขน้ึ ซึง่ วิชาการพวกนีม้ หาวิทยาลัยมี
ซึง่ จะกล่าวถึงต่อไป ระดับตำบลก็มที เ่ี ป็นสวรรค์บนดิน เช่น ตำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
มีประชากร ๓๕,๐๐๐ คน ตำบลนี้ค่อนข้างใหญ่ ในตำบลนี้มีศูนย์เด็กเล็ก ๗ ศูนย์ ซึ่งเด็กเล็ก
ทุกคนในตำบลนี้เข้าเรียนฟรี ไม่มีการสอบเข้า (Entrance) สังคมไทยอยู่กับเรื่องสอบเข้า
จนนึกว่าเป็นเรือ่ งธรรมดา ทีจ่ ริงการสอบเข้าเป็นเรือ่ งไม่ดี ประเทศฝรัง่ เศสมีกฎหมายห้ามสอบเข้า
ถ้ามหาวิทยาลัยไหนจัดการสอบเข้า จะผิดกฎหมาย เนื่องด้วยเป็นสิทธิของคนฝรั่งเศสที่จะเข้า
เรียน แม้จะเก่งหรือไม่เก่ง จะรวยหรือจน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเรียน ที่ตำบลปากพูนไม่มีสอบเข้า
เด็กพร้อมเมือ่ ไหร่เข้าแล้วเรียนฟรีหมด มีครูพเ่ี ลีย้ ง เด็กทัง้ ตำบล ได้กนิ นมฟรีทกุ วัน นมสดนมวัว
ผูห้ ญิงตัง้ ครรภ์ในตำบลนีก้ นิ นมฟรีทกุ คน เพราะว่าโภชนาการของหญิงตัง้ ครรภ์สำคัญมาก ถ้าเด็ก
คลอดมาแล้วน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์แปลว่าโภชนาการแม่ไม่ดี แล้วเด็กทีน่ ำ้ หนักต่ำกว่าเกณฑ์นอ่ี กี
๓๐ ปี ๔๐ ปีข้างหน้า จะเป็นโรคหัวใจ จะเป็นโรคมะเร็ง เป็นโรคต่างๆ มีการวิจัยระยะยาวแล้ว
และงานวิจัยนี้ได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งถือเป็นรางวัลโนเบลเมืองไทย
แสดงให้เห็นว่า เด็กน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์นี้ยังมีอยู่ ทั้งๆที่ประเทศเราผลิตอาหารได้เหลือกิน
แต่วนั นีท้ ต่ี ำบลปากพูน ผูห้ ญิงตัง้ ครรภ์ทกุ คนกินนมฟรีทกุ วัน เพราะตำบลเลีย้ งวัวนมไว้ ๑๐๐ ตัว
แต่ละตัวให้นม ๒๐ กิโลกรัมต่อวัน จึงมีนมมากพอสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็กทุกคน ที่เป็น
เช่นนีไ้ ด้เพราะการพัฒนาอย่างบูรณาการ ถ้าพัฒนาแบบแยกส่วน สมมติเด็กอยูก่ บั การศึกษา แม้
การศึกษาอยากให้เด็กกินนม ก็ไม่มนี มแล้วจะเอาจากไหน หรือลูกอยากให้แม่กนิ นมก็ไม่มนี มกิน
แต่การบูรณาการทั้งหมด ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สุขภาพ ไปพร้อมกัน จึงทำได้ ที่ตำบลนี้ยังมีการ
สำรวจคนพิการ พบว่า ทั้งตำบลมี ๓๘๒ คน มีชนิดไหนบ้าง และจัดอาสาสมัครไปดูแลทุกคน
ซึ่งจุดนี้มหาวิทยาลัยต้องเข้าไป เพราะบางเรื่องก็ต้องการวิชาการเข้าไปเสริม ชาวบ้านไม่ต้อง
การอาสาสมัครไปดูแล แต่ต้องการวิชาการไปช่วยเสริม เวลามหาวิทยาลัยกล่าวถึงโครงการกาย
ภาพบำบัดต้องนึกถึงกายภาพบำบัดชุมชน เพื่อนำวิชาการเข้าไปเชื่อมต่อกับชุมชน
ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีสวรรค์บนดินได้จริงๆ จากการพัฒนาอย่างบูรณาการ
ทั้งในพื้นที่ระดับชุมชนและระดับตำบล จึงเป็นรูปแบบที่สามารถจะขยายตัวไปได้เต็มประเทศ
ซึ่งเราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเห็นสวรรค์บนดินเต็มประเทศไทย ซึ่งเราทำได้แน่นอน
ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 23
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรทางศาสนธรรม และทรัพยากรทางสังคม เป็นต้น
ถ้าเราช่วยกันทำในวิธีที่ถูกทาง เราสร้างสวรรค์บนดินประเทศไทยได้ เราผลิตอาหารได้เหลือกิน
ต่อไปโลกจะวิกฤติ เราก็ไม่เป็นไร เรามีอาหารกินพอ ภัยธรรมชาติก็ไม่มาก เพราะเราอยู่ในภูมิ
ประเทศทีเ่ หมาะ ความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทีจ่ ะมี ถ้าเราดูแลรักษาแผ่นดินของเราไว้ซง่ึ
มีคา่ มหาศาล เราทำได้แน่นอน ร่วมสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศทีน่ า่ อยูท่ ส่ี ดุ ในโลก ซึง่ จุดนี้
มหาวิทยาลัยมีความสำคัญที่จะเข้ามาเพราะเป็นพลังใหญ่มากมายมีตั้ง ๑๐๐ กว่ามหาวิทยาลัย
จังหวัดเรามีเพียง ๗๖ จังหวัดเอง ถ้า ๑ มหาวิทยาลัยมาทำงานกับ ๑ จังหวัด ก็เสริมสร้าง
ได้ทั้งประเทศ
ยุทธศาสตร์ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด ก็คือ ให้มหาวิทยาลัยไปดูในแต่ละจังหวัด
ซึง่ โดยเฉลีย่ มีประมาณ ๑๐ อำเภอ ๑๐๐ ตำบล ๑,๐๐๐ หมูบ่ า้ น ทำไมเราจะทำไม่ได้ให้ดหี มดทัง้
๑,๐๐๐ หมู่บ้าน ทั้ง ๑๐๐ ตำบล เรามีรูปแบบอยู่แล้วเรื่องกระบวนการจากที่ยกตัวอย่างมาแล้ว
รูปแบบการพัฒนาอย่างบูรณาการ ซึ่งชาวบ้านทำกันเอง เมื่อมหาวิทยาลัยจะไปทำ จำเป็นต้อง
เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง อย่าไปเอาเรื่องเป็นตัวตั้ง ถ้าใช้เรื่องเป็นตัวตั้งเดี๋ยวจะกระจายกันไปหมด
แล้วจะไม่มกี ำลังทีจ่ ะเสริมหนุนกัน ถ้ามหาวิทยาลัยประกาศว่าจะทำกับจังหวัดใดสักจังหวัดหนึง่
จะมีผู้สนับสนุนหรือให้กำลังใจตามมามากมาย แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็มองไม่เห็นผู้สนับสนุน
เพราะแคบเพียงแค่วชิ า เช่น สมมติวา่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทำกับสระแก้ว มหาวิทยาลัย
รังสิตทำกับปทุมธานี มหาวิทยาลัยทักษิณทำกับพัทลุง ทัง้ จังหวัดเลย เมือ่ เอาจังหวัดเอาพืน้ ทีเ่ ป็น
ตัวตัง้ ผูส้ นับสนุนคนแรกเลยก็คอื ผูว้ า่ ราชการจังหวัด เพราะการพัฒนาจังหวัดนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย
หากมีมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นเพือ่ น ผูว้ า่ ฯก็ดใี จ คนในจังหวัดก็ดใี จ ใครๆก็ดใี จถ้วนหน้า เข้ามา
สนับสนุนพร้อมที่จะทำร่วมกัน แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้งทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมประกาศพื้นที่
ก็ไม่มีพลัง

ยุทธวิธีการเสริมพลังการศึกษาศาสตร์ ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด”


๑) อาจารย์และนักศึกษาไปร่วมทำแผนชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องสร้างแรงจูงใจให้
อาจารย์อยากไป ไม่ใช่เฉพาะคณะศึกษาศาสตร์ แต่ทกุ คณะทุกสถาบัน ต้องกำหนดเป็นหน่วยกิต
สำหรับนิสิตให้ไปทำแผนชุมชน จะเป็นวิชาเลือกก็ได้ถ้าไม่บังคับ อาจารย์และนักศึกษาไปร่วม

24 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ทำแผนชุมชนจะได้เข้าใจว่ากระบวนการชุมชนทำอย่างไร เป็นเรื่องไม่ยากเพราะชุมชนกำลัง
ทำอยู่แล้ว เราก็ไปร่วมสังเกตการณ์ แต่นิสิตและอาจารย์มีความรู้หลายอย่างที่ชาวบ้านไม่มี
ก็สามารถร่วมพัฒนาในการทำแผนนั้นให้ดีขึ้น ความรู้เข้าไปตรงนี้ ชุมชนก็จะทำแผนได้ดีขึ้น
๒) วิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม มหาวิทยาลัยมีความรูเ้ รือ่ งเทคโนโลยี ซึง่ ไม่ใช่
เป็นเรื่องเชิงวิศวกรรมเท่านั้น คำว่าเทคโนโลยีหมายถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ ความรู้อะไรก็แล้ว
แต่ไปประยุกต์ใช้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นความรู้เรื่องการจัดการ เรื่องบัญชี
เรื่องทุกชนิด ถ้าประยุกต์ใช้ความรู้ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีทั้งที่เป็นอุปกรณ์ (Hard-
ware) มีทง้ั ทีเ่ ป็นองค์ความรู้ (Software) ซึง่ มหาวิทยาลัยมีมาก แต่ไม่ใช่เอาไปสอนชาวบ้านเฉยๆ
ชาวบ้านไม่เข้าใจ ต้องเข้าไปร่วมกับชาวบ้าน ร่วมทำแผนชุมชน แล้วจึงวิจัยและพัฒนาให้เป็น
เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมกับพืน้ ที่ ให้นำไปใช้เพือ่ ลดผ่อนแรง ลดการลงทุน หรือเพิม่ มูลค่าของผลิตผล
ผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งหนึง่ ทีจ่ งั หวัดสกลนครเข้าไปร่วม
กับเครือข่ายอินแปง ซึ่งเป็นเครือข่ายจากชาวบ้าน ๘ อำเภอมารวมตัวกันสำรวจพรรณไม้บน
เทือกเขาภูพาน และร่วมกันขยายพันธุไ์ ม้ทใ่ี กล้จะสูญพันธุเ์ ป็นแสนๆกล้า แจกฟรีหรือขายในราคา
ถูกมาก ซึง่ จุดนีส้ ถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวเข้ามาช่วยจากทีเ่ คยเพาะพันธุต์ ามธรรมชาติซง่ึ ขยายพันธุ์
ได้ชา้ ก็เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจนขยายพันธุไ์ ด้มาก นอกจากนัน้ ยังนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยชาว
บ้านทำไวน์มกั เม่า เพือ่ ให้ได้ pH ทีเ่ หมาะสม และรสชาติตามต้องการ ทำให้ไวน์ชาวบ้านน่ากิน
ขึน้ โดยใช้เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม อีกตัวอย่างเป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากมูลนิธฟิ รองซัวร์บราเวียร์
พาวิศวกรทีเ่ กษียณแล้ว ๓ คนจากสวิตเซอร์แลนด์ไปพม่า ไปดูวา่ พม่าเขาทำอะไรกันบ้าง พบว่า
ชาวพม่าจุดเทียนกันมากเพื่อบูชาพระ แต่เทียนที่พม่าทำนั้นยังไม่ค่อยดี วิศวกรกลุ่มนี้จึงไปช่วย
ชาวบ้านผลิตทำให้เทียนสะอาดขึน้ น่าใช้ขน้ึ ควันน้อยลง ทำให้ขายดีขน้ึ นีจ่ ากสวิตเซอร์แลนด์ไปช่วย
ถึงพม่า พวกเราเองอยูท่ น่ี ่ี เรามีเทคโนโลยีต่างๆ มาก แต่ว่าเราไม่เคยไปดูชาวบ้าน เราก็สร้าง
พระเจดีย์จากยอดไปเรื่อยๆ แต่ถา้ เราไปดูชาวบ้านว่าทำมาหากินอะไรบ้าง ใช้เทคโนโลยีอะไรอยู่
แล้วเราจะนำเทคโนโลยีอะไรเข้าไปทำให้ชาวบ้านดีขน้ึ ตรงนี้ ชาวบ้านหายจนแน่ๆ ถ้ามหาวิทยาลัย
เข้าไปร่วมทำแผนชุมชนกับชาวบ้าน ก็จะเป็นตัวเชื่อมให้นำอาจารย์นักวิชาการที่มีความรู้ที่มี
เทคโนโลยีต่างๆ เข้าไปใช้ได้ทุกชนิด ก็จะทำให้ชุมชนดีขึ้นหายจน ทำให้ชีวิตชาวบ้านดีขึ้นแน่
นอน ทีแรกก็ทำเป็นบางหมู่บ้าน บางตำบลก็ได้ แล้วค่อยขยายไป บางทฤษฎีบอกว่าทำ ๒๐%
เท่านั้นที่เหลือจะมีพลังขยายไปเอง เป็นสูตรของธรรมชาติ จะขยายได้เอง ขอให้มหาวิทยาลัย

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 25
ช่วยทำให้ได้สัก ๒๐% ของจังหวัด ก็ไปพิสูจน์ดูว่าจริงหรือเปล่า อย่าเชื่อคำบอกเล่า
๓) ส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่
หรือ อ.ป.ท. มี ๓ ชนิด คือ ก) องค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) ข) เทศบาล
ค) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.บ.จ.) ทั้งหมดรวมกันมีประมาณ ๘,๐๐๐ องค์กรทั้งประเทศ
ในแต่ละจังหวัด ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทำงานร่วมกับชุมชนได้ดจี ะเป็นปัจจัยทีส่ ำคัญมาก
สมมติวา่ อ.ป.ท. หนึง่ มี ๑๐ หมูบ่ า้ น ถ้าตัว อ.ป.ท.เองมีปญั หา เช่น ปัญหากับกระทรวงมหาดไทย
เพราะมีกฎระเบียบมากมาย ซึง่ อ.ป.ท. ยังบริหารองค์กรได้ไม่ดนี กั หรือขาดเรือ่ งระบบบัญชีทม่ี ี
ประสิทธิภาพ หรือขาดเรือ่ งระบบข้อมูล เป็นต้น มหาวิทยาลัยก็ไปช่วยดูและส่งเสริมด้านเทคโน-
โลยีวชิ าการให้แก่ อ.ป.ท. อาจเริม่ จากหนึง่ ตำบล สองตำบล เทศบาล เป็นต้น ถ้าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิน่ เข้มแข็งขึน้ ก็จะทำให้ชมุ ชนเข้มแข็งขึน้ เราบอกแล้วว่าชุมชนท้องถิน่ คือฐานของสังคม
ถ้าชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งทั้งประเทศ ประเทศก็พ้นจากวิกฤติ สมมติในจังหวัดสระแก้ว มีองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ กีแ่ ห่ง ก็ลองไปดูกนั เพราะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีหลายคณะสถาบัน
คณะหนึ่งไปตำบลหนึ่ง สถาบันหนึ่งไปตำบลหนึ่งก็ได้ ไปดูอย่างนั้น ก็จะเกิดประโยชน์ขึ้น
๔) การสังเคราะห์ประเด็นนโยบายทีเ่ กิดจากการปฏิบตั ิ ไม่วา่ จะเป็นชุมชนหรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิน่ เมือ่ นำนโยบายไปปฏิบตั ิ เขาจะรูว้ า่ อะไรเป็นอุปสรรค ถ้าลดอุปสรรคนัน้ ได้
จะทำให้ปฏิบตั ไิ ด้ดขี น้ึ และจะมีนโยบายเกีย่ วกับอะไรทีม่ าเสริมอีกได้ เพือ่ ให้ปฏิบตั ไิ ด้ดยี ง่ิ ขึน้ อีก
นีค่ อื การสังเคราะห์เป็นนโยบาย ถ้ามหาวิทยาลัยลอยตัวอยูก่ บั วิชาการ เราก็จะไม่รู้ เพราะเราใช้
วิชาเป็นตัวตั้งอยู่ แต่ถ้าเราลงไปสังเคราะห์จากพื้นที่จากคนที่ปฏิบัติ ก็จะรู้ว่าทำไมทำอย่างไร
จะทำงานได้ดขี น้ึ เมือ่ บวกกับความมีนำ้ ใจ ความสุภาพ อ่อนโยน และวัฒนธรรมไทยเข้าไปด้วย
ก็จะเป็นจุดแข็งของประเทศได้เลย เช่น เครื่องบินต่างประเทศชอบมาซ่อมที่สนามบินดอนเมือง
ซึ่งน่าแปลกใจ เพราะไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คนไทยซ่อมเครื่องบินเก่งกว่าฝรั่ง แต่เพราะคนไทยมี
น้ำใจต่างจากฝรัง่ ช่างไทยเวลาซ่อมไปเจออะไรทีบ่ กพร่องไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาก็ทำแถมให้ดว้ ย
แต่ฝรั่งจะทำตามสัญญาทุกตัวอักษรเขียนไว้อย่างไรก็ทำแค่นั้น แม้เทคโนโลยีเราไม่เก่งเท่าฝรั่ง
แต่เมื่อบวกน้ำใจเข้าไปด้วย บวกวัฒนธรรมไทยเข้าไปด้วย ก็เป็นจุดแข็ง พยาบาลไทยเป็น
พยาบาลทีด่ ที ส่ี ดุ ในโลก ก็เพราะบวกความรูด้ ว้ ยความอ่อนโยน วัฒนธรรมไทยจึงเป็นทีต่ อ้ งการมาก
ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางการพยาบาลได้สบาย ดังนัน้ อย่ามาดูถกู วัฒนธรรมไทย เมือ่ เอา
ไปบวกกับวิชาการหรือสิง่ ต่างๆ ก็มที ง้ั คุณค่าและมูลค่าเพิม่ เมือ่ มหาวิทยาลัยเข้าไปปฏิบตั ใิ นพืน้ ที่

26 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ก็เข้าไปช่วย อ.ป.ท. สังเคราะห์นโยบายที่เกิดจากการปฏิบัติได้ ซึ่งนำมาสู่ความสำคัญของการ
เป็นมหาวิทยาลัย คือการสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นนโยบายสาธารณะ
๕) การสื่อสารเชื่อมโยงประเด็นนโยบายสาธารณะ บ้านเมืองเราที่เกิดวิกฤติอยู่ทุก
วันนี้เพราะคนทำนโยบายนั้นเป็นพวกที่มีความรู้น้อยมีความสุจริตน้อย แต่ทำนโยบายกระทบ
หมดทุกอณูของสังคม แต่มหาวิทยาลัยไม่ทำนโยบายเลย ทำไม่เป็น เพราะเราเอาวิชาเป็นตัวตั้ง
แต่ถ้าทำวิธีนี้ก็จะเข้าใจประเด็นนโยบาย จะเห็นปัญหาว่าชาวบ้านยากจนเพราะขาดที่ดินทำกิน
นโยบายทีด่ นิ ควรเป็นอย่างไร จะเกิดความเข้าใจมากขึน้ มหาวิทยาลัยสามารถสือ่ สารเชือ่ มโยงได้
มากกว่าชาวบ้าน ไปถึงระดับชาติก็ได้ ระดับอะไรก็ได้ทั้งนั้น สาระของประชาธิปไตยก็คือการ
ที่สามารถเชื่อมโยงนโยบายของคนชั้นล่างไปสู่ระดับชาติได้ แต่มหาวิทยาลัยไม่ได้ทำตัวนี้ และ
ที่บ้านเมืองเราพินาศถึงทุกวันนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้ทำตัวนี้ ถ้ามหาวิทยาลัยเข้ามาทำตรง
จุดนี้ เข้ามาทำงานนโยบายสาธารณะ ซึง่ ต้องการกระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางสังคม
และกระบวนการทางศีลธรรม ที่ผ่านมา นโยบายหลายเรื่องที่นำประเทศไปสู่ความล่มจม แม้
แต่นโยบายเรื่องการขนส่ง ก็นำประเทศไปติดกับความล่มจม ใช้รถบรรทุกสิบล้อวิ่งทั้งประเทศ
ต้องสร้างถนนแพงมาก เผาน้ำมันหมด แทนที่จะใช้รถไฟกับเรือกลไฟ เรือกลไฟนั้นเรามีแม่น้ำ
อยู่แล้ว และเรือก็รับน้ำหนักได้มาก ถ้าเราเก่งทางวิศวกรรมก็ทำหัวรถจักรกับเครื่องเรือกลไฟ
แล้วใช้ฟืนใช้ไม้โตเร็วที่ชาวบ้านปลูกได้ง่าย ชาวบ้านก็มีรายได้ แทนที่จะเสียเงินไปให้อาหรับ
แล้วถามว่าใครทำนโยบายนี้ คือ คนอยากสร้างถนน คนอยากขายรถยนต์ คนอยากขายน้ำมัน
ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่ทำ มหาวิทยาลัยจึงต้องเข้าไปทำนโยบายสาธารณะ หากไม่วิจัยนโยบาย
มหาวิทยาลัยจะมีความรู้แต่ทางเทคนิค ขณะที่ วิจัยนโยบายต้องเห็นภาพรวมแล้วจึงจะรู้ว่าควร
เดินไปทางไหน หรือกำลังเดินไปทางไหน ไปผิดทางหรืออย่างไร เหมือนต่อจิ๊กซอว์ถ้าเราไม่มี
ภาพรวมเราก็ไม่รู้ว่าจะต่ออย่างไรจึงจะถูก เพราะฉะนั้นการวิจัยนโยบายจึงเป็นประโยชน์
ยุทธศาสตร์หนึง่ มหาวิทยาลัยหนึง่ จังหวัดนัน้ อาจใช้วธิ กี ารอืน่ ก็ได้ แต่ถา้ มหาวิทยาลัย
เข้าไปทำร่วมกับจังหวัดอย่างเป็นลำดับขัน้ ตามยุทธวิธที ก่ี ล่าวมาแล้ว ก็จะไม่ยาก มหาวิทยาลัยก็
จะสามารถทำให้จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ และการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือการ
เรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติที่เรียกว่า Interactive Learning Through Action เพราะแม้ท่อง
หนังสือได้ทุกตัว ก็ไม่หายจน ครูก็สอนหนังสือแต่ครูก็จน ดังนั้น การเรียนรู้ในการปฏิบัติจึงเป็น
เรื่องสำคัญ หลายปีมาแล้วธนาคารโลก (World Bank) ได้ทบทวนว่าโครงการของธนาคารโลก
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 27
๕,๐๐๐ โครงการ ทีใ่ ห้ประเทศ/องค์กรต่างๆกูเ้ งินไปประสบความสำเร็จไหม ผลประเมินพบว่าตัว
โครงการประสบความสำเร็จ แต่ชาวบ้านไม่ดขี น้ึ เพราะโครงการทัง้ หมดของธนาคารโลกใช้ความรู้
แต่ไม่ได้เรียนรู้ สมมติเราเรียนรู้อะไรวิชาไหนก็จะนำวิชานั้นไปใช้ จึงไม่สำเร็จ เพราะในสภาพ
ความเป็นจริงมีหลายเรื่องหลายราว มีความจำเพาะในแต่ละบริบท และในแต่ละเรื่องก็มีคน
องค์กร สถาบัน เกี่ยวข้องด้วยมากมาย สมมติเราไปทำที่สระแก้ว จะทำเรื่องแก้ความยากจน
หรือดูแลสิ่งแวดล้อม หรืออะไรก็ตาม ก็จะมีผู้คนเกี่ยวข้องมากมาย ทุกคนมีความสำคัญทั้งต่อ
ความสำเร็จและล้มเหลว เป็นไปไม่ได้ทใ่ี ครคนใดคนหนึง่ มีความรูท้ เ่ี รียกว่าเรียนรูแ้ ล้วจะทำได้สำเร็จ
แต่ตอ้ งอาศัยการเรียนรูข้ องคนทัง้ หมดร่วมกันในการปฏิบตั ทิ เ่ี ป็นของจริง เพราะฉะนัน้ การเรียนรู้
ร่วมกันจากการปฏิบัติ จึงเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด และคนทั้งหมดเรียนรู้ร่วมกันและปฏิบัติ
จึงจะได้ผลจริงออกมา
วิธที ำในระบบทีซ่ บั ซ้อนอย่างนี้ ต้องเปิดพืน้ ทีท่ างสังคมและพืน้ ทีท่ างปัญญาอย่างกว้าง
ขวาง เอาพืน้ ทีเ่ ป็นตัวตัง้ คนทัง้ หมดทัง้ ชุมชนทัง้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ใครทัง้ หมดมาร่วม
เรียนรู้และร่วมกันทำ สมมติทำที่สระแก้ว ทุกหมู่บ้านในสระแก้วเป็นสวรรค์บนดิน ทุกตำบล
เมืองด้วย ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านน่าอยู่ ทุกตำบลเป็นตำบลน่าอยู่ ทุกเมืองเป็นเมืองน่าอยู่
ทั้งจังหวัดเป็นจังหวัดน่าอยู่ ดีทั้งหมดเลย ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ
การศึกษา ประชาธิปไตย ดีหมดเลยเป็นจังหวัดน่าอยู่ทั้งหมด จังหวัดทั้งจังหวัดจะกลายเป็น
มหาวิทยาลัยในรูปแบบใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยชีวติ ทีม่ กี ารเรียนรูร้ ว่ มกันในการปฏิบตั ทิ จ่ี ะทำให้ดี
ขึ้นหมดเลย จะเป็นมหาวิทยาลัยอีกแบบหนึ่ง ที่ทั้งจังหวัดเป็นมหาวิทยาลัย แล้วเมื่อนั้น ระบบ
การศึกษาจะแก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน ทุกวันนี้ระบบการศึกษาสร้างความทุกข์ยาก
ให้คนทั้งแผ่นดิน ใครอยากเข้าโรงเรียนดีๆ ต้องวิ่งเต้นเส้นสายจ่ายแป๊ะเจี๊ยะ บางคนไม่มีเงินก็
ลำบากเลือดตาแทบกระเด็น แต่ถ้าจังหวัดทั้งจังหวัดกลายเป็นมหาวิทยาลัยในรูปใหม่ ก็จะมีที่
เรียนรู้พอเพียงกับทุกคนทั้งหมด เรียนรู้อย่างมีความหมาย เรียนรู้แล้วทำงานได้ มีอาชีพต่างๆ
เช่นนีจ้ งึ จะแก้ปญั หาได้หมดทุกอย่าง การศึกษาเพือ่ ทัง้ หมด และทัง้ หมดต้องเพือ่ การศึกษา (Edu-
cation for All, All for Education) การศึกษารักษาทุกโรค ทั้งความยากจน ทั้งสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม ทุกอย่าง ไม่ใช่การศึกษาเอาวิชาเป็นตัวตั้ง แต่การศึกษาต้องรักษาทุกโรค (Education
Cure All) อย่างที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กำลังจะลงมือทำ

28 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
พระเจดีย์แห่งการพัฒนา
พระเจดียแ์ ห่งการพัฒนา
ฐานของพระเจดี ย ์ ค ื อ ชุ ม ชน
ท้องถิ่น ตัวองค์พระเจดีย์คือ
ระบบต่างๆ เช่น ระบบเศรษฐกิจ
ระบบการศึกษา ระบบตำรวจ
เป็ น ต้ น แล้ ว ยอดพระเจดี ย ์
คือความถูกต้องเป็นธรรม คือความดีความงาม ตัวระบบต่างๆต้องเชื่อมโยงกับฐานกับชุมชน
ท้องถิ่นอย่างเกื้อกูลหรือเสริมหนุนกัน แล้วก็เชื่อมโยงกับความถูกต้อง หรือเชื่อมโยงกับยอด
เช่น ระบบตำรวจต้องเชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่น ถ้าระบบความยุติธรรมลอยตัวอยู่อย่างทุก
วันนีไ้ ปไม่รอด ทำงานไม่ไหว แต่ถา้ ชุมชนท้องถิน่ เข้มแข็ง ทำเรือ่ งต่างๆเกือบหมดแล้วทุกเรือ่ ง
ก็จะเหลืองานให้ระบบทำน้อยลง แล้วระบบก็ไปหนุนช่วย แล้วตัวชุมชนท้องถิ่นก็หนุนช่วย
ระบบอีกทีหนึ่ง เราก็จะมีพระเจดีย์ที่สวยงาม มั่นคงแข็งแรง และเปล่งปลั่ง เปล่งรัศมีออกไป
คนทั้งมวลก็จะมีความสุข หรือมีสันติสุข สังคมก็จะมีสันติภาพ เพราะฉะนั้น ๑ มหาวิทยาลัย
๑ จังหวัดนั้นทำได้แน่นอน

หมายเหตุ ปาฐกถาพิเศษเรื่องการปฏิรูปการศึกษาศาสตร์ ด้วยเครือข่ายและการมีส่วนร่วม


ของชุมชน โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในโครงการสัมมนาระดับชาติเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ศาสตร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมมิราเคิล
แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร, ถอดคำบรรยายโดยนางสาวฆนรส เติมศักดิ์เจริญ,
เรียบเรียงบทความโดย ดร. สุวิดา แสงสีหนาท

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 29
30 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
Education Reform based on the Strategy of
“One University, One Province”
Praves Vasee
Abstract
Education could bring about happiness and peace to the country. This
article describes the strategy of ‘One University, One Province’ in reforming
education to achieve this end. The central feature of this strategy lies in ‘in-
teractive learning through action’, whereby the community, the lecturers and
students are directly involved in the process of education and developing the
community in the province. It outlines the five steps proposed in implementing
the strategy. Development should proceed from the base up, like building a
pagoda, beginning from the foundation base to build upward to the finial of
the pagoda. The community represents the base, the upper parts represent the
various supporting systems (economics, education, etc) while the finial represents
fairness, correctness and goodness (wholesomeness). In this strategy of “One
University, One Province”, teachers, students and villagers could learn and col-
laborate with one another in determining and developing the right or appropri-
ate technology to support community activities and local administrative or-
ganisations. The university should play an active role in identifying the
community’s needs by working with the community and assisting it; and par-
ticipate in research and formulation of public policy affecting the community.
Further, this strategy should be applied in everyday living and works throughout
the community so that the whole province is transformed into a ‘Learning
Province’. The whole province becomes a new form of university where ‘edu-
cation is for all; and all is for education’.

1
English translation of the original article in Thai, ‘ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์
“หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด”’
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 31
Education is the most powerful tool for one’s development in life. We
always talk about education in terms of its form; we should really focus on
the “essence of education” or the science of education as well. To reform
education, the essence of education must be addressed and re-conceptualised.
A businessman who used to make a lot of money using the old habitual
methods may suffer great losses if he does not adapt to changes and modify
his business concept and practice in accordance with the prevailing changes.
For example, if ‘health’ means ‘no il ness’, then, this would mean that when
we are il , we do not have good health. Being so familiar with this definition,
we just accept it without further analysing what this implies. This definition is
too narrow and does not reflect exactly the real condition. We often hear
about cases of people who are il and who go to see doctors about it. Doctors
cannot diagnose the il ness and speculate that the patients are ‘pretending’. This
old definition of ‘health’ as ‘no il ness’ leaves the determination of ‘health’ or
‘illness’ to specialists like the doctors only, and this is too restrictive and unjust.
We could modify the definition thus, “Good health is a state of harmonious
equilibrium of body system.” The state of harmonious equilibrium is one of normality
and sustainability. When our body is in a state of harmonious equilibrium, we
feel fine. Likewise, when we are il , our body system is not in equilibrium. Therefore,
reforming the health system means reforming the entire system to achieve a
balanced state of body and mind, a harmonious state between human beings,
their society, environment, and all their surroundings. All these component factors
affect one another. Hence, with this new definition of ‘health’, the scope of
healing is wider than that from the old definition.
In order to reform education, we need to re-conceptualise the mean-
ing of education. Since a hundred years ago, we have been focusing mainly
on “disciplines or fields of academic studies” in developing education. We have
not found it strange because we are so familiar with it. Grade depends on
memorizing what is taught in school, the skil of rote study. This stunts the de-
velopment of analytical thinking. It also isolates learning in a formal school
system, and completely cuts off interactive learning from such sources of know
-ledge and human interaction with parents and grandparents who have a lot

32 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
to contribute and share with the young with their love and personal experi-
ences. This form of education does not nurture family relationship and analyti-
cal thinking.
In the reign of King Rama V of Thailand, after the modern form of
education was applied for 8 years, His Holiness Somdet Phra Maha Sama-
nachao Kromma Phraya Vajirayanavarorosa noted that this form of education
cut off Thai people from their root origins. The tree has roots, so does the
society. An education without its founding base of origins is like a tree with its
roots cut off. For example, someone may think that preservation of arts and
culture could be done by simply building Thai traditional houses, playing Thai
traditional music, etc. Culture is a meaningful word and it covers many aspects.
It includes the ways of community living, beliefs, customs, traditions, languages,
conflicts, natural resources and their use and conservation, health care, eco-
nomics and livelihood that are passed on from generations to generations.
Culture is peaceful co-existence.
Lately development proceeds in a reductionist manner. We may look
at it from the perspective of economic development, and subdivides that fur-
ther into finance and so on. Likewise, education can be divided into various
disciplines of studies, but it has left out the disciplines of life and way of living.
Venerable Phra Bhramagunabhorn (Payutto) said that the main problem of
education nowadays is its reductionist thinking that is isolated from life and
living altogether.
World crisis today is a crisis of disequilibrium between man and soci-
ety, man and environment. The simplest example is our body. It comprises
organs which are very different from one another, but which are connected
to each other and integrated into a balanced system that powers it. To attain
equilibrium, development must be integrated. A community is like the base of
a pagoda. If we build a pagoda without considering its base, we will fail
because no pagoda is built from its finial towards its base. A pagoda must
be built from its base up for it to support the upper parts. Thailand has de-

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 33
veloped everything using the top-down approach, and this includes its eco-
nomic development. This is a mistake from little or no understanding. Similarly
in developing education, empowering the local community to be stronger is
the first priority to do. Throughout a long time past, education had taken local
people out of their homes and community and made them study by memoriz-
ing text books. Higher education becomes businesslike and this is a root cause
for some of the crises that we are now facing.
Thailand has been a democratic country for more than 70 years.
Nevertheless, democracy at the state level cannot bring about any success
because it has not begun from the base of the society. The United States of
America was formed through the people’s consensus and agreement on the
concept of the country as the United States of America. Thus, it is called the
United States of America, not America. It means the United States of America
comprise the states that make up the country, each with its own local govern-
ment. Therefore, democracy of the United States of America is built up from
the base of all the states that make up the country, not simply from Wash-
ington D.C. Thus the concept there is strong. One constitution is used for more
than 200 years in U.S.A. whereas there have been 18-19 constitutions in Thailand
because we have built democracy from the top down. We are not successful
in building up a pagoda by starting from its apical finial. We have to build
the pagoda from the base up. If we want peace, happiness, normality, and
sustainability, we must have everything in equilibrium. Development plan should
not be assigned by the central administration. Each department develops its
own budget and strategies and this has brought about structural problems.
There are some examples of area-specific development that is focused
on regional needs. One is Baan Nong-glang-dong in Samroiyod District, Pra-
chuabkhririkhan Province. A community council is set up. By law, a community
council comprises only 3 members. However, Baan Nong-glang-dong commu-
nity council has additional 56 members selected from various community groups
such as the local entrepreneur group, women group, savings group, youth

34 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
group, and other groups by the local people. There is also the people’s coun-
cil whose members are all the residents of the community or village. The com-
munity council’s main duty is to survey, research and gather information for
discussion and formulating into community action plan that covers all aspects
of development on the vil age. The community leader will present the plan,
seek opinions and votes at the people’s council. It is the people’s council that
will eventually decide (approve/amend/disapprove) on the development plan.
Since the size of a vil age is small, the people could manage their commu-
nity by direct democratic way. At the national level, it is indirect democracy
or representative democracy that is suitable for society in the old days when
communication infrastructure was not well developed and not as convenient
and people have to vote for their representatives to act on their behalf.
Nowadays communication infrastructure is advanced and well-developed so that
communication is easy and convenient. Thus in this day and age when it is
easy and convenient for people to connect to one another, governing by
representative democracy is an outdated method. Furthermore, representative
democracy causes many problems and corruptions. In the practice of direct
democracy as given in the example above, all people are involved in the
process of community planning for the development of their community. Their
plan entails integrated development of eight major aspects: community, eco-
nomics, mental or spiritual aspect, society, culture, environment, health, and
education. These are the eight paths of enlightenment to developing heaven
on earth.
Another example is Park Poon Sub-District in Nakorn Srithammaraj Pro
-vince. There are seven children centres where all children have the right to
study without having to pass any educational tests and all levels of education
are provided free. These children centres provide teacher assistants, free milk
for children and all pregnant women of this Sub-District because nutrition of
pregnant woman is regarded as the most important factor in foetal develop-
ment. If newborn infants are underweight (less than standard weight), this indi-

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 35
cates that the mothers’ nutrition has been inadequate. In the next 30 or 40
years or more, these underweight infants wil grow up into adults who are more
prone to develop heart diseases, cancer, and other health problems. In Park
Poon Sub-District, the vil agers conduct survey on the number of disabled per-
sons and types of disability. Volunteers are organised to provide care for the
disabled persons. The university could and should assist the village at whatever
stage or whenever the vil age is in need of academic support for their ac-
tivities. These are examples in holistic development that integrates the whole
structures of economics, mental, and physical health and other systems.
‘One University, One Province’ is a strategy for integrated development.
There are more than 100 universities, but there are only 76 provinces. If only
one university works with one province, we could make the whole country
stronger and more prosperous. However, the university must focus on area, not
just particular disciplines of fields of studies. If the university is established to
cater for the needs of the province, there wil be many supporters and moral
support pouring forth for the university. On the other hand, if we focus on the
disciplines or fields of studies, there wil not be much support because develop-
ment occurs only in the particular fields of studies. If the development is focused
on area, the first person who wil support it is the Provincial Governor and more
supporters wil come forth.
The ‘Five Steps’ to empower education through the Strategy of “One
University, One Province” are:
1) Co-operation in developing community plan - The lecturers and
students of the university should cooperate with the local community in devel-
oping community plan. The Board of Directors of the university should initiate
and motivate the lecturers and to convince them to participate. It could be
listed as a compulsory and alternative subject in every faculty of the univer-
sity so that both the lecturers and students could jointly work out plans with
the community. The university could provide technical or academic assistance
to the community so that the community plan could be put into practice and

36 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
realised for the benefits of the community, lecturers, students and the university.
2) Researching and developing suitable technology – Technology here
means not only engineering technology. It includes all knowledge, both hardware
and software applicable to implementing the community plan. It provides not
only information to the community. It also opens up avenues of collaborative
and participatory research for the students and the community in developing
the right technology that is suitable for use in the area; that minimizes labor
and capital investment; and to add more value to the products of the com-
munity. For example, Rajjamongkol Technology University, Sakolnakorn Campus
cooperated with In-paeng Network (comprising of groups from eight districts) in
surveying plant diversity in Phoophan Mountain Range; in propagating the
nearly extinct plants and distributing them for free or sale at a very low price
to people. The university assisted in providing the improved technology of plant
breeding and propagation to the community for more successful and faster
propagation of the plants. The university also assisted the villagers in applying
the right technology in producing good quality Mak-mao wine. If we don’t
step out of the university and talk or learn what or how the villagers are earn-
ing their living, we are building the pagoda from its finial down to the base.
If the university co-operates with the vil agers in formulating community plan
and acts as a mediator in bringing knowledgeable lecturers and academics
to provide suitable technology to the community, life of the people will be
much improved. We may start at one vil age or a sub-district and then extend
to an increasingly wider area until it spreads to the whole country.
3) Strengthening local administrative, community or village organisations
– There are three types of local administrative organisations - Tambon Admin-
istrative Organisation (TAO or Or Bor Tor); Municipal Administrative Organisation
(or Thesaban) ; and Provincial Administrative Organisation (PAO or Or Bor Jor)
The country has a total of 8,000 local administrative organisations. If
each local administrative organisation could coordinate well with each local
community, it wil be good for the local community. However, these organisa-

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 37
tions are under the supervision of the Interior Ministry, and there are so many
regulations that are not flexible in practice. The university is able to help these
organisations grow stronger and more efficient by providing the right techno
-logy and information in a timely and appropriate manner. The stronger local
administrative organisations are, the more capable the community is. If all com-
munities in the country are stronger, our country will emerge from the crisis
eventually.
4) Policy evaluation – When a new policy is applied to a commu-
nity or local administrative organisation, people will learn about the obstacles
encountered when the policy is put in practice. This is the reason why the
university should go to see what and how the villagers are doing and to
consider the appropriate techniques that should be put into practice. Besides
conducting field studies, university lecturers and students will experience people’s
generosity and politeness, and be part of the culture at the same time. If we
apply politeness, generosity, and Thai culture plus technology, this will add more
value to our products and services. This is the strength of Thailand. University
could enhance this strength by providing the right technology, academic skill,
and expertise to the community in one vil age, then extends such services to
another vil age and another vil age until the whole country is covered.
5) Public Policy – Our country is facing crisis after crisis today because
policy makers have been less knowledgeable and honest. Policies made affect
every part of the society. We should determine and understand the cause of
people’s poverty. Lack of suitable farm land or knowhow in cultivation of crops
affect productivity. University could reach out to national level or policy makers
to help in policy-making. Practice of democracy also includes participatory
formulation and conveying of policy from the ground or grass root level to the
national level. Therefore, university should play an active role in working out
public policy based on knowledge and intelligence, societal concerns and
morality. University should take part in researching and in making public policy
to determine where we should go and whether the policy is right or not.

38 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
The strategy of ‘One University, One Province’ could be implemented
through these five steps or by other methods. If the university could co-operate
with the people of the province in implementing the above five steps, that
province wil become a Learning Province. The most important feature of this
integrated learning and practicing together is aptly termed “Interactive Learning
Through Action.” We cannot solve problems by focusing on only one particular
factor or aspect. For example, if we would like to solve the problem of pov-
erty or conserving the environment, we have to involve the many people
concerned. The extent and quality of this participatory process affects success
or failure of the venture. All of them must learn together and practice to-
gether so as to obtain the right or intended outcomes.
It is most important that everyone in the community and local admin-
istrative organisations take part in formulating policy, learning and practicing.
For example, if this were practiced in Sra-kaew, people of every village, sub-
district, and district of Sra-kaew would participate and get involved in defining
their own future, setting up policy, planning and being responsible for the out-
comes. By using this strategy, every place in the country will be a better place
to live in terms of experiencing true democracy, having better economic situ-
ation, improved mental or spiritual state, better environment, better health,
better education and good culture and practices. All provinces will experience
a new form of university where everyone in the community takes part in learn-
ing and practicing. Education must serve to help solve hardships of the country.
If every province adopts this new form of university, everybody would get equal
opportunity for education
and could apply what they
learn in their everyday life
and works. In short, this is
‘Education for All, All for
Education’.
The pagoda of develop-
ment depicts its composition
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 9
and functions. Its base represents the community, the body represents all systems
such as economic system, academic system, etc; and the finial of pagoda
represents correctness, fairness, and goodness. All systems must be connected
to the base (community) as the core foundation and reference point, for ex-
ample, the security (police) system must be connected to the community. If
the community is strong, people wil be happy and will live peacefully. There-
fore, the strategy of “One University, One Province” could certainly be ap-
plied.

Remark:
Keynote Speech on ‘Education Science Reform thru Network and Participation
of the Community’ given by Prof. Dr. Praves Vasee at the National Seminar
on Education Reform organized by Srinakharinwirot University on the 14th May
B.E. 2553 at Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok. This article was ex-
tracted from the keynote speech by Miss Khanaros Termsakjareon and edited
by Dr. Suwida Sangsehanat.

40 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
Crisis-free State Through Sufficiency Economy
วิรุณ ตั้งเจริญ
Wiroon Tungcharoen
บทคัดย่อ
วิทยาลัยโพธิวิชชาลัยจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของเบญจภาคี มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สัง่ สอนนิสติ และคืนพวกเขากลับสูม่ าตุภมู ิ ด้วยการศึกษาแบบบูรณาการบนพืน้ ฐานความเข้าใจใน
ความต้องการเฉพาะของภูมสิ งั คมของแต่ละพืน้ ที่ บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฐานธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม และฐานวัฒนธรรม ที่ตอบสนองและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โพธิวิชชาลัย
เป็นต้นแบบทางการศึกษารูปแบบหนึ่งของมหาวิทยาลัยไทย ที่จัดระบบการเรียนการสอนอย่าง
บูรณาการ ทั้งองค์ความรู้สากลตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยน
แปลงตลอดเวลา การจัดตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงย่อมเป็นแนว
ทางไปสูก่ ารแก้ไขวิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ซึง่ มีคำสำคัญอยูส่ องคำ คือ “วิกฤต”
และ “เศรษฐกิจพอเพียง” คำว่าวิกฤตนั้น จะต้องเชื่อมโยงทั้ง ตัวปัญหา บริบท พื้นที่
ยุทธศาสตร์หรือแนวรุก และคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ก็ตอ้ งคำนึงถึงทัง้ ในระดับแนวคิด หลักการ
ทฤษฎี และการปฏิบัติ

“วั น สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ” เป็ น วั น ที ่


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ มาทีม่ หาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ เป็น “การเสด็จกลับมาเยี่ยมโรงเรียนของพระองค์” หลังจากที่ทรงจบการ
ศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๒๙ สำหรับ “การเสด็จ
กลับมาเยี่ยมโรงเรียนของพระองค์” ครั้งที่ ๒๑ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๑ นับเป็นครั้งพิเศษ
ซึ่งปกติแล้วจะเสด็จมาที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สำหรับครั้งพิเศษนี้
เสด็จไปทรงเปิดวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อำเภอวัฒนานคร
จังหวัดสระแก้ว ซึ่งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เป็นสิกขนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ที่แปร “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสู่ภาคปฏิบัติ

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 41
วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมมือกับพหุภาคี
ทั้งภาคราชการ ทหาร การศึกษา ประชาชน เอกชน ประชาสังคม สื่อ รวมทั้งสำนักงาน
ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. โดยมุ่งผลิตบัณฑิตคืนถิ่นทางด้านภูมิสังคม
ที่มีสำนึกในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ชุมชน วัฒนธรรม จิตอาสา
การแสวงหาบนฐานความรูท้ างด้านเกษตรกรรมธรรมชาติ การช่าง สาธารณสุข การเงินและบัญชี
ทั้งการเป็นครูและอาชีพต่างๆ ในชุมชน เรียนรู้ทั้งในระบบสากลที่ มศว องครักษ์ ประสานมิตร
และวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย วัฒนานคร ใช้ฐานฝึกเกษตรกรรมธรรมชาติและภูมิปัญญาต่างๆ
ในโพธิวิชชาลัย และทุกอำเภอทั่วจังหวัดสระแก้ว นอกจากนั้นแล้ว การร่วมมือกับพหุภาคี
ยังมุง่ เน้นการลงแก้ปญั หาในเรือ่ งของการปลูกป่าต้นน้ำ พลังงานทดแทน การสาธารณสุข อาหาร
เกษตรกรรมธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ การอนุรักษ์หวงแหนธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา
ทักษะงานช่าง งานฝีมือ ปรัชญาความเชื่อและอัตลักษณ์ชุมชน เป็นมหาวิทยาลัยชุมชน เป็น
มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชุมชนและประชาชน และเป็น
ฐานฝึกจิตสำนึกสำหรับนิสิต มศว ทั้งมวล
ผมเชื่อว่า “โพธิวิชชาลัย” จะเป็นต้นแบบการศึกษาอีกรูปลักษณ์หนึ่งของการเป็น
มหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัยพหุปัญญา พหุศาสตร์ ที่พัฒนาครอบคลุมทั้งกระแสสากล
กระแสตะวันออกและไทย โครงการจัดตัง้ “วิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัย” เป็นโครงการในเชิงยุทธศาสตร์
ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและสดุดี พระบรมราชกิตติคุณ
แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙
และพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๐
สารัตถะของ “ความเป็นโพธิวชิ ชาลัย” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึง่ ก่อเกิดจาก
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ดังกล่าว ย่อมตรงกับประเด็น “แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจ
พอเพียง” อย่างแท้จริง
ใครอ่านหนังสือชื่อ “The Spirit of Silence” หรือ “ความเงียบ” ของ จอห์น เลน
มีเรื่องเล่านำว่า
มีเศรษฐีเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมคนหนึง่ เดินไปทีช่ ายทะเล เห็นชาวประมงคนหนึง่
กำลังนอนสบาย สูบยาอยู่ในเรือประมงหาปลาที่จอดอยู่ชายหาด จึงได้พูดคุยกันดังนี้

42 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
เศรษฐี ทำไมคุณจึงมานอนสูบยาไม่ไปจับปลา
ชาวประมง วันนี้ผมจับปลาได้พอแล้ว
เศรษฐี ทำไมไม่ออกไปจับเพิ่มล่ะ
ชาวประมง จะให้ผมจับเอาไปทำอะไร
เศรษฐี ก็จับไปขายได้เงินมากๆ ซื้อเรือลำใหญ่ ซื้อเครื่องยนต์ติดเรือ
ซื้ออวนขนาดใหญ่ ออกไปจับปลาน้ำลึก ได้ปลาจำนวนมาก ก็ขายได้เงินมาก แล้วจะได้รวย
เหมือนผมไงล่ะ
ชาวประมง แล้วต่อจากนั้นผมจะทำอะไรล่ะ
เศรษฐี คุณก็นั่งนอนสบาย... หาความสุขให้กับชีวิต
ชาวประมง แล้วตอนนี้ผมทำอะไรอยู่ล่ะครับ

นิทานเรื่องนี้สอนอย่างไรไม่รู้ แต่คงสามารถตีความได้หลายแง่มุม เศรษฐีปรารถนาดี
มี ค วามสุ ข ไม่ ร ู ้ จ ั ก พอ ชาวประมงยี ย วน ขี ้ เ กี ย จ รู ้ จ ั ก พอเพี ย ง หรื อ อย่ า งไร...
ชาวประมงแบบพอเพียงภาคใต้ ชุมชนในอดีต จับปลาด้วยเรือและอวนขนาดเล็ก เขาดำรงชีวิต
อยู่ได้อย่างสันติสุข วันนี้เรือขนาดใหญ่และอวนขนาดยักษ์ในระบบอุตสาหกรรมจากกรุงเทพ
มหานคร ยึดอำนาจจับปลาทั่วท้องทะเล ชาวประมงภาคใต้ทั้งฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก
พ่ายแพ้ นัน่ คือสมุฏฐานหนึง่ ของความขัดแย้งและความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดว้ ย
หรือไม่ และอย่างไร
“การแก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” มีคำที่เป็นกุญแจอยู่สองคำคือ “วิกฤต”
และ “เศรษฐกิจพอเพียง” เมื่อผมมองปัญหาต่างๆ ผมมักมองเชื่อมโยง ๒-๓ ประเด็น คือ
การมองบนตัวปัญหาหรือฐานปัญหา (Problem Based) มองบนบริบทเชือ่ มโยงหรือพืน้ ที่ (Area
Based) และมองบนยุทธศาสตร์หรือแนวรุก (Agenda Based) เพราะถ้าเรามองเพียงตัวปัญหา
โดยขาดบริบท ขาดพื้นที่เฉพาะ เราก็ไม่สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ หรือถ้ามองแต่ปัญหา
วนเวียนอยู่กับปัญหา เราก็ขาดการสร้างแนวรุกใหม่ ขาดงานในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งก็เป็นปัญหา
ในเชิงบริหารจัดการอีก
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 43
เมื่อเรามองไปที่ปัญหาและวิกฤตของโลกใบนี้ในปัจจุบัน เราจะพบปัญหาและวิกฤต
มากมายหลายอย่าง
1. วิกฤตคุณธรรมจริยธรรมและความรุนแรง
2. วิกฤตจำนวนประชากรและอาหารเลี้ยงประชากรโลก
3. วิกฤตการขาดแคลนทรัพยากรและพลังงาน
4. วิกฤตสุขภาพพลานามัย สุขภาวะ และโรคภัยที่แก้ปัญหาไม่ตก
5. วิกฤตธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและโลกร้อน
ซึ ่ ง เมื ่ อ พิ จ ารณาบนรากฐานของปั ญ หาแล้ ว เป็ น วิ ก ฤตที ่ ม ี ท ุ น นิ ย มรุ น แรง
ทุนนิยมอ่อนจริยธรรม เป็นตัวขับเคลื่อน เป็นตัวเร่ง อาจเป็นอาการข้างเคียงหรืออาการดื้อ
ยาของทุนนิยมก็ได้ ทุนนิยมที่ส่งผลไปสู่วัตถุนิยม (Materialism) บริโภคนิยม (Consumerism)
สุขนิยม (Hedonism) ซึ่งอาจเป็นโรคร้ายของโลกใบนี้ไปเรียบร้อยแล้ว
ถามว่าทุนนิยมรุนแรงเช่นนี้ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
ก่อให้เกิดการแข่งขัน แก่งแย่งชิงดี ชนะและแพ้
ก่อให้เกิดการยึดมั่นถือมั่น ตัวใครตัวมัน ปัจเจก อัตตา หยิ่งทระนง
ก่อให้เกิดการยึดติดวัตถุ โภคทรัพย์ สิ่งที่เป็นรูปธรรม
ก่อให้เกิดค่านิยมการบริโภค คนบริโภค เครื่องจักรกลบริโภค
ก่อให้เกิดโลภ ตัณหา ราคะ อย่างรุนแรง

แล้ววัตถุนิยม บริโภคนิยม สุขนิยม ก็ก่อให้เกิด “วิกฤต” อย่างรุนแรงในปัจจุบันนี้


เราหว่านพืชเช่นใดก็ยอ่ มได้รบั ผลเช่นนัน้ “ยาทิสํ วปเต พีชํ ยาทิสลํ ภเต ผลํ” ปลูกพืชเชิงเดีย่ ว ยูคาลิปตัส
ทั้งจังหวัดสระแก้ว เพื่อทำกระดาษให้คนเมือง ยูคาลิปตัสที่ทำลายดิน ทำลายสภาพแวดล้อม
ชาวสระแก้ว ชาวไทย และชาวโลก ย่อมได้รบั ผลกระทบวิกฤตธรรมชาติสง่ิ แวดล้อมอย่างแน่นอน
มหาตมะคานธีบอกว่า “ถ้าเราต้องการเปลีย่ นสังคม เราต้องเปลีย่ นตัวเองไปพร้อมกันด้วย”

อดัม สมิธ เขียนหนังสือ “โภคทรัพย์ของชาติ” (The Wealth of Nations) ตัง้ แต่ ค.ศ. ๑๗๗๖
ช่วงปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมในอังกฤษและยุโรป ก็สองร้อยกว่าปีแล้ว เขาเห็นถึงกฎของการตลาด (Law
of Market) ทีถ่ อื ตลาดเป็นตัวขับเคลือ่ น ตลาดเป็นทีม่ าของโภคทรัพย์ ของประเทศชาติและบุคคล

44 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ตลาดเหมือนลูกข่างที่หมุนและขับเคลื่อนสังคม เขาเขียนถึงมือที่มองไม่เห็น (The Invisible
Hand) สิง่ ทีม่ องไม่เห็นในตัวตนของมนุษย์ ประโยชน์สว่ นตน ความโลภ ความไม่รจู้ กั พอ ตัณหา
อดัม สมิธ น่าจะรู้ว่ามันเป็นด้านไม่ดี ด้านมืดของคน ของชีวิต แต่เขาก็ใช้ “มือที่มองไม่เห็น”
นั้นเป็นตัวตั้งของผลประโยชน์ เพื่อความร่ำรวยของประเทศชาติและปัจเจก เพื่อโภคทรัพย์
แล้วเขาก็เขียนถึง “Division of Labor” การแยกคนออกเป็นชิ้นๆ แยกคนออกเป็นชิ้นส่วน
เพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบสายพานการผลิต (Assembly Line) มอบคนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม
ช่างฝีมือเฉพาะอย่าง ช่างฝีมือเฉพาะด้าน
มุมมองดังกล่าวได้ส่งผลมาสู่การศึกษา การศึกษาตะวันตกที่เก่งคนละหนึ่งอย่าง
แล้วไม่เก่งอีกมากมายหลายอย่าง เพื่อผลิตคนไปสู่โรงงาน สู่ภาคอุตสาหกรรม รู้เรื่องอย่างเดียว
มีเงินเดือนกินไปตลอดชีวติ สิง่ ทีต่ ามมาคือความทระนง ฉันเหนือกว่าคุณ ศาสตร์สงู - ศาสตร์ตำ่
สูญเสียดุลยภาพของชีวิต พัฒนาสมองด้านเดียว หยิน - หยางขาดพลัง
เมื่อ อดัม สมิธ เชื่อมั่นในความโลภและการใฝ่ต่ำของมนุษย์ แยกคนออกเป็นชิ้นส่วน
กระตุ้นการพัฒนาคนให้เป็นเครื่องจักรกล นั่นคือแรงผลักดันเริ่มต้นของทุนนิยมที่แข็งกร้าว
อ่อนจริยธรรม ลัทธิล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการสถาปนาอารยประเทศและอนารย
ประเทศบนฐานของโภคทรัพย์และวัตถุเป็นประการสำคัญ
ลัทธิคอมมิวนิสต์บนฐานปรัชญาสังคมนิยม (Socialism) พัฒนาการของโทมัส มอร์,
คาร์ล มาร์กซ์, เลนิน, เหมาเจ๋อตง ในระบบแรงงาน แรงงานคือเพือ่ นกันทัง้ โลก ระบบประชาคม
(Commune system) ระบบรวมที่ศูนย์กลาง ก็ทำให้มนุษย์สูญเสียเสรีภาพ สูญเสียศักดิ์ศรีของ
ความเป็นมนุษย์ แล้วลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ล่มสลาย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงปรัชญา การรือ้ ฟืน้ เศรษฐกิจพอเพียงหรือการแก้วกิ ฤต
ด้วย “เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) ซึ่งเป็นแนวปรัชญาในเชิงมานุษยวิทยา
สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติสง่ิ แวดล้อม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั
ของโลกยุคหลังสมัยใหม่ ที่ตระหนักว่า มนุษยนิยมจากอดีตไปไม่รอดแล้ว ต้องก้าวไปสู่มนุษย
นิยมใหม่ ก้าวไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่าง
สันติสุขบนโลกใบนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว โลกใบนี้อาจจะแตกสลายในเร็ววัน
“เศรษฐกิจพอเพียง” ในระดับปรัชญา ในระดับหลักการ ในระดับปริยัติ เกี่ยวข้อง
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 45
กับประเด็นเหล่านี้
๑. เกี่ยวข้องกับความจริง ความดี ความงาม ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน
๒. เกี่ยวข้องกับดุลยภาพ มนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
๓. เกี่ยวข้องกับสารัตถะ “มนุษย์คือความดีงาม”
“เศรษฐกิจพอเพียง” ในทางปฏิบัติ ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว คือ
ความพออยู่ พอกิน พอเพียง
ความมีเหตุผลในชีวิต การดำรงชีวิต
การมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง
ซึ่งหลักปฏิบัติทั้งสามประการนั้น ต้องยืนหยัดอยู่บนฐานความรู้ การเรียนรู้ และ
คุณธรรมความดีงามทั้งปวง พร้อมกันนั้น เงื่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซ่อนไว้คือ
การปรับระดับความพอเพียง การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในสังคม การพัฒนาไปพร้อมๆ กัน
การสร้างพื้นฐานให้เข้มแข็ง พร้อมกันนั้นก็ร่วมกันปรับระดับหรือยกระดับให้สูงขึ้น เป็นการปรับ
“Bench Mark” ในเชิงบริหารจัดการ อาจเป็น “Neo - Commune” ก็ได้
พุทธธรรมต้องแก้ที่สมุฏฐาน แก้ที่เหตุปัจจัย แก้ทุนนิยมสุดโต่ง แก้ทุนนิยมให้เป็นจริย
ทุนนิยม (Ethical Capitalism) แล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าเรามองปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในเชิงเปรียบเทียบเบื้องต้น ดูเหมือนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยมโดยตรง
อาจกล่าวได้ว่า เป็นทุนนิยมที่รู้จักพอ พอเหมาะพอควร ทุนนิยมที่มีจริยธรรม ทุนนิยมที่ค่อยๆ
พัฒนาไปพร้อมกัน เห็นแก่ตัวน้อยลง มีช่องว่างความรวยกับความจนน้อยลง ทฤษฎีใหม่ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีที่ดินถ้วนหน้าคนละแปลง ประมาณสิบเปอร์เซ็นต์สำหรับเป็น
พืน้ ทีส่ ร้างทีอ่ ยูอ่ าศัย แหล่งน้ำประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ทำนาประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ปลูกพืช
ปลูกป่า พืชสามอย่างประโยชนสี่อย่าง ประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
เพี ย งเท่ า นั ้ น ก็ ก ้ า วไปสู ่ ค วามพอเพี ย ง ความสั น ติ ส ุ ขในชุ ม ชน “ความพอเพี ย ง” คื อ
“มัชฌิมาปฏิปทา” การเดินสายกลาง การรู้จักพอ เมื่อเรารู้จักพอ เราจะเริ่มรู้สึกรวยทันที
มี เ ท่ า ไรก็ ร วยได้ มี ม ากมายเท่ า ไรไม่ ร ู ้ จ ั ก รวยก็ ไ ด้ คนไทยหนึ ่ งในหกของประเทศ
มีแนวโน้มจะท้วมและอ้วน เราเริ่มบริโภคมากไป ในกระแสทุนนิยม

46 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ขงจือ้ บอกมาเกือบสองพันปีวา่ “คนฉลาดรูว้ า่ อะไรถูกต้อง คนโง่รวู้ า่ จะขายอะไร
คนฉลาดรักจิตวิญญาน คนโง่รักทรัพย์สมบัติ”... นานมากแล้ว
ถ้าใครได้ดวู ดี ทิ ศั น์หรืออ่านหนังสือ “An Inconvenient Truth : The Crisis of Global
Warming” ของอัล กอร์ รับรางวัลไปหลายต่อหลายรางวัล เป็นสารคดีบนฐานการวิจยั มากมาย
เป็นสารคดีทก่ี ระตุน้ ให้เกิดการตืน่ ตัวเกีย่ วกับปัญหาโลกร้อน การหันมาตระหนักถึงการรักษาโลก
สีเขียวใบนี้ให้เข้มแข็งจริงจังมากขึ้น
โลกทวีอณุ หภูมสิ งู ขึน้ ตัง้ แต่ประมาณ ค.ศ.๑๙๘๐ ผลของความร้อนทีม่ าจากการบริโภค
เทคโนโลยี อุตสาหกรรม โรงงาน เครื่องจักรกล รถยนต์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน
และก๊าซอื่นๆ ได้สร้างภาวะเรือนกระจก “Green House Effect” ที่ทำให้ก๊าซต่างๆ และ
ความร้อนวนเวียนอยู่ในชั้นอากาศ โลกร้อนมากขึ้น ชั้นโอโซนทะลุ รังสีอุลตราไวโอเลตลงมาสู่
พื้นผิวโลกมากขึ้น น้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยกำลังละลาย ยอดเขาสูงสุดคือยอดเขาเอเวอเรส
ก็อยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ธารน้ำจากเทือกเขาหิมาลัยหล่อเลี้ยงคนประมาณเกือบครึ่งโลก
เกือบสามพันล้านคน ถ้าละลายหมดเมื่อไร ประชากรทั้งหมดนี้จะมีปัญหาเรื่องน้ำ รวมทั้งน้ำดื่ม
ถ้าหิง้ น้ำแข็งด้านทิศตะวันตกบนทวีปแอนตาร์กติกา อุณหภูมสิ งู ขึน้ และพังทลายลง น้ำทัว่ โลกจะสูง
ขึน้ ระหว่าง ๒๐-๓๐ ฟุต รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาจะจมหายไปทันที แล้วกรุงเทพมหานครล่ะ...
จะเหลือหรือ

ข้อมูลดังกล่าวระบุว่า ปัญหาโลกร้อนเกิดจากสหรัฐอเมริกาประมาณ ๓๐ เปอร์เซ็นต์


ยุโรป ๒๗ เปอร์เซ็นต์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ๑๒ เปอร์เซ็นต์
ดูเหมือนญี่ปุ่นจะ ๓ - ๔ เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น กล่าวได้ว่าสหรัฐอเมริกากำลังเพิ่มอุณหภูมิ
และทำลายโลกใบนีม้ ากทีส่ ดุ สหรัฐอเมริกาทีบ่ ริโภคนิยมรุนแรงมาก ล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจ
และทำตัวเป็นจ้าวโลกอยู่ทุกวันนี้

เราในฐานะที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบทางด้านการศึกษา การศึกษาในระดับอุดม
ศึกษาทีเ่ ป็นธงสำคัญของประเทศ น่าจะกลับมาพิจารณาอย่างจริงจังว่า... ภาคการศึกษาหรือเรา
จะประพฤติตัวอย่างไร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผมใคร่เสนอแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ๔-๕ ประเด็น
๑. ต้องปรับรื้อหลักสูตรในระดับคณะ/วิทยาลัย ทั้งหลักสูตรหลัก หลักสูตรรอง
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 47
หลักสูตรบูรณาการ รวมทั้งรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ต้องส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
นิสิตนักศึกษา การแก้วิกฤติโลก ตระหนักในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
๒. ต้องปรับรื้อและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ใหม่ ให้ก้าวหน้า
ท้าทาย กระตุ้นการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า คิด เขียน ให้สามารถสร้างความเป็นปัญญาชน
ผู้แสวงหาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การแก้วิกฤตโลก สร้างสำนึกต่อโลกใบนี้ให้จงได้
๓. ต้องวางแผนและรุกในการวิจัยขององค์กรให้คมชัด ให้ส่งผลต่อการแก้ปัญหา
วิกฤตต่างๆ ของโลกและสังคม กำหนดทิศทางการวิจัยให้ชัด กำหนดสาระการวิจัยให้ส่งผล
กระทบคุณค่าแก่สังคม (Social Impact) วิจัยเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิจัยแก้วิกฤตโลก
วิจัยสร้างจิตสำนึกใหม่
๔. ต้องพัฒนาความเป็นครู นิสิตนักศึกษาครู สร้างความเข้มแข็ง สร้างคุณภาพชีวิต
สร้างศักดิ์ศรีของความเป็นครู ผลักดันให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่โดดเด่นที่สุดอาชีพหนึ่งในสังคม
เพื่อให้คนเก่ง คนดี พร้อมที่จะเป็นครู ครูที่สำนึกในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ครูที่สอนและร่วมแก้วิกฤตโลก
๕. สถาบันการศึกษาต้องเป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบของการเป็นโรงเรียนสีเขียว สถาบันสีเขียว
มหาวิทยาลัยสีเขียว “สีเขียว” ทีเ่ ป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติสง่ิ แวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียง
การร่วมแก้วิกฤตโลก เกษตรกรรมธรรมชาติ และความดีงาม รูปธรรมและนามธรรม
ท้ายที่สุด เราจะคิด พูด และทำให้เป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร

หมายเหตุ บรรยายเปิดการประชุมวิชาการ “ศรีนครินทรวิโรฒวิชาการ” ครั้งที่ ๒


งานวันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ ๒๑
ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๓๑ มกราคม ๒๕๕๑

48 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
Crisis-free State Through Sufficiency Economy1
Wiroon Tungcharoen

Abstract

College of Bodhi Vijjalaya is established by the co-operation of five


alliance partners with the objective of educating students and returning them
to their communities upon their graduation. Students are given integrated
education based on the understanding of the needs specific to socio-
geographical area and community, of the Philosophy of Sufficiency Economy, of
nature and environment, of cultures, service and contribution to the community.
The College is one of the educational prototypes of Thai universities that
provide an all-encompassing integrated multidisciplinary teaching and learning
system that imparts comprehensive knowledge ranging from globally-oriented to
locally Thai in nature and contents to meet the needs and challenges of the
times. The coming into being of “Bodhi Vijjalaya”, Srinakharinwirot University has
its origin and foundation in the Philosophy of “Sufficiency Economy”, in line with
establishing “Crisis-free State Through Sufficiency Economy”. The two key words
are “Crisis” and “Sufficiency Economy.” Crises can be considered on the basis
of their problems, context, related area, strategy and/or agenda. Further, the
Philosophy of “Sufficiency Economy” should be considered by its ideal, principle,
theory and practice.

“Somdej Phra Thepparatana Rachasuda (H.R.H. Crown Princess Maha


Chakri Sirindhorn) Day” commemorates the day of homecoming visit of Her Royal
Highness, Crown Princess Maha Chakri Sirindhorn to Srinakharinwirot University
after her graduation with Doctoral Degree in Development Education B.E. 2529.
For the homecoming visit to her university, HRH normally goes to Srinakharinwirot
University (SWU), Prasarnmit campus in Bangkok or Srinakharinwirot University,
1
English translation of the original article in Thai, “แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง”

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 49
Ong-kharak District in Nakorn-nayok Province. The 21st “homecoming visit to
her university” on the 28th January B.E. 2551 is a special occasion because on
this day, H.R.H. official y opens the College of Bodhi Vijjalaya, Srinakharinwirot
University, Watthana-nakorn District in Sra-kaew Province. College of Bodhi
Vijjalaya is an innovation born of the educational mission of Srinakharinwirot
University to apply into practice the Philosophy of “Sufficiency Economy” of His
Majesty, the King of Thailand.

College of Bodhi Vijjalaya, Srinakharinwirot University is supported with


multilateral collaboration and cooperation of the government, the military,
educational institutions, public and private sectors, civil societies, media and the
Agricultural Land Reform Office (ALRO). The primary objective of the College is
to educate the students and return them to serve their own community upon
graduation. The students are educated and trained in the understanding and
knowledge of socio-geographic areas, the Philosophy of Sufficiency Economy,
knowledge of nature and the environment, community, culture, and the spirit
of service and contribution. They wil learn and develop knowledge and
vocations on nature-friendly agriculture, arts and crafts, public health, finance
and accounting, teaching and other vocations. Studies in international format
and contents are conducted at SWU, Ong-kharak and Prasarnmit. Studies
oriented towards local or area-specific needs are conducted at College of
Bodhi Vijjalaya, Watthana-nakorn. These locally oriented studies would build on
natural agriculture and local wisdom, and knowledge sourced from the College
and other districts of Sra-kaew Province. The College, founded on multilateral
alliance, also focuses on tackling such issues as upstream forest, alternative
energy, public health, food, organic agriculture (which nurtures the harmony
with nature and environment), preservation and promotion of local or traditional
wisdom, arts and crafts. The College also incorporates local community wisdom,
beliefs, skil s in arts and crafts and the unique characteristics of the community
in its educational structure. The college functions as a community’s university
and is open to students, the community and the public for learning. The
College also serves as a place for all SWU students to cultivate and practice

50 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ethical conduct.
I believe that “Bodhi Vijjalaya” could be one of the educational
prototypes of Thai tertiary institutions whereby multifaceted wisdom and
knowledge and multidisciplinary sciences that encompass international, eastern
and Thai outlooks and needs are incorporated in the teaching and learning
system. The establishment of “College of Bodhi Vijjalaya” is the project of
Srinakharinwirot University in commemorating and paying tribute to His Majesty
the King on the auspicious occasion of his 60th Anniversary of Accession to
the Throne B.E. 2549 and his 80th Birthday Anniversary B.E. 2550. The coming
into being of “Bodhi Vijjalaya”, Srinakharinwirot University has its origin and
foundation in the Philosophy of “Sufficiency Economy”, in line with establishing
a “Crisis-free State Through Sufficiency Economy”.

Anyone who has ever read the book, ‘The Spirit of Silence’, written by
John Lane, wil be familiar with this story about a rich man and a fisherman.
“There was a rich man who owned an industrial plant. One day he
took a walk to the sea shore and saw a fisherman lying happily and
smoking in the fishing boat ashore. They had a conversation like this.
Rich man: Why are you lying here smoking and not
going out fishing?
Fisherman: I have enough fish for today.
Rich man: Why don’t you go out and catch more?
Fisherman: What should I catch more for?
Rich man: Catching more fish to get more money to
buy a bigger boat, equipped with motor and
bigger seine to catch more deep sea fish
to sell to get more money, then you will be
rich like me.
Fisherman: After that, what shall I do?
Rich man: You wil retire comfortably and have a happy
life.
Fisherman: So, what am I doing now?”

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 51
I don’t know exactly what this story tried to tell us. However, it could
be interpreted in many ways. The rich man had good intention in advising the
fisherman about acquiring happiness and the need to acquire more (sense of
insufficiency). The fisherman was lazing around, contented with what he already
had. … It reminds us of our fishermen in the southern part. In the past, they
caught fish by boat and small seine and they had a peaceful life. Today
there are big commercial trawler boats with giant seines operated by large
fishing companies from Bangkok. These large modern trawler boats cover large
areas all over the sea and effectively bring to slow demise the traditional
fishing of the fisherman of the south both of the eastern and western shores.
The traditional fishermen are losing out to the big commercial trawlers. Is this
a reason for the conflict and violence seen in the three southern border
provinces?

There are two key words in the title, “Crisis-free State Through Sufficiency
Economy”: “crisis” and “sufficiency economy.” When I consider problems, I
always look at two to three related issues of the problems, the context, the
area, strategy or agenda concerned. If we only look at the problems without
considering their context and specific area, we would not be able to solve
the actual problems and wil only circle around the problems without getting to
their root causes. We may then encounter administrative management problem
without being able to move forward.

If we look at the world today, we could find many problems and crises as
listed below.

1. Breakdown in virtue and ethics; and violence.


2. Population growth and scarcity of food for people around the
world.
3. Depletion and scarcity of natural and energy resources.
4. Problems of health, hygiene, and diseases still unsolved.
5. Destruction and destabilization of nature and the environment;
climate change and global warming.

52 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
In considering the root causes of these problems, we find that they
result from the severely unethical and exploitative type of capitalism which
propels and plunges the world into economic crises. It may be the side-effect
of insensitive capitalism. Capitalism leads to materialism, consumerism, and
hedonism which are the causes of the world’s il s.

Question: What does severe capitalism lead to?

It leads to competition, striving for victory; where there is winning,


there is losing.
It brings on a strong sense of attachment, selfishness, individualism,
ego-centeredness, and arrogance.
It promotes attachment to property and concrete object.
It promotes senseless consumerism.
It promotes greed, passion, and lust.

Materialism, consumerism, and hedonism cause serious “crisis” nowadays.
We reap what we plant! Eucalyptus trees are planted in whole province of
Sra-kaew but for producing paper for the city’s use. Monocropping of the trees
ruins the soils and leads to an environmental crisis that adversely impacts on
the people of Sra-kaew, Thailand and beyond. Mahatma Gandhi said “If we
want to change society, we must change ourselves at the same time.”

Adam Smith, the author of “The Wealth of Nations”, stated that the
Law of Market propels the market. The market is like a spinning top and the
propeller of society. He wrote about the invisible hand or thing we could not
see in human being, personal interest, greed, insatiable need, and passion.
Adam Smith should know that these are the dark side of human beings.
Nevertheless, he pointed out that the “invisible hand” was the subject of
interest for creating the wealth of nation and individuals. Moreover, he also
wrote about “Division of Labor” in production lines where the workers were
‘mere mechanical parts’ of an assembly line in the assembling of products.
This is a distorted use and view of human labor.
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 53

The said aspect has affected education. Western education produces
people, each of whom is specialized in one specific skill, but not good at other
tasks. Although these highly specialized people or specialists are good at only
one particular task or skil , they could earn ‘good’ living all through their lives.
This brings on a sense of arrogance, a superiority complex develops that they
are better than others whom they regard as their ‘inferiors’. One side of the
brain is better developed than the other. There is imbalance in life, imbalance
in the yin and yang.
Adam Smith believed in greed and the dark side of human beings,
dividing and turning human beings into machine-like parts of an assembly line.
It is the primary impulsion of aggressive and unethical capitalism that brings
about economic imperialism. Civilized countries and un-civilized countries were
differentiated based on wealth and material resources.
Communism based on socialist development as theorized by Thomas
Moore, Karl Marx, Lenin and Mao Tse Tung regarded labor as a friend of the
world. Under the centralized commune system, human beings lost their liberty
and dignity. Communism eventually collapses also.

Sufficiency Economy is a philosophy grounded on anthropology, social
sciences, economics, sciences, and nature-environmental sciences, which His
Majesty the King of Thailand initiated and promulgated in the post-modern
age under the realization that we are fast losing the attributes and values of
humanity. We have to step into the neo-humanitarianism of sufficiency economy
that nurtures humanity; that co-exists harmoniously and peacefully with nature
and its environment. If not, then the world would be heading towards collapse
soon.

‘Sufficiency Economy’ as a philosophy, theory, and practice is concerned
with the following issues.

54 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
1. Truth, goodness, and decency as one integrated whole.
2. Harmonious equilibrium state of co-existence of human beings,
animals, nature and its environment.
3. Essential reality that ‘being human is being decent’.

According to His Majesty the King’s royal remark, in practice, ‘Sufficiency


Economy’ includes the following.

∞ Enough living material resources, enough food and there is


sufficiency,
∞ Living reasonably,
∞ and protection of life.

The application of these three principles depends on knowledge,


learning, virtue and goodness. Furthermore, the issues which H.M. the King
implied are the continuous adjustment of the degree of sufficiency, narrowing
the economic gap between the rich and the poor of the society, developing
and creating a strong life foundation while advancing towards higher level. This
would be equivalent to continuous adjustment of “benchmark”. This would be
moving towards establishing neo-communes.

Buddhism teaches us that problems must be solved at their origins.


How do we correct the extremely destructive form of capitalism into an ethical
type of capitalism? If we look into Sufficiency Economy Philosophy, it appears
that Sufficiency Economy is not against the practice of adequate capitalism,
ethical capitalism, and a capitalism that develops gradually with less selfishness,
and that narrows the gap between the rich and the poor. According to H.M.
the King’s ‘New Theory’ to achieve sufficiency economy, all people should have
a piece of land proportionately allocated for different purposes: 10% allocated
to living quarter, 30% to water resource, 30% to rice farming, and another
30% for growing trees, establishing a forest according to the concept of ‘three
plants for four advantages’. A community is peaceful when it is “sufficient” as
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 55
“Machima Patipatha (The Middle Path)” is. Realizing sufficiency makes us feel
rich. We feel rich when we have a sense of what we have is enough. The
more we want or need, the more we don’t feel rich. One of six Thai people
in the country has a tendency to become obese because the capitalist world
encourages us to consume to the excess.

K’ung-tzu (Confucius) said 2,000 years ago that “The wise knows what
is right. The fool knows how much to sell. The wise loves spirituality. The fool
loves property.” …That is quite a long time ago.

The video based on the book, “An Inconvenient Truth: The Crisis of
Global Warming”, written by Al Gore, who received so many awards for it, is
a documentary that raises awareness of global warming and makes people
think about green world more seriously.

The temperature of the world is getting higher since A.D. 1980. This
increase results from heat generated from rising consumption, factory and
vehicle exhausts, carbon dioxide, methane and other gases that build up
“Green House Effect.” Gas and heat flow into the aerosphere and make the
world get warmer. Ozone layer penetrates through and ultra violet ray radiates
to the earth surface. Snow on the Himalayan range is melting. The streams that
flow down from Mt. Everest, the highest mountain, feed around three billion
people, almost half of the world’s population. If all the snow has melted, these
people wil experience water problem, even portable water may be hard to
find. If the temperature on the western part of Antarctica continent continues
to increase, water level all over the world wil rise by 20-30 feet. When this
happens, Florida State of the United States of America will disappear under
water. What wil happen to Bangkok, what wil be left of it?

Statistics show that contribution to global warming may be apportioned
thus, 30% by United States of America, 27% by Europe, 12% by Southeast Asia
including Thailand, and 3-4 % by Japan. It could be said that the United States

56 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
of America contributes most to the rise in global temperature and damage.
The United States of America is the ultimate consumerist country, an economic
imperialist, and is acting like today’s king of the world.

We, who are concerned and responsible for education and higher
education which is important to the country, should consider seriously how
we should act from this moment on. I would like to propose five ideas for
consideration:

1. Readjust the curriculum and syllabus of faculty/college level


academic programs on major courses, minor courses, and integrated courses
including general subjects to raise students’ awareness of societal and global
crises, and to teach students how to practice the Philosophy of Sufficiency
Economy.

2. Readjust and develop teaching and learning processes; adopt


new, more advanced and more challenging studying media; stimulate learning
and research so that knowledgeable people are produced who can assist in
solving local and global crisis through the Philosophy of Sufficiency Economy
and create a better world.

3. Plan and advance further in researching on problems and root


of world crises. The direction of research and the context of research should
lead to social impact that is clear and distinct. The Philosophy of Sufficiency
Economy in solving world crisis and creating new awareness could be further
researched.

4. Develop teachers and students so that they could strengthen


themselves and improve the quality of life. Teaching as a distinct profession
should be given due recognition and respect in the society. A good teacher
is one who understands nature and its environment, Sufficiency Economy, and
capable of contributing to solving world crisis.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 57
5. An educational institute should impart the values of and flourish
with co-operation, goodness, virtue and ethics. It should serve as a model
prototype of green school, green institute, and green university that is capable
of contributing to solving world crises. “Green” is the symbol of nature,
environment, and Sufficiency Economy.

Lastly, how could we think, talk, and practice what we think and talk
about? How do we walk the talk?

Remark:
Speech on the Opening of the 2nd Educational Meeting “Srinakharinwirot
Education”, on the 21st Somdej Phra Thepparatana Rachasuda
Day. at the Research and Continuing Study Building, Her Royal
Highness Crown Princess Maha Chakri Sirindhorn, 31st January B.E.
2551.

58 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก
University and Alternative Education
อำนาจ เย็นสบาย
Amnard Yensabye
บทคัดย่อ
วิกฤติทร่ี นุ แรงและซับซ้อนของสังคมไทยในยุคปัจจุบนั เกีย่ วข้องกับระบบและโครงสร้าง
ของสังคมไทย และเชื่อมโยงกับโครงสร้างของระบบโลก ซึ่งเป็นบทเรียนจากการพัฒนาประเทศ
ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยไทยผู้ผลิตผู้นำในทุกระดับทุกวงการของประเทศ ควรจะร่วมรับผิดชอบ
แต่ระบบอุดมศึกษาไทยยังคงติดกับดักโครงสร้างของระบบโลก ด้วยคำว่า “มาตรฐาน” และ
“การจัดอันดับโลก” ที่สังคมไทยมิได้เป็นผู้กำหนด อุดมศึกษาไทยจึงไม่สามารถหลุดจากบ่วง
เพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติประเทศได้อย่างแท้จริง
การศึกษาทางเลือกจึงเกิดขึน้ เพือ่ ปฏิเสธการจัดการศึกษากระแสหลัก โดยมีองค์ประกอบ
ในด้านคุณภาพทีส่ ำคัญ ๖ ประการคือ อิสระ นวัตกรรม เติมเต็ม องค์รวม แตกต่างหลากหลาย
และพหุนิยม และสามารถแบ่งการศึกษาได้ ๗ ฐานเรียนรู้ คือ ฐานครอบครัว ฐานระบบรัฐ
ฐานครูภูมิปัญญา ฐานศาสนา ฐานสถาบันนอกระบบรัฐ ฐานเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และฐานสื่อ
และแหล่งการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยไทยบางแห่งเริ่มปฏิบัติการคู่ขนาน ด้วยการจัดการแบบทวิลักษณ์
ด้วยฐานคิดสู่สากลโลกตามกระแสหลัก และฐานคิดสู่ชุมชนด้วยยุทธศาสตร์ หนึ่งมหาวิทยาลัย
หนึ่งจังหวัด สู่สัมมาชีพ
และการจัดการศึกษาแบบทวิลักษณ์ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ณ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยการกำเนิดขึน้ ของโพธิวชิ ชาลัย มศว สระแก้ว และโพธิวชิ ชาลัย มศว ตาก
ซึ่งเป็นพื้นที่ภูมิรัฐศาสตร์ชายแดน และจะขยายผลไปจังหวัดชายแดนอื่น ได้แก่ น่าน-อุตรดิตถ์
และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดในการจัดการ
ศึกษาเพื่อชุมชน เพื่อที่จะแก้ปัญหาวิกฤติประเทศไทยถึงในระดับชุมชน และทุกระดับ

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 59
บทนำ
ด้วยสภาพที่เป็นจริงของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน คงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธได้ว่า
สังคมไทยกำลังตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของปัญหาวิกฤติอย่างรอบด้าน โดยปัญหาวิกฤติที่เกิด
ขึ้นถือเป็นเรื่องยากและมีความซับซ้อนจนมิอาจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น
หรือภายในระยะเวลาเพียง ๓ หรือ ๕ ปี อีกทัง้ การแก้ปญั หาทีย่ ากและซับซ้อนเกีย่ วข้องกับระบบ
และโครงสร้างของสังคมไทย และเชื่อมโยงกับโครงสร้างของระบบโลก จึงยากที่จะปฏิเสธได้ว่า
หากจะแก้ปัญหาให้หลุดพ้น หนทางที่ทุกคนปรารถนา หรือหนทางการแก้ปัญหาอย่างสันติ ก็มิ
อาจเกิดขึน้ ได้โดยง่าย เนือ่ งเพราะโลกนีส้ งั คมนีต้ กอยูภ่ ายใต้การครอบงำของระบบทีป่ กป้องคุม้ ครอง
ของผู้ได้เปรียบ ที่ส่งผลต่อการสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศมหาอำนาจ (ที่ไม่ใช้คำว่า
ประเทศทีพ่ ฒั นาแล้ว เพราะเป็นนิยามไม่สะท้อนภาพการพัฒนาเชิงสัมพัทธ์ เป็นนิยามเฉพาะด้าน
ไม่ครอบคลุมทัง้ บริบท) กับประเทศทีถ่ กู เอารัดเอาเปรียบ ระหว่างกลุม่ คนจำนวนน้อยในสังคมไทย
กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงเป็นเรื่องยากของของประเทศมหาอำนาจที่กระหายในอำนาจ
ความมัง่ คัง่ อย่างไม่มขี อบเขตจำกัด และเป็นเรือ่ งยากของคนกลุม่ น้อยของสังคมไทยทีค่ มุ อำนาจ
ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร ทรัพยากร วัฒนธรรม และการศึกษาของประเทศ จะยอม
เสียสละลดละด้วยกระบวนการทางธรรมะ เนื่องเพราะกระบวนการทางธรรม หรือกองทัพธรรม
ส่วนหนึง่ ก็ถกู ทำลายไปด้วยระบบทุนนิยมโลกาภิวตั น์ ส่วนหนึง่ ก็เข้าแสวงประโยชน์รว่ มโดยอาศัย
ศาสตร์แห่งการครอบงำไล่ลา่ ศาสนิกชนส่วนหนึง่ ทีร่ ไู้ ม่เท่าทันจนติดกับดักด้วยการยอมตนเป็น
เครื่องมือ ในขณะที่ ส่วนที่เป็นกระบวนการขับเคลื่อนธรรมะ ที่พักใจแก่นแกนของศาสนาทุก
ศาสนา กลับกลายเป็นเพียงกระแสรองของสังคม
สภาพเช่นนีจ้ งึ ส่งผลทำให้นกั วิเคราะห์จำนวนหนึง่ มองเห็นว่า การแก้ปญั หาวิกฤติทเ่ี ป็น
ปัญหาเชิงระบบและเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อนบนวิถีแห่งสันติ ไม่น่าจะเกิดขึ้นในสังคม
ไทยได้โดยง่าย
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความคิดดังกล่าว คนอีกกลุ่มหนึ่งก็ยังมีความเชื่อ มีความหวัง
และมีความศรัทธาต่อการแก้ปญั หาวิกฤติดว้ ยวิถแี ห่งสันติ โดยผูเ้ ขียนเป็นผูห้ นึง่ ทีเ่ ชือ่ มัน่ ว่า มนุษย์
สามารถสร้างกระบวนการขับเคลื่อนด้วยวิถีทางเช่นนี้ได้ ได้ทั้งโดยการคิด ได้ทั้งโดยการปฏิบัติ
ได้ทั้งการสร้างเครือข่ายขยายผล และโดยการขับเคลื่อนเชิงสังคมแบบเชื่อมโยง

60 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
บทเรียนแห่งการพัฒนา
แม้ผู้คนจำนวนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิถีทางแห่งสันติ (สันติทั้งความคิดและการกระทำ
สันติทั้งวิธีการและจุดหมาย) ก็มีความจำเป็นที่จะต้องรับรู้ข้อมูลบางประการ ว่าด้วยเรื่องของ
การพัฒนาทีเ่ บียดเบียนและทำลายเฉพาะบางประเด็นเป็นตัวอย่าง อย่างน้อยก็ในห้วงเวลา ๕ ทศวรรษ
ที่ผ่านมา เช่นในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ
โดยหากข้อมูลทีเ่ ป็นผลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกทีป่ ระเทศใช้ในปี ๒๕๐๔
ภายใต้วลี “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” ซึ่งผลของแผนการพัฒนา ในปี ๒๕๐๔-๒๕๑๙
ภายใต้แผนการพัฒนาฯ ๓ ฉบับ เราพัฒนาโดยทำลายทรัพยากรธรรมชาติปา่ ไม้ปลี ะประมาณ ๓
ล้านไร่ ห้วงระยะเวลาการพัฒนา ๓ ฉบับ ประเทศไทยสูญเสียทรัพยากรป่าไม้มากถึง ๔๗ ล้านไร่
และการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้กย็ งั ขยายพืน้ ทีไ่ ปทุกภูมภิ าคของประเทศ ไม่เว้นแม้ในพืน้ ทีม่ รดก
โลกจนกระทัง่ ถึงปัจจุบนั ซึง่ การพัฒนาแบบทำลายทรัพยากรธรรมชาติมไิ ด้มเี ฉพาะป่าไม้ (ทีส่ ง่ ผล
กระทบอย่างรุนแรงในเรื่องวิกฤติภัยแล้ง วิกฤติโลกร้อน ฯลฯ) เท่านั้น ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
ก็ถกู ทำลายพร้อมกันไปอย่างเป็นลูกโซ่ จนส่งผลกระทบต่อชีวติ ความเป็นอยู่ ภัยพิบตั แิ ละสุขภาวะ
ของผู้คนที่นับวันจะยิ่งรุนแรง
ทัง้ นี้ สถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศ (TDRI) ได้เคยประเมินความเสียหายของธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมเฉพาะด้านที่เป็นมูลค่า ตั้งแต่ช่วงปี ๒๕๔๒-๒๕๔๖ มีมูลค่าที่น่าสนใจดังนี้
ความเสียหายจากการทำลายป่าไม้ มีมูลค่าสูงที่สุดคือ ๘,๐๘๓ ล้านบาทต่อปี
รองลงมาคือความเสียหายต่อดินและการใช้ที่ดิน ๗,๔๗๗ ล้านบาทต่อปี
ตามด้วยความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรน้ำ ๖,๔๓๓ ล้านบาทต่อปี
ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ ๕,๘๖๖ ล้านบาทต่อปี
และความเสียหายจากขยะคิดเป็นมูลค่า ๔,๗๙๗ ล้านบาทต่อปี
นัน่ เป็นการประเมินความเสียหายเชิงมูลค่าในช่วงเวลาหนึง่ ทีถ่ า้ หากนำมาประเมินความ
เสียหายที่รวดเร็วและมีพลวัตสูงในปีล่าสุด ก็ไม่ทราบว่า การพัฒนาที่เบียดเบียนและทำลาย
จะมีมูลค่าสูงเพียงใด

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 61
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการพัฒนาที่เบียดเบียนและสร้างความเหลื่อมล้ำให้
เกิดขึน้ ในสังคมไทยในด้านการเป็นเจ้าของทรัพย์สนิ ของประเทศจากสำนักงานสถิตแิ ห่งชาติในปี
๒๕๔๙ พบว่า ทรัพย์สินทั้งประเทศร้อยละ ๖๙ อยู่ในความครอบครองของครัวเรือนที่รวยที่สุด
ซึ่งมีเพียงร้อยละ ๒๐ ของประชากร
ขณะที่อีกร้อยละ ๒๐ ของประชากรที่ยากจนระดับรากหญ้า มีทรัพย์สินรวมกันเพียง
ร้อยละ ๑ ของทรัพย์สินทั้งประเทศ หรือต่างกัน ๖๙ เท่า
ส่ ว นเรื ่ อ งของเงิ น ออมธนาคารที ่ เ ป็ น ข้ อ มู ล จากธนาคารแห่ ง ประเทศไทย
ช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ บัญชีเงินฝากตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทขึ้นไป ทั้งหมดมีประมาณ ๗๐,๐๐๐
บัญชี คิดเป็นร้อยละ ๐.๑ ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งประเทศ
โดยถ้าหากคนกลุม่ นีม้ บี ญั ชีเงินฝากคนละ ๒ บัญชี ก็ประมาณการได้วา่ เงินฝากมากกว่า
๒ ใน ๕ ของจำนวน ๓ ล้านล้านบาท ตกอยู่ในมือของคน ๓๕,๐๐๐ คน หรือร้อยละ ๐.๐๖
ของประชากรทั้งประเทศ
ที่กล่าวมาถือเป็นข้อมูลตัวอย่างของการพัฒนาที่เบียดเบียนตนเอง ชุมชน สังคม
ธรรมชาติ และสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในสังคม จนนำไปสู่วิกฤติการเมืองที่ร้ายแรงครั้ง
แล้วครั้งเล่า และที่สำคัญ จากการติดกับดักการพัฒนาของระบบทุนนิยมโลก ได้ส่งผลทำให้
ประเทศไทยประสบกับวิกฤติปญั หาเศรษฐกิจในปี ๒๕๔๐ ตลอดจนการได้รบั ผลกระทบจากวิกฤติ
ซับไพรม์ที่สหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
เหล่านี้จึงนำมาซึ่งคำถามหลายๆคำถาม โดยคำถามหลายๆคำถามที่มีต่อระบบการ
ศึกษาก็คือ
มหาวิทยาลัยทั้งหลายผลิตบัณฑิตทุกองค์ความรู้ไปสู่สังคมไปทำงานในทุกภาคส่วน
ของสังคม ทั้งภาคราชการ ทั้งภาคธุรกิจ ไปเป็นผู้นำระดับกระทรวงทบวงกรม ไปเป็นนักการ
เมืองทัง้ ระดับชาติ และระดับท้องถิน่ แล้วผลของการพัฒนาทีเ่ กิดขึน้ มหาวิทยาลัยและการศึกษา
ทัง้ ในระบบและนอกระบบมีสว่ นทีจ่ ะต้องรับผิดชอบการพัฒนาทีเ่ บียดเบียนและการพัฒนาทีส่ ร้าง
ความเหลื่อมล้ำนี้หรือไม่....

62 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
มหาวิทยาลัยมีครูอาจารย์ทจ่ี บการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทัง้ ในประเทศ
และต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีตำแหน่งวิชาการระดับผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ไม่นอ้ ย แต่เหตุไฉน การพัฒนาคน การเรียนการสอน การผลิตผลงานการวิจยั
จึงไม่สามารถเท่าทัน ไม่มีภูมิต้านทานการพัฒนาที่สร้างปัญหา จนสังคมประเทศชาติเกิดวิกฤติ
อย่างทั่วด้าน
หรือเป็นเพราะ ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นชุดความรู้ที่มีปัญหาอยู่ในตัวของมันเอง...
อีกทั้งถ้าหากมหาวิทยาลัยสามารถวิพากษ์ชุดความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างกระจ่างชัดมองเห็น
เส้นทางของการจัดการศึกษาที่ไปสนองโครงสร้างการพัฒนาระบบทุนนิยม โลกาภิวัตน์ และเริ่มมอง
เห็นทางออกใหม่ที่เป็น”ปัญญา”เหนือ”ความรู้” ที่เป็น”วิชชา”เหนือ”วิชา” แต่ก็ติดขัดด้วยโลกกระแส
หลัก จัดอันดับมหาวิทยาลัยบนมาตรฐานที่การศึกษาไทยจำเป็นต้องเดินตาม
เช่นนี้แล้วสังคมไทยและการศึกษาไทยจะหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติ แก้ปัญหาการ
พัฒนาที่เบียดเบียนและทำลาย แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร...

มหาวิทยาลัยไทยกับการจัดอันดับโลก
ท่ามกลางปัญหาวิกฤติที่กล่าวมา และท่ามกลางความเป็นไปของการจัดการศึกษาตามแบบ
โลกกระแสหลัก ก็มีคำถามสำคัญเกิดขึ้นนั่นก็คือ มหาวิทยาลัยไทยควรให้ความสำคัญระหว่างการจัด
ลำดับมหาวิทยาลัยโลก (World University Rankings) หรือให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
สู่ความยั่งยืน และหรือจะจัดการทั้ง ๒ ด้าน ให้ดำรงอยู่แบบคู่ขนาน ก่อประโยชน์ทั้ง ๒ ด้าน
เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นเป็นจริงได้หรือไม่
แน่นอนหากมหาวิทยาลัยไทยมุง่ หน้าสูก่ ารจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ก็จำต้องศึกษาวิเคราะห์
เกณฑ์ทจ่ี ะวัด ต้องศึกษากลวิธกี ารเพือ่ กระบวนการจัดอันดับ รวมทัง้ ต้องมีทนุ หรืองบประมาณสนับสนุน
นั่นก็หมายความว่า มหาวิทยาลัยไทยจะต้องมีหน่วยศึกษาองค์กรที่จัดอันดับมหาวิทยาลัย
ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร Newsweek ไม่ว่า Times Higher Education หรือ Top Universities Guide
และหรือ Shanghai Jiao Tong University ฯลฯ
จะต้องศึกษาเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละสำนักให้ทะลุปรุโปร่ง อันหมายรวมถึง จะต้องรูว้ า่

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 63
มีบริษัทธุรกิจอะไร ที่เป็นที่ปรึกษาของสำนักจัดอันดับนั้น ๆ และเป็นผู้ดำเนินการในการจัดเก็บข้อมูล
สู่การจัดอันดับ เช่น จะต้องรู้ว่า บริษัทที่ปรึกษาของ The Times Higher Education คือบริษัท QS
(Quacquarelli Symonds) ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดจุดหมายของการส่งแบบสอบถาม แน่นอนหาก
QS ไม่รจู้ กั หรือไม่มฐี านข้อมูลทัง้ นักวิชาการ และสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยไทย หรือไม่ทำให้ QS
มีขอ้ มูลอันเกิดจากสาเหตุใดก็ตามที ก็ยากทีม่ หาวิทยาลัยไทยแห่งนัน้ หรือนักวิชาการสถาบันการศึกษา
แห่งนั้นจะได้รับการคัดเลือกและเสนอชื่อมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
ซึง่ กระบวนการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้เงินหรือต้องลงทุน รวมทัง้ ต้องยอมรับความซับซ้อน
ในเรือ่ งของการจัดอันดับ ผลของการจัดอันดับทีส่ ง่ ผลต่อรายได้ของสถาบันการศึกษาทีต่ ดิ อันดับต้น ๆ
ในฐานะที่การศึกษาถูกกำหนดให้เป็นธุรกิจบริการชนิดหนึ่ง ที่นำรายได้จากประเทศที่ถูกเรียกว่า
ประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนาสู่ประเทศของตน
ที่สำคัญที่ควรบันทึกไว้ก็คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ยอมรับ
และเห็นด้วยกับกระบวนการนี้ ซึง่ กระบวนการคิดเช่นนี้ ได้สง่ ผลต่อการทุม่ งบประมาณจำนวนมหาศาล
เพื่อสร้างโอกาสให้มหาวิทยาลัยไทยของรัฐ ๙ แห่งจาก ๗๖ แห่ง ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
คำถามต่อมาก็คือ หากมหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกภายใต้เกณฑ์ที่สังคมไทยมิได้เป็นผู้
กำหนดแล้ว มหาวิทยาลัยไทยเหล่านัน้ จะช่วยแก้ปญั หาวิกฤติ จะช่วยแก้ปญั หาการพัฒนาทีเ่ บียดเบียน
จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษาดังที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นได้หรือไม่
แต่ถ้าหากคำตอบไม่เกี่ยวกับคำถามที่ตั้ง ในที่สุดมหาวิทยาลัยไทยอีก ๖๐ กว่าแห่ง ก็
จำต้องตะเกียกตะกายเพือ่ ให้ได้งบประมาณและเพือ่ เป้าหมายของการจัดอันดับเป็นตัวตัง้ ไม่ใช่เพือ่ ให้
การศึกษาหรือให้มหาวิทยาลัยเป็นความหวังของสังคมไทย ซึ่งหากเป็นความหวังไม่ได้ หรือขจัดความ
เหลื่อมล้ำไม่ได้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะให้ชุมชนหรือคนส่วนใหญ่ที่ถูกเก็บภาษีทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
มองมหาวิทยาลัยเป็นใครอื่นไปพ้นได้
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่งหากมหาวิทยาลัยไทยมองเห็นว่า การแข่งขันเพื่อการจัดอันดับ
เป็นเรือ่ งทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้ในยุคการค้าเสรี แต่กย็ งั เห็นความสำคัญทีจ่ ะดำเนินการแบบคู่ขนาน ด้วยการ
ขับเคลื่อนบทบาทของมหาวิทยาลัยกับชุมชนพร้อมกันไป หรือผลักดันสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีบท
บาทอย่างชัดเจนในการแก้ปญั หาความเหลือ่ มล้ำ วิกฤติชมุ ชนธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ซึ่งในที่สุดแล้ว
กระบวนการสร้างความเข้มแข็งดังกล่าว ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงกับการที่จะต้องไปเผชิญหน้ากับระบบที่
เบียดเบียนและทำลายนั้นได้

64 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
การศึกษาทางเลือก มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน
อันที่จริง แนวคิดการจัดการศึกษาทางเลือกได้มีการก่อตัวตั้งแต่ยุคแสวงหา ก่อนเหตุการณ์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ โดยแม้ระยะเริ่มแรกมิได้ใช้คำว่าการศึกษาทางเลือก แต่นัยยะของการแสดงออก
ถือเป็นการปฏิเสธแนวคิดในการจัดการศึกษาในระดับปรัชญา ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อ
เนือ่ ง แต่การปฏิรปู การศึกษาก็ไม่บรรลุจดุ หมายด้วยหลายเหตุปจั จัย โดยเฉพาะปัจจัยความผันแปรทาง
การเมืองภายในประเทศทีเ่ ชือ่ มโยงกับการเมืองระหว่างประเทศในยุคสงครามลัทธิอดุ มการณ์ และสืบต่อ
มายังสงครามแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ขยายเติบใหญ่เป็นธุรกิจข้ามชาติของระบบทุนนิยมโลก
ซึ่งพัฒนาการดังกล่าว ได้ส่งผลทำให้เกิดกระแสการปฏิเสธการจัดการศึกษาในแบบการ
จัดการศึกษากระแสหลัก อันนำไปสู่การขับเคลื่อนการศึกษาทางเลือก (Alternative Education)
อย่างเป็นขบวนการ ซึ่งการศึกษาทางเลือกที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้อาศัยแนวคิดทั้งจากโลกตะวันตก
และจากโลกตะวันออก ทัง้ นี้ จากเอกสารรายงานการวิจยั เรือ่ ง “การศึกษาทางเลือกในนานาประเทศ”
ซึ่งรับผิดชอบโครงการโดย นางรัชนี ธงไชย ได้สรุปกรอบความคิดที่มีต่อการศึกษาทางเลือกไว้ ๒
ด้านหลัก
ด้านปริมาณ ถือว่า การจัดการศึกษาทางเลือกเป็นการจัดการศึกษาตามทัศนะของกลุ่มที่มี
ความเห็นแตกต่างจากการศึกษากระแสหลัก คุณสมบัติของกลุ่มไม่มีการระบุให้จำเพาะเจาะจงลงไป
และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่มีลักษณะเป็นส่วนน้อยของระบบ และไม่จำกัดว่ามี
ปรัชญาการศึกษาใด
ในด้านคุณภาพ การศึกษาทางเลือกมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
๑. มีความเป็นอิสระ
๒. มีลักษณะเป็นนวัตกรรม
๓. เติมเต็มสิ่งที่ขาดไปของระบบ
๔. เป็นองค์รวม
๕. มีลักษณะที่แตกต่างหลากหลาย
๖. มีความเป็นพหุนิยม
การขับเคลือ่ นดังกล่าวทำให้เกิดโรงเรียนทางเลือกกระจายตัวไปตามภูมภิ าคของประเทศไทย

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 65
เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้ รายงานการวิจัยของ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ และคณะ ที่เสนอรายงานการ
วิจัยเรื่อง “การศึกษาทางเลือก : ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์” ได้แบ่งการศึกษาทางเลือกไว้เป็น ๗
ฐานการเรียนรู้ โดยสรุป คือ
๑. การจัดการศึกษาทางเลือกที่จัดโดยครอบครัว หรือ Home School
๒. การจัดการศึกษาทางเลือกที่อิงกับระบบรัฐ
๓. การจัดการศึกษาทางเลือกสายครูภูมิปัญญา
๔. การจัดการศึกษาทางเลือกสายศาสนา และวิถีปฏิบัติธรรม
๕. การจัดการศึกษาทางเลือกที่เป็นสถาบันนอกระบบรัฐ
๖. การจัดการศึกษาทางเลือกของกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
๗. การศึกษาทางเลือกผ่านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้

อย่างไรก็ตามในขณะที่การขับเคลื่อนการศึกษาทางเลือกที่มีนัยยะปฏิเสธระบบคิด
ของการศึกษากระแสหลัก ก็ได้ส่งผลกระทบต่อแนวคิดการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ได้ส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยของไทย ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาภายใต้กลไกของ
ระบบโลก ซึง่ ในทีส่ ดุ แล้วก็หลีกเลีย่ งไม่ได้ทจ่ี ะถูกตัง้ คำถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่สามารถสร้าง
มหาวิทยาลัยทางเลือกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย หรืออย่างน้อยก็มีแนวคิดในการจัดการศึกษา
ทางเลือก ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในระดับยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัย ที่แฝง
อยู่ในระบบมหาวิทยาลัยของรัฐ
คำตอบหนึง่ ในหลายๆคำตอบคือ มหาวิทยาลัยไทยถูกกระทำ (และเลือกทีจ่ ะถูกกระทำ)
ให้มีทิศทางการพัฒนาไปในเส้นทางของการศึกษากระแสหลัก เส้นทางของการไต่เต้าแข่งขัน
เส้นทางไปสูค่ วามเป็นสากล จนอาจกล่าวได้วา่ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ตา่ งตัง้ เป้าหมายไปสูค่ วาม
เป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล ท่ามกลางวิกฤติของการพัฒนาประเทศ ที่เบียดเบียน
ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม ทำลายชีวติ ชุมชน สังคม จนนำไปสูว่ กิ ฤติของประเทศ
ที่นับวันจะยิ่งรุนแรง และยังไม่เห็นทางออก
หรือ ในความเชือ่ ของมหาวิทยาลัยไทยขณะนี้ มีความเชือ่ มัน่ ว่า มหาวิทยาลัยสามารถ
หาทางออกให้กับประเทศได้ ก็โดยการนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากล การนำมหาวิทยาลัย
ไปสู่การจัดอันดับโลกที่ดีขึ้น ก็จะส่งผลทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นปัญหาวิกฤติได้

66 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
แต่ไม่ว่ามหาวิทยาลัยไทยจะมีความเชื่ออย่างไร ก็เป็นที่ชัดเจนว่า มีมหาวิทยาลัย
บางแห่งที่กำลังปฏิบัติการอย่างคู่ขนาน ด้วยการจัดการมหาวิทยาลัยแบบทวิลักษณ์ หรือ
๑ มหาวิทยาลัย ๒ ฐานคิด ด้วยการจัดการให้เกิดเอกภาพในสองสิ่งที่แตกต่าง ทั้งการขับ
เคลื่อนสู่เส้นทางการศึกษากระแสหลัก และทั้งการขับเคลื่อนสู่การเป็นหัวขบวนรถจักรสู่ชุมชน
ด้วยยุทธศาสตร์ ๑ จังหวัด ๑ มหาวิทยาลัย สู่สัมมาชีพ
มหาวิทยาลัยกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ท่ามกลางการขับเคลือ่ นแบบคูข่ นาน หากกล่าวเฉพาะด้านการจัดการศึกษาเพือ่ ชุมชน
มีการศึกษาทิศทางของการจัดการศึกษาเพื่อชุมชน ว่าควรจะตั้งอยู่บนฐานคิดหรือปรัชญาอะไร
ปรัชญาหนึง่ หรือฐานคิดเพือ่ การจัดการศึกษาหนึง่ ในหลายๆฐานคิด คือ การให้คณุ ค่าและความ
สำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ว่าเป็นปรัชญาที่นำไปสู่การแก้
ปัญหาวิกฤติของประเทศในระยะยาว ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่จะได้รับความ
สนใจในขัน้ ของการนำไปสูก่ ารปฏิบตั ภิ ายในสังคมไทยเท่านัน้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ยงั ได้รบั
ความสนใจ มีการศึกษาในระดับนานาชาติอีกด้วย โดยหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก
(Sufficiency Economy in Global View)” โดยสถาบันไทยพัฒน์ และ สถาบันการจัดการ
เพือ่ ชนบทและสังคม มูลนิธบิ รู ณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุน
ของสำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้รวบรวมประมวลความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
๑๓ คน ประกอบด้วย
๑. ศ.ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ ผู้เชี่ยวชาญประจำวุพเพิลทอล เพื่อสภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม
และพลังงาน ประเทศเยอรมนี
๒. ศ.ดร. ฟรานซ์ ธีโอ กอตวอลล์ ผู้อำนวยการมูลนิธิชไวเฟิร์ท เพื่อการพัฒนาการ
เกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเทศเยอรมนี
๓. ศ.ดร. อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย ผูไ้ ด้รบั รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๑
๔. ศ.ปีเตอร์ บูทรอยด์ ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งมหาวิทยาลัย
บริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 67
๕. ฯพณฯ จิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน
๖. ศ.ดร.ปีเตอร์ วอรร์ ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
๗. ดร.ทาริก บานุรี ผูอ้ ำนวยการหลักสูตรความยัง่ ยืนแห่งอนาคต สถาบันสิง่ แวดล้อม
สต๊อกโฮม ประเทศสวีเดน
๘. ดร.ดอรี คินเลย์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวภูฏาน ประจำองค์การอาหารและเกษตรกร
แห่งสหประชาชาติ
๙. ศ.ปีเตอร์ คัลกิ้น อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและวิทยาการผู้บริโภค
มหาวิทยาลัยลาวาล ประเทศแคนาดา
๑๐. ศ.ดร.วิมาลา วีระรัควาน ผู้อำนวยการสถาบันอมิตี้แห่งพฤติกรรมสุขภาพ
และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประเทศอินเดีย
๑๑. ดร.ฟาสติโน คอร์โดโซ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ
ติมอร์-เลสเต (ติมอร์ตะวันออก)
๑๒. อาจารย์โยฮันเนส อัสโบโก้ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ติมอร์-เลสเต
(ติมอร์ตะวันออก)
๑๓. เฟอร์นันโด ไคลแมน หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการเศรษฐกิจสมานฉันท์แห่งชาติ
กระทรวงแรงงานและการจัดหางาน ประเทศบราซิล
โดยผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านได้แสดงทัศนะต่อปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เศรษฐกิจ
พอเพียงไม่เป็นเพียงทางออกของวิกฤติประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นทางออกของวิกฤติโลกด้วย
เช่น ศ.ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุก
ประเทศในเวลานี้
ในขณะที่ ศ.ดร. อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลกล่าวว่า “ความพอเพียง
ไม่ได้หมายถึง ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แต่ต้องมีพอที่จะอยู่ได้ พอที่จะมีชีวิตที่ดี”
ส่วน ฯพณฯ จิกมี ทินเลย์ มีทัศนะที่ว่า “ประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จาก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

68 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
หรือ ศ.ดร.ปีเตอร์ วอรร์ มีมุมมองว่า “เศรษฐศาสตร์สีเขียว เศรษฐกิจพอเพียง
สองแนวคิด ยึดหลักไม่เบียดเบียนโลก”
ที่ยกตัวอย่าง ถือเป็นทัศนะตัวอย่างจากผู้ทรงคุณวุฒินอกประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจ
พอเพียง ในขณะที่ผู้คนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อย มักจะยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ก็ต่อเมื่อคนต่างชาติให้การยอมรับเสียก่อน จึงจะยอมรับตาม ทั้งๆที่ปรัชญาดังกล่าวถือกำเนิด
ในประเทศไทยโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
จนปัจจุบัน ความพยายามของมหาวิทยาลัยที่จะดำเนินนโยบายแบบ “ทวิลักษณ์”
ก็ได้เกิดขึน้ เป็นจริงแล้ว ทีม่ หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยการขับเคลือ่ นโพธิวชิ ชาลัยวัฒนานคร
มศว สระแก้ว โพธิวชิ ชาลัยแม่สอด มศว ตาก โพธิวชิ ชาลัย มศว สตูล ซึง่ เป็นพืน้ ทีภ่ มู ริ ฐั ศาสตร์
ติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพเมียนมาร์ และประเทศมาเลเซียตามลำดับ โดยอยู่ในช่วง
ขยายผลไปจังหวัดน่าน-อุตรดิตถ์ ติดกับประเทศลาว ซึ่งโพธิวิชชาลัยทุกแห่ง ตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สรุป
สังคมไทยในปัจจุบนั กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤติรอบด้าน เป็นวิกฤติทร่ี นุ แรงทีจ่ ารึก
อยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นวิกฤติของความแตกแยก ความโกรธเกลียดเคียดแค้น
ถึงขัน้ ประหัตประหารแบบไทยฆ่าไทยได้ โดยหากยังไม่สามารถแก้ปญั หาวิกฤติดงั กล่าว เหตุการณ์
ไทยฆ่าไทยก็จะขยายผลต่อไป
ซึ่งถ้าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย ดีขึ้น สูงขึ้น ติดอันดับมากขึ้น สามารถช่วยแก้
ปัญหาวิกฤติของประเทศไทย ก็ควรขับเคลื่อนต่อไป แต่หากวิกฤติของประเทศพัฒนาต่อไป
กลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว อันดับมหาวิทยาลัยในเวทีการศึกษาโลกก็เป็นเกียรติยศที่ไร้ความหมาย

เอกสารอ้างอิง
สุชาดา จักรพิสทุ ธิ์ และคณะ. (๒๕๔๖). การศึกษาทางเลือก : ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์.
http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540007
สถาบันไทยพัฒน์. เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก.
http://sufficiencyeconomy.blogspot.com/2009/10/blog-post_26.html

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 69
70 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
University and Alternative Education
Amnard Yensabye

Abstract
The socio-economic crisis prevailing now in Thailand is complex and
serious. It is related to the economic system and structure of the country and
that of the world. Responsible for the crisis are the leaders in every economic
and social sector of the country. They were educated and trained in Thai
universities. It is thus fair to say that Thai university education may be partly
responsible for the country’s crisis that prevails under the management of such
leaders. The development of tertiary education of Thailand is confined by its
need to meet “world standards” and to achieve some good “world university
ranking”, both standards and criteria of which Thailand played no part in
defining according to the country’s priorities and needs. Thus, Thai university
education could not break out of this confinement to help produce manpower
needed to take the country out of its present crisis.

In resisting the trend of development of the main stream education,
alternative education grows out of this need to break out of this confinement.
The alternative education addressed in this paper has six main elements:
freedom, innovation, fulfilment, holism, diversity, and pluralism. Knowledge and
technology base for the alternative education is drawn from and founded on
that drawn from seven main sources: traditional knowledge and practices in
the family and state systems, formal; academic studies in standard teaching
and learning system, religious teachings, informal learning and teaching system,
various information media and other sources. Some of the Thai universities
have already implemented alternative education, a dual education system
that incorporates standard teaching and learning and alternative teaching
and learning using the strategy of “One University, One Province” to train and
produce learners capable of establishing right livelihood when they graduate.

English translation of the original article in Thai, “มหาวิทยาลัยกับการศึกษา
ทางเลือก”.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 71
The dual education system, founded on the Philosophy of Sufficiency
Economy, is put to practice at the College of Bodhi Vijjalaya in Srinakharinwirot
University (SWU). For its multifaceted teaching and learning, the College of Bodhi
Vijjalaya has campuses in SWU of Srakaew Province and SWU of Tak Province.
Both these provinces are border provinces. The College will be expanded
to other border provinces, including Nan, Uttradit, and three other border
provinces in the south of Thailand. Guided by the Philosophy of Sufficiency
Economy, the College provides practical education aimed at developing the
local communities. It is through developing the local grassroot communities
that the root of the country’s crisis is tackled most effectively. This is one way
Srinakharinwirot University responds in formulating and delivering education that
helps the country resolve its crisis, from the bottom up.
Introduction
It is undeniable that the actual socioeconomic crisis in Thailand is
so complex and serious that it could not be solved within a short period
of time. The socioeconomic structure and system of Thailand is closely linked
with that of the world outside. Everyone hopes to resolve the crisis peacefully.
However it is not easy because the world is dominated and manipulated by
exploiters who protect their own interests and maintain the divide between the
powerful or majority and the exploited or minority groups of countries. Powerful
countries continue to submit to their craving for unlimited wealth. Globalisation
and capitalism help them further this interest in endless exploitation worldwide.
Similarly the dominant groups in the Thai society find it difficult too to sacrifice
any part of their control over politics, economics, military power, and other
resources to the minority groups in the Thai society. Some join the exploiters’
groups when they find they are not able to resist them. Some analysts consider
peaceful or Dharmic way of resolving such conflicts not tenable. However, some
people are confident and hopeful that this crisis can be resolved peacefully.
I count myself one among these who trust that human beings could reason
and act together as one in creating and driving a social process that leads
to the resolution of the crisis in a peaceful way.

72 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
Lessons of ‘Development’ or ‘Modernisation’ Ventures
To resolve the crisis in a peaceful, methodical and systematic
manner, some understanding of the lessons learned from the ‘development or
modernisation’ ventures of the past five decades is necessary, particularly the
disastrous effect of unregulated exploitation of natural.
Since the launching of the 1st National Economic Development Plan in
B.E. 2504 until the third National Economic and Social Development Plan that
ended in B.E. 2519, development or modernisation driven under the campaign
of “Water Runs (water supply infrastructure); Bright light (electrification); Smooth
Path (good road networks); Good Job (salaried employment)”, had brought
about substantial destruction of the country’s natural resources. Forty-seven million
rai (1 rai = 0.4 acre) of the forest land were deforested and this deforestation
has gone on and extended into reserves including the world heritage areas.
The massive deforestation brought on a long chain of disastrous consequences
such as ecological instability, loss of other natural resources (biodiversity; etc)
that are dependent on the forests, recurrent droughts, and global warming
and other climate changes. These adversely affect the livelihood and quality
of life of the people. The problem grows more serious with each passing day
to develop into a major national crisis as we see today.

According to Thailand Development Research Institute (TDRI), losses in
monetary term from various forms of environmental destruction were estimated
between B.E 2542-2546 as follows:
Deforestation: 8,083 mil ion Baht per year
Destruction on soil and land: 7,477 mil ion Baht per year,
Water resource: 6,433 mil ion Baht per year,
Air pollution: 5,866 mil ion Baht per year, and
Solid environmental wastes and garbage: 5,497 million Baht per year.

The above are only estimated losses in a specific period of time.
Imagine what the cumulative losses up to the present time would be and
how harmful and costly is this user-unfriendly type of ‘development and
exploitation’!
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 73

There is unfair exploitation and discrimination in socio-economic
development in the country that contributes to the worsening crisis we see
today. According to the Office of National Statistic of B.E. 2549, 69% of total
property in the country were owned by the wealthiest 20% of total population;
and 20% of grassroots population were poor and owned only 1% of the total
property. There is a staggering difference of 69 times between the haves and
have-nots. According to the Bank of Thailand, as of June B.E. 2552, there
were 70,000 saving accounts with more than 10 million Baht in each account,
and this formed 0.1% of total number of savings account in the country.
Total savings were three bil ion Baht (= 3 U.S. trillions). If each person owns
two saving accounts, then 35,000 persons or 0.06% of the population hold
more than 1.2 bil ion Baht. This disparity and inequitable distribution of wealth
contributes to political instability and occurrence of one crisis after another.
Trapped in the capitalistic type of development, Thailand finds itself vulnerable
and severely affected in the economic crisis in B.E. 2540 and the impact of
the Subprime crisis of U.S.A.
This leads to some re-examination of the current situation and the
many questions of our education system as discussed below.
All universities have produced graduates equipped with the necessary
basic knowledge to work in various sectors of the country, public and private.
Many of them have become national and local leaders and politicians, and
some are heading various ministries and government departments. Therefore,
this leads to the question whether our universities that have produced such
leaders could be held responsible for the unjustly exploitative and discriminatory
development that contributes to the disparity and inequitable distribution of
wealth in the country and the crisis we are in today.
In the university, there are many well-trained and learned academicians,
professors, assistant professors, and lecturers of various other rankings who
have graduated with Masters or Doctorates in various fields and disciplines in
various universities, local and abroad. Yet, our teaching and learning, and our
research and various other forms of academic development do not seem to

74 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
be adequate to help in overcoming or resisting the problems of unjust and
exploitative type of the country’s socioeconomic development that leads to
our present crisis.
Or is the ‘KNOWLEDGE’ imparted by the university the problem?
Universities criticize the shortcomings of imparting mere ‘KNOWLEDGE’
and are trying hard to develop ‘WISDOM’. But there are constraints such as
the competitive exercise on ‘University Ranking’.
How could Thai education be developed and transmitted in such
a way as to correct the course of development from one that is socially
destructive to one that is not, to one that narrows the gaps between the
haves and have-nots, and thus to lead a way out of the present crisis the
country is in?
Thai Universities and World University Rankings
Should Thai universities focus on striving for a place in ‘WORLD
UNIVERSITY RANKINGS’? Or should they put more effort in working on ‘SUSTAINABLE
DEVELOPMENT’? Should universities adopt a dual or parallel management system
that places equal importance on both achieving a place in ‘World University
Ranking’ and contributing to sustainable development?
If our universities aim to achieve a place in the World University
Ranking, the universities would need to allocate budget and time for setting
up a unit to do research and analyse the process of rankings, and to involve
all to meet the criteria set for the rankings. Universities may need to engage
the services of consulting firms to help in competing for a place in the World
University Ranking.
All of these processes and works need a substantial budget. Top
positions in the rankings help in attracting more students to the universities and
bring in more earnings to the universities. The Commission on Higher Education
encourages and financial y supports nine of the country’s seventy-six universities
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 75
in their efforts to gain a place in the World University Ranking. The remaining
sixty-seven universities are left on their own to find the necessary budget and
resources in their attempts to compete for a place in the World University
Ranking.
If Thai universities focus only in gaining a place in World University
Ranking, a ranking that is not based on or related to the country’s needs
and values, and not be as concerned with developing education to serve
the needs of the country, particularly in contributing to resolving the country’s
crises, then Thai universities wil grow more alienated from Thai society. The
next question that follows is how competent are these top-ranked universities
in helping to solve the country’s problems and crisis that include inequality in
access to good education?
Universities now are in the service business. Competition in rankings
cannot be avoided in the present ‘FREE TRADE ERA’. Universities thus have
to be equally concerned with gaining a place in the rankings and imparting
education that contributes to resolving the country’s problems and crises. Can
the dual or parallel management system be implemented to achieve both
ends, that of a place in world ranking and at the same time serving the
needs of the country?
An Alternative Education for Communities
The concept of alternative education in Thailand started developing in
the 1960s to counter the trend of mainstream development and education. This
concept evolved both in the East and West. Rachnee Thongchai summarised
two aspects of alternative education in her research ‘Alternative Education in
Various Countries’ – quantitative and qualitative.
The quantitative aspect refers to a minority group of people in the
education system that has sound ideas of what alternative education is.
Qualitative aspect of alternate education refers to the key characteristics of
alternative education: liberal, innovative, fulfil ing, holist, diversity and pluralistic.

76 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
The alternative education movement has created some schools in
many parts of Thailand. Suchada Chakpisuth, in her research on “Alternative
Education”, reported various forms of alternative education and alternative
sources of knowledge to be tapped into for teaching and learning in
alternative education:
1. Home schooling.
2. Public schools.
3. Local expertise.
4. Religious spiritual practice centres
5. Various institutions or organisations of particular disciplines or
professions.
6. Clubs or associations or groups engaged in specific activities of
public interests and service.
7. Alternative education through multimedia comma learning media
and use of information technology.
Pushing forth alternative education may imply resisting the trend of
main stream education. The concept and practice of alternative education
impacts on the idea of higher education and the management of university
education, and also affects how these universities appear and relate to other
tertiary institutions in the rest of the world. However alternative and main
stream education may not necessarily be mutually exclusive. Universities may
incorporate alternative education in their education system and structure and
management.
Some universities may choose to be internationally competitive, striving
for academic excellence without addressing the issues of socio-economic
developmental crisis in the country (depleting natural resources, degradation of
the environment, life, community and society). Some universities may believe
that if their upgrade to ‘international’ level and gaining a place in world
ranking would help the country emerge from its crisis.
Whatever Thai universities believe in, it is evident that there are some
universities now are introducing and practicing dual or parallel management
system whereby main stream education and alternative education are integrated
and run concurrently to be internationally competitive and yet able to address
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 77
local issues and develop local community and the country in a more holistic
way. One strategy of this dual or parallel management system is the “One
University One Province” strategy. This strategy is formulated for developing
higher education to meet international standards and at the same time to
address local needs in contributing to the country in establishing generations
competent to establish right livelihood.
Dual Management System of the University and the Philosophy
of Sufficiency Economy
Alternative education, as an integral part of the dual education
management of the university, has the important task of imparting education
and contributing to the growth and development of local communities. In this
regard, how should the education management be guided by or based on?
What should be the guiding philosophy?

The importance of the Philosophy of Sufficiency Economy and its
practice in solving the crisis of the country in the long run has long been
recognised in Thai society and it is now gaining international attention. In the
book, “Global View on Sufficiency Economy”, published by Thaipat Institution in
collaboration with the Rural and Social Management Institute with support from
Thailand Research Fund (TRF), opinions from 13 scholars of world renown were
recorded. They were:
1. Prof. Dr. Wolfgang Sachs, Specialist at the Wuppertal Institute for
Climate, Environment and Energy, Germany.
2. Prof. Dr. Franz-Theo Gottwald, President of the Schweisfurth Foundation
and also Honorary Professor in Ecological Ethics at Humboldt University, Berlin.
3. Prof. Dr. Amartya Sen, Indian economist and a winner of the Nobel
Memorial Prize in Economics in 1998.
4. Prof. Peter Boothroyd, Professor Emeritus, Centre for Human Settlements,
University of British Columbia (UBC), Canada.
5. H.E. Jigme Y. Thinley, Prime Minister of Bhutan.
6. Prof. Dr. Peter George Warr, John Crawford Professor of Agricultural

78 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
Economics and founding Director of the Poverty Research Centre at the
Australian National University.
7. Dr. Tariq Banuri, Director of Future Study Program, Stockholm
Environmental Institute.
8. Dr. Dorjee Kinley, Bhutanese Economist at Food and Agriculture
Organisation (FAO).
9. Prof. Peter H. Calkins, Lecturer of Agricultural Economic and
Consumer Technology, Laval University, Canada.
10. Prof. Dr. Vimala Veeraraghavan, Professor of psychology and Director
General of Amity Institute of the Behavioural and Ally Science University of
Atapradesh, India.
11. Dr. Faustino Cardoso Gomes, Director of National Research Centre,
the National University of Timor-Leste, East Timor.
12. Mr. Yohanes Usboko, Lecturer at the National University of Timor-
Leste, East Timor.
13. Fernando Kleiman, Head of Cabinet, National Secretariat for the
Solidarity Economy, Brazil.
These scholars expressed the opinion that ‘Sufficiency Economy’ is the
solution to not only to the crisis in Thailand but also applicable to resolving
that of the world. Prof. Dr. Wolfgang Sachs suggested that Sufficiency Economy
is one of the options for every country to take nowadays.
Prof. Dr. Amartya Sen explained that “Sufficiency does not mean no
more requirement, but it must be sufficient for living and having a better
life.”
H.E. Jigme Y. Thinley stated his opinion that “Thailand could build a
new world from the Philosophy of Sufficiency Economy.”
Prof. Dr. Peter Worr pointed out that “Both the Green Economy and
Sufficiency Economy ideas are based on no exploitation of the earth.”
Foreign scholars affirmed the value and importance of the Philosophy

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 79
of Sufficiency Economy and this has helped convince more Thais to accept
the philosophy, a philosophy initiated in Thailand by His Majesty the King
Bhumiphol Adulyadej. Srinakharinwirot University has started implementing the
dual or parallel education management system with the establishment of Bodhi
Vijjalaya at Watthana Nakorn, SWU Srakaew Province and Bodhi Vijjalaya at
Mae Sod, SWU Tak Province, where their geopolitical locations are adjacent to
the Kingdom of Cambodia and the Union of Myanmar respectively. The project
is in progress and wil be expanded to Nan and Uttradit Province bordering
the Lao People’s Democratic Republic and the three other border provinces in
the southern part of Thailand. Bodhi Vijjalaya, the main campus and its branch
campuses are established and run based on the philosophy of Sufficiency
Economy.

Conclusion
At present, Thailand is in the middle of politico-socio-economic crisis. It
is a crisis that wil be recorded in the history of Thailand as one of disharmony,
hatred, and vengeance, and one that is so severe that people of all sides
kill one another. If we could not solve this crisis, the “Thai killing Thai” tragedy
will spread more extensively.
If gaining top international rankings is a means to helping the country
solve its crisis, the all universities should strive ahead to attain those high
rankings. However, if the crisis of the country eventually cripples the country
and makes it a failure state, then those high international rankings would be
a meaningless honour.
References in Thai Language
Suchada Chakpisuth and team. (2003). Alternative Education: Data Base and Analysis.
http://www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4540007
Thaipat Institution. Global View on Sufficiency Economy.
http://sufficiencyeconomy.blogspot.com/2009/10/blog-post_26.html

80 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย
Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya
กวี วรกวิน
Kawee Worakawin
บทคัดย่อ
หลักคิดการไปตั้งวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ เป็นการสร้างดุลยภาพทางการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบท เป็นปฏิบัติการ
สร้างภูมิธรรมในสังคม ที่เป็นรูปธรรมและเป็นจริง หลักสูตรการจัดการภูมิสังคม ถูกนำ
เสนอเป็นหลักวิชชาบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมุ่งมั่นทำให้เกิดภูมิธรรมในสังคม
และ ภูมิธรรมในตัวคน หรือตัวเยาวชนที่เข้ามาศึกษา ด้วยหลักคิดสำคัญ คือ “เกิดด้วยธรรม
อยู่ด้วยธรรม ตายด้วยธรรม” หรือ “เริ่มต้นการศึกษาด้วยธรรมชาติ พัฒนาด้วยมนุษยธรรม
และยัง่ ยืนด้วยวัฒนธรรม” นัน่ ก็คอื ดุลยภาพของกาย ใจ และจิต ทีต่ อ้ งสมบูรณ์และสมดุลย์ทต่ี วั
บุคคล ก่อนจะไปสร้างดุลยภาพกับสรรพสิง่ ทีเ่ ป็นสิง่ แวดล้อมรอบตัว หลังจากนัน้ ดุลยภาพระหว่าง
มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับวัฒนธรรม และระหว่างมุนษย์กับธรรมชาติและวัฒนธรรม จึงจะ
พัฒนาตามมาหรือพัฒนาไปพร้อมๆกัน

Abstract
The concept of establishing the College of Bodhi Vijjalaya of Srina-
kharinwirot University in the rural interior arose from the need to bring about a
balance in educational opportunity and access in the urban and rural areas.
The education program of the College offers a practice to develop Dhamma
realm in society. The curriculum of undergraduate programme on ‘Socio-geo-
graphy Management’ is designed and focused on the development of ‘Vijja’
(right knowledge and morality), the foundation value of the Philosophy of Suf-
ficiency Economy. The objective of this programme is to help students develop
and experience Dhamma realm personally and extend that realm into the

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 81
society when they enter society. The primary guiding principle is, ‘born with
Dhamma, live with Dhamma, and die with Dhamma’. One begins with studying
and understanding nature, then develops, sustains and advances the values of
humanity and one’s culture. The purpose of this education and development
is to impart the ‘vijja’ for achieving and maintaining a state of equilibrium in
body, mind and spirit. Everyone should be able to achieve such personal equi-
librium within before being able to achieve harmony with the external world.
A state of equilibrium between human and nature, and human and culture
will eventually bring about harmony among human, culture and nature.

บทนำ
วิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัย เปิดแนวรุกการพัฒนาเยาวชนไทยแนวใหม่โดยวางแนวในทิศทาง
ทวนกระแสกับการเรียนการสอนในระบบมหาวิทยาลัยที่ผ่านมา และเป็นการดำเนินการตาม
แนวยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทีจ่ บั ประเด็นวิกฤติชาติทเ่ี กิดการแตกแยกทางสังคม
อย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะหลายปีที่ผ่านมา หลักสูตร “การจัดการภูมิสังคม” ถูกนำเสนอ
เป็นหลักวิชชาบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว

หลักคิดของโพธิวิชชาลัย
หลักคิดสำคัญในการเปิดหลักสูตร มุ่งพัฒนาคนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะมุ่งพัฒนา
เยาวชนลูกคนยากคนจนคนด้อยโอกาสที่มีความตั้งใจจะไปเป็นพลเมืองหรือเป็นชาวบ้านอยู่ใน
ชุมชนในท้องถิ่นหรือในจังหวัดของตัวเอง ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนทิศทางให้กลับกันกับการเรียน
การสอนในอดีต ที่ทุกคนมุ่งเข้าสู่เมืองเข้าสู่กรุงเทพฯ จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายใน
ชุมชนเมืองของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเห็นว่า
เมือ่ สอนเด็กในเมืองได้กน็ า่ จะสอนเด็กในชนบทได้ เมือ่ สอนลูกคนรวยได้กน็ า่ จะสอนลูกคนจนได้
เมือ่ สอนคนทีม่ โี อกาสได้กน็ า่ จะสอนคนทีด่ อ้ ยโอกาสได้ หลักคิดการไปตัง้ วิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัยใน

82 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
พืน้ ทีช่ นบททีห่ า่ งไกลเช่นที่ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว หรือทีอ่ ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
จึงเป็นการสร้างดุลยภาพทางการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างคนรวยกับคนจนระหว่าง
คนมากโอกาสกับคนด้อยโอกาส ถือว่าเป็นปฏิบัติการ สร้างภูมิธรรมในสังคมที่เป็นรูปธรรมและ
เป็นจริง
หลักคิดเรือ่ ง ภูมธิ รรม ในหลักสูตรสาขา “การจัดการภูมสิ งั คม” ของวิทยาลัยโพธิวชิ ชาลัย
นอกจากมุ่งมั่นทำให้เกิดภูมิธรรมในสังคมแล้วยังมุ่งมั่นให้เกิดภูมิธรรมในตัวคนหรือตัวเยาวชนที่
เข้ามาศึกษาด้วย เพราะถือว่าสังคมจะเป็นธรรมได้ตัวคนจะต้องเป็นธรรมก่อน หลักคิดในการ
สร้างภูมิธรรมในตัวคนจึงเป็นหลักคิดสำคัญของวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย หลักการคิดดังกล่าวได้
ถูกออกแบบเป็นรายวิชาเรียนต่างๆที่เป็นบูรณาการอยู่ในหลักสูตรการจัดการภูมิสังคม
หลักคิดสำคัญเกี่ยวกับภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย คือ “เกิดด้วยธรรม อยู่ด้วยธรรม
ตายด้วยธรรม” หรือ “เริ่มต้นด้วยธรรม พัฒนาด้วยธรรม สิ้นสุดด้วยธรรม” หลักคิดดังกล่าว
มีพื้นฐานการคิดมาจากความเป็นจริงที่เป็นสากลโลก เป็นสัจธรรมที่เป็นจริงของโลก มีอยู่จริง
ในทุกระวางที่และทุกระวางเวลาของโลก
เริ่มต้นด้วยธรรม หมายถึง เริ่มต้นด้วย ธรรมชาติ หมายความว่า ธรรมชาติ
นั้นเกิดมาก่อน มีมาก่อนสรรพสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น มีมาก่อนมนุษย์มีมาก่อนอารยธรรมใดๆ
ที่ปรากฏบนโลกใบนี ้ ดังนั้นใครจะเข้าใจภูมิธรรมต้องเริ ่ ม ต้ น ด้ ว ยการเข้ าใจธรรมชาติ
ก่อนสิง่ อืน่ ใดทัง้ สิน้ นิสติ ของโพธิวชิ ชาลัยจึงมีวชิ าเรียนเกีย่ วกับธรรมชาติเป็นพืน้ ฐานเบือ้ งต้นก่อน
พัฒนาด้วยธรรม หมายถึง พัฒนาด้วย มนุษยธรรม หมายความว่ามนุษยธรรม
ที่มีอยู่ในตัวคน จะเป็นตัวกลไกสำคัญที่ทำให้สรรพสิ่งนั้นอยู่ได้ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
ในทางกลับกัน การอยูไ่ ม่ได้ของสรรพสิง่ ก็อยูท่ ม่ี นุษยธรรมของคนเช่นเดียวกัน ในฐานะทีค่ นเป็น
ตัวทำลายล้างที่สำคัญที่สุด นิสิตโพธิวิชชาลัยจำเป็นต้องเรียนหลักมนุษยธรรมที่แทรกอยู่ในราย
วิชาต่างๆ อย่างบูรณาการเป็นพื้นฐานในอันดับต่อมา
สิ้นสุดด้วยธรรม หมายถึง ยั่งยืนด้วย วัฒนธรรม หมายความว่า วัฒนธรรม
ที่มีอยู่ในธรรมชาติและมนุษยชาติ จะต้องถูกพัฒนาให้เจริญงอกงามภายใต้เงื่อนไขของเวลาที่
ยั่งยืนนาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและต่อไปในอนาคต การงอกอยู่ที่ธรรมชาติ การงามอยู่ที่คน
การยั่งยืนอยู่ที่เวลา นิสิตโพธิวิชชาลัยทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ มิติของเวลา เป็นสัญฐานสำคัญ
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 83
ในอันดับสุดท้าย
ฐานคิดเรื่องภูมิธรรมที่เป็นพื้นฐานการคิดให้กับนิสิตของวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยเป็น
ลักษณะของไตรมิติ โดยมิติของธรรมชาติเป็นตัวกำเนิด มิติของมนุษยธรรมเป็นตัวเปลี่ยนแปลง
และมิตขิ องวัฒนธรรมเป็นตัวยัง่ ยืน หลักไตรมิตดิ งั กล่าวเป็นภูมมิ ติ พิ น้ื ฐานสำคัญทีค่ นโพธิวชิ ชาลัย
ต้อง รับรู้ เรียนรู้ และระลึกรู้
ผังแสดงภูมิมิติ ที่เป็นภูมิธรรม พื้นฐานของสรรพสิ่ง
ธรรมชาติ มนุษยธรรม วัฒนธรรม
เริ่มต้นที่ธรรม พัฒนาด้วยธรรม สิ้นสุดที่ธรรม
เกิดกับธรรม อยู่กับธรรม ตายกับธรรม

ฐานคิดไตรมิติดังกล่าวเป็น สัจธรรม ที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้ การเรียนรู้ภูมิธรรม
ของคนโพธิวิชชาลัยจะเริ่มต้นจากการเรียนรู้ธรรมชาติก่อน เพราะว่า
ธรรม หมายถึง สมดุล
ชาติ หมายถึง เกิด
ธรรมชาติ จึงหมายถึง การเกิดสมดุล
ธรรมชาติอยู่ได้ด้วยหลักสมดุลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดังนั้นใครเข้าใจธรรมชาติ
จะเข้าใจสมดุล ใครเห็นธรรมชาติก็เห็นสมดุล ธรรมชาติจะแสดงดุลยภาพให้เราเห็นตลอดเวลา
ใครเห็นธรรมชาติกจ็ ะเห็นธรรม ใครรูธ้ รรมชาติกจ็ ะรูธ้ รรม ทีใ่ ดมีธรรมชาติทน่ี น้ั ก็มธี รรม ธรรมชาติคือ
ครูสอนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก หลักการคิดและการสอนภูมิธรรมให้กับคนโพธิวิชชาลัย จึงต้อง
เริ่มต้นที่ธรรมชาติก่อนสิ่งอื่นใด

84 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
หลักภูมิธรรมในธรรมชาติ
หลักเบือ้ งต้นทีเ่ ป็นพืน้ ฐานการสร้างดุลยภาพระหว่างสรรพสิง่ โดยภาพรวมอยูท่ ่ี แผ่นดิน
ผืนน้ำ และท้องฟ้า
ไตรมิติที่เป็นพื้นฐานสร้างภูมิธรรมในธรรมชาติ
แผ่นดิน ผืนน้ำ ท้องฟ้า
ของแข็ง ของเหลว แกส

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทง้ั มวล จะอยูท่ ด่ี ลุ ยภาพระหว่างแผ่นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้า ซึง่ เป็น
มวลรวมของธรรมชาติทเ่ี ป็นวิทยาศาสตร์ คนทีเ่ ข้าใจสมดุลระหว่าง แผ่นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้า
หรือระหว่าง ดิน น้ำ อากาศ จะเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทางธรรมชาติ และจะ
สามารถปรับตัวให้มีวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข คนโพธิวิชชาลัยต้อง
เรียนรู้ หลักแผ่นดิน ผืนน้ำ และท้องฟ้า เป็นพื้นฐานขั้นต่ำ

หลักภูมิธรรมในมนุษยชาติ
หลักเบือ้ งต้นทีเ่ ป็นพืน้ ฐานการสร้างดุลยภาพในตัวมนุษย์ในการพัฒนาเป็นคนลักษณะ
ต่างๆ อยู่ที่ หลักกาย หลักใจ และหลักจิต
ไตรมิติที่เป็นพื้นฐานสร้างภูมิธรรมในตัวมนุษย์
กาย ใจ จิต
รับรู้ เรียนรู้ ระลึกรู้
รู้จัก รู้สึก รู้สำนึก

ปรากฏการณ์ที่เป็นองค์รวมในตัวมนุษย์อยู่ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกาย ใจ และจิต เป็นสำคัญ


ดุลยภาพที่สัมพันธ์กันระหว่าง กาย ใจ และจิต ของคนแต่ละคนจะสร้างความเป็นคน
ผลรวมทีอ่ อกมาในรูปของ อาการกาย อารมณ์ใจ และอาคมจิต จะเป็นบุคลิกลักษณะของแต่ละคน

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 85
คนทีม่ ภี มู ธิ รรมดีจะเป็นคนทีม่ จี ติ และกายตรงกัน โดยมีใจเป็นตัวกลางในการรักษาสมดุล คนโพธิวชิ ชาลัย
จำเป็นต้องรู้จักตัวเอง และบุคคลอื่นให้ครบสมบูรณ์ทั้ง กาย ใจ และจิต มิติสัมพันธ์ของกาย
ใจ และจิต ทั้งภายในตัวเองและระหว่างบุคคลจะเป็นฐานก่อกำเนิดภูมิธรรม ให้กับสังคม

หลักภูมิธรรมในวัฒนชาติ
หลักคิดเรื่องวัฒนธรรม ที่สำคัญ คือการยังคงอยู่อย่างยั่งยืนและยาวนานของสิ่งดี
งามที่ผู้คนสร้างสรรค์ สืบทอดและถ่ายโยงกันมา หัวใจสำคัญคือ เรื่องเวลา การเกิดอย่าง
ยาวนานเป็นเรื่องของวัฒนชาติ การเจริญงอกงามและอยู่อย่างยั่งยืนเป็นเรื่องของวัฒนธรรม
ถือเป็นดุลยภาพที่ยาวนาน คนที่อดีตกับปัจจุบันยังมีสัมมาคารวะอย่างสม่ำเสมอเหมือนเดิม
เป็นคนมีวัฒนธรรม
ไตรมิติในเรื่องเวลา ในการพัฒนาอย่างมีวัฒนธรรม
อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ชาติที่แล้ว ชาตินี้ ชาติหน้า
เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
ภพที่แล้ว ภพนี้ ภพหน้า

หลักคิดเรื่องเวลา เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่คนโพธิวิชชาลัยต้องเรียนรู้การสร้างระวางที่และระวางเวลา
ให้กับตัวเอง และบุคคลอื่น เป็นการพัฒนาและวัฒนาที่สำคัญของคนและสังคม การเปิดระวาง
เวลาก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้กบั ตัวเอง การเริม่ ต้นก็เท่ากับการเริม่ มีโอกาส ดุลยภาพระหว่าง
อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นภูมิธรรมที่เป็นวัฒนธรรม

หลักภูมิธรรมในชุนชน
โครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบด้วย ธรรมชาติ มนุษย์ และวัฒนธรรมในหมู่บ้านเป็น
สิ่งจำเป็นที่ใช้เป็นหลักพื้นฐานในการพิจารณาและคิดเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งหนีไม่พ้นหลักพื้นฐาน
๓ ประการดังกล่าวข้างต้น ว่ามีสว่ นสัมพันธ์กนั ไม่มอี ะไรแบ่งแยกได้โดยเด็ดขาด ดุลยภาพระหว่าง
๓ ปัจจัยหลักดังกล่าวจะสร้างภูมิธรรมให้เกิดขึ้นในชุมชน

86 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ผังไตรมิติ แสดงให้เห็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดภูมิธรรมในชุมชน
ธรรมชาติ มนุษย์ วัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อม ประชาชน ความรู้ ความดี
พื้นที่ ชาวบ้าน วิถีชีวิต
บ้าน วัด โรงเรียน

คนโพธิวิชชาลัยจำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้ภูมิธรรมในชุมชน เพื่อจะได้มีหลักการที่มองเห็น
อันจะนำไปสู่การมีหลักคิดที่จะนำตัวเองเข้าไปอยู่ในชุมชนได้อย่างถูกวิธีและมีความสุข

หลักภูมิธรรมในสังคม
ในสั ง คมทุ ก ระดั บ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ท้ อ งถิ ่ น ตำบล อำเภอ จั ง หวั ด ภู ม ิ ภ าค
และประเทศชาติ ปัจจัยหลัก ๓ ประการทีเ่ ป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ สิง่ แวดล้อมทางธรรมชาติ
ประชาชนหรือพลเมือง และหลักฐานทางวัฒนธรรมต่างๆ
ผังไตรมิติ แสดงปัจจัยที่จะทำไห้เกิดภูมิธรรมในสังคม
Land People Culture
ธรรมชาติ ประชาชน วัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อม ผู้คน วิถีชีวิต
เมือง ชาวเมือง ค้าขาย
ชนบท ชาวบ้าน ทำนา ทำไร่ ทำสวน
ทะเล ชาวทะเล ทำประมง

คนโพธิวิชชาลัยจำเป็นต้องเข้าใจและเรียนรู้ ปัจจัยทั้ง ๓ ประการ ซึ่งเป็นตัวสร้างดุลยภาพใน


สังคม การเกิดดุลยภาพในสังคมเป็นการสร้างภูมิธรรมในสังคม การเกิดภูมิธรรมในสังคมต่างๆ
จะทำให้เกิดภูมิธรรมในประเทศชาติ
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 87
หลักภูมิธรรมในโพธิวิชชาลัย
ดังกล่าวแล้วแต่ต้น ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่แสดงและปรากฏอยู่ในโลกใบนี้ไม่มี
อะไรอยู่โ ดดเดี่ยว ล้วนมีสรรพสิ่งเป็นธรรมชาติ ความหลากหลายสายพันธุ์ในมนุษ ย์
และความมากมายในวัฒนธรรม ทั้ง ๓ ปัจจัยหลักต่างสัมพันธ์กัน โดยมีมนุษย์เป็นตัวกลาง
ทั้ง ๓ ปัจจัยต่างก็มีระบบภูมิธรรมภายในตัวเองดังกล่าวแล้ว ปฏิภูมิระหว่าง ภูมิธรรมชาติ
ภูมมิ นุษย์ และภูมวิ ฒั นธรรม จึงเป็นระบบทีซ่ บั ซ้อนยิง่ กว่า และเป็นระบบซับซ้อนทีแ่ ท้จริงของโลก
คนโพธิวชิ ชาลัยจำเป็นต้องเรียนรูแ้ ละเข้าใจระบบภูมธิ รรมดังกล่าว ดังนัน้ ภูมธิ รรมทีโ่ พธิวชิ ชาลัย
จึงไม่ใช่ข้อธรรมะที่ทุกคนเข้าใจกัน ภูมิธรรมของโพธิวิชชาลัย เป็นการเรียนรู้ระบบภูมิธรรม
ของโลกที่เป็นจริงบนพื้นฐานของดุลยภาพ ระหว่างแผ่นดิน ปวงประชา และความดีงามที่ยั่งยืน
ในแต่ละพื้นที่บนโลก
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สร้างภูมิธรรมพื้นฐาน คือหลักไตรมิติ ที่มีมนุษย์
เป็นตัวกลางสำคัญ ดังนัน้ โพธิวชิ ชาลัยจึงจำเป็นต้องสร้างระบบภูมธิ รรมให้เกิดขึน้ ภายในตัวบุคคล
ก่อน นั่นก็คือดุลยภาพของกาย ใจ และจิต ที่ต้องสมบูรณ์และสมดุลที่ตัวบุคคลก่อนจะไปสร้าง
ดุลยภาพกับสรรพสิง่ ทีเ่ ป็นสิง่ แวดล้อมรอบตัว หลังจากนัน้ ดุลยภาพระหว่าง มนุษย์กบั ธรรมชาติ
มนุษย์กับวัฒนธรรม และระหว่างมุนษย์กับธรรมชาติและวัฒนธรรม จึงจะพัฒนาตามมาหรือ
พัฒนาไปพร้อมๆกัน
ฐานการเรียนรู้และพัฒนาภูมิธรรม เป็นฐานการเรียนรู้ฐานหนึ่งที่โพธิวิชชาลัยจะสร้าง
และพัฒนาขึ้น โดยหวังเป็นองค์รวมว่าจะพัฒนาคนโพธิวิชชาลัยให้รู้เห็น ตัวตน ทั้งของตนเอง
ผู้อื่น และสังคม และหวังจะให้คนโพธิวิชชาลัย รู้เห็น เข้าใจ ความหมาย รู้สึกและสำนึกใน
คุณค่าของคำว่า ภูมิธรรม ซึ่งเป็นภูมิหนึ่ง ที่จะทำให้คนโพธิวิชชาลัย ทรงภูมิ ได้

88 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก
Sufficiency Economy in Global View
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Pipat Yodprudtikan

บทคัดย่อ
บทความฉบับนีเ้ ป็นการสรุปสาระสำคัญของผลการวิจยั ในโครงการจัดทำแผนทีเ่ ดินทาง
(Road Map) และการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ ซึง่ ได้สมั ภาษณ์นกั วิชาการ
ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทางเลือกในประเทศต่างๆ จำนวน ๑๓ ท่าน ซึ่งพบว่าเศรษฐศาสตร์
ทางเลือกในหลายสำนักกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดร่วมที่ปรากฏให้เห็นในหลักการ
และแนวปฏิบัติ
Abstract
This article is an excerpt extracted from ‘Sufficiency Economy Roadmap
and the International Sufficiency Economy Networking Project’. It includes the
interviews with thirteen academics known for their works in alternative econo-
mics in various countries. The findings from these interviews indicate that many
schools of alternative economics are similar to the Philosophy of Sufficiency
Economy in concept and practice.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 89
ในสภาวการณ์การพัฒนาของโลกทีด่ ำเนินตามเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก โดยเฉพาะวิถี
ทุนนิยมทีก่ อ่ ให้เกิดลัทธิบริโภคนิยมตามมานัน้ ดูจะเข้าใกล้ถงึ ทางตันเข้ามาทุกขณะ เมือ่ ถึงเวลานัน้
ประเทศต่าง ๆ ในโลก จำเป็นต้องหาทางออกด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเส้นทางหลักเดิม
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับประเทศต่าง ๆ ไม่เฉพาะประเทศไทย
การศึกษาเพือ่ สร้างเครือข่ายความเข้าใจและความร่วมมือเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ ได้เผย
ให้เห็นความสอดคล้องต้องกันระหว่างเศรษฐศาสตร์ทางเลือกในหลายสำนักกับปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง จุดร่วมที่ปรากฏให้เห็นในหลักการและแนวปฏิบตั ผิ า่ นทางบทสัมภาษณ์ของนักวิชาการ
ทั้ง ๑๓ ท่าน เป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นสากล (universality) และเป็นหลักการปฏิบัติที่ให้ผล
(practicability) และแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจ
ทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้ปรากฏอยู่ในหลายทวีปทั่วโลก ทั้งเรื่องของแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เศรษฐกิจสมานฉันท์ เศรษฐกิจทีว่ า่ ด้วยความสุข เศรษฐศาสตร์สเี ขียว เศรษฐศาสตร์มนุษย์นยิ ม
หรือเศรษฐกิจแบบคานธี

ศ.ดร.วู
ฟกัง ซาคส์
(Prof.Dr.Wolfgang Sachs)
ผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันวุพเพิลทอลเพื่อสภาวะ
อากาศสิ่งแวดล้อมและพลังงานประเทศเยอรมนี
นักวิจัยและนักเขียนเรื่องเกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อม
และนโยบายการพัฒนา สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนา
อย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development) ที่มุ่งเน้นการใช้
ทรัพยากรให้น้อยลง การใช้สอยสิ่งต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า การลดการพึ่งพาและการใช้เทคโนโลยี
ที่เหมาะสม ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อย่างไรก็ดี กรุงเทพฯ
ในสายตาของซาคส์ ได้ปรากฏพฤติกรรมที่ไม่เหมาะกับเศรษฐกิจพอเพียงในหลายเรื่อง
โดยเฉพาะตามย่านสรรพสินค้า เช่น ศูนย์การค้าสยาม ที่คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ไปจับจ่าย
บริโภคเป็นงานอดิเรก ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า ไม่ได้มาจากสิ่งของหรือความสามารถของ
คนไทย ซาคส์จึงสรุปว่า ร้านค้าที่สยามนั้นถือเป็นเครื่องมือแห่งการพึ่งพาโดยแท้

90 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ศ.ดร.ฟรานซ์-ธีโอ กอตวาลล์
(Prof.Dr.Franz-Theo Gottwald)
ผูอ้ ำนวยการมูลนิธชิ ไวเฟิรท์ เพือ่ การพัฒนาเกษตร-
กรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเทศเยอรมนี

ให้ทัศนะว่า แนวเศรษฐศาสตร์ทางเลือก
สำหรับผู้คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม ต้องมีรูปแบบและ
กรรมวิธีที่แตกต่างกัน เช่น เศรษฐกิจสมานฉันท์ (solidarity economy) เป็นสิ่งที่เหมาะกับ
อเมริกาใต้ ขณะที่การพูดถึงประสิทธิภาพของวงจรธรรมชาติและเรื่องสิ่งแวดล้อมอาจเป็น
เรือ่ งทีส่ ามารถเริม่ ต้นได้ทป่ี ระเทศจีน หรือการกล่าวถึงเรือ่ งการเมืองแบบ Green Politics จะ
เป็นที่ชื่นชอบของประเทศยุโรป ส่วนประเทศไทยเองก็มีจุดยืนของตน หมายความว่าแนวทาง
เศรษฐกิจพอเพียงดูเหมือนจะเหมาะที่สุดและเข้ากันได้ดีกับพันธภาพของความเป็นเมืองพุทธ
และการพัฒนาที่มีคุณภาพ
ศ.ดร.อมาตยา เซน
(Prof.Dr.Amartya Sen)
ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาเศรษฐศาสตร์ ค.ศ. ๑๙๙๘

ได้ ใ ห้ ม ุ ม มองว่ า สาเหตุ ท ี ่ ม ี ก ารพั ฒ นา


ทางเลื อ ก แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความไม่ พ อใจในการ
พัฒนากระแสหลัก จึงมีการหาทางเลือกซึ่งก็ไม่ได้
หมายความว่าจะนำเราสู่ความพอเพียงเท่านั้น แต่อาจนำเราไปสู่ทิศทางอื่นๆได้ด้วยและตาม
ที่ทราบกันในเรื่องของความพอเพียง คือการที่เรามีสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและ
มีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องแนวการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับสมรรถภาพ
ของมนุษย์ (Capability Approach) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขีดความสามารถพื้นฐานที่จำเป็น
ความพอเพียงไม่ได้หมายถึงไม่ต้องการอีกแล้ว แต่ต้องมีพอเพียงที่จะอยู่ได้ ที่จะมีชีวิตที่ดีพอ
อย่าได้ให้ความสำคัญในเรื่องใหญ่ ๆ อย่างมวลรวมประชาชาติ หรือเรื่องของรายได้หรือความ
มั่งคั่งมากนัก ต้องมองชีวิตมนุษย์แล้วพิจารณาว่า “อะไรคือความพอเพียงสำหรับชีวิตมนุษย์”
หรือถามว่า “อะไรเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์”
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 91
ฯพณฯ จิกมี่ วาย ทินลี
(Jigme Y. Thinley)
นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน

กล่าวถึงเศรษฐกิจที่ว่าด้วยความสุข (Economic of Happi-


ness) ตามแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH) ของภูฏาน
และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าสามารถนำมาเปรียบเทียบได้
แนวคิดของกษัตริยจ์ ากทัง้ สองประเทศมีความคล้ายคลึงกัน มีทม่ี าจากความห่วงใย และความต้องการ
ที่จะสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน อันเป็นแนวทางยั่งยืนของชีวิต ในเรื่องของ GNH นั้นเกี่ยวข้อง
กับการเข้าถึงและการนำไปสู่สมดุลระหว่างวัตถุและเรื่องจิตวิญญาณ การดำเนินเรื่องดังกล่าว
ไม่ได้หมายความว่า เรากำลังถอยหลัง แต่แสดงให้เห็นถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจทีเ่ ป็นไปได้
มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี มีการยอมรับโลกาภิวัตน์ที่เราเป็นส่วนหนึ่ง แต่ยังเสริมความ
เป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยวิถีที่มีสติในความสมานฉันท์ การได้เข้าถึงและการพัฒนาสติปัญญา สำหรับ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินตาม เพื่อให้สังคมนั้น ๆ
สามารถดำรงอยู่ได้และมีความมั่นคงในระยะยาว หากคนไทยดำเนินตามแนวทางดังกล่าวอย่าง
จริงจังและวางให้เป็นนโยบายระดับชาติ ประเทศไทยจะสามารถสร้างให้เกิดโลกใหม่ทางเศรษฐกิจ
และทางสังคม รวมทั้งการมีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น ไม่เพียงเฉพาะสำหรับคนไทย แต่สำหรับโลก
ถือเป็นเรื่องที่จะต้องทำ และไทยสามารถเป็นผู้นำในเรื่องนี้ได้

92 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ศ.ดร.ปีเตอร์ วอร์
(Prof.Dr.Peter George Warr)
ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย

ได้ให้ข้อมูลว่า ในประเทศออสเตรเลียได้มีการพูดคุยเรื่องแนว
คิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์สีเขียว
(Green Economics) ที่มุ่งความสนใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง
สภาวะภูมอิ ากาศของโลก การหมดไปของทรัพยากร ส่วนในประเทศไทย
ได้มกี ารพูดคุยเรือ่ งเศรษฐกิจพอเพียง ซึง่ ทัง้ สองเรือ่ งเป็นเรือ่ งทีแ่ ตกต่างกัน เพราะเรือ่ งการเติบโต
แบบสีเขียวนั้นเกี่ยวข้องกับขีดความสามารถของโลกในการรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจใน
ระยะยาวอย่างยั่งยืน ขณะที่เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นผลพวงมาจากปรัชญาเชิงพุทธ ซึ่งไม่
เกีย่ วข้องกับเรือ่ งขีดความสามารถของโลก แต่เป็นเรือ่ งของสภาพแห่งจิตใจ แต่ทง้ั สองก็ไม่ใช่เรือ่ ง
ขีดความสามารถของมนุษย์ในการที่จะมีความสุขจากรายได้ที่เติบโต เพราะแม้รายได้จะเพิ่มขึ้น
จนเกินพอที่จะสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ก็ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่าเดิมเท่าไร
ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่ความพยายามเพิ่มเติมในการได้มาซึ่งสิ่งของเหล่านี้ แต่เมื่อเราร่ำรวยขึ้น เรา
สามารถที่จะนำเรี่ยวแรงและพลังงานไปในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะการพัฒนาการรับรู้และ
ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ โดยการพัฒนาสมองนั้นจะเริ่มขึ้นจริงๆ ก็ต่อเมื่อเราเลิกยึดติดกับ
เศรษฐศาสตร์ เป็นเรือ่ งทีน่ อกเหนือจากเศรษฐศาสตร์ในแบบทีเ่ ป็นอยู่ ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์
เราไม่ทราบเรือ่ งดังกล่าวมากนัก เรารูเ้ กีย่ วกับเรือ่ งวัตถุ แต่นกั เศรษฐศาสตร์กไ็ ม่ได้กล่าวว่าการมี
วัตถุนั้นเป็นเรื่องเดียวในชีวิต พวกเราต่างพูดว่าอย่างน้อยก็ต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่ควรได้รับการ
สนอง การมีสิ่งของเพิ่มเติมนั้นไม่ได้ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น แต่กลับจะลดลง ดังนั้นถ้า
เราใส่ใจกับสิ่งดังกล่าว (วัตถุ) สิ่งที่ตามมาไม่ได้ทำให้เกิดความสุขที่แท้จริง

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 93
ดร.คินเลย์ ดอจี์
(Dr.Kinley Dorjee)
นักเศรษฐศาสตร์ชาวภูฏาน ประจำองค์การอาหาร
และเกษตรแห่งสหประชาชาติ

ได้ให้มุมมองต่อแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)
และเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีความคล้ายคลึงกันในจุดทีเ่ น้นเรือ่ งการให้ความเคารพต่อธรรมชาติและ
ระบบนิเวศ และไม่ไปไกลเกินกว่าขีดความสามารถของทรัพยากรที่มี ในขณะที่รูปแบบของ
“ธุรกิจตามปกติ” จะทำเพียงเพือ่ ให้ได้ตามทีต่ ลาดต้องการ หากพลาดพลัง้ ก็หวังว่าจะมีเทคโนโลยี
มาช่วยหรือมีอะไรมาเยียวยา ซึง่ เป็นการมองเชิงบวกเกินจนขาดความระมัดระวังและรับผิดชอบ
ในภูฏานได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและระบบนิเวศ ชาวนาชาวไร่คือบุคคลที่ต้อง
เสียสละประโยชน์สว่ นตน ต้องสละพืชผลให้กบั หมูปา่ และเหล่าสัตว์ปา่ หายากอย่างมากมาย เรา
ควรทีจ่ ะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กบั เขาเหล่านี้ แทนทีเ่ ราจะนำเข้าแนวคิดทีเ่ รียกว่า “ภาษีสเี ขียว”
ซึ่งคิดว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่มากกว่าความเป็นภาษีสีเขียว หากประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถจะให้
เงินค่าตอบแทนแก่ชาวนาทีช่ ว่ ยกันรักษาสิง่ แวดล้อม ทีพ่ วกเขาต่างช่วยเหลือทัง้ ในระดับประเทศ
และในระดับโลก เราก็จะยกระดับขึน้ สูบ่ รรทัดฐานทีส่ งู ขึน้ อีกครัง้ ขณะทีไ่ ทยและภูฏานเองก็มธี รรมะ
เดียวกัน เวลาทีเ่ ราพูดถึงความเป็นพุทธ พวกทีไ่ ม่ใช่พุทธนั้นจะเงียบกริบ ก็เพียงเพราะพวกเขาไม่
ต้องการรับรูแ้ ละบอกว่านัน่ ไม่ใช่พระเจ้าของเขา แต่เขาไม่รวู้ า่ เราไม่ได้พดู ถึงพระเจ้า และเห็นว่า
เราควรจะมีคำอธิบายกลาง ๆ ที่ดีกว่าเนื้อหาธรรมะของพระพุทธเจ้าในส่วนนี้ เพราะในทีส่ ดุ ก็
คงหนีไม่พน้ เรือ่ งของเศรษฐธรรมหรือเศรษฐศาสตร์มนุษย์นิยม (Humanistic Economics) ตามที่
อี.เอฟ.ชูมาเกอร์ ได้อธิบายไว้นั่นเอง

94 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ดร.ทาริค บานูริ
(Dr. Tariq Banuri)
ผู้อำนวยการหลักสูตรความยั่งยืนแห่งอนาคต
สถาบันสิ่งแวดล้อมสต็อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน

ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่มาพำนักในเมืองไทย และได้ยินปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรก ก็ประหลาดใจว่าทำไมจึงไม่ได้
ยินเรื่องนี้มาก่อน ทั้งที่มีความเกี่ยวโยงกับหลายสิ่งในระดับมโนทัศน์ ได้มีความพยายามใน
การเชื่อมโยงความหลากหลายของมิติปัญหาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน การกล่าวอ้างถึงการ
พัฒนาอย่างยั่งยืนและการดำรงชีพอย่างยั่งยืนตามธรรมเนียมดั้งเดิม ก็คือการนำพาผู้คนที่มี
ความแตกต่างทางความคิด หากแต่ไม่เผชิญหน้า ให้มาอยู่ร่วมกัน การพัฒนาหรือการเติบ
โตอย่างยั่งยืนไม่พึงที่จะทำให้สังคมถูกทำลาย ซึ่งทำให้นำไปสู่การคำนึงถึงเรื่องสติปัญญา
ความรอบคอบระมัดระวัง ความยุติธรรม และบทบาทของการมีส่วนร่วม แนวคิดในลักษณะ
ดังกล่าวนี้ ท่านเชือ่ ว่าปรากฏอยูใ่ นเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน ความเห็นในเรือ่ งโลกาภิวตั น์นน้ั ท่าน
มองว่าเป็นเรื่องการเปิดกว้างของอำนาจ อำนาจทางการตลาด อำนาจของทุนนิยมในระดับโลก
สิง่ ทีเ่ ราเคยดำเนินไปเพือ่ เจตนารมณ์แห่ง ความยุตธิ รรมในระดับชาติ บัดนี้ เรากำลังดำเนินอยูใ่ น
ระดับโลก ซึ่งจะต้องมีแนวทางใหม่ภายใต้โลกาภิวัตน์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่อง
ย้ำเตือนมิให้ละเลยหลักการที่กล่าวมาข้างต้น ขณะทีเ่ ราคิดว่าโลกาภิวตั น์ได้สร้างโอกาสมากมาย
เราก็ไม่ควรลืมทีจ่ ะรับผิดชอบต่อคนรุน่ ต่อไปด้วย

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 95
คุณเฟอร์นานโด ไคลแมน
(Fernando Kleiman)
หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการเศรษฐกิจสมานฉันท์แห่งชาติ
ประเทศบราซิล

อยากเห็นการแปลเนื้อหาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
ภาษาโปรตุเกส เพื่อที่จะได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีชาวไทยที่
ทำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปยังประเทศบราซิลเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพราะ
การขับเคลื่อนของทั้ง ๒ แนวทางนี้ต่างก็มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เป็นไปเพื่อการสร้างโลกใหม่
ท่านเห็นว่าหลักการบริโภคอย่างพอประมาณในเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงกับแนวทางของ
เศรษฐกิจสมานฉันท์อยู่ ๒ ประการคือ เรื่องการจัดสรรผลผลิตอย่างเป็นธรรม ที่บุคคลหนึ่ง ๆ
สามารถจะเข้าถึงปัจจัยพืน้ ฐานเพือ่ การบริโภคใช้สอย ไม่เน้นเรือ่ งการบริโภคของหรูหราฟุม่ เฟือย
ซึ่งจัดว่าเป็นวัฒนธรรมของการบริโภคในแบบยั่งยืนที่มีความสอดคล้องกับเศรษฐกิจสมานฉันท์
ในอีกประการหนึ่งคือ ขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องการค้าที่เป็นธรรมในเวทีนานาชาติ ได้มีถ้อย
แถลงในทำนองเดียวกันว่า “ท่านไม่จำเป็นต้องมีเกินกว่าทีจ่ ำเป็น และท่านไม่จำเป็นต้องให้มาก
กว่าทีม่ ”ี ฉะนัน้ สิง่ ทีพ่ งึ ทำในเวลานี้ คือ นำเอาทุก ๆ แนวการริเริม่ ดังกล่าว มาวางรวมไว้ตรงหน้า
แล้วพิจารณาว่าจะสามารถผนึกความเข้มแข็งของทางเลือกทีแ่ ท้จริงต่อพัฒนาการของระบบทุนที่
กำลังสร้างปัญหาในประเทศบราซิล เพราะว่าระบบดังกล่าวนี้ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศ
แต่กลับทำให้ปัญหาหยั่งรากลึกมากขึ้น

96 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ศ.ปีเตอร์ บูธรอยด์
(Prof.Peter Boothroyd)
ผูอ้ ำนวยการศูนย์เพือ่ การตัง้ ถิน่ ฐานมนุษย์ มหาวิทยาลัยบริตชิ
โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
ชี้ให้เห้นว่าเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย กำลังเป็นตัวอย่าง
นำร่องของทางเลือก สำหรับการพัฒนาในทวีปอเมริกาใต้ มีผู้สนใจ
แนวความคิดนี้มาก เนื่องจากไปสอดคล้องกับแนวคิดของเศรษฐกิจสมานฉันท์ นักวิชาการใน
ยุโรปและอเมริกาเหนือต่างก็เห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีสถานะที่เกี่ยวพันและพัฒนาถัดมาจาก
พุทธเศรษฐศาสตร์ที่ อี.เอฟ.ชูมาเกอร์ กล่าวถึงเมื่อ ๓๐ ปีทแ่ี ล้ว ผูซ้ ง่ึ ได้รบั แรงบันดาลใจไม่ทางใด
ก็ทางหนึง่ จากมหาตมะคานธี ทีป่ ลดแอกประเทศอินเดียจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และ
ความคิดส่วนหนึ่งของเขาก็ได้กลายมาเป็นต้นแบบของระบบเศรษฐกิจแบบคานธี (Gandhian
Economics) ในเวลาต่อมา

ดร.เฟาส์ติโน คาร์ดอโซ โกเมซ


(Dr.Faustino Cardoso Gomes)
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยแห่งชาติติมอร์ตะวันออก
คุณโยฮันเนส อุสโบโก้
(Yohanes Usboko)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติติมอร์ตะวันออก
กล่าวว่า ชาวไทยและชาวติมอร์ตะวันออก มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน
ในเรื่องทางวิชาการได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับไทย โดยเฉพาะการนำเอาแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในติมอร์ตะวันออกนั้น ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
เนื่องจากชาวติมอร์ตะวันออกส่วนใหญ่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วและไทย
ก็ได้ให้การสนับสนุนแก่ติมอร์ตะวันออกผ่านทางโครงการช่วยเหลือหลายโครงการ มีการแลก
เปลี่ยนประสบการณ์และการถ่ายทอดความรู้ของเกษตรกรจากประเทศไทยในเรื่องการทอผ้า
การทำน้ำตาลจากต้นมะพร้าว การทำผลิตภัณฑ์จากใบตองให้แก่ชาวติมอร์ตะวันออก นอกจากนี้
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 97
ยังมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ โดยมี
หลักการที่คล้ายคลึงกับเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย มีการเก็บออมเงินจากสมาชิกในกลุ่ม
ตลอดจนการเปิดร้านค้าชุมชนเป็นตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพต่างๆ เป็นต้น

ศ.ดร.ปีเตอร์ คอกินส์
(Prof.Peter H.Calkins)
ผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชีใ้ ห้เห็นว่าการทีจ่ ะนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ


เป็นแนวทางในการปฏิบัติไม่ว่าจะอยู่ในภาคส่วนใดก็ตาม ต้องสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดผล
ประโยชน์รว่ มกัน ไม่ใช่แต่เฉพาะกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ เท่านัน้ การร่วมมือกันจะต้องก่อให้เกิดสิง่ ทีเ่ อือ้
ประโยชน์ระหว่างตนเองและส่วนรวม ซึ่งเราจะเห็นได้ในหมู่บ้านและชุมชนขนาดเล็ก เช่นเดียวกับ
องค์กรที่บริหารโดยแรงงาน หลักการใหญ่ขององค์กรลักษณะนี้มิใช่การทำกำไรสูงสุดแก่นายทุน
แต่เป้าหมายคือ การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน โดยที่กลุ่มคนงานจะเป็นผู้บริหารองค์กรอย่างมี
ความรับผิดชอบต่อสังคม
หากจะกล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นก้าวหน้าที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยม
ด้วยนั้น กิจการต้องดำเนินไปอย่างมีคุณธรรม มีการเปิดกว้างทางความคิดเพื่อรับสิ่งใหม่ๆ
เอาใจใส่และคำนึงถึงคนรอบข้างมากขึ้น เรียกว่าเป็นเศรษฐศาสตร์คุณธรรม ที่อยู่บนเงื่อนไข
ของคุณธรรมในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
ศ.ดร.วิมาลา วีระรักษ์วรรณ
(Prof.Dr.Vimala Veeraraghavan)
ผูอ้ ำนวยการสถาบันอมิตแ้ี ห่งพฤติกรรมสุขภาพและศาสตร์
ที่เกี่ยวข้อง ประเทศอินเดีย

ได้ให้มุมมองอย่างน่าสนใจว่า อันที่จริงแล้ว แนวคิด


เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้เป็นสิ่งใหม่สำหรับท่าน เพราะเมือ่ ครัง้ ทีย่ งั เป็นเด็ก ในครอบครัวของท่าน

98 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ได้มคี ำสอนว่า จงพึงพอใจในสิง่ ทีม่ อี ยู่ การมีสง่ิ ทีม่ ากกว่าความจำเป็นนัน้ จะทำให้เราอยากได้ไม่
สิ้นสุด ท่านคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง บอกว่า จงพอใจในสิ่งที่มี อย่าต้องการอะไรที่มากเกินตัว
ทำอะไรให้พอเหมาะพอประมาณ และเป็นหนึ่งในวิธีสร้างกำแพงกั้นผลกระทบในแง่ลบของ
โลกาภิวัตน์ ท่านไม่ได้บอกว่าโลกาภิวัตน์หรือเทคโนโลยีนั้นไม่ดี แต่อะไรที่มากเกินไปมักจะส่ง
ผลในแง่ลบเสมอ ท่านรู้สึกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นจะนำเราไปสู่ความพอดี จะเป็นจุดเริ่มต้นให้
เราเริ่มคิดจะทำอะไรให้แก่สังคมและผู้อื่น โดยไม่เก็บสะสมทุกอย่างเข้าตัวเองคนเดียว แนวคิด
เรื่องระบบนายทุนนั้นไม่ได้ส่งผลเฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น ในอินเดียก็กำลังประสบกับผล
กระทบจากระบบนีเ้ ช่นกัน การเติบโตด้านวัตถุทเ่ี จริญขึน้ อย่างรวดเร็ว ได้ทา้ ทายให้คนเกิดความ
อยากมีอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ในปัจจุบันชุมชนและหมู่บ้านในอินเดีย ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก
ครัวเรือนมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น และหลายครัวเรือนก็พยายามผลักดันตัวเองให้เข้า
ไปอยูก่ บั ระบบนัน้ โดยลืมนึกถึงผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ท่านได้เสนอทางออกไว้วา่ เราควรพยายาม
ปลูกฝังให้เขาภูมิใจในสิ่งที่มี ช่วยให้เขาคิดว่าถ้ามีเท่านี้จะจัดการมันอย่างไร ซึ่งการปลูกฝัง
เหล่านีต้ อ้ งใช้การศึกษาเข้ามาช่วยสร้างให้เกิดความเข้าใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป พร้อมฝึกให้คดิ เป็น
แม้วา่ สิง่ นีจ้ ะไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในชัว่ ข้ามคืน แต่เป็นการเรียนรูท้ จ่ี ะทำให้อยูไ่ ด้ดว้ ยตนเอง
และเมื่อพึ่งพาตนเองได้แล้ว เขาเหล่านั้นก็จะสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนอื่น ๆ ได้อีก
เป็นแนวทางปฏิบตั ทิ เ่ี ข้าถึงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทีต่ อ้ งมาจากข้างใน การสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ
พอเพียงระหว่างประเทศ ควรเริ่มต้นในหมู่ประเทศหรือในพื้นที่ที่มีการพัฒนาด้วยเศรษฐศาสตร์
ทางเลือก ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเศรษฐกิจพอเพียง มีการรวมพลังกันในรูปกลุ่มชาติสมาชิก
เพื่อร่วมกันดำเนินงานในด้านต่าง ๆ จากนั้นจึงค่อยขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ที่ให้ความสนใจ
หรือต้องการเข้าร่วมในเครือข่ายตามลำดับ เป็นการดำเนินงานที่ถือเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ
ก้าวหน้าในระดับประชาคมโลก

หมายเหตุ ผลงานชิ้นนี้ เป็นงานที่ร่วมกันจัดทำระหว่างสถาบันไทยพัฒน์ และ สถาบันการ


จัดการเพือ่ ชนบทและสังคม มูลนิธบิ รู ณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในโครงการ
จัดทำแผนที่เดินทาง (Road Map) และการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ
ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 99
100 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์
Education for Humanity
ดุษฎี สีตลวรางค์
Dusadee Sitalavarang

บทคัดย่อ
สัตว์เรียนรู้ได้แต่การศึกษาเป็นเรื่องของมนุษย์ ความเป็นมนุษย์ก็คือความเป็นอิสระ
พ้นจากความทุกข์ดว้ ยปัญญา ดังนัน้ บุคคลเมือ่ เกิดมาแล้วพึงตัง้ เป้าหมายในการบรรลุประโยชน์
สุขตามกำลังสติปญั ญา และเพิม่ พูนกำลังสติปญั ญาให้ยง่ิ ๆ ขึน้ ไป กิจกรรมการศึกษามีลกั ษณะเป็น
การอบรมกล่อมเกลาที่ดำเนินไปอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ท่ามกลางปัจจัยเกื้อหนุนให้ผู้ศึกษา
ได้ฝึกฝน ขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้งามผ่อง พึ่งตนเองในการแก้ปมแห่งความทุกข์กาย
ทุกข์ใจ แล้วให้ความช่วยเหลือผู้อื่นมีความสุขและหรือพ้นจากความทุกข์เช่นเดียวกับตน เป็น
การทำสิ่งที่ชำระใจให้สะอาด ทำให้ตนเองเป็นสุข ผู้อื่นเป็นสุข ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นสุข
สังคมเป็นสุข และนี่ก็คือ การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ นั่นเอง
Abstract
Birth as a human being is optimal compared to other births such as
animals because only human beings are endowed with the competence and
optimal conditions for the training to attain enlightenment or freedom from
sufferings. Therefore human beings should aim to cultivate virtue and wisdom
towards attaining enlightenment. A proper and good education should provide
the opportunity and conditions for continual learning and training in developing
virtue and increasing wisdom. A trained and cultivated person is disciplined in
conduct, upright and happy through purification of the mind, secure and free
from unsatisfactoriness or sufferings. Through a pure mind, the person achieves
happiness for oneself, makes others happy and thus able to help create a
warm and friendly environment and a harmonious society. This should be the
objective of education for humanity.
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 101
สัตว์เรียนรู้ได้ แต่การศึกษา๑เป็นเรื่องของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาคงจะเป็นไป
เพื่อการอื่นไม่ได้นอกจากเพื่อความเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษย์ ก็คือ ความเป็นอิสระ
พ้นจากความทุกข์ดว้ ยปัญญา คนเราเกิดมาเพือ่ เข้าถึงความสุขอันประณีต โดยทีส่ ตั ว์ไม่มโี อกาส
เข้าถึงได้เลย ความสุขของมนุษย์มิได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่มีสาเหตุมาจากการเข้าถึงความจริงแท้
แม้กิจกรรมในการเข้าถึงความจริงแท้ก็เป็นที่มาของความสุขด้วยเช่นกัน
พุทธศาสนามีหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จำแนกได้ดังนี้
๑) สามิสสุข หมายถึงความสุขทีอ่ งิ อาศัยสิง่ ภายนอก เช่น ความสุขทีเ่ กิดจากการมีทรัพย์ -
จ่ายทรัพย์ - การไม่มีหนี้สิน - การประพฤติสุจริต ความสุขจำพวกนี้เป็นความสุขที่แปรเปลีย่ น
เป็นความทุกข์ได้เสมอ เนือ่ งจากสิง่ ภายนอกเหล่านัน้ เป็นมายาไม่จริงแท้ยอ่ มตัง้ อยูไ่ ม่ได้นาน ดัง
ปรากฏว่าทรัพย์นน้ั สูญสิน้ ได้ดว้ ยโจร ด้วยน้ำพัดไป ด้วยไฟไหม้ ด้วยบุตรหลานผลาญเสีย เป็นต้น
เมือ่ ความทุกข์ความสุขของคนเราแปรผันตามมายาสิง่ ภายนอกทีย่ ดึ ไว้ คนเราก็แสวงหาไม่รจู้ กั พอ
นำไปสู่การเบียดเบียนและแย่งชิงฉ้อฉล สภาพการแสวงหาความสุขที่อิงอามิสเช่นนี้ ปรากฏ
ในสังคมไทยปัจจุบันเป็นอันมากจนน่าเป็นห่วง แม้ในการศึกษาก็มีเป้าหมายคลาดเคลื่อนจากที่
ควรมุ่ง “การจัดการความต้องการ” มาเป็นมุ่ง “การแสวงหาและสนองความต้องการอย่างไม่มี
ที่สิ้นสุด”
๒) นิรามิสสุข หมายถึง ความสุขที่ไม่อิงอาศัยสิ่งภายนอก มีตั้งแต่ขั้นต่ำไปจนถึง
สูงสุด นิรามิสสุขขั้นต่ำ เช่น ความสุขจากการไม่มีศัตรู ความสุขจากการมีผู้ให้ความรักใคร่
สรรเสริญ ความสุขจากการไม่คดิ ร้ายต่อใคร ความสุขจากการไม่มคี วามวิตกกังวล ไม่คดิ ฟุง้ ซ่าน
นิรามิสสุขขั้นกลาง เช่น ความอิ่มใจที่ได้เสียสละ การมีจิตใจที่สงบ และนิรามิสสุขขั้นสูง ได้แก่
ภาวะนิพพานซึ่งเป็นภาวะพ้นทุกข์สิ้นเชิง ความสุขกลุ่มนี้ได้จากการเฝ้าสังเกต และศึกษา
ปรากฏการณ์ความจริงที่ตนเกี่ยวข้องยึดไว้ เช่น ความจริงในกายของตน ในความรู้สึกของตน
ในความคิดของตน ในความต้องการของตน จนสามารถจัดการตนเองได้ในทุกมิติ เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่าสามารถพึ่งตนเองได้ในทุกมิติของความเป็นมนุษย์ เช่น ในขณะที่คิด พูด ทำ
ก็เฝ้าสังเกตอาการของจิตว่ากำลังตรึกนึกคิดผูกติดอยู่กับเรื่องใด อาการตรึกนั้นๆ เป็นเรื่องดีให้
ความสุขสงบ หรือให้ความกลุม้ กังวล แล้วเลยละทิง้ การผูกติดกับเรือ่ งไม่ดนี น้ั เสีย หรือทำให้การ
ตรึกนึกคิดในเรือ่ งทีด่ งี ามเจริญขึน้ ภายในจิต การคิดดี นำไปสูก่ ารพูดดี ทำดี ผูเ้ ข้าถึงนิรามิสสุข

102 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
จะมีปกติเป็นผูเ้ ผือ่ แผ่ไปยังผูอ้ น่ื เริม่ จากแผ่เมตตา ให้สง่ิ ของ ให้โอกาส ให้อภัย เป็นต้น โดยสรุป
ใครก็ตามทีส่ ามารถจัดการกับความต้องการของตนเอง ก็จะได้รบั ผลอันทำให้ผนู้ น้ั เป็นอิสระจาก
การบีบคั้นของความต้องการนั้นเอง ทั้งนี้ความสามารถในการจัดการความต้องการของแต่ละ
คนย่อมสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับความจริงที่คนนั้นเข้าถึง สำหรับคนที่เชื่อในสิ่งที่เป็นมายา
ก็จะมีความสุขทีเ่ ป็นมายาไม่เทีย่ งแท้ เขาอาจมีความสุขก็จริงแต่อกี หน้าหนึง่ คือความทุกข์ทก่ี ลับ
ถมทับทวีและยาวนาน
การศึ ก ษาที ่ ม ี ค ุ ณ ค่ า ก็ ค ื อ การปฏิ บ ั ต ิ ใ นการเข้ า ถึ ง ความจริ ง แท้ น ั ่ น เอง
ความจริงที่ว่าสรรพสิ่ง (รวมทั้งตัวตนของตัวผู้รู้นั้นด้วย) ล้วนแต่มีลักษณะสามัญทั่วไป
อยู่สามประการ (ไตรลักษณ์) ได้แก่ ความไม่เที่ยง ความที่ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก
และความไม่ใช่ตัวตนอันใครจะไปบังคับควบคุมและยึดไว้ให้เป็นไปตามความต้องการได้
พระพุทธองค์ได้ทรงวางแนวทางในการเข้าถึงความจริงแก่ชาวบ้านกาลามในเกสปุตตนิคม
มีใจความว่า “เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรม (ความจริง) เหล่านี้เป็นกุศล
และธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครรับไว้หรือกระทำ
(สมาทาน) ให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควร
เข้าถึงธรรมเหล่านัน้ อยู”่ ตามแนวทางนี้ บุคคลเมือ่ เกิดมาแล้วพึงตัง้ เป้าหมายในการบรรลุประโยชน์
สุขตามกำลังสติปัญญา โดยเป้าหมายดังกล่าวเป็นไปในทางที่เพิ่มพูนกำลังสติปัญญาให้ยิ่งๆ
ขึ้นไป แล้วใช้หลักกาลามสูตรข้างต้นในการตรวจสอบก่อนปฏิบตั วิ า่ กิจกรรมทีป่ ฏิบตั นิ เ้ี ป็นสิง่ ที่
ดีนำความสุขความเจริญมาให้ ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้สรรเสริญ ผู้ปฏิบัติครบถ้วนแล้วจะเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อตรวจสอบดีแล้วจึงปฏิบัติกิจกรรมทั้งทางกาย วาจา
สังคม และทางจิต แล้วแต่กรณี มีทั้งการปฏิบัติบางกิจกรรมโดดๆ และการปฏิบัติเป็นชุดของ
กิจกรรม แล้วแต่ผลที่วางไว้ จากนั้นก็ศึกษาว่าได้ผลจริงหรือไม่ ผลดังกล่าวนี้รับรู้ได้ด้วยกาย
รับรู้ได้ด้วยความคิด รับรู้ได้ด้วยความรู้สึก คนเราทุกคนจึงต้องวางเป้าหมายก่อนจึงเข้าสู่
การศึกษาเฉพาะเป้าหมายนั้น

แม้ปัจจุบันการจัดการศึกษาจะเน้นเรื่องของการทำมาหากิน มุ่งสนใจประโยชน์ที่เห็น
เฉพาะหน้า เช่น อยากได้ทรัพย์มากกว่าผู้อื่น อยากได้การยกย่องยอมรับจากผู้อื่น กล่าวโดย
รวมก็คืออยากได้ความสุขจากการเสพเสวยสิ่งภายนอก (สามิสสุข) แต่ก็ไม่ควรวางเป้าหมาย
เพียงเท่านี้ ควรทำความเข้าใจความรู้สึกที่ได้จากการเสพเสวยสามิสสุขนั้นๆ พร้อมๆ กันไป

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 103
และควรจัดโอกาสให้ผศู้ กึ ษาได้สมั ผัสประโยชน์สขุ ทีป่ ระณีตขึน้ ไป เช่น ความสุขจากความสบายใจ
อุน่ ใจในคุณงามความดีของตน กิจกรรมอบรมกล่อมเกลาเพือ่ ให้ได้รบั ประโยชน์สขุ ทีป่ ระณีตยิง่ ขึน้
ไปดังกล่าวแล้วนี้ ทำได้หลายแนวทางภายใต้หลักการว่า ให้ได้สมั ผัสความทุกข์ยากของผูอ้ น่ื แล้ว
มีความสะเทือนใจ จนบังเกิดความเมตตากรุณา แล้วแสดงความประสงค์ (ดำริชอบ) ที่จะช่วย
เหลือบรรเทาความทุกข์ยากนัน้ เช่น ตัง้ สัจจะสะสมทรัพย์เพือ่ ผูย้ ากไร้ แล้วนำทรัพย์นน้ั ไปสงเคราะห์
ผู้ยากไร้ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกแล้วนั้น ในระหว่างที่ทำแต่ละกิจกรรม ก็ศึกษาความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดแก่ตนเองด้านต่างๆ เช่น ความรู้สึกที่ดี ความคิดที่ดี แรงบันดาลใจในการทำความดี
จะเห็นว่ากิจกรรมการศึกษาแนวนี้มลี ักษณะเป็นการอบรมกล่อมเกลาจึงควรดำเนินไป
อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียว ถือว่ารู้แล้วเป็นอันจบกัน สำนักเรียนทั้งหลายจึง
ไม่ควรเป็นเพียงสถานทีช่ บุ ตัวให้ผเู้ รียนมีความสามารถในการแสวงหาสิง่ ภายนอก (เช่น เงินเดือน)
มากขึน้ ตามความยาวนานของเวลาเรียนเท่านัน้ เพราะความรูเ้ ช่นนีม้ ใิ ช่ผลของการศึกษา แต่เป็น
สินค้าทีม่ รี าคาเป็นไปตามกลไกตลาด ราคาของสินค้านัน้ จะลดลงเมือ่ สินค้ามีมากกว่าความต้อง
การของผู้ซื้อ ดังได้ปรากฏแล้วว่าเงินเดือนผู้จบบัณฑิตศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ มีมูลค่า
เท่ากับราคาทองคำหนักสามบาทเศษ ราคาเปรียบเทียบนี้ลดลงตามลำดับ จนปีพุทธศักราช
๒๕๕๒ เงินเดือนผูจ้ บการศึกษาระดับเดียวกันซือ้ ทองคำได้นอ้ ยกว่าน้ำหนักหนึง่ บาทเสียอีก โดย
ที่ค่าลงทุนเล่าเรียนผกผันไปในทางกลับกัน นอกจากนี้ยังมีบัณฑิตตกงานอีกเป็นจำนวนมาก
แต่สำนักเรียนทั้งหลายควรทำหน้าที่ฝึกฝน ขัดเกลาจิตวิญญาณของคนให้งามผ่อง
พึง่ ตนเองได้ทง้ั ทางโลกและทางธรรม จัดให้มปี จั จัยสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการศึกษา ให้ผศู้ กึ ษา
สามารถทำกิจกรรมการศึกษาได้อย่างไม่มีอุปสรรค บรรลุผลการศึกษาโดยง่าย ประกอบด้วย
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครูและบุคลากรเป็นผูม้ ศี ลี มีสตั ย์มคี วามเป็นกัลยาณมิตร อาคารสถานร่มรืน่
สะอาดปลอดภัยจากสิ่งรบกวนการเรียนรู้ มีบรรยากาศให้ฝักใฝ่ในการศึกษา เช่น ดนตรีสมาธิ
และปัจจัยภายใน ได้แก่ การเพิม่ พูนศักยภาพของผูศ้ กึ ษาเองในอันทีจ่ ะสามารถคิดตรองแก้โจทย์
อย่างสมควรแก่กรณี ศักยภาพเหล่านีล้ ว้ นเป็นผลของการศึกษาทีผ่ า่ นมาและถือว่าเป็นความพร้อมใน
การศึกษาขั้นสูงต่อไปนั่นเอง ความพร้อมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย ศรัทธา ความพากเพียร สติ
สมาธิ และปัญญา ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในนีเ้ สริมกันและกันอยูใ่ นการกระทำทุกกิจกรรม
และทุกวิชา ในการกระทำทัง้ ในและนอกสำนักเรียน เริม่ ตัง้ แต่การทีผ่ ศู้ กึ ษาได้อยูใ่ กล้คนดีทเ่ี ป็น
กัลยาณมิตร (ครู) ตั้งใจฟังความจริง (สัทธรรม) จากกัลยาณมิตร แล้วก็เกิดศรัทธา สามารถ

104 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
คิดอ่านได้ตรงกับโจทย์ปญั หา (โยนิโสมนสิการ) การตัง้ โจทย์ปญั หาถูกต้องย่อมแก้ทกุ ข์ของตนได้
ทุกระดับตามภูมปิ ญั ญาทีศ่ กึ ษาได้ตามลำดับ เข้าสูภ่ าวะมีสติสมั ปชัญญะทีส่ มบูรณ์ขน้ึ ตามลำดับ
จากวงจรแห่งการเรียนรู้ เกิดและเพิม่ พูนความสามารถทีจ่ ะเลือกเกีย่ วข้องหรือไม่เกีย่ วข้องกับสิง่
ทีส่ ร้างความทุกข์ (สำรวมอินทรีย)์ มีการกระทำทีถ่ กู ต้องทางกาย ทางวาจา และทางใจ (สุจริต ๓)
มีคณุ ภาพการศึกษาในระดับการปฏิบตั ริ ตู้ วั ทัว่ พร้อม การศึกษานีท้ ำให้ได้รบั ผลเป็นความสงบเย็น
จากความทุกข์ทั้งโดยสภาพความรู้สึกและโดยสภาพการเข้าถึงความจริงแท้นั้นเอง กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงภายในของผู้ศึกษาที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมให้ผู้อื่นสังเกตได้ด้วย
ตามกรอบความคิดดังแผนภาพที่ ๑

ปรากฎสู่สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
กัลยาณมิตร
ปรากฎทางกาย/วาจา
การสร้างความรู้
ละชั่ว ทำดี ปรากฎภายในใจ

กระบวน
ตั้งมั่น การศึ กษา กติกา
ประกอบกิจกรรม ข้อกำหนด
เพื่อบรรลุผล

แผนภาพที่ ๑ กรอบความคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์
ตัวอย่างที่ดีของกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักเรียนมีอยู่ในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ
มีการจัดระเบียบสังคมและความเป็นสมาชิกโดยอาศัยวินัยเป็นหลัก วินัยในพระพุทธศาสนา
นัน้ เป็นทัง้ ข้อศึกษาเฉพาะตัวของผูศ้ กึ ษาแต่ละคน และเป็นข้อกำหนดในการปรับพฤติกรรมของ
สมาชิกของสำนักเรียนนั้นให้เอื้อต่อการศึกษาของตนเองและมวลสมาชิกไปพร้อมกัน เช่น
มีวินัยว่าภิกษุผู้บวชใหม่จะต้องมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้อบรมกล่อมเกลาใกล้ชิดและ/หรือมีอาจารย์
ฝึกหัดความประพฤติและให้ความรู้ พร้อมทั้งจัดสภาพการให้ภิกษุปวารณาแก่กันให้ตักเตือน
กันได้ หากได้กระทำการใดๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการศึกษาของตนและผู้อื่น ตัวผู้ศึกษาทุกคน

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 105
ก็จะได้ศึกษาเรียนรู้เฉพาะตัว ได้รับผลเป็นความรู้ความจำเป็นความเข้าใจความคิดที่ดีและ
ที่ไม่ดี เป็นความเข้าใจความรู้สึกทุกข์และความรู้สึกพ้นทุกข์ จนสามารถจัดการกับความรู้
ความคิด ความรู้สึกของตนได้ บรรลุถึงความสามารถในการแก้ปมแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจ
ความพิรี้พิไรรำพันได้ ซึ่งก็คือ การมีความสุขอิสระจากความทุกข์นั่นเอง

พึ่งตนเองทางกาย พึ่งตนเองทางใจ กวาดขยะภายนอก กวาดขยะภายใน

สัจจะออมทรัพย์ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฝƒกสติในท่าเดิน เพิ่มสติทุกเวลา


มีหลายสำนักเรียนในปัจจุบนั ทีไ่ ด้ดำเนินการทำนองเดียวกัน ดังเช่น โรงเรียนกงไกรลาศ
วิทยาซึง่ ตัง้ อยูท่ า่ มกลางสังคมเกษตรกรรมทีก่ ำลังเผชิญกับความเปลีย่ นแปลงตามกระแสบริโภค
นิยม เกือบร้อยละร้อยของนักเรียนกว่า ๑,๓๐๐ คน มาจากครอบครัวชาวนา เมื่อปีการศึกษา
๒๕๔๖ และก่อนหน้านั้น มีกรณีนักเรียนทะเลาะวิวาทประมาณ ๑๕๐ รายต่อปี หลายกรณี
เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้นำส่งคืนโรงเรียน จากการประชุมปฏิบัติการหลายครั้งในปีการศึกษา
๒๕๔๗ ได้มผี ลึกทางความคิดเกิดขึน้ ได้แก่ กระจายอำนาจด้วยการจัดครูรบั ผิดชอบนักเรียนเป็น
กลุ่มเล็กลง เรียกว่า “โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่” ภายในโรงเรียนเล็กมอบหมายให้ครูหนึ่งคน
เรียกว่า “ครูประจำชั้น” รับผิดชอบนักเรียนกลุ่มเล็กลงอีก (๒๐-๓๐ คน) เป็นรูปแบบการจัด
ความสัมพันธ์ตามแบบอุปัชฌาย์อาจารย์ ผลปรากฏว่า กรณีวิวาทลดลงเหลือประมาณ

106 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
๒ รายต่อปี ในปีนั้น และปีต่อๆมาได้พัฒนาวินัยนักเรียน (กฎ กติกา มารยาท) เพิ่มเติม
และใช้วินัยดังกล่าวเป็นบทเรียนด้วย เช่น ในปีหนึ่งโรงเรียนได้พร้อมใจกันกำหนดบทเรียน
ว่า “สะอาดภายนอก-สะอาดภายใน” เริ่มด้วยการที่ครูและนักเรียน (แต่ละกลุ่ม) ร่วมกันทำ
ความเข้าใจโทษของความหมักหมมไม่สะอาด ประโยชน์สุขจากความสะอาด โปร่งเบาสบาย
(ปัญญา) เมือ่ เข้าใจตรงกันดีแล้วก็รว่ มกันวางแนวทางว่าจะทำให้สง่ิ แวดล้อมสะอาดในลักษณะใด
จากนั้นก็กำหนดกิจกรรม (วินัย) ที่จะทำให้ได้สิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่วางไว้ ว่าใครต้องทำ
(กิจกรรม) อะไร ทีไ่ หน เมือ่ ไร ด้วยวิธกี ารใด (วิธกี ารทำความสะอาดในชัว่ โมงการงานและอาชีพ)
ช่วยกันจัดระบบให้ได้ปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่วางไว้ทุกวัน โดยถือว่าปฏิบัติ
การจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการทดลองของแต่ละคน ทดลองดูว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้
หรือไม่ ขณะปฏิบัติให้สังเกตความรู้สึกนึกคิดไปด้วย ว่าสะอาดจริงด้วยวิธีที่กำหนดไว้หรือไม่
ได้รบั ประโยชน์สขุ จริงหรือไม่ อย่างไร ต่อจากนัน้ มีการจัดเวทีแลกเปลีย่ นประสบการณ์ความรูส้ กึ
นึก คิด เป็นวงจรเช่นนี้ตลอดไป
อีกวงจรการเรียนรูห้ นึง่ ทีต่ ามมา ก็คอื การปลูกผักสวนครัวเพือ่ ปรับภูมทิ ศั น์บริเวณโรงเรียน
โดยจัดอยู่ในสาระท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษา นักเรียนที่นี่เรียนแมลง (วิทยาศาสตร์ ศิลปะ)
ในแปลงผักและแปลงนา ยามเช้า-เที่ยง-เย็น นักเรียนจะได้ยินดนตรีเสริมสร้างสมาธิและเพลง
เสริมสร้างคุณธรรม ผลปรากฏว่า มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นักเรียนเริ่มรับประทานอาหาร
แล้วไม่เหลือทิ้ง แต่ถึงจะเหลือบ้างนักเรียนก็นำไปทำปุ๋ย เศษไม้ใบหญ้าที่ได้จากการ
ตั ด แต่ ง ต้นไม้้ในโรงเรียนเราก็ใช้ทำปุ๋ยหญ้าหมักและเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ (ส่วนที่เป็น
ทฤษฎีจะเรียนในชั่วโมงเรียน ๘ กลุ่มสาระ) โรงเรียนไม่ได้ซื้อน้ำยาล้างห้องน้ำมา ๒ ปีแล้ว
ซื้อแต่วัสดุอุปกรณ์ นักเรียนได้ฝึกทำน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อใช้ทำความสะอาดภายในโรงเรียน
ถึงตอนนี้ก็เกิดวงจรการศึกษาเรื่องบัญชีครัวเรือนขึ้นอีก ทั้งนี้ ทุกเรื่องเริ่มต้นที่ครูและนักเรียน
(แต่ละกลุ่มย่อย) จะทำความเข้าใจคุณ-โทษ-ประโยชน์สุขก่อน กำหนดกิจกรรมที่เป็นคุณนำมา
ซึ่งประโยชน์สุข กำหนดว่าใครต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ด้วยวิธีการใด แล้วต่างคนต่าง
ทดลองดูว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ มีการศึกษาสภาพภายในตนไปพร้อมกัน ปิดท้าย
วงจรด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การศึกษาแนวนี้ไม่เกิดขึ้นในกิจกรรมที่แยกเป็นส่วนเสี้ยวรายวิชา หากแต่เชื่อมโยง
ไปกับทุกมิติของชีวิตและจิตวิญญาณ เป็นการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งภายนอกและภายใน
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 107
ดังตัวอย่างข้างต้น ซึง่ เริม่ ต้นด้วยการจัดการความสะอาดทีม่ กี ารจัดการความต้องการของตนเองไป
พร้อมกัน ตามมาด้วยการศึกษาเรือ่ งต่างๆ เป็นลำดับ ทุกคนในโรงเรียนทำเช่นนีต้ ามกำลังปัญญา
(สัมมาทิฏฐิ) ของตน กระทำในทุกมิติของชีวิตและจิตวิญญาณ ทั้งภายในตนและภายนอกตน
(สิง่ แวดล้อม) ก้าวผ่านอุปสรรคสำคัญคือตัวตนของตนเอง เมือ่ ก้าวผ่านตนเอง (คนเดิม) ได้แล้ว
ย่อมไม่มอี ปุ สรรคใดๆ ทีข่ วางกัน้ ได้ สำรวจตนเองแล้วรูต้ วั ว่าเป็นตัวตนคนใหม่ทำสิง่ ทีส่ ร้างทุกข์
โทษแก่ตนน้อยลง เป็นตัวตนคนใหม่ที่เห็นการศึกษาเป็นการทดลองของชีวิต ลดละเลิกผลิต
สินค้าที่ราคาตกลงทุกวัน กำลังน้อยก็ทำเฉพาะตัว คนทำก่อนก็คือผู้นำและได้รับประโยชน์สุข
ก่อน แม้ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้บริหารโดยตำแหน่ง แต่ด้วยวงจรแห่งการศึกษาดังกล่าวก็
ได้บังเกิดผู้นำทางการศึกษาหลายคนแล้วในโรงเรียนนี้ อีกทั้งบังเกิดนักเรียนที่เป็นผู้นำนักเรียน
ผู้นำเด็กและเยาวชนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนจำนวนมาก นอกจากนี้ได้มีนกแปลกๆ
เพิม่ ในบริเวณโรงเรียนมากขึน้ ทัง้ จำนวนและชนิด สร้างความเพลิดเพลินแก่ผพู้ บเห็นเป็นอย่างยิง่
ประสบการณ์ของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยาชีใ้ ห้เราเห็นว่า การศึกษาเช่นนีต้ อ้ งดำเนินการทัง้ องค์กร
โดยทุกคน ทุกเวลา
ผู้ที่เข้าถึงความจริงและประโยชน์สุขตามลำดับดังกล่าวข้างต้น ย่อมมองเห็นว่าตนเอง
มีความสุข แล้วก็อยากให้ผู้อื่นมีความสุขด้วย (แล้วลงมือช่วยเหลือ) เมื่อมองเห็นว่าตนเองพ้น
จากความทุกข์แล้วก็อยากให้ผอู้ น่ื พ้นจากความทุกข์ดว้ ย (แล้วลงมือช่วยเหลือ) แม้ตนเองยังไม่มี
ความสุขเท่าผูอ้ น่ื ก็ยงั ยินดีกบั ผูอ้ น่ื ทีม่ คี วามสุขมากกว่า (แล้วลงมือช่วยเหลือ) และแม้ชว่ ยเหลือแล้ว
แต่ยงั ไม่เป็นผล ก็สามารถวางใจมิให้มคี วามทุกข์ (เสียเอง) ได้ กิจกรรมทีช่ ว่ ยให้ผอู้ น่ื มีความสุข
พ้นจากความทุกข์ดังกล่าวข้างต้นทำได้โดยการให้ (ทานวัตถุสิ่งของ ทานความรู้ อภัยทาน)
การพูดจาให้ทเุ ลาจากความทุกข์/ให้มคี วามสุข (ปิยวาจา) การช่วยเหลือด้วยกำลังกายเพือ่ ให้ทเุ ลา
จากความทุกข์/ให้มคี วามสุข (อัตถจริยา) และให้ไมตรีจติ /ความปลอดภัย (สมานัตตา) เช่น เมือ่
พบคนป่วยทำความสะอาดบ้านไม่ได้ ก็มจี ติ กรุณาแล้วช่วยทำความสะอาดบ้านเพือ่ ให้คนป่วยนัน้
พ้นจากทีอ่ ยูอ่ นั ไม่สะอาด ขณะทำความสะอาดภายนอก ก็ทำความสะอาดภายในจิตของตนเองไป
ด้วย เมือ่ ทำความสะอาดแล้ว มองเห็นความสุขของผูป้ ว่ ยทีพ่ น้ จากความทุกข์ ตนเองก็รสู้ กึ ชืน่ ใจ
ภูมิใจ ก็ให้ศึกษาความรู้สึกของตนอันเป็นผลของการกระทำนั้น เหล่านี้เรียกรวมๆ ว่าทำกุศล
คือทำสิ่งที่ชำระใจให้สะอาด ทำให้ตนเองเป็นสุข ผู้อื่นเป็นสุข ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเป็นสุข
สังคมเป็นสุข ในขณะเดียวกันก็เป็นการศึกษาทีล่ กึ ซึง้ รูไ้ ด้ดว้ ยใจเฉพาะตน ใช้ตนเองเป็นตัวทดลอง

108 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ความดีและมีความสุขจากการทำความดี เป็นนักรบผู้ทิ้งศาสตรา เป็นการเข้าถึงกุศลธรรม
อันลึกซึ้งด้วยความกล้าหาญ และนี่ก็คือ การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ นั่นเอง

เชิงอรรถ ๑การศึกษา คือ “สิกขา” เริ่มต้นด้วยการมีสัมมาทิฏฐิ ตามมาด้วยการปฏิบัติชอบ


(สัมมากัมมันตะ) และมีการทบทวนผลที่ได้จากการปฏิบัตินั้นๆ ซึ่งต่างกับคำว่า “การศึกษา”
ที่มาจากคำว่า “education” ที่เป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้

เอกสารอ้างอิง
ญาณสังวร, สมเด็จพระ. (๒๕๕๒). หายใจเป็นสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ดุษฎี สีตลวรางค์. (๒๕๕๐). ปฏิบัติการพุทธปรัชญาในสำนักเรียน : กรณีกงไกรลาศวิทยา.
เอกสารประกอบคำบรรยายในวันสถาปนาภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
________ (๒๕๕๐). ปวงคุณธรรมคือความรู้ : ประสบการณ์การจัดการศึกษาตามแนวพุทธ.
สุโขทัย: โรงพิมพ์พงษ์ไทย.
________ (๒๕๕๒). การศึกษาสภาพและความคิดเห็นในการจัดการศึกษาตามแนวพุทธ
กรณีเฉพาะ โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา. บทความวิจยั นำเสนอในการประชุมวิชาการ
“เปิดขอบฟ้าคุณธรรมจริยธรรม” วันที่ ๒๘-๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๒.
ธรรมปิฎก, พระ. (๒๕๓๙). ตามพระใหม่ไปเรียนธรรม, CD วัดญาณเวศกวัน ตอนที่ ๖๐.
พุทธมณฑล. นครปฐม.
ราชวรมุนี, พระ. (๒๕๒๐). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 109
110 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก
Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education of Asoke Community

กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Kanoksak Kaewthep

บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์ในการวิเคราะห์กระบวนการจัดการการศึกษาทางเลือกที่
เรียกว่า “การศึกษาแบบบุญนิยม” ของชุมชนชาวอโศก จากประสบการณ์ของชุมชนศีรษะอโศก
จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางอุดมการณ์ของชาวอโศกที่มีรากฐานอยู่บน
มโนทัศน์เรื่อง “บุญนิยม” เห็นได้จากการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวิถี
ชีวติ ของชุมชน ขณะที่ “การศึกษาแบบบุญนิยม” ผลิตนักเรียนให้เป็นกำลังสำคัญในวิถกี ารผลิต
ทางเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเอง ในอีกด้านหนึ่ง “การศึกษาแบบบุญนิยม” ก็เป็นส่วนหนึ่งใน
กระบวนการสร้างสรรค์ “ปัญญาชนของชุมชน” (Organic Intellectual) สำหรับชุมชนชาวอโศก
เพื่อการสืบทอดอุดมการณ์ของชาวอโศกสืบต่อไปในอนาคต
Abstract
This article examines the provision of non-formal education based on
the Asoke’s ideology of “Bun-Niyom” (Meritism). This perspective helps to con-
ceptualize the design of an alternative curriculum to suit the Asoke community.
Accordingly, an experience from Sisa Asoke community, Srisaket province, has
a great deal to do with a specific kind of alternative education. In final, the
author argues that it is the Asoke’s ideological practice at work in conditioning
its community development and reproducing its organic intellectuals to sustain
the Asoke communities in the future.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 111
ใ นสังคมไทย การศึกษาทางเลือก หรือ ทางเลือกการศึกษา๑ ดูจะเป็นประเด็นทีม่ กี ารถกเถียง
วิพากษ์วจิ ารณ์กนั มานานพอสมควรนับได้เกือบสีท่ ศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การปฏิรปู การ
ศึกษาขนานใหญ่ของประเทศภายหลังเหตุการณ์ทางการเมืองเดือนตุลาคม ๒๕๑๖
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในทางปฏิบตั เิ พือ่ ให้เกิดตัวอย่างจริงของการศึกษาทางเลือก
ดูจะมีไม่มากนัก เช่น โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัดกาญจนบุรี บุกเบิกโดย พิภพ-รัชนี ธงไชย
ที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ ประเทศอังกฤษ
และในปั จ จุ บ ั น โรงเรี ย นทางเลื อ กที ่ ไ ด้ ร ั บ การกล่ า วขวั ญ มากพอสมควรก็ ค ื อ
โรงเรียนสัตยาไส จังหวัดลพบุรี ก่อตัง้ โดย ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์
ชั้นนำของประเทศ ที่มุ่งหวังต้องการสร้าง “คนดี” มากกว่า “คนเก่ง” ดังทัศนะของท่านที่
สะท้อนถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
“ระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นสร้าง “คนเก่ง” ป้อนเข้าสู่ “โลกทุนนิยม” สมรภูมิรบ
ขนาดใหญ่ที่ผู้คนต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอด และความก้าวหน้าเหนือคนอื่น
จนทำให้ “คุณธรรม ความดีงาม” ค่อยๆถูกลบเลือนไปจากหัวใจ... และเกิดเป็น
วงจรชีวิตอันเลวร้าย แบบไม่รู้จบ…
การปฏิรปู การศึกษาทีท่ ำกันมา ๑๐ กว่าปีนน้ั ทุกคนยอมรับว่าล้มเหลวเพราะไม่สามารถ
สร้างคนดีขึ้นมาได้ แต่กลับเน้นไปที่การสร้างคนเก่ง ซึ่งคนเก่งจะพยายามเอาชนะ
คนอื่นตลอดเวลา คิดถึงตัวเองก่อน และไม่ยอมใคร ซึ่งปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้น
ก็ล้วนแต่เกิดเพราะคนเก่งทั้งสิ้น แต่สำหรับคนดี คนดีจะไม่คิดถึงตัวเอง จะคิดถึง
ส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ และคิดถึงโลก...
เพราะฉะนั้น การศึกษา เราต้องเน้นสร้างคนดีก่อน คุณธรรมถึงต้องนำความรู้ก่อน…
คนดีจะคิดอยู่เสมอว่า ความรู้ที่เขาได้จะเอาไปช่วยผู้อื่นได้อย่างไร คนดีมีจิตอาสา
มีจิตสาธารณะ เพราะฉะนั้นเราต้องเน้นแต่คนดี...”๒
บทความนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอเรื่องราวและกระบวนการในการจัดการของ
การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก ในฐานะของการศึกษาทางเลือก โดยอาศัยข้อมูลจาก
การศึกษาค้นคว้าวิจัยจาก ชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๓ ทั้งนี้จะ
มีเนื้อหาทั้งหมด ๔ ส่วนด้วยกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

112 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
๑. ชาวอโศก และชุมชนชาวอโศก : ภาพรวม๓
“ความสำคัญสูงสุดของขบวนการสันติอโศกมิได้อยู่ที่การกินมังสวิรัติ แต่อยู่ที่
การสร้างชุมชนที่มีศีลธรรมเป็นระบบชีวิต ให้มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติไม่กดขี่
ขูดรีดไม่ทำโดยหวังกำไร แต่แบ่งปันช่วยเหลือกันเป็นบุญนิยมทำให้ชุมชนสงบเย็น”
(ประเวศ วะสี ๒๕๓๘) ๔
มโนทัศน์ “ชุมชนที่จินตนาการตัวเอง” ของชาวอโศก ดังกล่าวมาข้างต้นนี้
จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากมิติทางเลือกการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเอง ดังที่สุวิดา แสงสีหนาท
กล่าวเอาไว้โดยสรุปว่า
“ชุมชนชาวอโศกมิได้เริ่มจากโลกทัศน์ที่ว่า จะผลิตอะไร แล้วจะขายได้ราคาดีหรือ
หวังแต่ผลตอบแทน แต่ชุมชนอโศกเริ่มจากการเปลี่ยนโลกทัศน์ไปสู่ วัฒนธรรมกลุ่ม
ค่านิยมแห่งการให้ การทำงานอย่างขยันขันแข็ง การทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
อย่างเต็มที.่ ..และทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือการลด ละ เลิก กิเลส ส่วนตน การเปลีย่ นโลกทัศน์
ดังกล่าวมีผลให้ปัญญาและจิตใจปราศจากความมัวหมองด้วย โลภ โกรธ หลง
เป็นการยกระดับภูมิธรรมทั้งส่วนตนและสังคมโดยรวม ประเด็นนี้เป็นกุญแจสำคัญที่
จะไขประตูสู่สังคมโลกุตรปัญญา” ๕
ในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนในสังคมไทยมักรู้จักหรือคุ้นเคยกับเรื่องราวของ “ชาวอโศก”
จาก สมณะโพธิรักษ์ และ “สันติอโศก” ที่เป็นศูนย์กลาง(ทางปัญญา)ของชาวอโศกซึ่งตั้งอยู่
ที่กรุงเทพฯ ในฐานะของฐานกำลังทางการเมืองที่สำคัญของพรรคพลังธรรม ที่มีพลตรีจำลอง
ศรีเมือง เป็นผู้นำ แต่ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศในปี ๒๕๔๐ ชุมชนต่างๆ
ของชาวอโศกซึ่งไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าวได้กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ
สังคมในด้านเศรษฐกิจพึ่งตนเอง ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของทางเลือกการพัฒนาที่ได้
รับการกล่าวถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเครือข่ายชุมชนชาวอโศกกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ
ทัว่ ประเทศถึง ๒๑ แห่งด้วยกัน อันได้แก่ ชุมชนสันติอโศก (กรุงเทพฯ, ๒๕๑๙) ชุมชนปฐมอโศก
(นครปฐม, ๒๕๒๓) ชุมชนศีรษะอโศก (ศรีสะเกษ, ๒๕๑๙) ชุมชนศาลีอโศก (นครสวรรค์,
๒๕๑๙) ชุมชนสีมาอโศก (นครราชสีมา, ๒๕๓๓) ชุมชนราชธานีอโศก (อุบลราชธานี, ๒๕๓๗)
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 113
ชุมชนทักษิณอโศก (ตรัง, ๒๕๔๐) ชุมชนดินหนองแดนเหนือ (อุดรธานี) ชุมชนเมฆาอโศก (บุรรี มั ย์)
ชุมชนศรีโคตรบูรณ์อโศก (นครพนม) ชุมชนสวนส่างฝัน (อำนาจเจริญ) ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ
(ชัยภูมิ, ๒๕๔๐) ชุมชนเลไลย์อโศก (เลย) ชุมชนแก่นอโศก (ขอนแก่น) ชุมชนร้อยเอ็ดอโศก
(ร้อยเอ็ด) ชุมชนศรีบูรพาอโศก (ปราจีนบุรี) ชุมชนเชียงรายอโศก (เชียงราย) ชุมชนวังสวนฟ้า
(สระแก้ว) ชุมชนฮอมบุญ (แพร่) ชุมชนธรรมชาติอโศก (ชุมพร) และ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ (เชียงใหม่,
๒๕๓๘ ใช้เป็นทีฝ่ กึ อบรมธรรมอย่างเข้มข้นสำหรับฝึกนักบวชใหม่ทกุ รูป) โดยมีชมุ ชนทีม่ ที ง้ั บ้าน
วัด และโรงเรียนอยู่ในบริเวณเดียวกัน ๙ แห่ง ซึ่งมีสถานะเปรียบเป็นศูนย์กลางของชาวอโศก
ศูนย์กลางของชุมชนชาวอโศกเหล่านีม้ ลี กั ษณะสำคัญร่วมกันประการหนึง่ คือ เป็นชุมชน
ที่เริ่มต้นจากการมีพุทธสถานหรือสังฆสถานหรือสถานปฏิบัติธรรมรูปแบบอื่นมาก่อน โดยที่ดิน
เป็นของกลุ่มรวบรวมปัจจัยซื้อถวาย หรือญาติธรรมบางคนถวายให้เพื่อเป็นสถานปฏิบัติธรรม
จึงค่อยๆเกิดการศึกษาแบบสัมมาสิกขาขึ้น ต่อมาเมื่อมีกลุ่มญาติธรรมของชาวอโศกรวมกลุ่ม
กันอย่างเข้มแข็งจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้าน จึงเกิดเป็นชุมชนตามมาในภายหลัง ทั้งนี้ยกเว้นชุมชน
ราชธานีอโศก ชุมชนทักษิณอโศก และชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ซึ่งเกิดจากการมีกลุ่มญาติธรรม
รวมตัวกันทำกิจกรรมได้อย่างเข้มแข็งจนสามารถตั้งหมู่บ้านขึ้นมาได้ก่อนแล้ว ต่อจากนั้น จึงตั้ง
สังฆสถานขึ้นมาควบคู่กันไป และในที่สุดได้ยกระดับขึ้นเป็นพุทธสถาน
โดยทั่วไป ชุมชนชาวอโศกในจังหวัดต่างๆ นั้น (ยกเว้นชุมชนภูผาฟ้าน้ำ) นอกจาก
จะมีพุทธสถานหรือสังฆสถานตั้งอยู่แล้ว ยังมีพื้นที่สำหรับการทำกสิกรรมเพื่อการพึ่งตนเองด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการทำนา การปลูกพืชผัก การทำสวนผลไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการตั้งโรงเรียน
เพื่อฝึกอบรมลูกหลานของบรรดาญาติธรรม
อุดมการณ์ของชุมชนคือ “เป็นหมู่บ้านของผู้ปฏิบัติธรรม” ประกอบด้วย บ้าน–
วัด–โรงเรียน มีสมณะโพธิรักษ์ และ สมณะ (นักบวชชาย) สิกขมาตุ (นักบวชหญิง)
เป็นผูน้ ำทางจิตวิญญาณ อบรมสัง่ สอนตามแนวทางพุทธศาสนา มีอดุ มการณ์รว่ มกันทีจ่ ะสร้างชุมชน
บุญนิยม โดยถือศีล ๕ และศีล ๘ ตามพุทธประเพณีเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างเคร่งครัด
รับประทานอาหารมังสวิรัติวันละ ๑-๒ มื้อ ไม่มีอบายมุข สิ่งเสพติด แม้แต่การสูบบุหรี่ก็ไม่มี
แต่งกายเรียบง่าย ไม่สวมรองเท้า เสียสละ ลดละความเห็นแก่ตัว มีความเอื้ออาทรกันด้วย
ความเคารพในศีล มีศาสนาพุทธเป็นแกนหลักในการดำเนินชีวติ ตามหลักสัมมาอริยมรรคองค์ ๘

114 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ชาวอโศกเรียกขานชุมชนของตนว่าเป็น “ชุมชนทวนกระแส” อันหมายถึง การต่อต้าน
ลัทธิบริโภคนิยม และได้สร้างคำขวัญของตัวเองขึ้นมาคือ “ลดละ ขยัน กล้าจน ทนเสียดสี
หนีสะสม นิยมสร้างสรร สวรรค์นิพพาน” ซึ่งแสดงถึงจุดยืนที่มีเป้าหมายเพื่อการบรรลุเป็น
“อริยะบุคคล” เป็นสำคัญ
๒. วิถชี วี ติ ของ “ชุมชนทวนกระแส”: กรณีของชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ๖
ในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังอยู่ท่ามกลางปัญหารอบด้าน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและ
สังคม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤติการพัฒนาที่ผ่านมาของไทยเอง มีนักคิดและปัญญาชน
จำนวนไม่น้อยได้เสนอมุมมองต่อปัญหาและทางออกที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นก็ยังมีแนวทางอีก
แนวทางหนึ่งที่นำเสนอโดยสมณะโพธิรักษ์และชาวอโศก โดยเป็นแนวทางที่พยายามประสาน
แนวคิดและกิจกรรมทางศาสนาเข้ากับกิจกรรมทางสังคมเศรษฐกิจในชีวติ ประจำวันของคนทัว่ ไป
พร้อมกันนี้ชาวอโศกก็พยายามแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ อีกทั้งสามารถปฏิบัติได้ผล
จริงตามแนวทางดังกล่าว ดังที่เห็นเป็นตัวอย่างคือ ชุมชนชาวอโศกในที่ต่างๆทั่วประเทศ ซึ่ง
ชุมชนสำคัญชุมชนหนึง่ ทีเ่ ป็นแม่แบบหรือตัวอย่างในการเรียนรูใ้ ห้กบั ชาวอโศกอืน่ ๆแห่งหนึง่ ก็คอื
ชุมชนศีรษะอโศก ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
๒.๑ ลักษณะทั่วไปทางกายภาพของชุมชน
ลักษณะทางกายภาพของชุมชนศีรษะอโศก หรือบ้านศีรษะอโศก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๕
ตำบลกระแซง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพน้ื ทีม่ ากกว่า ๑๐๐ ไร่ ทัง้ นีป้ ระกอบด้วย
พื้นที่หลักๆ ๒ ส่วน คือ หนึ่ง ส่วนที่เป็นพุทธสถาน (แต่เดิมเป็นที่ป่าช้า) มีเนื้อที่ประมาณ
๔๖ ไร่ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของสมณะและคนวัดชาวอโศก และส่วนที่เป็นหมู่บ้านศีรษะอโศก
ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านให้กับฆราวาสที่ไม่ใช่คนวัดได้พักอาศัยและทำงาน (หมายถึง
กิจกรรมการผลิตต่างๆ) ควบคู่ไปกับการปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ ๗๗ ไร่ นอกจากนี้
ชุมชนศีรษะอโศกยังมีที่ดินที่อยู่นอกเขตหมู่ที่ ๑๕ อีกหลายแปลง มีทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง
กับชุมชนและไกลออกไป รวมแล้วชุมชนมีพื้นที่ทั้งหมด ๕๗๓ ไร่ (ไม่รวมพื้นที่พุทธสถานเพราะ
ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ) นอกจากนี้ ชุมชนยังมีที่นาและไร่ซึ่งญาติธรรมอนุญาตให้ชุมชนเข้าไป
ทำประโยชน์ได้อีกจำนวน ๙๓ ไร่ ดังนั้น เมื่อรวมกับพื้นที่ที่กรรมสิทธิ์เป็นของชุมชนจริงๆแล้ว
ชุมชนจะมีพื้นที่ที่สามารถเข้าทำประโยชน์ได้มากถึง ๖๖๖ ไร่

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 115
๒.๒ วิถีชีวิตของชุมชน
วิถชี วี ติ ประจำวันโดยทัว่ ไปของสมาชิกในชุมชนศีรษะอโศกจะเป็นชีวติ ทีค่ อ่ นข้างมีแบบแผน
กำหนดไว้ว่า ในแต่ละช่วงเวลาในรอบหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์ควรใช้สำหรับการทำภารกิจใด
แต่ตารางเวลาเหล่านี้ก็สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม
วิถีชีวิตในชุมชนศีรษะอโศกในแต่ละวันสามารถสรุปได้ดังนี้
๐๓.๓๐ น. สมณะ ผู้ใหญ่ และนักเรียนผู้ใหญ่ (อุดรศึกษา) ตื่นนอน ร่วมทำวัตรเช้าที่
ศาลาปลุกเสก (เว้นจันทร์ พุธ ศุกร์)
๐๔.๐๐ น. เด็ ก นั ก เรี ย นระดั บ มั ธ ยม ตื ่ น นอน อ่ า นหนั ง สื อ ทำการบ้ า น หรื อ เรี ย น
พิเศษชดเชย
๐๕.๐๐ น. เด็กนักเรียนระดับประถม ตื่นนอน ทำกิจกรรมภาคเช้า เช่น ออกกำลังกาย
๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้าเสร็จ สมณะออกบิณฑบาต ชาวชุมชน คนวัด อุดรศึกษา เด็กนักเรียน
แยกย้ายทำงานตามฐานงานที่รับผิดชอบ
๐๗.๓๐ น. เด็กนักเรียนเสร็จจากฐานงาน ไปรับประทานอาหารเช้าที่โรงครัว
๐๙.๓๐ น. เด็กนักเรียนมัธยมเข้าแถวเคารพธงชาติบนศาลาปลุกเสก เริ่มรับประทานอาหาร
๑๐.๐๐ น. เด็กนักเรียนมัธยมเข้าห้องเรียน
๑๑.๓๐ น. เด็กนักเรียนประถมรับประทานอาหารกลางวัน
๑๒.๐๐ น. ผู้ใหญ่แยกย้ายกันทำงานตามฐานต่างๆ
๑๔.๐๐ น. เด็กนักเรียนทุกชั้นเลิกเรียน กลับที่พักทำความสะอาด
๑๕.๐๐ น. เด็กนักเรียนเข้าฐานงานภาคบ่าย
๑๗.๐๐ น. เด็กนักเรียนเลิกฐานงาน ไปรับประทานอาหารเย็นที่โรงครัว
๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น นั่งเจโตสมถะ
๑๙.๐๐ น. ดูวีดีทัศน์
๒๑.๐๐ น. เข้านอน
ทั้งนี้ระหว่างเวลา ๐๓.๓๐-๐๖.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐-๑๙.๓๐ ของทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์
วันพุธ และวันศุกร์ ชาวชุมชนต้องลงศาลาทำวัตรเช้าและเย็น

116 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ในแต่ละวันวิถีชีวิตจะดำเนินไปเช่นนี้ โดยมีวันพุธและพฤหัสบดีเป็นวันหยุด แต่ก็ต้อง
ทำงานในหน้าทีข่ องตนตามปกติ ส่วนในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีจะมีความพิเศษทีจ่ ะเป็นช่วงที่
หยุดพักผ่อนจริงๆ สำหรับในรอบหนึ่งสัปดาห์
ในรอบเดือนก็จะมีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่จะต้องทำด้วย ได้แก่ ในช่วงค่ำของทุกวัน
อาทิตย์จะมีกจิ กรรมการเช็คศีลของชาวชุมชน ซึง่ จะมีอยูห่ ลายรูปแบบ เช่น การแยกเช็คระหว่าง
ผู้ใหญ่และเด็ก การแยกเช็คตามเพศ การแยกเช็คตามฐานงาน เป็นต้น หรือในวันพุธสุดท้าย
ของเดือนก็จะมีกิจกรรมชี้ขุมทรัพย์ (การชี้ข้อบกพร่องด้วยจิตบริสุทธิ์) ของนักเรียน
๒.๓ แบบวิถีการผลิต การแบ่งปัน และการบริโภค
แม้วา่ ลักษณะสำคัญของชาวอโศกจะเน้นที่ “ศีล” เป็นจุดเริม่ ต้นของการบำเพ็ญเพียร
เพื่อบรรลุถึง การเป็น “อริยะบุคคล” ในท้ายที่สุดนั้น แต่ว่าไปแล้ว เป้าหมายของการประพฤติ
ปฏิบัติที่มี ศีล เป็นแบบวิถีการกำกับ (mode of regulation) นั้น ดูจะมีเป้าหมายเบื้องต้น
อยู่ที่สมาชิกชุมชนในฐานะของปัจเจกมากกว่า ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติศีลมาอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน
จึงจำเป็นอยู่เองที่จักต้องมีการจัดระเบียบสังคมนี้เสียใหม่ ดังนั้น เช่นเดียวกันกับชุมชนอโศก
ในที่อื่นๆ ชุมชนศีรษะอโศกก็เป็นชุมชนที่อยู่ร่วมกันด้วยการใช้หลักการแนวคิดสาธารณโภคี
ด้วยการริเริ่มและประยุกต์ใช้โดยสมณะโพธิรักษ์
แนวคิดสาธารณโภคีนี้เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในสาราณียธรรม ๖ ซึ่งเป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าที่ว่าด้วย การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอุดมคติของพุทธศาสนา การดำเนินชีวิต
ภายใต้แนวคิดสาธารณโภคีน้ี สนับสนุนให้สมาชิกสมัครใจเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นกลุม่ เป็นชุมชน
โดยที่กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของชุมชน (collective or communitarian ownership)
ขณะที่ผลผลิตหามาได้มากน้อยเท่าไหร่ก็นำมารวมกันไว้เป็นของส่วนกลาง โดยที่สมาชิกมากิน
ใช้ร่วมกันเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจัดสรร แบ่งปัน ดูแลสวัสดิการกันเอง
เปรียบเหมือนครอบครัวใหญ่ครอบครัวหนึง่ อีกทัง้ ยังส่งเสริมให้สมาชิกครอบครองสิง่ ของส่วนตัว
ให้นอ้ ย โดยให้เสียสละทรัพย์สนิ ส่วนตัวเข้าส่วนกลาง แต่ชมุ ชนก็ยนิ ยอมทีจ่ ะให้สมาชิกมีกรรมสิทธิ์
สิ่งของต่างๆเป็นส่วนตัวได้
คำอธิบายที่สมบูรณ์โดยสมณะโพธิรักษ์เองในเรื่องนี้ก็คือ

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 117
“ระบบสาธารณโภคี มีอิสระ ไม่มีเงินของตนเองสักบาท มีสมรรถนะและความขยัน
ช่วยกันหาแต่เป็นของส่วนกลาง ไม่ถงึ กับไม่มสี ว่ นตัว แต่กม็ บี า้ ง มีอย่างรูต้ วั …เจ็บป่วยส่วนกลางก็
รักษาดูแล แม้แต่ขา้ ว น้ำ คือ กินใช้อยูส่ ว่ นกลางหมด ในระบบของสังคมนี่ จะมีรายได้เข้ามาส่วน
กลางหมด บางคนก็ไม่ไหว ไม่มสี ว่ นตัวเลยไม่ได้ เอ้าก็มบี า้ ง มีสว่ นได้ของตัวเองบ้าง แต่กร็ ดู้ วี า่
ถ้าเราเอามานี้ เราเป็นคนไม่ดี ถ้าเราเอาน้อย ดี เอาน้อยได้เท่าไรยิ่งดี ไม่เอาเลยนั่นแหละดีกว่า
เขาจะเข้าใจทิศทางนี้อย่างชัดเจน เพราะเราเต็มใจจะจน เรารู้ว่าความจนนี่เป็นเศรษฐศาสตร์
อย่างยิ่ง เป็นเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง คนมาจนนี่ เป็นผู้ช่วยสังคมช่วยโลก คุณมารวยตั้งใจจะ
พยายามทีจ่ ะทำให้ตนเองรวยนี่ คือคนผลาญโลก คือคนกำลังทำให้สงั คมโลกเดือดร้อนอยูต่ ลอด
เวลา เพราะทุกคนก็จะต้องกอบโกย ทุกคนก็จะต้องหาทางเอาเปรียบ ระบบทุนนิยมจึงเป็นระบบ
ที่เลวร้ายที่สุด ระบบ”บุญนิยม”ที่อาตมาเรียกนี้ เป็นระบบที่จะต้องสละออก สละจริงๆ ไม่ใช่
เลศเล่ห์อย่างทุนนิยม ที่แหม ทำเป็นลดราคา แล้วตลบหลังคุณหมด นี่สละให้จริงๆ โดยเห็นว่า
การให้คนอื่นนี้คือ คุณค่าของเรา การเอาของคนอื่นมาให้แก่ตัวเองนี่คือความเลวของเรา” ๗
ในประเด็นนี้ หลักการระบบ “บุญนิยม” ข้างต้นนี้ อาจถือได้วา่ “บุญ” ในความหมาย
ของชาวอโศกนัน้ เป็นตัวเชือ่ มระหว่างปัจเจกกับสังคมเข้าด้วยกัน โดยการขยายการตีความเรือ่ ง บุญ
จากความหมายเดิมให้ครอบคลุมกิจกรรมธรรมดาในชีวิตประจำวันที่ทำเพื่อส่วนรวม ซึ่งมีนัย
ของการเสียสละและการให้แก่สังคมส่วนรวมอยู่ด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำกสิกรรม
ซึง่ เป็นงานหนักและต้องใช้คนจำนวนมากถือว่าเป็นบุญทีส่ ำคัญอย่างหนึง่ เพราะก่อประโยชน์ให้
แก่นักบวชและชุมชน) นั่นก็หมายความว่า การทำงานถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรมด้วย
ดังนั้นการตีความวิธีการทำบุญของชาวอโศกจึงไปไกลกว่าการทำบุญของชาวพุทธกระแสหลักที่
เน้นการสั่งสมบุญส่วนตัวโดยการทำบุญตักบาตรหรือการบริจาคเงิน ๘
ควรกล่าวด้วยเช่นกันว่า ระบบสาธารณโภคีนี้ นอกจากทำให้สมาชิกในชุมชน
ไม่ ต ้ อ งเครี ย ดกั บ เรื ่ อ งการสะสมทรั พ ย์ ส มบั ต ิ ส ่ ว นตั ว สำหรั บในเรื ่ อ งการหาอยู ่ ห ากิ น
ตามหลักการถือสันโดษ หรือ มักน้อย แล้ว ยังทำให้สามารถประหยัดเวลาในการจัดเตรียม
เช่น อาหาร ได้อย่างมากในแต่ละวัน ส่งผลให้อุทิศตัวเองสำหรับสังคมได้มากขึ้น อย่างน้อยเมื่อ
เทียบกับคนโดยทั่วไป ๙
อาจถือได้วา่ หลักการนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ทีส่ ำคัญของกระบวนการขัดเกลากิเลสของสมาชิก

118 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ชุมชนให้นอ้ ยลง โดยมี “ศีล” เป็นแบบวิถกี ำกับทีเ่ ข้มข้นอีกต่อหนึง่ ทัง้ นี้ ชุมชนส่วนกลางพยายาม
จะจัดหาบริการสวัสดิการให้ครอบคลุมสิง่ ทีจ่ ำเป็นต่อการดำรงชีวติ ซึง่ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็คอื ปัจจัย ๔
อันประกอบด้วย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ให้กับสมาชิกทุกคน
การอยู่ร่วมกันเช่นนี้ก็เปรียบเหมือนครอบครัวขนาดใหญ่ที่รวมเอาครอบครัวขนาดเล็กไว้ด้วยกัน
และที่สำคัญก็คือ ในชุมชนชาวอโศกจะไม่มีการใช้เงิน
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า กิจกรรมการงานต่างๆมากมายที่ครอบคลุมกิจกรรมเกือบ
จะทั้งหมดของชีวิตในชุมชน รวมทั้งงานด้านการเรียนการสอนนั้นรวมศูนย์อยู่ที่ “ฐานงาน”
(จะกล่าวถึงต่อไปข้างหน้า)
๓. การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก: จากประสบการณ์ของชุมชนศีรษะอโศก
จังหวัดศรีสะเกษ
การศึกษา “บุญนิยม” ถือได้ว่าเป็นแกนหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวอโศก
โดยการประยุกต์หลักคิด “บุญนิยม” มาใช้ในด้านการศึกษา๑๐ ที่ประสานการพัฒนาชุมชนด้วย
หลักคิด ๓ ประสานที่เรียกโดยย่อว่า บวร โดยที่
บ หมายถึง บ้าน (มีบ้านของชุมชน)
ว หมายถึง วัด (มีวัดเป็นแก่นพลังศรัทธาของทุกส่วน)
ร หมายถึง โรงเรียน (มีโรงเรียนที่สอดคล้องกับชุมชน)
๓.๑ ความเป็นมาของโรงเรียนแบบ “บุญนิยม” ๑๑
แม้วา่ ชุมชนศีรษะอโศกจะก่อตัง้ มาตัง้ แต่ปี ๒๕๑๙ แต่การจัดการศึกษาของชุมชนนัน้
เพิ่งจะมาเริ่มต้นในปี ๒๕๒๕ เนื่องจากในชุมชนมีเยาวชนที่ติดตามผู้ปกครองมาปฏิบัติศีลเพิ่ม
จำนวนมากขึ้น ทั้งนี้ในตอนแรกได้มีการจัดตั้ง “กลุ่มแซงแซวน้อยเรียนธรรม” ขึ้นมา เพื่อให้
เยาวชนในชุมชนได้มโี อกาสเรียนรูแ้ ละฝึกฝนธรรมสำหรับนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวติ ต่อ
ไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาชาวชุมชนได้คน้ พบว่า ระบบการศึกษาทีม่ อี ยูใ่ นสังคม
ไทยนัน้ ไม่สามารถพัฒนาจิตวิญญาณทางพุทธศาสนาของเด็กนักเรียนได้ และทีส่ ำคัญกว่านัน้ ก็คอื
เป็นการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ชุมชนจะต้องจัดการ
ศึกษาให้กับเยาวชนโดยชุมชนเอง

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 119
ทัง้ นีช้ มุ ชนได้ดำเนินการจัดตัง้ กลุม่ ศึกษานอกโรงเรียนในชือ่ “กลุม่ พุทธธรรมแซงแซว”
และต่อมาได้ขน้ึ ทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการเป็นโรงเรียนสัมมาสิกขา โดยรับเงินอุดหนุนเป็น
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตามมาตรา ๑๕(๓)
๓.๒ หลักสูตรในการเรียนการสอนของโรงเรียนแบบ “บุญนิยม”
หลักสูตรในการเรียนการสอนนั้นเป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันสองส่วนคือ ระหว่าง
เนื้อหาหลักสูตรที่ชุมชนคิดขึ้นมาเองร้อยละ ๘๐ และเป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
ร้อยละ ๒๐ ทั้งนี้เนื่องจากว่ายังต้องมีการสอบวัดผลการศึกษา
หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชนของชุมชนศีรษะอโศกนั้น
เป็นหลักสูตรที่เกิดจาการร่วมกันคิดร่วมกันทำระหว่างนักเรียนและสมาชิกผู้ใหญ่ของชุมชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำหรือผู้ใหญ่บ้านของชุมชนในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๓ คือ ขวัญดิน สิงห์คำ
(หรืออาเปิ้มของชาวอโศก) นั้นเคยเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนในเมืองมาก่อน ด้วยเหตุนี้เอง
จึงเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการตั้งแต่แรกเริ่มของชุมชนคือ
ประการแรก เน้นการอบรมบ่มเพาะและขัดเกลานักเรียนทางด้านศีลธรรม ทั้งนี้
การพัฒนาคนในทางพุทธศาสนา(ซึ่งคล้ายกันกับหลักการของทุกศาสนา)นั้นหมายถึง การ
สร้างคนให้มีศีลธรรมหรือเป็นคนดีของสังคมนั่นเอง๑๒ ที่สำคัญก็คือ ชาวอโศกมีความเชื่อว่า
การศึกษาจะล้มเหลว หากว่าคนมีการศึกษาสูงแต่ไร้ศีลธรรม (เน้นโดยผู้เขียนบทความ) ดังนั้น
นักเรียน นักศึกษา ครู และสมาชิกในชุมชนจึงต้องมี ศีล ๕ เป็นอย่างน้อย
ประการทีส่ อง เนือ่ งจากกิจกรรมหลักและถือได้วา่ เป็นหัวใจทีส่ ำคัญสำหรับการอยูร่ อด
ของสมาชิกทั้งหลายในชุมชนคือ การทำกสิกรรมไร้สารพิษ ดังนั้น วิธีการเรียนการสอนจึงเน้น
การปฏิบตั มิ ากกว่าการเรียนการสอนในเชิงทฤษฎี และต้องสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวติ ประจำวัน
ทั้งนี้ งานที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือ การทำนา นอกจากนี้ การทำกิจกรรมต่างๆในชุมชนจะ
ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับกระบวนการกลุม่ ด้วย เพือ่ ให้เกิดความอบอุน่ ความสามัคคี รักใคร่
ปรองดองกัน เหมือนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวเดียวกัน
ประการที่สาม วิสัยทัศน์ในระยะยาวของชาวอโศกคือ การเสียสละช่วยเหลือสังคม
ดังนัน้ นักเรียนจะต้องรูว้ า่ เป้าหมายในการเรียนคืออะไร นัน่ คือ การนำความรูไ้ ปใช้ในทางสร้างสรรค์
มากกว่าใช้การเรียนเป็นช่องทางในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นในสังคม
ด้วยเหตุผลดังทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้นนี้ ชุมชนจึงได้กำหนดปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน

120 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
และสัดส่วนของเนื้อหาในการเรียน เอาไว้ว่า ๑๓
ศีลเด่น คือ กิจวัตรของชุมชน (สัดส่วนร้อยละ ๔๐)
เป็นงาน คือ กิจกรรมของชุมชน (สัดส่วนร้อยละ ๓๕)
ชาญวิชา คือ กิจการของชุมชน องค์ความรู้ เทคโนโลยี (สัดส่วนร้อยละ ๒๕)
สืบเนื่องจากเหตุผลในประการที่สองข้างต้น ลักษณะการเรียนการสอนของโรงเรียน
จะไม่มีอาคารเรียนเหมือนกับโรงเรียนโดยทั่วไป แต่จะใช้ทุกจุดของชุมชนที่เป็นฐานงาน และ
การร่วมทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน ดังนั้นจึงมีบรรยากาศของการเรียนการสอนที่หลากหลาย
ทั้งการเรียนในทุ่งนา การเรียนในโรงสี การเรียนใต้ถุนบ้าน ฯลฯ อาจกล่าวโดยรวมได้ว่า ชุมชน
ศีรษะอโศกมีฐานงานรวมกันทั้งสิ้นถึง ๕๙ ฐาน ดังรายละเอียดข้างล่างนี้ ๑๔
ประเภท ฐานงาน ลักษณะกิจกรรม
๑. การผลิต
- มีรายได้ ๑. ป่ายาง ป่าสมุนไพรที่ทนแล้ง
๒. เรือนเพาะชำ . เพาะชำกล้าไม้ไว้ปลูกเอง
และเพาะชำกล้วยไม้ขาย
๓. สวนสมุนไพร .......... อุทยานการศึกษาสมุนไพรกว่า ๔ ไร่
เป็นพันธุ์ไม้หายาก
๔. เขี่ยเชื้อ ผลิตก้อนเชื้อเห็ด
๕. เปิดดอก เปิดดอกเห็ด
๖. สวนสร้างดิน ........... แหล่งผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่จำกัด
เน้นผักอายุสั้น
- ไม่มีรายได้ ๗. ไร่ซำตาโตง แหล่งปลูกผลไม้นานาชนิดของชุมชน
๘. ไร่ซำเบ็ง แหล่งผลิตข้าวของชุมชน
๙. ไร่ ๓๙ ............ แหล่งผลิตพืชผักผลไม้และสมุนไพร
๑๐. จุลินทรีย์ ผลิตน้ำสกัดชีวภาพ
๑๑. กสิกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน
๑๒. สวนรวมบุญ ปลูกผักสมุนไพรใช้ภายในชุมชน
๑๓. พลังชีวิต เพาะถั่วงอกใช้ภายในชุมชน
๑๔. ผลิตก้อนเชื้อ ต่อเชื้อเห็ด
๑๕. เพาะเห็ดฟาง เพาะเห็ดฟางสำหรับการบริโภคในชุมชน
๑๗. คนตีเหล็ก ผลิตมีด ขวาน เสียม เคียว

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 121
ประเภท ฐานงาน ลักษณะกิจกรรม
๒. การแปรรูป
- มีรายได้ ๑. บ้านยาดี ผลิตยาสมุนไพรต่างๆ
………… ๒. โรงสีโฮมบุญ . .......... สีข้าวกล้องในชุมชน รับซื้อจากภายนอก
โดยเฉพาะสมาชิก
๓. แปรรูป ๑ ข้าวเกรียบสมุนไพร
๔. แปรรูป ๒ ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาร้าเจ
๕. แปรรูป ๓ แปรรูปถั่วเหลือง และกากเต้าหู้
๖. แปรรูป ๔ วุ้นน้ำมะพร้าว
๗. แปรรูป ๕ โจ๊กข้าวกล้อง อาหารเสริมต่างๆ
- ไม่มีรายได้ ๘. โรงหีบอ้อย ผลิตน้ำตาลอ้อยและน้ำอ้อยไว้ใช้ในชุมชน

๓. การบริการ
- มีรายได้ ๑. โรงจักร …………. ตัดเย็บ ซ่อมแซมเสื้อผ้าคนในชุมชน
และเย็บเพื่อขาย
๒. ปั๊มน้ำมันน้อมพระ ... .. ขายน้ำมันราคาถูกให้คนภายนอก
และบริการคนในชุมชนฟรี
๓. ปุ๋ยสะอาด ผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้ในชุมชน
๔. บ้านขยะ บริหารจัดการขยะในชุมชน
๕. โรงกี่ ทอผ้า ทอเสื่อ ใช้ในชุมชนและขาย
๖. จักสาน ทำเครื่องจักสานต่างๆ
ใช้ในชุมชนและขาย
๗. ร้านน้ำใจ เป็นร้านค้าในชุมชนและมีสินค้าภายนอกที่
ไม่ฟุ่มเฟือย
๘. ร้านไร้สารพิษ ร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน
๙. บ้านแชมพู ผลิตแชมพู ครีมนวด น้ำยาล้างจาน
สบู่เหลว น้ำยาขัดห้องน้ำ

122 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ประเภท ฐานงาน ลักษณะกิจกรรม

- ไม่มีรายได้ ๑๐. เก็บผัก/ผลผลิต ......... เก็บผลผลิตต่างๆ ให้โรงครัวเพื่อใช้


ในชุมชนและขาย
๑๑. ย้อมด้าย ย้อมด้ายจากสีธรรมชาติ
๑๒. พรรคเพื่อฟ้าดิน ดูแลเรื่องการจัดอบรมต่างๆ
๑๓. โรงครัว ผลิตอาหารมังสวิรัติเลี้ยงคนในชุมชน
๑๔. โรงเต้าหู้ แปรรูปถั่วเหลืองเป็นน้ำเต้าหู้
น้ำนมถั่วเหลือง
๑๕. อาหารเสริม.. ............ ดูแลเรื่องอาหารเสริม เช่น ซุปข้าวโพด
ซุปงา ข้าวยาคู ให้ชุมชน
๑๖. โรงฟืน จัดหาและผ่าฟืน
๑๗. พลังงานเชื้อเพลิง เตรียมถ่านให้พอเพียงกับการใช้ในชุมชน
๑๘. วิศวกรรม งานก่อสร้างต่างๆในชุมชน
๑๙. ช่างศิลป์ งานศิลปะต่างๆ เช่น ภาพเขียน
๒๐. ช่างไม้ ทำงานไม้ทุกชนิด
๒๑. ช่าง (กล, ไฟฟ้า) ดูแลซ่อมแซมเครื่องยนต์และไฟฟ้า
๒๒. ห้องเครื่องมือ ดูแลรักษาเครื่องมือ บริการยืม-คืน
๒๓. ศาลากลางสวน ดูแลความสะอาดเรียบร้อยศาลาทุกส่วน
๒๔. ช่างตัดผมชาย, สตรี ตัดผมชายและสตรีในชุมชน
๒๕. บรรจุภัณฑ์ บรรจุผลิตภัณฑ์ต่างๆลงหีบห่อ
๒๖. บ้านเวียกหลวง งานด้านเอกสารต่างๆ ติดต่อกับภายนอก
๒๗. กองบุญปัจจัยสี่ บริการปัจจัยสี่ แก่สมาชิกในชุมชนทุกคน
๒๘. บำรุงบวร ซ่อมบำรุง บ้าน วัด โรงเรียน
๒๙. ศาลาบรรพชน .......... ดูแลรักษาพิธีกรรม วิหารพระธาตุ
... และศูนย์วัฒนธรรมบุญนิยม
๓๐. ห้องสมุด ดูแลห้องสมุด บริการยืมหนังสือ
เทปธรรมะ
๓๑. วิทยาลัยเพื่อชีวิต ....... วิจัย ค้นคว้า ทดลอง ตรวจสอบ
ผลผลิตของชุมชน
๓๒. อโรคยาศาลา ดูแลรักษาพยาบาลในชุมชน
๓๓. บ้านยานยนต์ บริการจัดบริหารรถยนต์ และดูแลรถยนต์
๓๔. ประชาสัมพันธ์ ต้อนรับ แนะนำแขกผู้มาเยี่ยมชม
๓๕. การเงิน การบัญชี ดูแลรักษาเงิน และจัดทำบัญชีรับจ่าย

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 123
นอกจากการเรียนตามฐานงานต่างๆในชุมชนแล้ว นักเรียนยังต้องเรียนด้านวิชาอื่น
ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้อีกด้วยคือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ
สังคมศาสตร์
สำหรับตารางเวลาของเด็กนักเรียนของชุมชนศีรษะอโศก ซึง่ เป็นตัวอย่างสำหรับโรงเรียน
สัมมาสิกขาของชุมชนชาวอโศกแห่งอื่นๆนั้น มีดังนี้ ๑๕
๐๔.๐๐-๐๕.๐๐ น. เด็กนักเรียนระดับมัธยม ตื่นนอน
อ่านหนังสือ ทำการบ้าน หรือเรียนพิเศษชดเชย
๐๕.๐๐-๐๖.๐๐ น. เด็กนักเรียนระดับมัธยม ทำงานในโรงเห็ด
เด็กนักเรียนระดับประถม ตื่นนอน
๐๖.๐๐-๐๗.๓๐ น. เด็กนักเรียน แยกย้ายทำงานตามฐานงานทีแ่ ต่ละคนเลือก (มี ๕๙ ฐานงาน)
๐๗.๓๐-๐๘.๓๐ น. อาหารเช้า
๐๗.๓๐-๐๙.๐๐ น. ว่าง
๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ฟังธรรมในวัด
๐๙.๓๐-๑๐.๐๐ น. เคารพธงชาติ
๑๐.๐๐-๑๔.๐๐ น. เข้าชั้นเรียน
๑๔.๐๐-๑๔.๓๐ น. ว่าง
๑๔.๓๐-๑๕.๐๐ น. กิจกรรมแนะแนว (home room)
๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. ทำงาน
๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น. อาหารเย็น
๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น. ว่าง
๑๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. ชมวีดิทัศน์
๒๑.๐๐ น. เงียบ
ทั้งนี้นักเรียนจะเรียนหนังสืออาทิตย์ละห้าวันคือ วันศุกร์-วันอังคาร นอกจากนี้วันหยุด
ประจำสัปดาห์อาจมีกิจกรรมพิเศษอื่นๆเช่น การออกค่าย เป็นต้น ๑๖
อนึง่ นอกจากการเรียนการสอนดังทีก่ ล่าวมาข้างต้นแล้ว ในชุมชนจะมีกระบวนการขัดเกลา
นักเรียนและสมาชิกในสังคมผ่านการเช็คศีลและการชี้ขุมทรัพย์ โดยที่ การเช็คศีลหมายถึง

124 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
การตรวจสอบว่า ภายในหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา เราทำสิ่งไม่ดีที่ละเมิดไปจากศีล ๕ หรือศีลที่
ละเอียดกว่านั้นบ้างหรือไม่ เช่น ฆ่าสัตว์เล็กๆ อย่างมด หรือยุง โดยไม่ได้ตั้งใจ พูดจาส่อเสียด
เพ้อเจ้อ แอบหลับในตอนกลางวัน เป็นต้น การเช็คศีลอาศัยความซื่อสัตย์ต่อตนเองเป็นสำคัญ
เมือ่ รูต้ วั และยอมรับว่าตนผิดพลาดไปแล้วก็ตอ้ งแก้ไขและพัฒนาให้ดขี น้ึ ไปกว่าเดิม ขณะทีก่ ารชีข้ มุ ทรัพย์
หมายถึง การยอมให้ผู้อื่นชี้ข้อบกพร่องของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อแก้ตัวใดๆทั้งสิ้น
ผู้ถูกชี้ขุมทรัพย์จะต้องพนมมือรับฟังข้อบกพร่องของตนอย่างนอบน้อม เมื่อผู้อื่นวิจารณ์เสร็จสิ้น
ก็ต้องกล่าวสาธุและขอบคุณเขา๑๗ ทั้งนี้และทั้งนั้น เด็กนักเรียนจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ของชุมชนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิง่ การถือศีล ๕ รวมถึงการรับประทานอาหารมังสวิรตั ิ
การเดินเท้าเปล่า การสวมใส่เสื้อผ้าที่เรียบง่ายสีน้ำเงิน ฯลฯ ๑๘

๔. การศึกษาทางเลือกในชุมชนทางเลือก
๔.๑ การศึกษา “บุญนิยม” และ ระบบสาธารณโภคี
เนื่องจากว่า ชุมชนชาวอโศกจัดให้มีการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนตามความต้องการ
ของชุมชนเอง อีกทั้ง นักเรียนในชุมชนเกือบทั้งหมดเป็นลูกหลานของสมาชิกในชุมชนเอง รวม
ถึงสมาชิกของเครือข่ายชาวอโศกและญาติธรรม ดังนั้น นักเรียนทุกคนที่ได้ผ่านการทดสอบ
การใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชนและเข้าค่ายฝึกอบรม (ค่ายยุวพุทธกสิกรรม) และได้รับการคัดเลือก
ให้เข้าเรียนในชุมชนศีรษะอโศก (และชุมชนอื่นๆของชาวอโศก) จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร
(โปรดดูประกาศรับสมัครนักเรียน ในภาคผนวก ก. และ ข. ประกอบด้วย) ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากชุมชน
ชาวอโศกนำเอาหลักการสาธารณโภคีมาใช้ในการใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งรวมถึงด้านการศึกษาด้วย
ในส่วนนี้สมณะโพธิรักษ์ได้ให้อรรถาธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบสาธารณโภคี
ของชาวอโศกกับการศึกษา “บุญนิยม” เอาไว้อย่างชัดแจ้ง ซึ่งถือเป็น “ปรัชญาการศึกษาของ
ชาวอโศก” ได้เป็นอย่างดี ดังนี้
“สังคมล้มเหลว เพราะการศึกษาในกล่อง
ถ้าเผื่อมาปฏิบัติธรรมแล้ว จิตอำมหิต จิตพยาบาท จิตโกรธ มันก็น้อยลงมัน
ก็ไม่มีความรุนแรง มันก็มีแต่จิตเมตตา จิตเกื้อกูล จิตเอื้อเฟื้อ ลูกคนนั้นก็เหมือนลูกเรา
หลานคนนี้ก็เหมือนหลานเรา แล้วเด็กก็จะอยู่ที่นี่ การศึกษาบุญนิยมเด็กไม่ได้อยู่ในกรอบ
เอาเข้ากล่อง ห้องเรียน เดีย๋ วนีส้ งั คมทุนนิยมโลกียน์ น้ั ตัง้ แต่อนุบาลยันปริญญาเอก ถูกจับเข้ากล่อง
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 125
นั่งเรียนอยู่แต่ในห้องเรียน เป็นกล่อง ตื่นเช้าไปส่งลูกไปโรงเรียน เข้ากล่อง เย็นรับกลับมา
ทำการบ้านหรือยังลูก? ทำแล้ว นอน! เช้าไปส่งเข้ากล่อง ลูกขาดจากความสัมพันธ์
ในครอบครัว ขาดจากมนุษย์สัมพันธ์ในสังคมที่ตัวเองอยู่ ขาดการรู้ความเป็นอยู่จริงของสังคม
รอบบ้านรอบเมืองของตนแท้ๆ ยิ่งส่งลูกไปอยู่เมืองนอกเลยตั้งแต่เด็ก ลูกไม่รู้จักพ่อแม่
รูโ้ ดยจดหมายโดยโทรศัพท์ ไม่รจู้ กั ครอบครัว ไม่รจู้ กั สังคมทีต่ วั เองเป็นอยู่ แต่เขาถือว่านี่คือการ
ศึกษาของโลก เป็นความเจริญรุ่งเรือง และคนที่จบจากเมืองนอกชนิดนี้แหละ ที่เป็นผู้บริหาร
บ้านเมืองมามากมาย ประเทศไทยทุกวันนี้จึงเป็นแบบนี้ แม้แต่ชุดนุ่งห่มประจำชาติไทยของ
คนไทยในสังคมระดับสูงไม่มใี ห้เห็นแล้ว ไม่ตอ้ งไปพูดถึงการกินอยู่ บ้านเรือน ค่านิยม พฤติกรรม
วัฒนธรรมหรืออะไรมากไปกว่านี้เลย เห็นไหมว่า ไทยเสื่อมสูญไปได้อย่างไร ?!!
อาตมาจะพูดถึงการศึกษาให้ฟังนิดหนึ่ง การศึกษาแบบทุกวันนี้นี่ มันเป็นการศึกษา
ที่ตัดคนออกไปจากสังคมตั้งแต่ครอบครัวจนกระทั่งสังคมที่ตัวเองอยู่ ยิ่งไปนิยมต่างประเทศ
ก็ส่งไปเรียนตั้งแต่เด็กเลย เสร็จแล้วจบดอกเตอร์มาตั้งราคาดอกเตอร์ไว้แล้วว่านี่คือผู้มีความรู้ที่
จะมาบริหารประเทศ ความจริงไม่มีความรู้สัจจะแห่งวิถีชีวิตของคนไทย จบรัฐศาสตร์มาก็ตาม
จบเศรษฐศาสตร์มาก็ตาม ไม่ได้มีความรู้ของสังคม ไม่ได้มีความรู้ว่าภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
ชีวิตไทย วิญญาณไทยที่เป็นอยู่ของชาติ ยังไง ก็ไม่รู้ลึกแท้ ไปเอากฎเอาหลักของวัฒนธรรม
ต่างชาติ สังคมอย่างต่างชาติเข้ามา และคนเหล่านีแ้ หละทีม่ โี อกาสได้บริหารประเทศ และบริหาร
ประเทศสืบต่อกันมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ นี่คือการศึกษาที่คนไทยได้จากผู้เอามาใส่ให้คนไทย
ก็เป็นเช่นนี้
แต่ก่อนนี้การศึกษาของไทยนั้น การศึกษาอยู่ที่วัด อยู่ที่ศาสนา อยู่ที่ธรรมะเป็นหลัก
แต่เดี๋ยวนี้ดึงออกไปหมดแล้ว ไปเป็นการศึกษาแบบโลกตะวันตก ปิดความสัมพันธ์จริงที่เป็น
ชีวิตของไทย ของสังคมจริงของตน ไม่ได้อยู่ในสังคมจริงของตัวเอง อยู่ในกล่องห้องสี่เหลี่ยม
แล้วก็ครอบงำทางความคิดความรู้ ตามความรูข้ องผูท้ ร่ี ขู้ องตะวันตก ของคนของสังคมทีต่ า่ งภูมิ
ชีวติ กับของไทย เรียนแบบตะวันตกหมด ทัง้ วิธกี ารคือ อยูใ่ นกล่องเป็นหลัก มีตารางเวลาเรียนกัน
เรียนๆๆๆ ความรู้มากๆล้น แต่ความเป็นสังคมและวิญญาณไทยหายไป
แต่ถ้ามาเรียนในชุมชน ก็ไม่จำเป็นต้องมีตารางเวลา (timetable) ว่าชั่วโมงนี้จะ
ต้องเรียนวิชานี้ ชั่วโมงนั้นต้องเรียนวิชานั้น อย่างนี้ไม่ต้อง เอาตามสะดวก เพราะฉะนั้นการ

126 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ศึกษาที่นี่เป็นการศึกษาบุญนิยม นักเรียนที่นี่ไม่ต้องอยู่แต่ในห้องเรียน ไม่ถูกจับยัดเข้ากล่อง
ทีไ่ หนเป็นห้องเรียนก็ได้ ศาลานีว้ า่ ง มาเรียนทีน่ ่ี บ้านโน้นว่างเรียนทีโ่ น่น ใต้รม่ ไม้วา่ ง เรียนใต้รม่ ไม้
ลานตรงนั้นว่างเรียนที่ลาน โดยเฉพาะฐานงานหน่วยงานต่างๆ ที่มีในชุมชนหมู่บ้านจริง เป็น
แหล่งเรียนหมดและเป็นแหล่งเรียนอย่างสำคัญกว่าในห้องเรียนด้วย เวลาที่มีอบรมก็มาช่วยกัน
อบรม นักเรียนก็มาช่วย นักเรียนไม่ได้แตกแยกจากสังคมชุมชน ไม่ได้แตกแยกจากครอบครัว
รู้ครอบครัวของตัวเอง เพราะครอบครัวก็มาอยู่กับหมู่อยู่กับสังคม พ่อแม่พี่น้องลูกหลาน
ชาวบ้านมิตรสหายอยู่กันอย่างสอดประสาน เป็นการเรียนที่สัมพันธ์กับสังคมปกติชีวิตแท้จริง
อยู่อย่างปฏิสัมพันธ์กันทั้งหมด โดยเฉพาะมีทั้งสมณะทั้งศาสนาอยู่ร่วมกัน มีศีลมีธรรม เด็ก
ตั้งแต่แรกเกิดไปจนแก่ รู้เห็นเป็นชีวิตสมบูรณ์
เพราะฉะนั ้ น จะซั บ ทราบรู ้ ก ั น หมดว่ า อะไรเป็ น อะไร เด็ ก คนนั ้ น ถนั ด อั น นั ้ น
เด็ ก คนนี ้ ถ นั ด อั น นี ้ อยู ่ ใ นหมู ่ บ ้ า นของเรา อยู ่ ใ นสั ง คมของเรามั น มี อ ะไรบ้ า ง อ๋ อ ...
เด็กคนนั้นสนใจอันนี้ เราก็รู้ก็ปล่อยให้ทำถ้าเขาสมเหมาะสมควรอยู่ในวัยทำได้ วัยนี้ยังทำไม่ได้
เอาไว้ก่อน ศึกษางาน ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาวิถีการดำเนินชีวิต การศึกษาพวกนี้ก็ไม่ได้
แยกแตกออกจากครอบครัวออกจากสังคม ไม่ได้แตกออกจากความเป็นจริงของมนุษยชาติ
จบแล้วก็ไม่หนีจากตรงนี้ จบแล้วก็รู้จักสังคมของตนจริง จบแล้วก็สืบทอดความเป็นมนุษย์
สังคมนี้ไปอย่างไม่ผิดเพี้ยนพิกล ไม่แปรเปลี่ยนไม่แปรปรวน ไม่เอาอะไรเข้ามาเป็นเชื้อโรค
เข้ามาเป็นพิษเป็นภัยมากมาย ทุกอย่างก็ถูกต้องลงตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่รับรู้ผู้อื่น
ไม่รับความรู้อื่น ไม่เอาอย่างอื่นเลย เรารู้ เราเลือกสรร เราสร้างสรร สร้างสรรไม่มีคอการันต์
ไม่ใช่เอาแต่สร้างสรรค์ตะพึดตะพอง สร้างสรรค์ที่มีคอการันต์ “สรรค์” ที่มีคอการันต์ แปลว่า
“สร้าง” ซึ่งก็ “สร้าง” ซ้ำกับคำแรก แต่คำว่า “สรร” ไม่มีคอการันต์ แปลว่า เลือก คัด เฟ้น
สร้างสรรจึง “สร้าง” อย่างเลือกสรร “เลือกสร้าง” ไม่ใช่ “สร้าง” อย่าง “สร้างๆ” ไปตะพึด
ไม่เลือก
อาตมาภาคภูมิใจมากเลยในธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ถึงขั้นสาธารณโภคี นี่ยิ่งมา
ถึงยุคนี้สมัยนี้ ยิ่งเป็นการพิสูจน์ยืนยันสังคมมนุษยชาติ อย่างสง่าผ่าเผยมากเลย เพราะว่า...
มันยิง่ ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เกิดการเห็นคูเ่ คียงกันชัดว่า สังคมโลกียก์ บั สังคมโลกุตระ สังคม
ทุนนิยมกับสังคมบุญนิยม มันเปรียบเทียบกัน มันสามารถที่จะนำมาอธิบาย มาแสดงให้รู้เห็น
บทบาทวิถชี วี ติ การดำเนินชีวติ การเป็นอยู่ การนำพาชีวติ ให้ดำเนินไปแต่ละวันแต่ละเดือนแต่ละปี
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 127
หรือยิง่ รวมเป็นหมูก่ ลุม่ เป็นคณะเป็นสังคมกลุม่ กันแล้ว แล้วมีวถิ กี ารดำเนินชีวติ ตามแบบสาธารณโภคี
หรือแบบโลกุตระนี่แหละ มันยิ่งเห็นชัดเจนถึงความสงบสุข นอกจากสงบสุขแล้วยังมีความ
อุดมสมบูรณ์ด้วย คำว่า อุดมสมบูรณ์คำนี้นั้น เราจะอยู่กันแบบ “พึ่งตนเองได้” จริงๆอย่าง
พอเพียงในสังคมตน และสามารถที่จะมีเหลือแจกจ่ายเจือจานเกื้อกูลคนอื่นๆ สังคมอื่นเขาได้
นี่คือ ความหมายของคำว่าอุดมสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสะสมหอบหวงกอบโกยไว้เป็น
ของตนมากมายเลย เพราะเรามั่นใจในการ “สะพัด” และ “สร้างสรร” ขยันเพียรตามสมรรถนะ
แห่งความเป็นคนของเราทุกคน จึงไม่มีวันหมด ไม่มีวันขาดแคลน ทรัพย์มันคือคุณสมบัติอยู่
ในตัวคน มันคือสมรรถนะกับความขยันของคน ที่ทำทุกวัน ขยันทุกวัน เป็นทรัพย์ที่ยิ่งใช้
ยิ่งงอกยิ่งมาก ไม่มีหมด ใครแย่งทรัพย์อันนี้ของใครไปก็ไม่ได้ เราทำทุกวัน ก็เป็นทรัพย์ทุกวัน
แต่เรากินน้อยใช้น้อย จึงมีส่วนเหลือจุนเจือสังคม จึงอุดมสมบูรณ์ แม้แต่ละคนจะ “จน” ไม่
สะสมวัตถุทรัพย์ไว้เป็นของตนแบบชาวโลกียท์ นุ นิยม แต่เราสร้างทุกวันทำงานทุกวัน ทุกคนต่าง
ก็สร้างต่างทำงาน แต่ไม่หอบไปเป็นของตน ส่วนเกินส่วนเหลือมันก็มารวมกัน ของส่วนกลาง
จึงมีมากพอกินพอใช้อยู่เสมอ เพราะเรากินใช้เป็นส่วนรวมร่วมกันอย่างไม่แย่งชิง ไม่หวงแหน
ไม่ตา่ งก็แบ่งส่วน เอาไปเป็นของตนๆ ทุกคนสร้างแล้วสะพัดทันที ไม่ยดึ เป็นของตัวของตน” ๑๙
อนึง่ นักเรียนทีเ่ ข้ามาศึกษาในโรงเรียนสัมมาสิกขาของชุมชน เมือ่ ศึกษาจบหลักสูตรแล้ว
ยังมีความประสงค์ทจ่ี ะเป็นสมาชิกของชุมชนและต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสถาบัน
การศึกษาของรัฐก็สามารถทำได้ (รวมทั้งกรณีที่ต้องการทำงานในชุมชนและเรียนหนังสือไปด้วย
ในเวลาเดียวกัน) ทั้งนี้ชุมชนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆให้ทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้อง
กลับไปทำงานที่ชุมชนเมื่อศึกษาเล่าเรียนจบแล้ว ๒๐
๔.๒ เด็กนักเรียนและครู ในโรงเรียนสัมมาสิกขา ชุมชนศีรษะอโศก ๒๑
จำนวนเด็กนักเรียนในชุมชนศีรษะอโศกในช่วงปี ๒๕๔๓ นั้นมีทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐ คน
ทัง้ ในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทัง้ นีจ้ ะเป็นเด็กทีม่ าจากทุกภูมภิ าคของประเทศ
และภูมิหลังของครอบครัวที่หลากหลายแตกต่างกัน กล่าวคือ
จากการสำรวจภาคสนามของกิตติกร สุนทรารักษ์ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๓
นั้น ปรากฏว่า ในชุมชนศีรษะอโศกมีจำนวนนักเรียนเป็นประชากรส่วนข้างมากของชุมชน
กล่าวคือ มีนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษารวมกันทั้งสิ้น ๒๑๐ คน

128 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ ๖๕ ของประชากรทั้งหมดในชุมชน ทั้งนี้นักเรียนระดับมัธยม
ศึกษาซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญในการทำงานตามฐานงานต่างๆของชุมชนนั้นมีมากถึง ๑๖๐
คนหรือคิดเป็นร้อยละ ๔๙ ของประชากรทั้งหมดทีเดียว
สำหรับภูมิหลังของผู้ปกครอง(บิดา/มารดา)ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ตอบแบบ
สอบถามจำนวน ๑๓๕ รายจากทัง้ หมด ๑๖๐ ราย (หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ ๘๕) ปรากฏว่า
มีสัดส่วนดังนี้คือ
ชาวนา/เกษตรกร จำนวน ๘๕ ราย (ร้อยละ ๖๓)
รับราชการ จำนวน ๑๙ ราย (ร้อยละ ๑๔)
ค้าขาย จำนวน ๑๕ ราย (ร้อยละ ๑๑)
รับจ้างและลูกจ้างเอกชน จำนวน ๑๓ ราย (ร้อยละ ๑๐)
อาชีพอื่นๆ จำนวน ๓ ราย (ร้อยละ ๒)
ส่วนภูมิลำเนาเดิมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน ๑๓๕ คนนั้น ปรากฏดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๘๒ คน (ร้อยละ ๖๑)
ภาคเหนือ จำนวน ๓๕ คน (ร้อยละ ๒๖)
กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน ๑๑ คน (ร้อยละ ๘)
ภาคกลาง จำนวน ๒ คน (ร้อยละ ๑.๕)
ไม่ระบุภูมิลำเนาเดิม จำนวน ๕ คน (ร้อยละ ๓.๕)
สำหรับครูผสู้ อนในโรงเรียนสัมมาสิกขา จะมี ๓ ลักษณะคือ (โปรดดูประกาศรับสมัคร
ครูในภาคผนวก ค. ประกอบด้วย)
๑. ครูประจำชัน้ เป็นครูทจ่ี ะดูแลเด็กนักเรียนอย่างใกล้ชดิ ทัง้ ในเรือ่ งศีลธรรมและการ
ใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนคอยดูแลเป็นที่ปรึกษาให้แก่เด็กนักเรียน
๒. ครูประจำวิชาการ จะเป็นครูที่เน้นการสอนด้านวิชาการที่สำคัญได้แก่ ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยสามารถนำความรู้ด้านวิชาการ
เหล่านี้มาปรับใช้กับชุมชน และควบคู่ไปกับคุณธรรม
๓. ครูประจำฐานงาน เป็นสมาชิกในชุมชนศีรษะอโศก โดยจะเป็นใครก็ได้ในชุมชนที่

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 129
มีความรู้ความสามารถความถนัด ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมต่างๆในชุมชนของแต่ละ
ฐานงาน ซึง่ การสอนจะเน้นทีเ่ ด็กนักเรียนรูจ้ กั ใช้ชวี ติ และภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ เพือ่ ความเป็นอันหนึง่
อันเดียวกันกับธรรมชาติ และให้สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ในอนาคต ๒๒
จากการวิจยั ภาคสนามทีช่ มุ ชนศีรษะอโศกในช่วงปี ๒๕๔๓ Juliana Essen (ค.ศ.๒๐๐๕)
ระบุจำนวนผู้ที่ทำงานให้กับชุมชนศีรษะอโศกในขณะนั้นว่า มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๗ คน เป็นชาย
๑๓ คน และหญิง ๒๔ คน บุคคลเหล่านีท้ ำหน้าทีห่ ลากหลายแตกต่างกันไปตามความถนัด เช่น
บริหารจัดการดูแลชุมชน ดูแลร้านค้าชุมชน การเพาะปลูก การทำอาหาร และการแปรรูปผลผลิต
ฯลฯ อาจถือได้วา่ คนเหล่านี้ ซึง่ มีสถานะเป็นทัง้ สมณะ คนวัด และชาวชุมชน (รวมนักศึกษาผูใ้ หญ่
หรืออุดรศึกษาด้วย) ต่างก็ทำหน้าที่เป็น “ครู” ของโรงเรียนสัมมาสิกขาแห่งนี้
อนึ่ง ในปีเดียวกันนี้ จากการสำรวจของกิตติกร สุนทรานุรักษ์ (๒๕๔๓) พบว่า
ในชุมชนศีรษะอโศกนั้นมีสมาชิกผู้ใหญ่ซึ่งมีสถานะเป็นทั้ง สมณะ คนวัด และชาวชุมชน
(รวมนักศึกษาผู้ใหญ่ หรืออุดรศึกษาด้วย) จำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๐๘ คน (ชาย ๔๗ คน และหญิง
๖๑ คน) ฉะนั้น “ครู” ของโรงเรียนสัมมาสิกขาแห่งนี้จำนวน ๓๗ คน จึงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
๓๔ ของประชากรผู้ใหญ่ในชุมชน
ดังนั้น “ครู” จำนวน ๓๗ คนข้างต้นนี้นับว่าไม่มาก เพราะนอกจากให้ความรู้ด้าน
วิชาการและปฏิบัติการ ตลอดจนการอบรมด้านศีลธรรมและความประพฤติต่างๆแก่นักเรียน
จำนวนกว่า ๒๐๐ คนแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจอื่นๆ ในชุมชนอีกด้วย
และที่สำคัญครูทุกคนสอนโดยไม่มีค่าตอบแทน
เนื้อหาในส่วนต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึงภูมิหลังด้านต่างๆของครูจำนวน ๓๗ คน
(จากการสำรวจบันทึกภาคสนามของ Juliana Essen (๒๐๐๕))
๑) ภูมิหลังด้านการศึกษา “ครู” จำนวน ๓๗ คนข้างต้น มีภูมิหลังด้านการศึกษา
ดังนี้
ปริญญาตรีและสูงกว่า จำนวน ๑๖ คน (ร้อยละ ๔๓)
มัธยมศึกษา จำนวน ๗ คน (ร้อยละ ๑๙)
ประถมศึกษา จำนวน ๑๓ คน (ร้อยละ ๓๕)
ไม่ได้เรียนหนังสือ จำนวน ๑ คน (ร้อยละ ๓)

130 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
๒) ภูมิหลังด้านอาชีพการงานของ “ครู” จำนวน ๓๗ คนข้างต้นมีดังนี้
ครู/อาจารย์ จำนวน ๗ คน (ร้อยละ ๑๙)
ชาวนา/เกษตรกร จำนวน ๗ คน (ร้อยละ ๑๙)
พ่อค้า/แม่ค้า จำนวน ๕ คน (ร้อยละ ๑๓.๕)
นักเรียน/นักศึกษา จำนวน ๘ คน (ร้อยละ ๒๑.๕)
ประกอบอาชีพอื่นๆ จำนวน ๙ คน (ร้อยละ ๒๔)
ไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน ๑ คน (ร้อยละ ๓)
๓) ภูมิลำเนาเดิมของ “ครู” จำนวน ๓๗ คน มีดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒๗ คน (ร้อยละ ๗๓)
(ทั้งนี้ มี “ครู”ที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษมากถึง ๑๕ คน)
กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน ๔ คน (ร้อยละ ๑๑)
ภาคกลาง จำนวน ๓ คน (ร้อยละ ๘ )
ภาคเหนือ/ภาคตะวันออก/ และภาคใต้ ภาคละ ๑ คน รวม ๓ คน
(คิดเป็นร้อยละ ๘)
ข้อสังเกตประการหนึ่งในหัวข้อนี้ก็คือ ภูมิหลังของสถานะทางด้านอาชีพ และภูมิ
ลำเนาเดิมระหว่างของครู กับ นักเรียน ในโรงเรียนสัมมาสิกขาของชุมชนศีรษะอโศกดูจะไม่
ค่อยแตกต่างกันมาก หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ทั้งสองกลุ่มมีสถานภาพทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันคือ เป็นชนชั้นกลางระดับล่างของสังคมไทย และมีภูมิลำเนา
อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔.๓ “กลุ่มทางประวัติศาสตร์” (Historical Bloc) และ การผลิตและการหล่อหลอม
ปัญญาชนของชุมชนชาวอโศก (Formation of The Asoke’s Organic Intellectuals)
จากการศึกษาวิจยั ล่าสุดเกีย่ วกับชุมชนชาวอโศกของ อภิญญา เฟือ่ งฟูสกุล ในปี ๒๕๕๓
ได้ระบุเรือ่ งหนึง่ ทีส่ ำคัญมากเกีย่ วกับการศึกษา “บุญนิยม”ว่า ในปัจจุบนั ชุมชนชาวอโศกได้ขยาย
กิจกรรมทางด้านการศึกษาออกไปอย่างมาก มีจำนวนนักเรียนในโรงเรียนสัมมาสิกขาจำนวนทัง้ สิน้
ถึง ๙ แห่ง ประมาณ ๕๐๐ คนทั่วประเทศ ๒๓ (โปรดดูประกาศรับสมัครนักเรียนในภาคผนวก
ก. ประกอบด้วย)

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 131
ในด้านหนึง่ การหล่อหลอมตัวเองเข้าด้วยกันของบรรดาสมาชิกของชุมชนทีม่ ภี มู หิ ลังที่
แตกต่างกันค่อนข้างมากทัง้ ทางด้านการศึกษาและอาชีพ ดังจะเห็นได้จาก “ครู” จำนวน ๓๗ คน
ที่มีชีวิตอยู่ภายใต้บริบทของชุมชนชาวศีรษะอโศกและสมาชิกชุมชนคนอื่นๆที่ได้ร่วมกันก่อสร้าง
ชุมชนแบบใหม่ทถ่ี กู จัดสร้าง (constructed) มาตัง้ แต่ตน้ ด้วยน้ำมือของตัวเองนัน้ จนสามารถสร้าง
“อัตลักษณ์” ของตัวเอง (self identity) ของกลุ่มชาวอโศก ตลอดจนการผลิตซ้ำเชิงอุดมการณ์
ในชีวติ ประจำวัน (ideological reproduction in everyday life) ผ่านความสัมพันธ์ทางสังคม
ระหว่างชาวอโศกกับชาวบ้านทีต่ ดิ ต่อสือ่ สารสัมพันธ์กนั ทัง้ ทางเศรษฐกิจและศาสนา อาจตีความ
กลุ่มชาวอโศกได้ว่าเป็น “กลุ่มทางประวัติศาสตร์” (Historical Bloc) ในทัศนะของ Antonio
Gramsci (ค.ศ.๑๘๙๑-๑๙๓๗) นักปรัชญามาร์กซิสต์ชาวอิตาเลียนคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่
๒๐ ๒๔
ในอีกด้านหนึ่ง ก็อาจกล่าวในที่นี้ได้เช่นกันว่า การจัดการศึกษา “บุญนิยม”
ของชุมชนชาวศีรษะอโศกนัน้ (รวมถึงชุมชนชาวอโศกในทีอ่ น่ื ๆ) ถือได้วา่ เป็นกระบวนการของการ
ผลิตและการหล่อหลอมปัญญาชนของชุมชนชาวอโศกเอง (The Asoke’s Organic Intellectual)
เพื่อทำการสืบทอดอุดมการณ์ “บุญนิยม” ของชุมชนชาวอโศกชุมชนทวนกระแสที่ได้ผ่านการ
ต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ในสังคมไทยมาตั้งแต่ทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นต้นมา และต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้และทั้งนั้น การศึกษา “บุญนิยม” ของชุมชนชาวศีรษะอโศก ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
เป็นนวัตกรรมทางเลือกการศึกษาแบบหนึ่ง และมีผลสืบเนื่องอย่างสำคัญต่อชุมชนชาวอโศกเอง
เพราะสามารถใช้เป็นดัชนีชว้ี ดั ถึงการผลิตซ้ำบุคลากรทีจ่ ะเข้ามาแบกรับการสืบทอดอุดมการณ์ตอ่
จากกลุ่มสมาชิกชุมชนรุ่นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา “ครู” ทั้งหลาย เราอาจเรียกขาน
สมาชิกรุน่ ใหม่ของชุมชนชาวอโศกเหล่านีว้ า่ เป็น “ปัญญาชนของชุมชน” ในทัศนะของ Antonio-
Gramsci ๒๕

132 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
เชิงอรรถและอ้างอิง
๑. การศึกษาทางเลือก หรือ ทางเลือกการศึกษา ในทีน่ ใ้ี ช้ในความหมายทีก่ ว้าง กล่าวคือ หมายถึง
การศึกษาแบบอื่นๆที่ไม่ได้เป็นการศึกษากระแสหลักดังที่มีอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบันนี้
๒. จุดประกายวรรณกรรม “ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา กับ คู่มือสร้างเด็กให้เป็นคนดีสู่
สังคมไทย” กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓ หน้า ๑๐
๓. เนื ้ อ หาในส่ ว นนี ้ อ ้ า งจาก กนกศั ก ดิ ์ แก้ ว เทพ. (๒๕๕๒). “ชุ ม ชนแห่ ง การให้ :
กรณีศกึ ษาชุมชนชาวอโศก” ใน มรรควิธเี ศรษฐศาสตร์การเมือง(๓) : เศรษฐศาสตร์แห่งการให.้
ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า ๔๔-๔๕.
๔. ประเวศ วะสี (๒๕๓๘), อ้างใน สุวดิ า แสงสีหนาท. (๒๕๔๗) “การพัฒนาทางเลือกในประเทศไทย
: กรณีศกึ ษาชุมชนพุทธชาวอโศก” หน้า ๔ http://www.google.com/search?q=cahe:
gllYi98LBewJ:www.ipem.net/documents/thai-select.pdf... (วันที่ ๑๗/๒/๒๕๔๙)
๕. สุวิดา เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๕
๖. เนื้อหาในส่วนนี้อ้างจาก กนกศักดิ์ แก้วเทพ, อ้างแล้ว, หน้า ๔๖-๔๘ และหน้า ๗๐-๗๑
ส่วนเนื้อหาตอนใดที่ต้องการเน้นเป็นการเฉพาะก็จะใส่เชิงอรรถกำกับเอาไว้
๗. สมณะโพธิรักษ์, สัมภาษณ์ อ้างใน อรศรี งามวิทยาพงศ.์ (๒๕๔๖). “กระบวนทัศน์และ
การจัดการความยากจนในชนบทของรัฐในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑-๘ : พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๔๔”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(การบริหารสังคม), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์ หน้า ๒๗๒-๒๗๓.
๘. ขัต ติ ย า ขั ต ิ ย วรา. (๒๕๔๗). “การก่อรูปทางอัตตลั ก ษณ์ ข องขบวนการเคลื ่ อ นไหว
ทางศาสนา : กรณีศึกษา ชุมชนสันติอโศก”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ๘๓. และดูเพิม่ เติม ใน Suwida
Sanegsehanat. (2004). “Buddhist Economics and The Asoke Buddhist Com
munity”, The Chulalongkorn Journal of Buddhist Studies, vol.3, no.2, pp.278-279.
๙. ดูประเด็นนีเ้ พิม่ เติมใน Juliana Essen. (2005). “Right Development”: The Santi Asoke
Buddhist Reform Movement of Thailand. Lanham: Lexington Books, p. 46.
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 133
๑๐. การศึกษา “บุญนิยม” เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบ “บุญนิยม” อันเป็นชุดคำสอนที่สำคัญมาก
ทีค่ ดิ ค้นขึน้ มาโดยสมณะโพธิรกั ษ์ จากการประยุกต์หลักคำสอนเรือ่ งสัมมาอริยมรรคองค์ ๘
ซึง่ เป็นแนวทางในการปฏิบตั ธิ รรมเพือ่ การพ้นทุกข์และการเป็นอิสระ โดยมุง่ เน้นให้คนมีความ
เสียสละ ทั้งนี้ สมณะโพธิรักษ์นำเอาระบบ “บุญนิยม” มากำหนดแนวทางการปฏิบัติและ
การสร้างชุมชนของชาวอโศกในด้านต่างๆ อันได้แก่ ศาสนาบุญนิยม เศรษฐศาสตร์บญุ นิยม
ธุรกิจบุญนิยม อาชีพบุญนิยม สังคมบุญนิยม การศึกษาบุญนิยม วัฒนธรรมบุญนิยม
การสื่อสารบุญนิยม และการเมืองบุญนิยม โปรดดูรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมได้ใน
รัตนา โตสกุล และคณะ. (๒๕๔๘) “ชุมชนศีรษะอโศก” ใน เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ
: ภูมิปัญญาในการจัดการความรู้ของชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
หน้า ๑๘๐-๑๘๘.
๑๑. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน รัตนา โตสกุล และคณะ, เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๗๗-๑๘๐
๑๒. Juliana Essen, op.cit., p. 45 สำหรับข้อความที่เน้นเป็นการเน้นโดยผู้เขียน และ
โปรดเปรียบเทียบข้อความตอนนี้กับทัศนะของ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในเรื่องนี้
ตอนต้นของบทความนี้ด้วย
๑๓. รัตนา โตสกุล และคณะ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๘๗ และ Juliana Essen, op.cit., pp. 64-68.
๑๔. รัตนา โตสกุล และคณะ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๒-๑๗๔
๑๕. Marja-Leena Heikkila-Horn. (1998). Buddhism with Open Eyes: Belief and Practice
of Santi Asoke. Bangkok: Fah Apai Publishing. pp.56-58. ทั้งนี้ผู้เขียนได้แก้ไข
จำนวนฐานงานให้ทันสมัยขึ้นจากเดิม ๒๑ ฐาน เป็น ๕๙ ฐาน
๑๖. Juliana Essen, op.cit., pp.62,68.
๑๗. อจั ฉรีย์ ทองคำเจริญ. (๒๕๔๒). “รูปแบบการทำกสิกรรมธรรมชาติเพือ่ การพึง่ ตนเองของ
กลุ่มสันติอโศก : กรณีศึกษาชุมชนศีรษะอโศก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ”.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า ๔๐ และ Juliana Essen, op.cit., p.45.

134 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
๑๘. รัตนา โตสกุล และคณะ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๘
๑๙. สมณะโพธิรกั ษ.์ (๒๕๔๐). สาธารณโภคี เศรษฐกิจชนิดใหม่ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กลัน่ แก่น
หน้า ๑๔๗-๑๔๙.
๒๐. รัตนา โตสกุล และคณะ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๙-๑๘๐
๒๑. ข้อมูลและตัวเลขในส่วนของเด็กนักเรียนนี้ ผู้เขียนอ้างจากผลการศึกษาที่ยอดเยี่ยมของ
กิตติกร สุนทรานุรกั ษ์. (๒๕๔๓). “การพัฒนาชุมชนพึง่ ตนเอง: กรณีศกึ ษาชุมชนศีรษะอโศก”.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร,์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หน้า ๑๐๘ และหน้า ๑๑๑. ส่วนข้อมูลและตัวเลขทีเ่ กีย่ วกับครู อ้างจาก Juliana Essen, op.cit.,
Appendix A (Table 1 and 2)
๒๒. รัตนา โตสกุล และคณะ, อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๘-๑๗๙
๒๓. Apinya Fuengfusakul. (2010). ”Santi Asoke : the Buddhist Outcast Movement
in Thailand”, a paper presented at the International Conference : Communi-
ties of Becoming in Southeast Asia, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai
University, Thailand, March 5-6, 2010, p.8.
๒๔. ในทัศนะของ Antonio Gramsci (ค.ศ.๑๘๙๑-๑๙๓๗) นักปรัชญามาร์กซิสต์ชาวอิตาเลียน
คนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นั้น เขาต้องการที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดการใช้เกณฑ์ทาง
เศรษฐกิจเรื่องชนชั้น (class) ของมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม ซึ่งนอกจากจะมีลักษณะเป็น
นามธรรมและง่ายเกินไปแล้ว ยังไม่คอ่ ยสอดคล้องกับเงือ่ นไขสภาพความเป็นจริงของสังคม
อีกด้วย โดย Gramsci เสนอให้ทำการวิเคราะห์ชว่ งเวลาทางประวัตศิ าสตร์ (conjuncture
analysis) ว่า ในแต่ละช่วงเวลานั้นมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆในสังคมแบบใดบ้าง
และกลุม่ แต่ละกลุม่ ทางเศรษฐกิจมี “การรวมตัวเฉพาะกิจ” ระหว่างกันอย่างไรในบริบททาง
ประวัติศาสตร์ และ Gramsci เรียกรูปแบบที่เกิดขึ้นนี้ว่า “กลุ่มทางประวัติศาสตร์”

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 135
(Historical Bloc) ดูรายละเอียดจาก กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน.
(๒๕๕๑). “ทฤษฎีมาร์กซิตม์แนวมนุษยนิยม : อันโตนิโย กรัมชี” ใน สายธารแห่งนักคิด
เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสือ่ สารศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. หน้า ๑๘๔-๑๘๙.
๒๕.มโนทัศน์เรื่อง “ปัญญาชนของชุมชน” (Organic Intellectual) ของ Antonio Gramsci
นั้น เขาคิดค้นขึ้นมาเพื่อจำแนกแยกแยะสถานภาพของปัญญาชนในขบวนการเคลื่อนไหว
ทางการเมืองให้ชดั เจนขึน้ เพราะแต่เดิมนัน้ ปัญญาชนแบบดัง้ เดิม (Traditional Intellectual)
ซึ่งหมายถึงกลุ่มนักคิดผู้ผลิตและเผยแพร่อุดมการณ์หลักของสังคม จะเป็นนักคิดแท้ๆ
ที่ไม่เข้าไปเกี่ยวพันโดยตรงกับชนชั้นหรือผลประโยชน์ทางการเมือง และในเวลาต่อมา
มีปญั ญาชนแบบก้าวหน้า (Progressive Intellectual) เกิดขึน้ ในการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ
ทีล่ ำ้ หน้าไปกว่าอุดมการณ์ทม่ี อี ยูใ่ นสังคมขณะนัน้ แต่กม็ ลี กั ษณะหลากหลายกระจัดกระจาย
ขึน้ อยูก่ บั ลักษณะพิเศษเฉพาะบุคคล ขณะที่ “ปัญญาชนของชนชัน้ ” หรือ “ปัญญาชนของชุมชน”
(Organic Intellectual) นั้นจะเป็นกลุ่มนักคิดที่มีแนวคิด/ผลประโยชน์ผูกติดโดยตรงกับ
กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งหรือชนชั้นหนึ่งในสังคม ดังนั้น การกระทำหรือความคิดของคนกลุ่มนี้
จึงมีผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือของกลุ่มติดอยู่ด้วยเสมอ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน, (๒๕๕๑), เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๘-๑๙๒.

136 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ภาคผนวก ก
รับสมัครนักเรียนเข้าเรียนต่อ ม.๑

ü โรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศกเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าเรียน ม.๑
ในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๗.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๐๐ น.
ü โรงเรียนจะสัมภาษณ์นักเรียนพร้อมกับผู้ปกครองนักเรียนในวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๓
ü เอกสารในการรับสมัครมีดังนี้
๑. ใบแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)
๒. สำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียนและพ่อแม่
๓. รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว ๓ รูป
ü หลังจากการสมัครจะมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
๑. สอบสัมภาษณ์
๒. สอบข้อเขียน ๓ วิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
๓. เข้าค่ายดูตัวค่ายที่ ๑ ในวันที่ ๑๔ ถึง ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓
๔. เข้าค่ายที่ ๒ วันที่ ๒๐ - ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓
ü ประกาศผลสอบ ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๓
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๓
ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้ปรับตัวกับวิถีชีวิตของชุมชนปฐมอโศก เมื่อนักเรียนสอบได้แล้ว
ผู้ปกครองนักเรียนต้องเสียสละเวลามาเข้าค่ายผู้ปกครอง ในวันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓
เดิมทีเดียวโรงเรียนรับนักเรียนเฉพาะลูกหลานของผูป้ ฏิบตั ธิ รรม ต่อมาเมือ่ องค์ประกอบของชุมชน
และทางโรงเรียนมีความพร้อม จึงเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไป จึงเป็นข่าวที่น่ายินดีของครูทุกท่าน
หากท่านมีลูกศิษย์ที่มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน สามารถช่วยเหลือ
แนะนำนักเรียนให้เข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศกได้ฟรี โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้อง
หาเงินมาเป็นค่าใช้จา่ ยต่างๆแม้แต่บาทเดียว เพราะโรงเรียนได้รบั การสนับสนุนจากชุมชนทุกเรือ่ ง
ครบทั้งปัจจัยสี่ ในการดำเนินชีวิตค่ะ

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 137
ผู้ปกครองนักเรียนที่ต้องการให้ลูกมีความเข้มแข้ง อดทน พึ่งตนเองได้ เราขอแนะนำ
โรงเรียนสัมมาสิกขาทุกแห่งค่ะ ขณะนี้มีอยู่ ๙ แห่งดังนี้
๑ สัมมาสิกขาสันติอโศก กรุงเทพฯ
๒ สัมมาสิกขาปฐมอโศก จ.นครปฐม
๓ สัมมาสิกขาราชธานีอโศก จ.อุบลราชธานี
๔ สัมมาสิกขาศีรษะอโศก จ.ศรีสะเกษ
๕ สัมมาสิกขาสีมาอโศก จ.นครราชสีมา
๖ สัมมาสิกขาศาลีอโศก จ.นครสวรรค์
๗ สัมมาสิกขาหินผาฟ้าน้ำ จ.ชัยภูมิ
๘ สัมมาสิกขาภูผาฟ้าน้ำ จ.เชียงใหม่
๙ สัมมาสิกขาดินหนองแดนเหนือ จ.เลย
โดย สายน้ำที่หวังดี
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=573124

138 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ภาคผนวก ข
ความคิด ความฝัน ความจริง
โรงเรียนในอุดมการณ์อย่างนีไ้ ม่คดิ ว่าจะได้พบ ไม่คดิ ว่าจะได้เห็น ไม่นา่ เชือ่ จริงๆ เป็นไปได้อย่างไร
ครูดูแลนักเรียนเกือบตลอด ๒๔ ชั่วโมงยกเว้นเวลานอน
โรงเรียนรับนักเรียนกินนอนเป็นนักเรียนประจำไปไหนไปด้วยกัน ที่ไหนมีนักเรียน ที่นั่นมีครู
นักเรียนทุกคนต้องมีศีล ครูต้องมีศีล เราอยู่กันอย่างมีความสุขเพราะทุกคนมีศีล
ไม่มีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งถึงขั้นต้องลงมือชกต่อยตบตีกัน
สังคมที่เราอยู่เป็นสังคมที่อยู่อย่างพอเพียงตามรอยในหลวง
เริม่ ด้วยการสมัครเข้าเรียนนักเรียนในชัน้ ม.๑ ไม่วา่ นักเรียนจะจบการศึกษามาจากชัน้ ใดก็ตามต้อง
มาเรียน ม.๑ ใหม่ จึงจะได้เข้าค่ายเพือ่ เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ของนักปฏิบตั ธิ รรมน้อย ได้ใช้ชวี ติ พึง่ ตนเอง
หุงข้าวเอง ซักผ้าเอง ทำอาหารรับประทานเองและทำเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีรุ่นพี่คอยดูแลรุ่นน้อง
เพื่อให้นักเรียนที่สมัครเข้าเรียนใหม่ได้เข้าใจคำว่า ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา ได้หัดใช้ชีวิต
กับธรรมชาติ
ในขณะที่เรียนนักเรียนจะได้ศึกษาตามฐานงานต่างๆที่มีในชุมชนปฐมอโศกดังนี้เช่น
๑.งานผลิตสมุนไพร ๒.งานผลิตอาหารมังสวิรัติ
๓.งานผลิตเต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว กะปิเจ
๔.งานผลิตอาหารแปรรูปจากเห็ดและถั่วชนิดต่างๆ
๕.การผลิตแชมพู ๖.การผลิตเห็ดชนิดต่างๆ
๗.การผลิตสื่อมัลติมีเดีย ๘.การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
๙.การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ๑๐.การทำกสิกรรมไร้สารพิษ
๑๑.การทำนา ๑๒.การจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม
๑๓.การขาย ๑๔.งานช่างไฟฟ้า ประปา ชุมชน
นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถไปประกอบอาชีพได้ หาเงินส่งตนเองเพื่อการเรียนต่อได้
โดย สายน้ำที่หวังดี
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=573249

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 139
ภาคผนวก ค
อุดมการณ์โรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศก

โรงเรียนเป็นสถานที่ผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
โรงเรียนจึงเป็นสถานที่ที่สำคัญในการสร้างชาติ
โรงเรียนเป็นบ้านหลังที่ ๒ ของนักเรียน
ครูเปรียบเสมือนพ่อแม่ที่ต้องดูแลลูก
ครูเป็นแม่แบบแก่นักเรียน
ครูเป็นผู้เสียสละเพื่อความเจริญก้าวหน้าของนักเรียน
ครูสอนวิชาการและสอนการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา
โรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศกตระหนักในเรือ่ งความสำคัญของครูเป็นอย่างดีจงึ คัดเลือก
ครูที่จะเข้ามาสอนในโรงเรียนดังต่อไปนี้
๑. เป็นผู้ถือศีล ๕ ละอบายมุข
๒. เป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณครู
๓. เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน
๔. มีประสบการณ์ในเรื่องที่สอนทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
นักเรียนของโรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศกเป็นนักเรียนประจำ มีกฎระเบียบทีแ่ ตกต่าง
จากโรงเรียนทั่วไปคือ
๑. ถือศีลห้า ละอบายมุข
๒. รับประทานอาหารมังสวิรัติ
๓. ตรวจศีลทุกวัน เขียนบันทึกอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
๔. ตื่นนอน ๔.๓๐ น. เข้านอนไม่เกิน ๒๑.๐๐ น.
๕. ต้องเข้าประชุม เข้าเรียนตามตารางของโรงเรียนได้ครบ
๖. การออกนอกสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้ดูแลก่อน
๗. ไม่มีของมีค่าเกินสถานภาพของนักเรียนในระบบการศึกษาบุญนิยม

140 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ที่ตั้งของโรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศก
๖๖/๖๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
โทรศัพท์ ๐๓๔ ๒๕๘๔๗๐-๑ ต่อ ๑๓๓ หรือ ๐๘๕ ๑๙๑๖๙๔๘
อีเมล prathomasoke@gmail.com, noy707191@gmail.com, jaiklan_9@windowslive.com
โดย สายน้ำที่หวังดี
http://www.oknation.net/blog/ssp/2010/03/20/entry-3

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 141
142 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
วิถวี ฒ
ั นาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธพิ ทุ ธฉือจี้ ไต้หวัน
Cultivating Humanity in Educational Institutions – The Tzu Chi Approach
สุวิดา แสงสีหนาท
Suwida Sangsehanat

บทคัดย่อ
บทความฉบับนีส้ รุปจากการวิจยั ซึง่ ได้รบั ทุนสนับสนุนจากศูนย์สง่ เสริมและพัฒนาพลัง
แผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อ
พัฒนาความเป็นมนุษย์ในสถานศึกษา ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน
สถานศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้มี ๔ แห่ง จัดการศึกษาในระดับประถม มัธยม
อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เสริมวิชาจริยศิลป์ศกึ ษาเพื่อ
สอนคุณธรรมผ่านการชงน้ำชา จัดดอกไม้ และเขียนพู่กันจีน โดยมีปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ
คื อ การคั ด สรรและพั ฒ นา “ครู ” ๑๓ ประเภทให้ เ ป็ น “ตั ว อย่ า งการทำความดี ”
แวดล้อมนักเรียนตลอดเวลา เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือ ชำระจิตใจ สังคมร่มเย็น
และไร้ภัยพิบัติ ดังนั้น นักเรียนทุกคนที่จบหลักสูตรต้องมี คุณธรรม ความดี ความรัก
ความสามัคคี โดยเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะไว้ในจิตใจเด็ก คือ ปรัชญาฉือจี้ ๒ ชุด ได้แก่
“พรหมวิหาร ๔ : เมตตา กรุณา ปีติยินดี การให้โดยไม่เห็นแก่ตัว” และ “รู้พอ รู้คุณ
ยกย่อง รัก” ด้วยการปลูกฝัง ๖ ขั้นตอน คือ “เข้าใจ คิด (วิปัสสนา) แสดงออก (ปัญญา)
สัมผัส (กระตุ้นจิตเมตตา) ทำทันที (กรุณา) ทำอีกไม่หวังผลตอบแทน (มุทิตาอุเบกขา)”
บทความได้แสดงถึงกระบวนการปลูกฝังความรักและการให้ของสถานศึกษาฉือจี้ ตลอดจน
ข้อเสนอแนะกรอบโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาวิถพี ทุ ธและวิธกี ารพัฒนาครูในสังคมไทย

Abstract
This paper is based on a research project I conducted with a grant
from the Moral Centre, a government institution in Thailand. The main objective
was to study an alternative teaching system, noted for its humanistic value, in
schools and university operated by Tzu Chi Foundation in Taiwan. There are
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 143
four levels of educational institutions operated by Tzu Chi: primary school,
secondary school, technology or vocational institute and university.
The vision and ultimate aim of Tzu Chi Foundation’s educational institutions
is to develop “pure mind, peaceful society and non-suffering”. The mission of
Tzu Chi education institutes is to produce students highly trained and cultivated
in morality with virtuous conduct and a loving and harmonious nature. Seeds
of morality are planted and nurtured in the students’ mind through two sets
of Buddhist teachings introduced and rigorously taught in Tzu Chi’s education
institutes. The first set is the teaching on Brahmavihara (sublime states) and
generosity: metta (goodwil or loving-kindness), karuna (compassion), mudita
(sympathetic or appreciative joy for other’s success), and unconditional generosity
(give without expecting anything in return). The second set of teaching emphasizes
contentment with what one has (a sense of enough), gratitude, and appreciative
praise of others’ good deeds, love and goodwil . Six main processes are involved
in delivering their moral teachings: understanding, analyzing, performing, ‘touching’
the mind, and delighting in doing good deeds repeatedly and habitually, without
expecting anything in return.
While all Tzu Chi institutes adopt and use the general or standard
secular curricula of the Ministry of Education, they add an extra course, the
subject on “Cultivating Humanity”. This subject integrates the teachings on
morality, arts and cultures, and delivered through such teachings on the arts
and skil s (mental focus or concentration) of tea ceremony, flower arrangement,
and calligraphy. The most important factor that contributes to the success of
the teachings on morality is the quality and competence of the teachers. Based
on the analyses of the data collected, we find thirteen types of teachers who
would make “good models” for the students. This paper presents Tzu Chi’s
success in its cultivation of humanity in educational institutions, particularly the

144 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
cultivation of unconditional love and generosity, and the de-emphasis on
competition (a feature of main stream education). Included in this paper are
some suggestions for changes or additions in the course structures and contents
of Thai education system, and programs for developing the skills of teachers in
teaching and promoting the cultivation and development of humanity among
students in Thai schools.
บทนำ
ปัจจุบัน โลกกำลังหมุนคว้างท่ามกลางกระแสทุนนิยม ซึ่งมีเป้าหมายกระตุ้นความ
ต้องการบริโภคอย่างไม่รจู้ บ จนกลายเป็นลัทธิบริโภคนิยม เป็นเหตุให้เกิดการตักตวงทรัพยากร
ธรรมชาติจนสภาวะโลกขาดความสมดุล และบ่อนทำลายวิถีวัฒนธรรม การกินอยูอ่ ย่างพอเพียง
ที่บรรพบุรุษเคยดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างให้เสื่อมลงอย่างรวดเร็วนำไปสู่ความเสื่อมถอยด้าน
ศีลธรรมจริยธรรม การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีภูมิคุ้ม
กันกระแสบริโภคนิยม โครงการ “โรงเรียนวิถีพุทธ” จึงเกิดขึ้นในระบบการศึกษาไทย นับแต่
พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อนำหลักคำสอนในพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับการอบรมสั่งสอนเยาวชน
แต่กลับประสบความสำเร็จไม่มากนัก
การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาแนวทางเลือก
ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ที่เน้นการปลูกฝังความรักและการให้ มากกว่าการ
แข่งขันแก่งแย่ง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในประเทศไต้หวัน ให้เป็นข้อเสนอแนะกรอบ
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาวิถีพุทธและวิธีการพัฒนาครูในสังคมไทยต่อไป โดยคณะวิจัยทำ
การศึกษาในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ ถึงพฤษภาคม ๒๕๕๐ และใช้วิธีการวิจัยเชิง
คุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และนักเรียน
ทั้งในระดับประถม มัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่ประเทศไต้หวัน โดยได้รับทุนสนับ
สนุนจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)๑

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 145
รู้จักมูลนิธิพุทธฉือจี้
มูลนิธิพุทธฉือจี้ (The Buddhist Compassion Relief Tzu Chi Foundation)
เป็นองค์กรชาวพุทธมหายาน ก่อตัง้ ในไต้หวันเมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ทีเ่ มือง “ฮวาเหลียน” (Hualien)
อั น ห่ า งไกลความเจริ ญ ทางตะวั น ออกของเกาะ โดยภิ ก ษุ ณ ี ธ รรมาจารย์ เ จิ ้ ง เหยี ย น
(Venerable Dharma Cheng Yen) ในภาษาจีนกลางตัวอักษร “ฉือ จี้” หมายถึง
“เมตตากรุณา และ สงเคราะห์บรรเทาทุกข์” ตามลำดับ ซึ่งเป็นทิศทางและเป้าหมายหลัก
ของมูลนิธิแห่งนี้ จากจุดเริ่มต้นด้วยกลุ่มแม่บ้านเพียง ๓๐ คน ปัจจุบัน ฉือจี้มีสมาชิก
บริจาคเงินเกือบ ๑๐ ล้านคนจาก ๔๐ กว่าประเทศทั่วโลก ซึ่งมาจากหลากหลายอาชีพได้แก่
นักวิชาการ นักธุรกิจ แพทย์ พยาบาล ครู วิศวกร ตลอดจนชาวบ้านธรรมดา มีโรงพยาบาล
ชาวพุทธฉือจี้ที่เน้นการเคารพต่อทุกชีวิต ๖ แห่ง มีสถาบันการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหา-
วิทยาลัยที่เน้นความรักและการให้ต่อสังคม นอกจากนี้ “The Still Thoughts I” หนึ่งในงาน
เขียนของธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ติดอันดับหนังสือขายดีในไต้หวันหลายเดือน และเป็นหนังสือ
ที่ครูประถมและมัธยมหลายพันคนใช้สอนจริยธรรมให้แก่เด็กนักเรียน๒
มูลนิธิพุทธฉือจี้ ก่อตั้งขึ้นด้วยหลักการ “ช่วยคนจน สอนคนมี” เพราะผู้ยากไร้ขาด
วัตถุปัจจัยในการครองชีพ ส่วนผู้มั่งมีขาดอาหารทางใจ แต่ปัจจุบันได้ปรับเป็น “สอนคนรวย
ช่วยคนจน” เพราะพบว่าปัญหาหลักในสังคมปัจจุบันมีสาเหตุมาจากคนรวย ดังนั้นจึงต้องสอน
คนรวยก่อน ควบคู่ไปกับการช่วยคนจน ฉือจี้ดำเนินภารกิจแปดประการขององค์กรไปพร้อมๆ
กัน เรียกได้ว่า “เดินเพียงก้าวเดียวเกิดเป็นรอยเท้าทั้งแปด” ดังนี้
๑) ภารกิจการกุศล ให้การดูแลผูย้ ากไร้ในระยะยาว ให้การช่วยเหลือฉุกเฉินและออก
เยี่ยมเยียนผู้ยากไร้ถึงบ้าน
๒) ภารกิจการรักษาพยาบาล มีโรงพยาบาล ฟรีคลินกิ เครือข่ายทางการแพทย์และ
กลุ่มอาสาสมัครทางการแพทย์ ที่ไปตรวจเยี่ยมผู้คนที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล
๓) ภารกิจด้านการศึกษา สร้างมหาวิทยาลัยฉือจี้ที่มีทั้งด้านการแพทย์และสังคม-
ศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยี ตลอดจนโรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถม-อนุบาล ที่เน้นความรัก
และเคารพต่อชีวิต

146 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
๔) ภารกิจด้านมนุษยธรรม-จริยศิลป์ ผลิตสื่อด้านต่างๆเผยแพร่ภารกิจและหลัก
คำสอนของฉือจี้ เป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกทั่วโลก ปัจจุบันฉือจี้มีสถานีโทรทัศน์ต้าอ้าย (Da-
Ai TV) ซึง่ แปลเป็นภาษาไทยว่าสถานีโทรทัศน์รกั ยิง่ ใหญ่ ทีผ่ ลิตรายการส่งเสริมคุณภาพชีวติ ตลอด
๒๔ ชั่วโมง มีเว็บไซต์ รายการวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
๕) ภารกิจการบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศ ให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ผปู้ ระสบภัย
ธรรมชาติ (ขยายมาจากภารกิจการกุศล) ในทุกประเทศ
๖) ภารกิจด้านการบริจาคไขกระดูก ศูนย์ขอ้ มูลไขกระดูกฉือจีใ้ หญ่เป็นอันดับสามของ
โลกรองจากอเมริกาและยุโรป และใหญ่ที่สุดในเอเชีย (ขยายมาจากภารกิจการรักษาพยาบาล)
๗) ภารกิจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของผู้คนในสังคมทุนนิยม ให้ยืด
อายุสง่ิ ของให้นานทีส่ ดุ หรือจนหมดอายุ การเปลีย่ นขยะ (วัสดุรไี ซเคิล) ให้เป็นทอง และการเลือก
ใช้วัสดุผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (ขยายมาจากภารกิจด้านการศึกษา)
๘) ภารกิจด้านอาสาสมัครชุมชน กระจายศูนย์กลางการปฏิบัติภารกิจเป็นศูนย์ย่อย
ตามความพร้อมของชุมชน เพือ่ ให้สมาชิกฉือจีด้ แู ลผูป้ ระสบทุกข์ในเขตของตน ทำให้มคี วามเข้าใจ
ปัญหาและสถานการณ์ของชุมชนได้ดี อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดความใกล้ชิดของผู้คนใน
ชุมชนด้วย (ขยายมาจากภารกิจด้านมนุษยธรรม)

วัตถุประสงค์การจัดการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้
ครูหยาง (Yang Yueh Feng) อดีตผู้ร่วมบุกเบิกก่อตั้งและอดีตครูใหญ่โรงเรียน
ประถมฉือจี้ ผู้ให้สัมภาษณ์คนแรกแก่คณะวิจัย ต้อนรับพวกเราด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
ความสุภาพอ่อนโยนของท่าน ทำให้คณะวิจัยอบอุ่นเป็นกันเอง ท่านเชื้อเชิญให้เราจิบชาร้อน
และเริ่มอธิบายกระบวนการศึกษาว่าจะทำให้สำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มจากเด็กชั้นเล็กก่อน
โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งในระดับบุคคล และระดับสังคม กล่าวคือ ชำระจิตใจ
สังคมร่มเย็น และไร้ภัยพิบัติ
ปัจจุบนั สถานศึกษาของฉือจีม้ ี ๔ แห่งโดยมีปรัชญาเดียวกัน คือ เด็กทีจ่ บออกไปต้องมี
พรหมวิหาร ๔ โดยมียุทธศาสตร์ในแต่ละระดับดังนี้

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 147
ระดับชั้นประถม : มุ่งเน้นให้เด็กเกิดจิตสำนึกว่าการบริการผู้อื่นเป็นสิ่งน่าภาคภูมิใจ
ระดับชั้นมัธยม : นักเรียนจะต้องรู้จักทิศทางชีวิตของตนเอง
ระดับมหาวิทยาลัย : นักศึกษาจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และเพื่อนมนุษย์
[การศึกษาของฉือจีเ้ ป็นการเรียนการสอนเพือ่ ดำเนินชีวติ มหาวิทยาลัยทัว่ ไปเน้นเรือ่ งเศรษฐกิจ
แต่ฉอื จีเ้ น้นเรือ่ งการดำเนินชีวติ การเน้นด้านเศรษฐกิจจะทำให้การพัฒนาทางด้านจิตใจย่อหย่อน
เกิดปัญหา คนมีความสามารถมากขึน้ แต่คณุ ธรรมลดลง คุณค่าและประเพณีดง้ั เดิมของชาวจีน
ของความเป็นมนุษย์หายไป ฉือจี้จึงย้อนมาเสริมด้านนี้ แม้ในมหาวิทยาลัยอื่นจะมีการเรียน
Liberal Arts ศิลปะการดนตรีเหมือนกัน แต่ก็ไม่พอที่จะพัฒนาเด็ก เป็นแต่เพียงการเรียนรู้
อย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่เข้าถึงธรรมชาติความเป็นมนุษย์จริงๆ ท่านธรรมาจารย์นำความรู้นี้มา
จากพุทธศาสนาและสอนให้ปฏิบัติจริง จึงสามารถนำไปสู่การตระหนักรู้ได้
Su-Jen Hung, Chief Secretary, Tzu Chi Buddhist University
สัมภาษณ์ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น.

หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรการศึกษาของฉือจี้ดำเนินตามการศึกษาภาคบังคับของไต้หวัน โดยมีความ
พิเศษอยู่ที่การเพิ่มวิชาจริยศิลป์ศึกษาในวิถีชีวิต ทุกระดับชั้นการศึกษา และมีเป้าหมายหลักให้
เด็กได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง ๓ ประการ คือ
๑. การศึกษาเพื่อชีวิต
๒. การศึกษาเพื่อรู้บุญคุณ
๓. วิชาการทั่วไป
กระบวนการปลูกจิตสำนึกคุณธรรมของฉือจี้
หากถามถึงความสำเร็จในกระบวนการศึกษาของฉือจี้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น คำตอบ
ทีค่ ณะวิจยั ได้รบั เป็นเสียงเดียวกันคือ ภารกิจทัง้ แปดประการของมูลนิธพิ ทุ ธฉือจีต้ ลอดระยะ ๔๐
ปี หล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมฉือจีท้ ว่ี า่ เมือ่ ได้พบได้เห็นได้สมั ผัสกับผูท้ กุ ข์ยาก ทำให้เกิดจิตสงสาร
จิตแห่งความเมตตาอยากช่วยเหลือ หรือที่นายแพทย์อำพล๓ เรียกว่า “จิตใหญ่” ซึ่งมิใช่เพียง

148 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
การให้ ว ั ต ถุ แต่ ร วมถึงการกล่อมเกลาจิตใจของผู้ให้ ด้ ว ยการให้ ค วามรั ก และความรู ้
หล่อหลอมให้ชาวฉือจี้เกิด “จิตอุเบกขา ที่หมายถึง การให้อย่างไม่เห็นแก่ตัว ไม่มขี ดี จำกัด
ไม่ยดึ ติด หรือหวังผลตอบแทนใดๆ” อันเป็นพืน้ ฐานสำคัญต่อรูปแบบความสำเร็จ ในภารกิจ
“การศึกษา” ซึ่งพลิกกลับโดยสิ้นเชิงจากการศึกษาเพื่อการค้าในสังคมทุนนิยม
การศึกษาของฉือจี้คือการบ่มเพาะธรรมชาติแห่งความดีงามในจิตใจมนุษย์ให้งอกงาม
เบิกบาน การศึกษานัน้ จึงมิได้จำกัดเขตเพียงเด็กและสถานศึกษาของฉือจีเ้ ท่านัน้ แต่แผ่กระจาย
ครอบคลุมไปยังผู้ปกครอง บ้าน สังคม และโรงเรียนอื่นๆทั่วไต้หวัน กลายเป็นสภาพแวดล้อม
ที่ห่อหุ้มเด็กนักเรียนให้เดินสู่ทิศทางที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือ “คุณธรรมนำความรู้” ได้อย่างสำเร็จ
พระไพศาล วิสาโล๔ ได้สรุปคุณธรรมอันเป็นหัวใจของฉือจี้ดังกล่าวเปรียบเทียบกับพรหมวิหาร
๔ ในสังคมไทยไว้ดังนี้

ตารางที่ ๑ เปรียบเทียบการให้ความหมายพรหมวิหาร ๔ ของฉือจี้กับเถรวาทแบบไทย


พรหมวิหาร ๔ ฉือจี้ เถรวาทแบบไทย
àÁµµÒ ความรักโดยไม่แบ่งแยก ความปรารถนาให้เขาได้รับความสุข
¡ÃØ³Ò การลงมือช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
ความสุขที่เกิดจากการช่วยให้ผู้
ÁØ·ÔµÒ ความยินดีเมื่อเขาได้ดีหรือมีความสุข
อื่นเป็นสุข
ÍØມ¢Ò การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน การวางเฉยเมื่อทำดีอย่างถึงที่สุดแล้ว

การให้ความหมายเช่นนี้มีผลให้ชาวฉือจี้เน้นความรักโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นใครก็ตาม
และ “ให้” โดยไม่หวังประโยชน์ส่วนตัว

หลักคิด: นักเรียนไม่ใช่ลูกค้า แต่เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก


สถานศึกษาทุกแห่งของฉือจี้ก่อตั้งขึ้น โดยมีหลักคิดตามแนวพุทธศาสนาที่ว่า “มนุษย์
ทุกคนมีธรรมชาติแห่งความดีแฝงอยู่ เพียงแต่สง่ิ แวดล้อมได้บดบังความดีในตัวมนุษย์ จนกระทัง่
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 149
ธรรมชาติแห่งความดีนั้นไม่อาจเติบโต” ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนจึงก่อตั้งสถานศึกษาฉือจี้ขึ้นด้วย
ความหวังว่า “ฉือจี้จะสอนและกล่อมเกลานักเรียนให้เป็นวิญญูชนที่บริสุทธิ์ ไม่เล็งเห็นผล
ประโยชน์โดยด้านเดียว รู้จักกฎระเบียบและจริยธรรม ไม่ถูกกลืนโดยกระแสสังคมที่มัวหมอง”
ดั่งดอกบัวที่โผล่พ้นโคลนตมอย่างสง่างามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมูลนิธิพุทธฉือจี้
ทั้ง “เด็กเล็กและเด็กโตล้วนมีจิตใจอันเปรียบเสมือนแปลงนา” เมล็ดพันธุ์ที่ฉือจี้
บ่มเพาะในนาใจของเด็ก มิใช่การมุ่งหวังแต่จะเป็นที่หนึ่ง มิใช่การแก่งแย่งกอบโกย และมิใช่
การมองแต่ประโยชน์ตนเป็นทีต่ ง้ั ซึง่ เป็นปรัชญาในระบบการศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบนั ทีส่ ร้างให้
เด็กคิดแต่จะร่ำรวยเท่านั้น สำหรับฉือจี้แล้ว เมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะในจิตใจเด็ก คือ คุณธรรม
ความดี ความรัก ความเป็นหมู่กลุ่ม ด้วยปรัชญาฉือจี้ ๒ ชุด คือ “เมตตา กรุณา ปีติยินดี
การให้โดยไม่เห็นแก่ตวั ” และ “รูพ้ อ รูค้ ณุ ยกย่อง รัก” ด้วยหลักคิดว่าเด็กทุกคนคือเมล็ดพันธุ์
แห่งความรัก ที่สามารถเผยแพร่ไปสู่ครอบครัวและสังคม เป็นพลังใหม่ที่จะสร้างสังคมดีงามใน
อนาคต ดังปณิธานของชาวฉือจี้ที่ว่า “การศึกษาของเด็ก เป็นการลงทุน ๑๐๐ ปี”
มูลนิธิฉือจี้ยึดมั่นใน “ความรักที่ยิ่งใหญ่ของแม่” สถานศึกษาฉือจี้จึงให้ความสำคัญ
แก่เด็กแต่ละคน มิได้มองรวมๆว่าเป็นเพียงเด็กนักเรียน แต่มองว่าเด็กแต่ละคนมีความพิเศษ
เฉพาะตัว ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องให้ความดูแลเอาใจใส่เด็กแต่ละคนเหมือนเป็นกรณีพิเศษ
ติดตามดูแลทุกด้านเหมือนแม่ที่ห่วงลูกแต่ละคน ไม่ว่าลูกจะนั่ง ยืน กิน นอน เล่น คิด
แม่จะเฝ้าดูดว้ ยความรัก และคิดอย่างรอบด้านเพือ่ สร้างเสริมและสนับสนุนให้ลกู ได้รบั แต่สง่ิ ดีๆ
ให้ได้รับในจุดที่ยังขาด และให้มีพัฒนาการทุกด้าน ดังหลักคิดที่ว่า “ความรักคือทุกสิ่ง - Love
is omni present” การดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก อีกด้านหนึ่งก็คือการอบรมบ่มสอน ให้เด็ก
แต่ละคนเดินไปในแนวทางแห่ง ความจริง ความดี ความงาม
สถานศึกษาฉือจีม้ ที ศิ ทางในการอบรมนักเรียนทีช่ ดั เจน คือ คุณธรรมนำความรู้ และมี
ระเบียบกฎเกณฑ์อีกมากมายเพื่อฝึกหัดให้เด็กมีบุคลิกภาพ มารยาท และวินัย โดยไม่หวั่นไหว
ไปตามความต้องการของตลาด สถานศึกษาฉือจี้มิได้มองว่านักเรียนหรือผู้ปกครองคือลูกค้าที่
จะต้องเอาใจ หรือจะต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพียงเพื่อดึงลูกค้า หรือเพิ่มส่วนแบ่งตลาด กลับมี
หลักคิดว่านักเรียนและผูป้ กครองจะต้องสำนึกคุณต่อสถานศึกษาและครูอาจารย์ทเ่ี สียสละความ
สุขสบายส่วนตนอย่างมาก มาอุทิศชีวิตอบรมบ่มสอนเด็กให้เป็นความหวังของพ่อแม่และสังคม
150 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
กระบวนการสอนวาทธรรม-คุ ณ ธรรมให้ เ ข้ า ถึ ง จิ ต ใจของเด็ ก
“การสอนโดยใช้รูปภาพ คำ เรื่องราว หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้คนเกิดจิตสำนึก
ล้วนแต่เรียกได้ว่า เป็นการสอนวาทธรรมทั้งสิ้น” กระบวนการศึกษาของฉือจี้ ไม่ว่าจะเป็นการ
สอนวิชาการ หรือคุณธรรม สอนเด็กเล็ก เด็กโต แม้กระทัง่ ครู มีกระบวนการปลูกฝังคุณธรรม
เหมือนกัน โดยต้องมีขั้นตอนอย่างน้อย ๖ ขั้น ดังภาพที่ ๑
ภาพที่ ๑ กระบวนการสอนวาทธรรม ๖ ขั้น

- เข้าใจ อธิบายให้เข้าใจคุณธรรม ว่าทำแล้วจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไร โดยใช้รูปแบบ


เล่านิทาน หรือสื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง
- คิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ เปิดโอกาสให้ผฟู้ งั คิดเปรียบเทียบกับตนเองในสถานการณ์ตา่ งๆ
- แสดงออก มีพื้นที่ให้ผู้ฟังแสดงออกจินตนาการของตน ในรูปของภาพวาด เรียงความ
ละคร เป็ น ต้ น เปรี ย บดั ่ ง การเพาะเมล็ ด พั น ธุ ์ แ ห่ ง ความดี ใ นจิ ตใจของผู ้ ฟ ั ง
- สัมผัส (การปฏิบัติจริง) ด้วยหลักคิดที่ว่าทุกคนมีจิตแห่งพุทธะอยู่แล้ว จึงต้องนำพา
ผู้ฟังได้ไปสัมผัสกับ “ความจริง” คือผู้ประสบทุกข์ เช่น โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก
กำพร้า เด็กพิการ สถานสงเคราะห์คนชรา เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสงสาร เมตตา
หรือทำกิจกรรม หรือการบ้านให้ได้สัมผัสด้วยตนเอง
- ทำทันที กระตุ้นให้ผู้ฟังลงมือกระทำ “ความดี” ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์เหล่านั้น
ทั้งด้วยวัตถุและจิตใจ เปรียบดั่งการงอกของเมล็ดพันธุ์แห่งความดี
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 151
- สนับสนุนและทำซ้ำ มีพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์คุณธรรมของแต่ละคนเพื่อให้
เกิด “ความงาม” ในจิตใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการสนับสนุนให้ทำกิจกรรม
ซ้ำเป็นประจำ เพื่อบ่มเพาะความดีงามนั้นให้เติบโตแข็งแรง

พัฒนาการของเด็ก
ขณะที่ ระบบการศึกษาทั่วไปในปัจจุบันลดทอนเป้าหมายการศึกษาเหลือเพียงความ
เป็นเลิศทางวิชาการ สถานศึกษาฉือจีม้ เี ป้าหมายการศึกษาอันยิง่ ใหญ่ คือ“ภารกิจฝึกอบรมมนุษย์”
ด้วยการศึกษาหลายด้าน เมื่อจำแนกแยกย่อยลงไปในการศึกษาแต่ละประเภทแล้ว คณะวิจัย
พบว่าการศึกษาของฉือจี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการของเด็ก ๔ ด้าน กล่าวคือ
๑. พัฒนาการด้านจิตใจ - ปัจเจก - นามธรรม ฉือจีส้ นับสนุนให้เยาวชนมีความคิด
สร้างสรรค์ในเชิงคุณธรรม ด้วยกิจกรรมหลากหลาย เช่น การแสดงละครคุณธรรม การประกวด
ร้องเพลงฉือจี้ระหว่างสถานศึกษาฉือจี้ในภาคการศึกษาที่หนึ่ง การประกวดภาษามือประกอบ
เพลงระหว่างสถานศึกษาฉือจี้ในภาคการศึกษาที่สอง การเขียนบทความประกวด การเขียน
ภาพประกอบนิทาน รวมทัง้ ศิลปะการจัดดอกไม้ ศิลปะการชงชา และศิลปะการเขียนพูก่ นั จีน
ซึง่ เปิดโอกาสให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และกล้าแสดงออก โดยใช้สง่ิ ทีไ่ ด้รบั การอบรมบ่มเพาะ
มาทั้งหมดเป็นฐานในการคิด และกรอบของความคิดสร้างสรรค์
๒. พัฒนาการด้านสมองและร่างกาย - ปัจเจก - รูปธรรม โดยใช้ครูอาจารย์ที่
เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง และมีการสนับสนุนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
ที่ทันสมัย
๓. พัฒนาการด้านวัฒนธรรม - ส่วนรวม - นามธรรม สถานศึกษาฉือจี้ให้ความ
สำคัญกับการอยูร่ วมเป็นหมูค่ ณะ การอ่อนน้อมถ่อมตน การรูค้ ณุ ผูอ้ น่ื การยกย่องผูอ้ น่ื การให้
ความรักผู้อื่น การอาสาทำงานโดยไม่หวังผลตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม
แล้วให้คนใดคนหนึ่งขึ้นมาขอบคุณเพื่อนว่าแต่ละคนทำอะไรบ้าง เป็นการฝึกหัดให้เด็กรู้สำนึก
ในบุญคุณและยกย่องคนอื่น อีกทั้ง ฝึกหัดให้เด็กแสดงความรู้คุณและยกย่อง มิใช่เก็บไว้ในใจ
เพียงคนเดียว การฝึกหัดดังกล่าวเป็นการกระตุ้นทุกฝ่าย ผู้ขึ้นมากล่าวขอบคุณก็ถูกกล่อมเกลา
ให้อ่อนน้อม และผู้ได้รับคำขอบคุณก็เกิดปีติ เมื่อทุกคนมีความรู้สึกดีในการทำกิจกรรมกลุ่ม
ครั้งต่อไปย่อมร่วมมือกันอย่างดียิ่งขึ้น การฝึกหัดให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อผู้อื่นเป็นการฝึกหัด
ให้เด็กกล้าที่จะกระทำความดีด้วยจิตใจอ่อนน้อม ทำลายกำแพงแห่งความเขินอายหรือความ

152 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
เย่อหยิ่ง เมื่อเด็กได้เรียนรู้ที่จะปรนนิบัติผู้อื่นแล้ว ก็ได้รับการกระตุ้นให้สำนึกถึงบุญคุณพ่อแม่
และปรนนิบัติพ่อแม่ด้วยการทำดี บีบนวด เสิร์ฟน้ำ พูดจาไพเราะ ดูแลเอาใจใส่ และให้
ความรักพ่อแม่ทันที เด็กฉือจี้ได้รับการฝึกหัดด้านความประพฤติ บุคลิกภาพ การแต่งกาย
กิรยิ าท่าทางทุกอิรยิ าบถ เช่น กิน ยืน เดิน นัง่ นอน พูด จับสิง่ ของ ซึง่ ถือว่าเป็นบรรทัดฐาน
ที่รับรู้กันในแต่ละสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้มีความสง่างาม มีบุคลิกภาพที่ดี และมี
รสนิยมที่เรียบง่าย
การหล่อหลอมด้านวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่กบั มนุษย์ดว้ ยกันเท่านัน้ แต่ยงั รวมไปถึงธรรม-
ชาติแวดล้อมด้วย เด็กฉือจีจ้ ึงได้รับการอบรมให้เคารพสัตว์ ต้นไม้ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และ
สิ่งของต่างๆด้วย เพราะธรรมชาติแวดล้อมทุกชนิดล้วนมีความสำคัญต่อตัวเรา พ่อแม่เรา
และทุกชีวิต สถานศึกษาฉือจี้ฝึกหัดให้นักเรียนและพ่อแม่แยกขยะ และเก็บกวาดขยะตาม
ท้องถนน เพื่อเรียนรู้ปัญหาในสังคม และตระหนักว่าตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เด็กได้
รับการอบรมให้แก้ไขที่ต้นเหตุแห่งปัญหา คือ ลดขยะ โดยเฉพาะขยะที่ไม่สามารถนำกลับมา
ใช้ใหม่ เด็กต้องรูจ้ กั ใช้สง่ิ ของอย่างคุม้ ค่า ใช้นำ้ และไฟฟ้าอย่างประหยัด ไม่ใช้ตะเกียบถ้วยชาม
ช้อนแบบครั้งเดียวทิ้ง ทำของเล่นหรือการ์ดสวยงามจากวัสดุเหลือใช้ และเก็บแยกขยะวัสดุที่
รีไซเคิลทำความสะอาดแล้วนำมาบริจาคที่มูลนิธิฉือจี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็คือวัฒนธรรมของ
มนุษย์ที่เด็กจำเป็นต้องฝึกหัด และมี “ต้นแบบ” ที่ดีให้เด็กได้เรียนรู้ อันจะมีผลให้การอยู่รวม
หมู่กลุ่มเป็นไปด้วยดี สังคมจะดำเนินไปอย่างมีสันติสุข
๔. พัฒนาการด้านกฎระเบียบในสังคม - ส่วนรวม - รูปธรรม คือ กฎหมาย
ข้อบังคับ ที่กำหนดไว้เป็นรูปธรรม บังคับใช้กับทุกคน พัฒนาการของเด็กฉือจี้ด้านกฎระเบียบ
ในสังคมนั้น ใกล้ชิดมากกับพัฒนาการด้านวัฒนธรรม เมื่อเด็กมีพัฒนาการด้านวัฒนธรรม
ระดับหนึ่งแล้ว กฎระเบียบที่มากมายยิบย่อยในสถานศึกษาฉือจี้จึงไม่เป็นการบังคับอีกต่อไป
เพราะกลายเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และอยู่ในอุปนิสัยของเด็กแล้ว ชาวฉือจี้มีคำสอนที่ว่า “ตอน
แรกต้องบังคับให้ทำบ่อยๆ เมือ่ ทำบ่อยๆก็เกิดความเคยชิน เมือ่ เคยชินแล้วทำนานๆก็จะกลาย
เป็นอุปนิสัย” หากเปรียบเทียบกับการถือศีลของชาวพุทธแล้ว ก็ไม่แตกต่างกันนักในระยะแรก
อาจจะต้องฝืนทน แต่เมื่อกระทำได้แล้ว ศีลหรือกฎข้อบังคับก็กลายเป็นปกติวิสัย

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 153
ครู ๑๓ มิติ : ตัวอย่างที่ดีมีค่ายิ่งกว่าคำสอน
ครูที่ดี คือ ผู้ที่ให้ทั้งชีวิต และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้วยบริสุทธิ์ใจ
“ครู” หมายถึงใครบ้าง โดยปกติในโรงเรียนทั่วไป มักหมายถึงครูประจำชั้น และ
ครูประจำวิชา ผู้รับภาระหนักในการอบรมบ่มสอนนักเรียน และพบว่าการอบรมนั้นจำกัดอยู่
เพียงความรู้ทางวิชาการ น้อยนักที่จะรวมถึงการอบรมบ่มสอนคุณธรรม มารยาท และวินัยต่อ
ตนเองและผู้อื่น ผู้ปกครองก็มอบภาระทั้งหมดให้ครู จึงดูเหมือนว่าครูจะเป็นช่องทางเดียวที่จะ
อบรมสั่งสอนเด็กท่ามกลาง “กระแส” และ “ข้อมูล” ข่าวสารยุคโลกาภิวัตน์
ความสำเร็จในกระบวนการศึกษาของฉือจีอ้ ยูท่ ก่ี ารสร้างเกราะคุม้ กันเด็กทีไ่ ม่มชี อ่ งโหว่
รูรว่ั เพราะว่าเด็กทุกคนจะมีครูอยูร่ อบกาย เป็นเกราะคุม้ กันทีแ่ น่นหนาเปรียบดังว่า กลีบดอกบัว
หลายชั ้ น ห่ อ หุ ้ ม เมล็ ด ดอกบั ว อ่ อ นในฝั ก บั ว ฉั นใด “ครู ” ก็ เ ป็ น เกราะคุ ้ ม กั น เด็ ก อย่ า ง
แน่นหนาฉันนั้น “ครู” ในกระบวนการศึกษาของฉือจี้ มิได้มีเพียงหนึ่งหรือสองคน แต่มี
เป็นสิบเป็นร้อยคน และมิได้จำกัดอยู่เพียงในโรงเรียนเท่านั้น แต่หมายรวมถึงที่บ้านและ
ผู้คนในสังคมด้วย อีกทั้งยังใช้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและธรรมชาติเป็นครูด้วย ครูมิใช่ทำ
หน้าที่เพียงสอนด้วยวาจาเท่านั้น แต่ความเอาใจใส่และพฤติกรรมของครู ล้วนเป็นสื่อการสอน
เป็นแบบอย่างที่มีค่ากว่าคำสอนล้านคำทีเดียว ครูคนแรกที่เป็นต้นแบบของชาวฉือจี้ ก็คือ
ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน
ครูคนที่หนึ่ง ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน
ทุกครั้งและทุกคนที่คณะวิจัยได้สัมภาษณ์ จะกล่าวถึงธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ว่าเป็น
“ต้นแบบ” ที่พวกเขาปฏิบัติตาม ท่านธรรมาจารย์เป็นต้นแบบด้านใดบ้าง
๑. จิตโพธิสตั ว์ หรือจิตทีย่ ง่ิ ใหญ่ ธรรมาจารย์เจิง้ เหยียนเป็น “ต้นแบบ” แห่งจิตใหญ่
ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ ท่านมองผู้ทุกข์ยากด้วย “จิตของแม่” ที่มองลูกด้วย
สายตาแห่งรักและห่วงใย ค้นหาว่าลูกมีทุกข์อันใด และจะทำอย่างไรลูกรักจึงจะเติบโตอย่าง
เข้ ม แข็ ง ดั ง นั ้ น การช่ ว ยเหลื อ จึ ง ไร้ ข อบเขตและทำโดยไม่ ห วั ง ผลตอบแทนใดๆ
สถานศึกษาทุกแห่งของฉือจี้ ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนจะเป็นผู้ตรวจสอบดูแลทุกด้าน
แม้ในรายละเอียด เช่น วัสดุก่อสร้าง ท่านเป็นผู้คัดสรรหินที่นำมาก่อเสาและกำแพง ให้มี
ขนาดก้อนเล็กๆ และกลมมน หากเด็กวิ่งมาชนแล้วจะได้ไม่บาดเจ็บ โครงสร้างเสาเข็มก็ต้อง
ต้านทานพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวได้ถึง ๙ ริกเตอร์ (ขนาดเดียวกับภัยสึนามิ พ.ศ. ๒๕๔๗)

154 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
เพื่อเป็นที่หลบภัยของชาวบ้านได้อย่างปลอดภัย โต๊ะเก้าอี้ในห้องเรียนและห้องสมุดได้รับการ
ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเหมาะสมกับขนาดตัวของเด็ก มีประโยชน์ใช้สอยเต็มที่ และฝึกหัด
มารยาทให้เด็กได้ด้วย โต๊ะนักเรียนมีลิ้นชัก ตะขอเกี่ยว และชั้นวางของใต้เก้าอี้ ส่วนเก้าอี้ก็
เป็นไม้ซี่ห่างๆเพื่อระบายความร้อน และมีน้ำหนัก เด็กจะต้องใช้สองมือยกมิใช่ลากซึ่งจะทำ
เสียงดังรบกวนคนอื่น สิ่งเหล่านี้เป็นรายละเอียดซึ่งอาจดูเหมือนยิบย่อยจนเกินไป แต่นั่นคือ
ความรักความเอาใจใส่ของแม่ที่มีต่อลูกรัก ดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดที่เล็กเกินไปหรือไม่สำคัญ
๒. วิริยะ ตัวอย่างสำคัญที่ชาวฉือจี้มักจะกล่าวถึงคือเรื่องการสร้างโรงพยาบาลที่เป็น
ของชาวไต้หวันทุกคน ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนมุ่งมั่นสร้างโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้
แม้เมื่อ ๔๐ ปีก่อน ท่านจะเป็นเพียงภิกษุณีเล็กๆที่มีผู้ติดตามไม่มากนัก ไม่มีทั้งชื่อเสียงและ
เงินทอง และยังไม่เห็นหนทางที่จะเป็นไปได้ ช่วงเวลานั้นใครๆก็ทัดทานท่าน เพราะการสร้าง
โรงพยาบาลต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล แต่ท่านมีวิริยะมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้
แก่ผู้ยากไร้ จึงเรียกร้องให้ชาวไต้หวันร่วมบริจาคเงิน แม้มีชาวญี่ปุ่นจะบริจาคถึง ๒๐๐ ล้าน
เหรียญสหรัฐ ท่านก็ปฏิเสธ เพื่อมิให้โรงพยาบาลตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้หนึ่งผู้ใด จนกระทั่งใน
ที่สุดสามารถสร้างโรงพยาบาลได้สำเร็จในเมืองชนบท คือ ฮวาเหลียน ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกล
ความเจริญ และมีชาวเขายากจนอาศัยอยูจ่ ำนวนมาก วิรยิ ะของท่านมิได้หยุดอยูเ่ พียงแค่นน้ั ใน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านได้เปิดโรงพยาบาลแห่งทีห่ ก ซึง่ จะครอบคลุมทัว่ เกาะไต้หวัน ธรรมาจารย์
เจิ้งเหยียนจึงเป็น “ต้นแบบ” ของความมีวิริยะในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่
คำนึงถึงความยากลำบาก
๓. วินยั ธรรมาจารย์เจิง้ เหยียนเป็นผูถ้ อื วินยั ภิกษุณสี งฆ์อย่างเคร่งครัด ทัง้ วินยั ส่วนตน
และต่อผูอ้ น่ื ตัวอย่างเช่น การไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ ธรรมาจารย์เจิง้ เหยียนเห็นว่าในยุคกฎ
อัยการศึกของไต้หวันที่ท่านเริ่มบวชเป็นภิกษุณีนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจนข้นแค้น ท่านจึง
ตั้งปณิธานที่จะไม่เบียดเบียนชาวบ้านเหล่านั้น และเคร่งครัดในส่วนตนว่า “วันใดไม่ทำงาน
วันนั้นจะไม่กิน” ท่านปฏิบัติตามปณิธานนั้นมาจวบจนปัจจุบัน จึงเป็นแบบอย่างให้ชาวฉือจี้
ยึดมั่นในวินัยต่อตนเอง คือ การพึ่งตนเอง และวินัยต่อผู้อื่น คือ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งหมาย
รวมถึงความเคารพผูอ้ น่ื ความสุภาพต่อผูอ้ น่ื นำมาสูร่ ะเบียบกฎเกณฑ์ทจ่ี ะต้องสวมเครือ่ งแบบ
เพื่อความเท่าเทียมกัน ความมีระเบียบเรียบร้อยของหมู่กลุ่ม ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนเป็นแบบ
อย่างของทุกอิริยาบท เช่น เดินเบาๆ พูดเบาๆ ด้วยวาจาอ่อนโยน ใบหน้าและสายตามี
รอยยิ้มและความรัก ท่ากิน-ดื่ม-นั่งที่สวยงาม การเปิดประตู การจัดวางสิ่งของ การแต่งกาย
เรียบง่ายด้วยเครือ่ งแบบทีก่ ลัดกระดุมทุกเม็ดเพือ่ ความสุภาพเรียบร้อย เป็นต้น ซึง่ สิง่ เหล่านีฉ้ อื จี้
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 155
ถือว่า “เป็นที่มาแห่งเหตุผล” อันเป็นสาเหตุสำคัญของสันติสุขในสังคม
๔. ความหวัง ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนมีความหวังอันยิ่งใหญ่ คือ สังคมสุขาวดี
ในโลกใบนี้ ซึ่งมีลักษณะ “ทุกคนมีจิตใจบริสุทธิ์ สังคมร่มเย็น และไร้ภัยพิบัติ” ความหวังนี้
ดูห่างไกลนัก แต่ท่านไม่ย่อท้อ กลับมุ่งมั่นและเผยแพร่ให้เป็นความหวังในหัวใจของชาวฉือจี้
ทุกคน ท่านเชือ่ มัน่ ในธรรมชาติแห่งความดีของมนุษย์ อันนำมาสูป่ รัชญาของฉือจีท้ ว่ี า่ “ไม่มใี คร
ทีฉ่ นั ไม่รกั ไม่มใี ครทีฉ่ นั ไม่อภัย และไม่มใี ครทีฉ่ นั ไม่เชือ่ ใจ” เมื่อธรรมชาติแห่งความดีเติบโตงอก
งามได้แล้ว สังคมร่มเย็นและโลกที่ไร้ภัยพิบัติย่อมไม่ไกลเกินเอื้อม มนุษย์จึงเป็นความหวังอัน
ยิง่ ใหญ่ และชาวฉือจีก้ ก็ ำลังเร่งบ่มเพาะกล่อมเกลามนุษย์ทง้ั ในรูปของการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์
และในกระบวนการศึกษาของฉือจี้ ดังนั้น นักเรียนทุกคนจึงเป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ของ
ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน แม้จะเป็นการลงทุนถึง ๑๐๐ ปีก็ตาม

ครูคนที่สอง ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารระดับสูงในสถานศึกษาฉือจี้แต่ละแห่ง มิได้เหินห่างกับนักเรียนนักศึกษา
แม้ตนเองจะไม่ได้สอน และไม่มีหน้าที่ติดตามดูแล คณะวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร
จะต้องหากิจกรรมร่วมทำกับนักเรียนนักศึกษาอยู่เสมอ เช่น เลขานุการใหญ่แห่งมหาวิทยาลัย
ฉือจีจ้ ดั กิจกรรมพานักศึกษากลุม่ หนึง่ ออกไปกวาดถนนนอกมหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาจริยศิลป์
ศึกษาของมหาวิทยาลัยนัดนักศึกษากลุม่ ย่อยกินข้าวกลางวันและเย็นเป็นประจำ หัวหน้าภาควิชา
จริยศิลป์ศกึ ษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีฉอื จีส้ ง่ เสียงเชียร์นกั ศึกษาของตนในการประกวดร้องเพลง
ฉือจี้ และในการแข่งขันประกวดร้องเพลงครั้งนี้คณบดีหลายฝ่ายมาร่วมให้กำลังใจด้วย ครูใหญ่
โรงเรียนประถมยืนรอรับเด็กทุกเช้าเพื่อดูว่าเด็กเป็นอย่างไรในเช้าวันนี้ อดีตครูใหญ่ที่จำชื่อ
นักเรียนได้ถึง ๓๐๐ คนรวมไปถึงพ่อแม่และสถานภาพทางครอบครัวของเด็กแต่ละคน
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารจะทำกิจกรรมกับนักเรียนนักศึกษากลุ่มย่อย
เป็นประจำ เพื่อสร้างความสนิทสนม บุคลิกของผู้บริหารที่เรียบง่าย สุภาพ นับเป็นการสอน
ด้วยการเป็นตัวอย่างทีด่ ี ผูบ้ ริหารเป็น “ครู” ให้บคุ ลากรทุกคนในสถานศึกษาเห็นถึงความสำคัญ
ของการสร้างความสัมพันธ์อนั ใกล้ชดิ กับนักเรียน และพฤติกรรมของครูทส่ี มบูรณ์แบบ นอกจากนี้
ผู้บริหารยังเป็น “ครู” ให้นักเรียนเห็นว่าตนมีคนเอาใจใส่ และตนก็ควรจะเอาใจใส่ผู้อื่นด้วยโดย
ไม่แบ่งชนชั้นสถานะ

156 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ครูคนที่สาม ครูประจำชั้น
ครูประจำชั้นใกล้ชิดเด็กดั่งพ่อแม่คนที่สอง ครูประจำชั้นหรืออาจารย์ที่ปรึกษาเป็น
“ต้นแบบ” ที่เด็กเห็นเป็นบุคคลแรกและเห็นตลอดเวลาขณะอยู่ในสถานศึกษา ครูจะเรียนรู้จาก
นักเรียนแต่ละคนว่าควรใช้เทคนิควิธีอบรมสั่งสอนอย่างไร นักเรียนก็เรียนรู้ทั้งจากการสอนด้วย
วาจาและจากพฤติกรรมของครูนั่นเอง การศึกษาคือการให้อย่างไม่มีขีดจำกัด และไม่เห็นแก่ตัว
ครูไม่เพียงแต่จะต้องทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้นักเรียนพื่อไปสู่เป้าหมายของการอบรมคือให้เด็ก
“รู้พอ รู้คุณ ยกย่อง รัก” เท่านั้น ครูยังต้องประชุมเพื่อค้นคิดวิธีแก้ปัญหาให้นักเรียนด้วย และ
พัฒนาเทคนิควิธีในการอบรมบ่มสอนให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ในวันหยุดครูก็ยังต้องนำ
นักเรียนไปทำกิจกรรมสาธารณกิจเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี ขณะเดียวกันก็จะได้สอนคุณธรรมให้เด็ก
เพื่อสร้าง “โพธิสัตว์น้อย” วันหยุดปิดเทอมต้องเตรียมการสอนและออกเยี่ยมเยียนบ้านของ
นักเรียนทุกคน “ดูเหมือนครูจะไม่มีเวลาเป็นส่วนตัวเลย ทุกเวลานาทีเพื่อนักเรียนตัวน้อยทั้งสิ้น
ทำไมครูของสถานศึกษาฉือจี้จึงทำได้” คณะวิจัยวิเคราะห์ได้ว่าก็เพราะครูทุกคนมี “จิตของแม่”
นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับแม่ที่ดูแลลูกน้อย แม่ก็ไม่เคยมีเวลาว่าง หรือมีเวลาส่วนตัวเลย
ลูกตื่นแม่ก็ต้องตื่น ลูกหลับแม่ก็ต้องรีบทำอย่างอื่นให้เสร็จเรียบร้อย ครูก็เป็นเช่นดั่งแม่ที่เตรียม
ทุกอย่างให้พร้อมเพื่อศิษย์น้อย ด้วยความหวังว่าศิษย์รักทุกคนจะเติบโตขึ้นเป็นคนดีของพ่อแม่
ของครู ของสังคม ร่วมกันสร้างสังคมสุขาวดีที่ “จิตบริสุทธิ์ สังคมร่มเย็น ไร้ภัยพิบัติ”

ครูคนที่สี่ ครูวิชาจริยศิลป์ศึกษา
ครูวชิ าจริยศิลป์ศกึ ษาเป็นครูทพ่ี บนักเรียนเพียงสัปดาห์ละ ๒ คาบ แต่เป็นบุคคลหลักที่
จะต้องให้การศึกษาเพื่อชีวิตและคุณธรรมแก่นักเรียน ชั่วโมงเรียนดังกล่าวจะน่าเบื่อทันที หาก
ครูไม่มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สถานศึกษาฉือจี้จึงใช้ศิลปะการจัดดอกไม้ ศิลปะการชงชา
และศิลปะการเขียนพูก่ นั จีน มาเป็นสือ่ ในการสอนจริยธรรมคุณธรรม ครูผสู้ อนต้องมีความเชีย่ ว-
ชาญในศิลปะดังกล่าว และรูว้ ธิ บี รู ณาการเข้ากับการปฏิบตั ิ อีกทัง้ ยังสามารถอธิบายคุณประโยชน์
ในชีวิตประจำวันทั้งต่อร่างกายและจิตใจ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจ เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัว
นอกจากนีย้ งั ต้องมีความสามารถในการเปรียบเทียบเชือ่ มโยงเข้าสูค่ ณุ ธรรมทุกด้านของชีวติ เช่น
ความกตัญญูรู้คุณ การคำนึงถึงผู้ยากไร้ในมุมอื่นๆของโลก การประหยัดน้ำและพลังงาน

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 157
การรักษาสิ่งแวดล้อม คุณประโยชน์ของการมีระเบียบวินัย กิริยามารยาทที่งดงาม เป็นต้น นอก
จากครูจะต้องเป็นผู้สอนที่เก่งแล้ว บุคลิกภาพของครูก็เป็น “แบบอย่าง” ที่ดีแก่นักเรียน คณะ
วิจัยพบว่าครูวิชาจริยศิลป์ศึกษาทั้งหญิงและชาย ต่างเป็นผู้มีกิริยานุ่มนวล อ่อนหวาน อ่อนน้อม
ขณะเดียวกันก็มีความสง่า สุภาพ เรียบร้อย

ครูคนที่ห้า ครูฝ่ายปกครอง
ครูฝ่ายปกครองเป็นผู้ดูแลพฤติกรรมของเด็กทุกคน โดยเฉพาะระดับมัธยมและอุดม-
ศึกษา เนื่องด้วยนักเรียนส่วนใหญ่อยู่หอพักของสถานศึกษาฉือจี้ ครูฝ่ายนี้ดูแลเด็กให้รู้จักกฎ
ระเบียบวินยั และการอยูร่ ว่ มกันในสังคม เป็นครูทใ่ี ห้รางวัลและลงโทษ จึงเป็นผูท้ ธ่ี รรมาจารย์
เจิ้งเหยียนให้ความสำคัญเป็นพิเศษไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าครูประจำชั้นและครูจริยศิลป์ บุคลิกของ
ครูฝ่ายปกครองที่คณะวิจัยได้สัมภาษณ์ทั้งในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นครูชาย และโรงเรียนมัธยมซึ่ง
เป็นครูหญิง พบว่า เป็นผู้ที่กระฉับกระเฉง จิตใจเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ขณะเดียวกัน ก็เป็นคนตรง กล้าชี้ถูกชี้ผิด ด้วยหลักคิดที่ว่า “ถ้าเด็กผิด ครูต้องบอกและแนะนำ
เพื่อให้เด็กรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ซึ่งจะเป็นเกราะคุ้มกันเด็กต่อไปในอนาคต” นอกจากนี้
ครูฝ่ายปกครองยังต้องเป็นผู้มีจิตวิทยาสูง มีเทคนิคในการจะค้นหาผู้กระทำผิด และมีเทคนิคที่
จะโน้มน้าวให้ผู้กระทำผิดยอมรับผิดด้วยความเต็มใจ ด้วยหลักคิดที่ว่า“เมื่อใดที่เด็กยอมรับผิด
การศึกษาที่แท้จริงได้เริ่มขึ้นแล้ว” และจะต้องมีเทคนิคโน้มนำให้เด็กกระทำความดียง่ิ ขึน้ ด้วย
รางวัลของกลุม่ หรือของห้อง มิใช่เพือ่ การแข่งขันเอาชนะในเชิงปัจเจก แต่เป็นการสร้างสามัคคี
ของกลุ่มด้วย ครูฝ่ายปกครองยังต้องเป็นบุคคลหลักที่จะริเริ่มกิจกรรมสำหรับหมู่กลุ่มเพื่อสร้าง
เสริมคุณธรรมให้เด็กทุกคนอีกด้วย

ครูคนที่หก ครูวิชาอื่นๆ
ครูผู้สอนวิชาการอื่นๆ เป็นบุคคลหลักที่สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ อย่างไรก็ดี
สถานศึกษาฉือจีไ้ ด้กำหนดให้ครูประจำชัน้ ครูจริยศิลป์ศกึ ษา และครูฝา่ ยปกครองสอนวิชาการ
คนละ ๑ วิชา ดังนั้น วิชาการต่างๆย่อมถูกสอดแทรกวาทธรรมผ่านครูที่ได้รับการอบรมมา
แล้วเหล่านี้ ความสัมพันธ์ของนักเรียนและครูจึงสอดประสานกัน มิได้มีเพียงเส้นใดเส้นหนึ่ง

158 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
เท่านั้น แต่เชื่อมโยงกันล้อมรอบตัวนักเรียนอย่างแนบเนียน ดังนั้น ในระบบการศึกษาตาม
หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการของสถานศึกษาฉือจี้จึงมีการสอนคุณธรรมวาทธรรมสอดแทรกไป
ในทุกวิชา นับเป็นการศึกษาแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ยิ่ง
อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจัยพบว่า แม้ในโรงเรียนที่ไม่มีสภาพแวดล้อมของฉือจี้เลย ถ้าครู
มีความตั้งใจจริงที่จะสอนวิชาการสอดแทรกคุณธรรมก็สามารถทำได้ โดยนำเทคนิควิธีการ
ของฉือจี้ไปใช้ เพราะสมาคมครูฉือจี้มีหลักสูตรอบรมการสอนสอดแทรกวาทธรรม และจัดทำ
คู่มือการสอนสำหรับครู ซึ่งเป็นเทคนิควิธีจากประสบการณ์จริงในการสอนเด็กของครู ๓๐,๐๐๐
คน แม้ผลที่ได้ในการสอนนักเรียนอาจไม่สมบูรณ์ดังที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาฉือจี้ เพราะไม่มี
สภาพแวดล้อมที่ทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกัน แต่ว่าครูเพียงคนเดียวสอนหนึ่งวิชาเป็นเวลา ๑ ปี
ก็มีผลให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นและความตั้งใจค่อนข้างมากที่จะร่วมกิจกรรมการสอน
มีความเคารพต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม สิ่งของ และเรื่องราวต่างๆมากขึ้น มีจิตสำนึกใน
บุญคุณเพิ่มขึ้น และความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียนก็ดีขึ้นด้วย ดังนั้นแม้จะเป็นครูวิชาอะไร
ก็ตาม หรือถ้าเป็นครูประจำชัน้ ก็ยง่ิ ดี ถ้าเริม่ สอนวาทธรรมแล้ว ย่อมมีผลต่อนักเรียน ข้อสำคัญ
ที่สุดคือครูจะต้องมีความตั้งใจจริง มีความรัก ความอดทน เป็นตัวอย่างที่ดีและปฏิบัติได้จริง
ตามที่สอน
ครูคนที่เจ็ด พ่อแม่
พ่อแม่มีโอกาสรับรู้แนวทางการสอนของสถานศึกษาฉือจี้ ด้วยเทคนิควิธีหลากหลาย
ได้แก่ การอบรมปฐมนิเทศ ครูไปเยี่ยมเยียนที่บ้านทุกเทอม ครูโทรศัพท์พูดคุยกับพ่อแม่เพื่อ
ค้นหาวิธีแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก สมุดสื่อใยรักที่พ่อแม่ต้องเขียนพฤติกรรมของลูกทุกวัน
การชักชวนให้พ่อแม่ทำกิจกรรมสาธารณกิจร่วมกับครูและเด็ก หรือกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนใน
งานพิธีต่างๆ เช่น วันไหว้ครู พ่อแม่และเด็กจะมาร่วมทำพานดอกไม้หรือร้อยพวงมาลัยที่
โรงเรียน เพื่อให้ลูกใช้ไหว้ครู เป็นต้น การบ้านที่พ่อแม่ต้องช่วยเหลือลูก เช่น การปลูกต้นไม้
ในช่วงปิดเทอม และให้เด็กสังเกตความเปลีย่ นแปลงของต้นไม้ทกุ วันตัง้ แต่เพาะเมล็ด จดบันทึก
และทำรายงาน ซึง่ เด็กเล็กย่อมต้องให้พอ่ แม่ชว่ ยชีแ้ นะ จึงเป็นการดึงพ่อแม่ให้ใกล้ชดิ ลูกมากขึน้
การไปทัศนศึกษาทั้งพ่อแม่และนักเรียน โดยพ่อแม่จะต้องทำรายงานสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วย และลูก
จะเป็นผู้กระตุ้นเตือนให้พ่อแม่เขียนรายงานเพราะตนเองอยากได้คะแนน เป็นต้น ด้วยหลักคิด
ว่าการศึกษาที่บ้านเป็นส่วนสำคัญในการอบรมเด็ก ขณะเดียวกัน เด็กก็เป็นเมล็ดพันธุ์แห่ง
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 159
ความดีงาม พร้อมนำคำสอนและวาทธรรมที่ได้รับจากโรงเรียนไปบอกต่อที่บ้าน พ่อแม่มัก
จะคล้อยตามลูก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้านให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกับที่โรงเรียน
พ่อแม่จึงกลายเป็น “ครู” อีกคนที่เป็นเกราะคุ้มกันอันสำคัญยิ่งของเด็ก

ครูคนที่แปด อาสาสมัครผู้ปกครอง
ความสำเร็จในการดึงพ่อแม่ให้มีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กในรูป “อาสาสมัคร
ผูป้ กครอง” ซึง่ โรงเรียนประถมและมัธยมฉือจีเ้ ชิญชวนให้พอ่ แม่เข้ามาเป็นอาสาสมัครผูป้ กครอง
เพื่อให้ความอบอุ่นและดูแลลูกรักอย่างใกล้ชิด การดูแลลูกนั้นมิใช่ลูกของตนเพียงคนเดียว แต่
เป็นการดูแลเด็กทุกคนดั่งลูกตัวเอง โรงเรียนเริ่มด้วยเชิญชวนให้อาสาสมัครผู้ปกครองเข้ามา
ช่วยทำความสะอาด เนื่องด้วยโรงเรียนไม่จ้างพนักงานทำความสะอาด เด็กและครูจะช่วย
กันเอง ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เข้ามาช่วย ก็เหมือนแบ่งเบาภาระของลูกๆนั่นเอง เชิญชวนให้พ่อแม่
ช่วยดูแลเด็กเล็กระหว่างรอผู้ปกครองมารับตอนเลิกเรียน เชิญชวนให้พ่อแม่เข้ามาเป็นผู้ช่วย
ดูแลนักเรียนให้ทั่วถึงในชั่วโมงการฝีมือหรือการทำอาหารร่วมกับครูประจำวิชา เชิญชวนให้
พ่อแม่เป็นผู้ดูแลเด็กนักเรียนในการไปทำกิจกรรมนอกสถานที่
เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง อาสาสมัครผู้ปกครองรวมตัวกันได้
ก็สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นคณะผู้ปกครอง เพื่อบริหารจัดการกันเอง ให้มีอาสาสมัครผู้ปกครองมา
ประจำที่โรงเรียนทุกวัน ให้คิดกันเองว่าควรจะทำอะไรเพื่อแสดงถึงความรักความเอาใจใส่ต่อ
เด็กๆ ดั่งแม่ที่คอยดูว่าลูกยังขาดอะไร ก็จะเข้าไปเสริมในจุดนั้นทันที โรงเรียนได้จัดพื้นที่ห้อง
น้ำชาให้แก่อาสาสมัครผู้ปกครองบริหารจัดการ ห้องน้ำชาเป็นเหมือนห้องนั่งเล่นในบ้าน ที่เด็ก
จะวิ่งเข้าออกได้อย่างสบายใจ เพื่อเข้ามาดื่มน้ำ กินขนม พูดคุยกับอาสาสมัครผู้ปกครองดั่ง
พ่อแม่ของตนเอง ครูและผู้มาเยือนก็จะใช้ห้องน้ำชาในการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ แทนที่
จะใช้ห้องประชุมของโรงเรียน
คุณประโยชน์ในการสนับสนุนให้มีอาสาสมัครผู้ปกครองคืออะไร การให้ความอบอุ่น
แก่เด็กเป็นคุณประโยชน์ประการทีห่ นึง่ แต่การทีพ่ อ่ แม่ได้เข้ามาใกล้ชดิ กับโรงเรียนและครู พ่อแม่
ย่อมได้เรียนรู้แนวทางการสอนของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครู ซึ่งพ่อแม่ย่อมซึมซับ
หลักคิดของฉือจี้ และปรับเปลี่ยนตัวเอง อาสาสมัครผู้ปกครองจึงกลายเป็น “ต้นแบบ” หรือ
“ครู” อีกคนหนึ่งของนักเรียน เด็กได้เห็นความเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ของ
พ่อแม่ก็ย่อมซึมซับเข้าไปในจิตใจ ขณะเดียวกัน ครูก็อบรมให้เด็กรู้คุณพ่อแม่ด้วย จึงกลายเป็น

160 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
วงจรแห่งการศึกษา ที่ทุกคนอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมกันไปสู่แนวทางแห่งความรัก
และความดีงาม

ครูคนที่เก้า พ่อแม่อุปถัมภ์
พ่อแม่อุปถัมภ์ คืออาสาสมัครในระดับกรรมการฉือจี้ที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่ม
และผ่านการพิจารณาคุณสมบัติโดยละเอียดจากธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน เพื่อเป็นผู้ให้ความรัก
ความเอาใจใส่แก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาฉือจี้ พ่อแม่อุปถัมภ์ไม่เพียงแต่มาเยี่ยมเยียน
เด็กเดือนละครั้ง เอาขนมมาให้กิน ไปกินข้าวกลางวัน หรือไปเที่ยวเพื่อผูกสัมพันธ์กันเท่านั้น
แต่พ่อแม่อุปถัมภ์ยังมีหน้าที่หลักในการสอดแทรกคุณธรรมแห่งการดำรงชีวิตให้เด็กด้วย
โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาซึ่งเด็กเรียกร้องอิสระเสรีมาก สถานศึกษาไม่สามารถ
กำหนดให้นักศึกษาเรียนวาทธรรมทุกวัน หรือไปบำเพ็ญสาธารณกิจทุกสัปดาห์ พ่อแม่อุปถัมภ์
จึงมีบทบาทสำคัญในการอบรม และเป็น “ต้นแบบ” ด้านจริยธรรม ระดับอุดมศึกษาจึงจำเป็น
ต้องมีพ่อแม่อุปถัมภ์มากกว่าเด็กเล็ก นักศึกษาบางรายมีพ่อแม่อุปถัมภ์เกือบ ๑๐ คน ได้แก่
พ่อแม่อุปถัมภ์ดูแลนักศึกษาเฉพาะวิชาชีพ เช่น นักศึกษาแพทย์ พ่อแม่อุปถัมภ์ดูแลนักศึกษา
ต่างชาติ พ่อแม่อุปถัมภ์ดูแลอาสาสมัครเยาวชน พ่อแม่อุปถัมภ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
การแวดล้อมไปด้วยพ่อแม่อุปถัมภ์ เกือบจะตลอดเวลานับแต่เช้าถึงก่อนนอน คำพูด
การกระทำ และความเอาใจใส่ ย่อมมีอิทธิพลต่อเด็กบ้างไม่มากก็น้อย ผลจึงปรากฏแล้วว่า
นักเรียนนักศึกษาฉือจี้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เอาใจใส่ในการศึกษา มีความประพฤติดี
อยู่ในกฎระเบียบของหมู่กลุ่ม และทำงานให้ส่วนรวมด้วยความเต็มใจ ซึ่งไม่เพียงแต่มีผลดีต่อ
ตัวเด็กเอง แต่มีผลดีต่อสถานศึกษาด้วย เพราะปัญหาในด้านการบริหารจัดการลดลงมาก เวลา
ค่าใช้จ่าย และความปวดหัวของครูอาจารย์ผู้บริหารในการแก้ปัญหาจึงน้อยลงไปด้วย

ครูคนที่สิบ กรรมการฉือจี้ แม่นิทาน แม่ต้าอ้าย


ในกระบวนการศึกษาของฉือจี้ เด็กๆถูกแวดล้อมไปด้วยบุคลากรที่ได้รับมอบหมาย
หน้าที่เฉพาะในการเอาใจใส่เด็กแต่ละคนแต่ละกลุ่ม เช่น ครูประจำชั้น และพ่อแม่อุปถัมภ์
ดังที่กล่าวแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น เด็กๆ ยังถูกแวดล้อมด้วยกรรมการฉือจี้อีกมากมาย ซึ่งกระจาย
อยู่ทั่วไปในสังคมไต้หวัน เช่น ในโรงเรียนอื่นที่ไม่ใช่สถานศึกษาฉือจี้ก็มีแม่นิทาน (Pan Mama)
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 161
ไปเล่านิทานสอดแทรกคุณธรรมให้เด็กฟังทุกสัปดาห์ ในมูลนิธิพุทธฉือจี้สาขาต่างๆทั่วไต้หวันมี
การจัดหลักสูตรอบรมเด็กทุกวันอาทิตย์ เด็กทุกคนสามารถมาสมัครเรียนได้ โดยมีแม่ต้าอ้าย
(Da Ai Mama) เป็นผู้ดูแล หรือเมื่อนักเรียนนักศึกษาฉือจี้ไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ เหล่า
กรรมการฉือจี้ก็จะยกพลไปคอยต้อนรับ อำนวยความสะดวก ให้กำลังใจ และดูแลเอาใจใส่
ทำให้เด็กรับรู้โดยธรรมชาติว่า การให้ความรักดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น การมาเป็นอาสาสมัคร
ความเป็นระเบียบของหมู่คณะ ล้วนเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนสมควรกระทำ

ครูคนที่สิบเอ็ด สังคม คนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้


กิจกรรมสาธารณกิจ เป็นสื่อการสอนสำคัญที่ทำให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน
รูว้ าทธรรมคุณธรรม กิรยิ ามารยาท ความเป็นระเบียบ และอืน่ ๆ เป็นสือ่ ทีค่ รูทกุ คนใช้ผกู สัมพันธ์
กับเด็ก แต่เหนือไปกว่านั้นคือ ฉือจี้ได้ดึงเอาสังคมมาเป็น “ครู” ด้วยอีกแรงหนึ่ง ไม่ว่าจะ
เป็นคนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ยากไร้ ล้วนเป็น “ครู” แก่เด็กๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ
นักเรียนฉือจีไ้ ปเยีย่ มเด็กป่วยทีโ่ รงพยาบาลจะเกิดจิตเมตตาสงสาร นอกจากจะได้รบั การกระตุน้
ให้เข้าไปช่วยเหลือดูแล เช่น เช็ดตัว พูดคุยให้กำลังใจ ป้อนข้าว หรือออมเงินวันละบาทเพื่อ
ช่วยเหลือเด็กยากจนคนนั้นแล้ว ยังได้รับการกระตุ้นให้นึกเปรียบเทียบกับตัวเอง ซึ่งแข็งแรง
มีอาหารการกินอย่างดี เด็กจะเกิดความรู้สึกกตัญญูต่อพ่อแม่ที่ได้เลี้ยงดูตนมาอย่างดี ดังนั้น
“ครู” ในที่นี้จึงไม่ใช่ครูที่นำพาไปทำกิจกรรม แต่เป็น “เด็กคนที่ป่วย” นั่นเอง การเยี่ยมบ้าน
พักคนชราทุกเดือน เด็กได้เรียนรู้ที่จะเสิร์ฟน้ำ พูดคุย และบีบนวดผู้สูงอายุ เข้าใจถึงความรู้สึก
ของผูส้ งู อายุทไ่ี ม่มลี กู คอยดูแล หัดเอาใจใส่ปรนนิบตั ผิ สู้ งู อายุตามทีท่ า่ นบอก เรียนรูก้ ารประพฤติ
ตนและการแสดงออกในที่สาธารณะต่อบุคคลมากมายที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน สิ่งต่างๆเหล่านี้
ไม่สามารถสอนได้ในห้องเรียน แม้ครูประจำชั้นจะพร่ำบอกอย่างไร พ่อแม่จะพร่ำสอนซ้ำแล้ว
ซ้ำอีก ก็ไม่เหมือนได้มาประสบเหตุการณ์จริง และลงมือปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง เด็กจะเข้าใจอย่างถ่องแท้
และคิดเปรียบเทียบกับตนเอง ด้วยเหตุนี้ “คนป่วย ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และสังคม”
ก็คือ “ครู” นั่นเอง

162 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ครูคนที่สิบสอง สิ่งแวดล้อมพูดได้
ดังที่กล่าวแล้วว่ากระบวนการศึกษาของฉือจี้หยิบเอาทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเด็กมาเป็น
“ครู” ไม่เพียงแต่คนเท่านั้น แม้ตัวอาคารก็ยังมีชื่อที่สอนใจสอดคล้องกับปรัชญาของฉือจี้ รูป
ทรงหน้าจัว่ หรือรูปแบบภายในทรงกลมและเหลีย่ มก็เป็นคติธรรม โต๊ะเก้าอีอ้ อกแบบพิเศษมีลน้ิ ชัก
หูหว้ิ ตะแกรง เพือ่ สอนให้นกั เรียนรูจ้ กั การใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ขนาด รูปแบบ
สีสรรที่สุภาพก็สอนนักเรียนได้ด้วย ลักษณะทางกายภาพแม้ดูภายนอกจะเป็นเพียงตึกแข็งๆ
แต่เมือ่ เข้าใจรายละเอียดต่างๆแล้ว กลับเปีย่ มล้นไปด้วยความรักความเอาใจใส่และความประณีต
กลายเป็น “สิ่งแวดล้อมพูดได้” และสอนนักเรียนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ นักเรียนยังได้รับ
การอบรมว่ามนุษย์ตอ้ งไม่รบกวนธรรมชาติ ซึง่ เป็นเจ้าของสถานที่ มนุษย์เป็นเพียงผูม้ าเยือน ดังนัน้
การสร้างตึกอาคารต่างๆจะรบกวนธรรมชาตินอ้ ยทีส่ ดุ ได้แก่ ไม่มกี ารขุดหรือถมทีด่ นิ เพือ่ ปรับ
ภูมทิ ศั น์ ตึกอาคารจะวางอยู่บนที่ดินสูงต่ำตามธรรมชาติเดิม และใช้เทคนิคเชิงวิศวกรรมปรับ
แต่งโครงสร้างอาคารแทน การไม่รบกวนธรรมชาติเช่นนี้มีผลให้ระบบนิเวศน์ไม่เปลี่ยนแปลง
มากนัก ซึ่งปรากฏผลเด่นชัดที่โรงเรียนฉือจี้ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ว่าไม่มียุงรบกวน
และน้ำไม่ท่วม แม้จะมีน้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมที่ตัวอำเภอฝางก็ตาม และระบบนิเวศน์ที่มี
อยู่นั้นก็เป็น “ครู” ให้นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง
ของชีวิตที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ธรรมชาติแวดล้อมเหล่านี้เองที่สอนให้เด็กมีจินตนาการสร้างสรรค์
และมีความคิดในเชิงบวก

ครูคนที่สิบสาม สื่อ
นิทาน หนังสือ วีดที ศั น์ ต้าอ้ายทีวี มูลนิธฉิ อื จีไ้ ด้คดั สรรเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ จริงในมุมต่างๆ
ของโลก ซึ่งสามารถเป็น “ครู” ได้ ทั้งเรื่องที่มีความสุข การทำความดี อุปสรรคในการ
ดำเนินชีวิต ความยากจนข้นแค้นในอาฟริกา การขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ของประเทศจีน
สถานศึกษาฉือจีไ้ ด้ใช้ “สือ่ ” เหล่านีเ้ ป็นอุปกรณ์การสอน แต่ขณะเดียวกัน “สือ่ ” ก็เป็น “ต้นแบบ”
หรือ “ครู” อยู่ในตัว และมีอิทธิพลสูงต่อเด็กและสังคม อาจกล่าวได้ว่าสามารถกำหนดทิศทาง
การดำเนินชีวติ ของผูช้ มได้ทเี ดียว เด็กได้เรียนรูถ้ งึ บุคลิกภาพของตัวละครแต่ละตัว การตัดสินใจใน
เหตุการณ์ต่างๆ และผลของการกระทำ ซึ่งเด็กจะจดจำและนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตตนเอง
หรือนำไปใช้ในชีวิตจริง

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 163
เทคนิคการศึกษาของฉือจี้ ๒ ประการ
๑. นักเรียนอยูใ่ นสภาพแวดล้อมทีม่ อี าสาสมัครฉือจีท้ ำความดีตลอดเวลา จึงเป็นการเห็นตัวอย่างทีด่ ี
และสามารถปฏิบัติได้จริง
๒. นักศึกษา ได้สัมผัสแตะต้องพูดคุยกับผู้ประสบทุกข์ จึงทำให้เกิดความประทับใจ

“การหล่อหลอมจะต้องทำทุกวัน ซึมลึกเข้าไปจนถึงหัวใจ” การศึกษาของฉือจีเ้ ป็นการศึกษา
บูรณาการ มิใช่การไปนั่งเรียนวิชาการอย่างเดียว แต่ต้องได้สัมผัสความยากจนความทุกข์จริง
จึงทำให้นกั ศึกษามีแรงกระตุน้ ทีจ่ ะแก้ปญั หาให้แก่สงั คมต่อไป การศึกษาจะเริม่ ต้นจากเห็นทุกข์
ก่อน แล้วมาถึงการช่วยเหลือสงเคราะห์ หัวใจของฉือจีค้ อื การได้ทำภารกิจทัง้ ๘ อย่าง การศึกษา
จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อได้ไปสัมผัสความทุกข์ของมนุษย์ด้วยตนเอง
เราห้ามภัยพิบัติไม่ได้ แต่เราช่วยเหลือได้ นี้จึงเป็นที่มาของหน่วยแพทย์ หน่วยจัดหาอาหาร
ขอเงินบริจาค สร้างบ้านให้ผู้ประสบภัย เพื่อปลูกความรักและความกรุณาลงในใจของทุกคน
การจัดดอกไม้ การชงชา การเขียนพู่กันจีน มีหลักการเดียวกัน คือ ใจคุณต้องสวยก่อน
ทุกอย่างจึงออกมาสวย
สัญลักษณ์ฉอื จี้ คือ ดอกบัวพ้นตม เหมือนฉือจีท้ ส่ี ะอาดเหนือโลกสมัยใหม่ทส่ี กปรก ต้าอ้ายทีวี
มีแต่รายการทีวีดี ๆ ของฉือจี้ เหมือนดอกบัวที่ขึ้นมาเหนือตม เรือสำเภา คือเรือธรรมะ
พาข้ามฝั่งจากโลกียะ ไปโลกุตระ
อู๋เทียนฝู, กรรมการฉือจี้ผู้ดูแลคณะวิจัย
สัมภาษณ์ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ เวลา ๙.๓๐ น.

164 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
การทำวิจัยรูปแบบความสำเร็จในกระบวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาฉือจี้
คณะวิจัยพบว่าสถานศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนาคุณธรรมของเด็กทั้งกาย จิตสำนึก และจิต
วิญญาณ โดยนักเรียนมีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง เช่น การตืน่ การกิน
การนอน มีความตั้งใจที่จะร่วมกิจกรรมของโรงเรียน มีความเคารพต่อคน สัตว์ สิ่งของ
สิ่งแวดล้อม และเรื่องราวต่างๆ มีจิตใจสำนึกในบุญคุณมากขึ้น ความสัมพันธ์ของครูและ
นักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียนดีขึ้น เนื่องจากนักเรียนเข้าใจคำสอนที่เป็น
นามธรรมอันได้แก่ ความรัก การให้อภัย ความสำนึกในบุญคุณได้ชัดเจนขึ้น ในบทสรุป
และข้อเสนอแนะนี้ คณะวิจัยจะสรุปรูปแบบกระบวนการศึกษาและกระบวนการพัฒนาครูของ
ฉือจี้ในเชิงปฏิบัติจริงมิใช่เชิงทฤษฎี เพื่อเป็นข้อเสนอแนะสำหรับกรอบโครงสร้างหลักสูตรใน
ระบบการศึกษาไทย และการพัฒนาครูของไทย

แนวทางการจัดการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังคุณธรรม
และข้อเสนอแนะต่อกรอบโครงสร้างหลักสูตรในระบบการศึกษาไทย
๑. เป้าหมายการศึกษาเด่นชัด คือ หลักไตรสิกขา และพรหมวิหาร ๔ โดยมีศีล
ผ่านการกิน การนอน และระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตประจำวัน มีสมาธิและปัญญาผ่านการ
ไตร่ตรองคุณธรรมจากงานศิลปะและธรรมชาติ มีพรหมวิหาร ๔ ผ่านการสัมผัสกับความจริง
ในสังคม และการให้บริการต่อสังคม
๒. หลักสูตรการศึกษา ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เพิ่มวิชาจริยศิลป์
ศึกษา การสอนวาทธรรม และกิจกรรมหลากหลายที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ
๓. การสอนวาทธรรมอย่างมีเทคนิค-กระตุ้นจิตสำนึกคุณธรรม โดยการสอนวาท-
ธรรมประจำสัปดาห์ ด้วยนิทานหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการปลูกฝัง ๖ ขั้นตอน คือ
เข้าใจ คิด (วิปัสสนา) แสดงออก (ปัญญา) สัมผัส (กระตุ้นจิตเมตตา) ทำทันที (กรุณา) ทำอีก
ไม่หวังผลตอบแทน (มุทติ าอุเบกขา) เพือ่ กระตุน้ ให้นกั เรียนจินตนาการ คิด วิเคราะห์ดว้ ยตนเอง
ซึง่ ดึงดูดความสนใจของนักเรียน มากกว่าจะให้นกั เรียนสวดมนต์แบบนกแก้วนกขุนทอง หรือนั่ง
สมาธิโดยไม่เคยได้คิดไตร่ตรองและปฏิบัติจริง

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 165
๔. วิชาจริยศิลป์ศึกษา ๒ คาบต่อสัปดาห์ เป็นการอบรมคุณธรรม ความประพฤติ
มารยาท วินัย และความรู้ให้แก่นักเรียน ผ่านศิลปะและวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น การชงชา
การจัดดอกไม้ การเขียนพู่กันจีน มารยาท และวัฒนธรรมฉือจี้ โดยหมุนเวียนเรียนศิลปะด้าน
ละ ๘ สัปดาห์ วิชานี้เป็นหัวใจของการศึกษาบูรณาการความรู้กับคุณธรรมในกระบวนการ
ศึกษาของฉือจี้ ซึ่งระบบการศึกษาไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางมาก เพราะไทย
มีวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น ศิลปะการปั้นตุ๊กตาชาววัง ศิลปะการประดิษฐ์ขนมและอาหารไทย
ศิลปะการร้อยมาลัย ศิลปะอันทรงคุณค่าหัตถกรรมงานฝีมือต่างๆ เป็นต้น เด็กจะได้เรียนรู้
ประวัติศาสตร์ของศิลปะแต่ละแขนงควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ไทย ได้ฝึกหัดทักษะการใช้มือ
การมีสมาธิ ศิลปะการตกแต่งและจัดให้สวยงาม มารยาทในการกินและดืม่ มารยาทในการเสิรฟ์
และที่สำคัญที่สุดคือ “ฝึกคำนึงถึงจิตใจผู้รับ”
๕. วิชาการทุกด้าน ครูจะสอดแทรกวาทธรรม และการเชื่อมโยงสู่จริยธรรมในชีวิต
ประจำวัน เพื่อให้นักเรียนคิดเปรียบเทียบและบูรณาการความรู้กับชีวิตจริง
๖. สื่อการสอนคุณธรรม มิใช่เพียงตัวหนังสือบนกระดาน และคำพูดที่ลอยไปกับ
สายลมของครูเท่านั้น แต่นักเรียนจะได้ฝึกหัดคิดและปฏิบัติจริง ด้วยเทคนิควิธีที่หลากหลาย
เช่น การทดลองให้เห็นจริง-การบันทึก-การเขียนรายงาน-การรายงานหน้าชั้น-การยกย่องและ
ขอบคุณเพื่อนแต่ละคนในกลุ่ม การเขียนบทความ การเล่านิทาน การวาดรูป การแสดงละคร
ประดิษฐ์อปุ กรณ์ในการแสดงด้วยวัสดุเหลือใช้ เพือ่ การส่งเสริม “รูพ้ อ รูค้ ณุ ยกย่อง รัก” ซึ่งเด็ก
จะได้ทั้งความสนุกสนานและพัฒนาการด้านคุณธรรม
๗. กระตุ้นจิตอาสา ด้วยการเป็นอาสาสมัครในโรงเรียน สถานศึกษาฉือจี้สนับสนุน
ให้นักเรียนเป็นอาสาสมัครในรูปแบบของชมรมนักเรียน ซึ่งแต่ละชมรมจะทำกิจกรรมบำเพ็ญ
ประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น อาสาสมัครห้องสมุด อาสาสมัครแยกวัสดุรีไซเคิล อาสาสมัคร
ดูแลความสะอาดภายในโรงเรียน อาสาสมัครห้องพยาบาล อาสาสมัครห้องน้ำชา อาสาสมัคร
ซ่อมแซมอุปกรณ์ เป็นต้น นักเรียนจึงเลือกทำกิจกรรมได้ตามความชอบและความถนัดของตน
โดยนักเรียนที่มาสมัครจะต้องผ่านการคัดเลือกฝึกงาน ๒ สัปดาห์ เนื่องด้วยหลักคิดที่ว่า
อาสาสมัครบำเพ็ญสาธารณกิจนั้น จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งมีผลทางจิตวิทยาให้นักเรียน
อยากเป็นอาสาสมัคร ขณะเดียวกันอาสาสมัครก็ตอ้ งประพฤติดี ขยันทำการงานอย่างต่อเนือ่ งด้วย

166 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
๘. การบำเพ็ญสาธารณกิจนอกโรงเรียน สถานศึกษาฉือจีจ้ ะนำพาเด็กและผูป้ กครอง
ไปบำเพ็ญสาธารณกิจทุกสัปดาห์ เช่น ในโรงพยาบาลฉือจี้ สมณารามจิ้งซือ บ้านพักคนชรา
ทัณฑสถาน สถานแยกเก็บวัสดุเหลือใช้ของมูลนิธิฉือจี้ หรือพาไปกวาดถนน เป็นต้น การนำ
พาเด็กไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการศึกษาฉือจี้ เพื่อฝึกหัดให้เด็ก
เข้าใจชีวิต มีจิตใจอ่อนน้อม มีเมตตา ให้ได้ปฏิบัติจริงแสดงความรักความเอาใจใส่ต่อผู้คน
และการฝึกหัดกิริยามารยาท
๙. การประเมินผลการศึกษา สถานศึกษาฉือจี้มีคะแนนความประพฤติให้นักเรียน
ทุกคน ประเมินผ่านสมุดสื่อใยรัก ซึ่งใช้เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างเด็ก-ครู-พ่อแม่ร่วมกันติดตาม
พัฒนาการของเด็ก นอกจากนี้ ในวิชาจริยศิลป์ศึกษา เด็กจะต้องไปบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
อย่างน้อย ๑๐ ชั่วโมง และจัดให้มีรางวัลในกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นให้นักเรียนมีพัฒนาการ
ด้านคุณธรรม มีการให้รางวัลการทำความดีประจำสัปดาห์ และติดตามผลอย่างจริงจัง มีการ
ยกย่องผู้กระทำดีหน้าเสาธง ยกย่องผู้กระทำดีในห้องเรียน ติดบอร์ดยกย่องผู้ทำดี เป็นต้น

แนวทางการพัฒนา “ครู” ให้มีจิตใหญ่ดั่ง “พ่อแม่”


กระบวนการพัฒนา “ครู” ทั้ง ๑๓ คณะ ได้แก่ ธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน ผู้บริหาร
สถานศึกษา ครูประจำชั้น ครูวิชาจริยศิลป์ศึกษา ครูฝ่ายกิจกรรม ครูวิชาอื่นๆ พ่อแม่
อาสาสมัครผูป้ กครอง พ่อแม่อปุ ถัมภ์ กรรมการฉือจี้ สังคม สิง่ แวดล้อม และสือ่ เป็นสิง่ สำคัญ
ยิ่งในความสำเร็จด้านการศึกษาของฉือจี้ ซึ่งมีกระบวนการดังนี้
๑. การคัดเลือกครู ที่มีความรักยิ่งใหญ่ในหัวใจ มีจิตใจอ่อนโยน มีประสบการณ์
ในการดูแลเอาใจใส่เด็ก พร้อมทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเวลาให้แก่เด็กอย่างเต็มที่ คำถาม
สัมภาษณ์ครูนั้น นอกจากทดสอบด้านวิชาการแล้ว ยังต้องทดสอบประสบการณ์ในการจัดการ
ปัญหาต่างๆของเด็กด้วย ว่าเป็นไปในเชิงกระตุ้นและให้กำลังใจ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของ
ฉือจี้หรือเป็นไปในเชิงลงโทษใช้อำนาจซึ่งจะสกัดกั้นพัฒนาการด้านจิตใจของเด็ก
๒. การอบรมให้ครูเข้าถึงจิตวิญญาณคุณธรรมอย่างแท้จริง โดยการอบรมขัน้ ต้นเป็น
เวลาอย่างน้อย ๓ เดือน ครูจะได้รับการอบรมวัฒนธรรมฉือจี้ การสอนสอดแทรกวาทธรรม
การสอนจริยศิลป์ศึกษา มารยาทและบุคลิกที่ดี การเป็นอาสาสมัครบำเพ็ญสาธารณกิจ โดย
การอบรมนั้น ครูฝึกหัดจะเข้าไปเรียนร่วมกับเด็กๆในชั้นเรียนเพื่อศึกษาเทคนิคการสอนของครู
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 167
ประจำชัน้ ขัน้ ต่อมาก็จะเป็นผูช้ ว่ ยครูในชัน้ เรียน นอกจากนี้ จะเชิญกรรมการฉือจีท้ ม่ี ปี ระสบการณ์
ด้านการสอน และบุคคลมีชื่อเสียงด้านการศึกษาสอดแทรกวาทธรรม มาบรรยายเทคนิควิธีใน
การสอนหรือจัดการปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเด็กนักเรียน
๓. ค่ายอบรมก่อนเปิดเรียนทุกภาคการศึกษา เป็นเวลา ๔-๕ วันที่โรงเรียน ซึ่งจะ
เชิญกรรมการฉือจี้ที่มีประสบการณ์ด้านการสอน บุคคลมีชื่อเสียงด้านการศึกษาสอดแทรกวาท-
ธรรม สมาชิกในสมาคมครูฉอื จี้ หรือบุคคลทีม่ ปี ระสบการณ์ในการบำเพ็ญสาธารณกิจทีน่ า่ สนใจ
มาเล่าประสบการณ์ให้ครูฟัง รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู แลกเปลี่ยนความคิด
เห็นในการสอนวาทธรรมและทำกิจกรรมต่างๆ
๔. การประชุมครูเป็นประจำ เพื่อทบทวนการสอน ปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผน
การสอนต่อไป ทำให้การสอนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน แก้ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิด
ขึ้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหานักเรียน หรือเชิญบุคคลที่น่าสนใจมาบรรยายให้
ฟัง เชิญผู้เขียนตำราเรียนที่ใช้อยู่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและปัญหาที่เกิดขึ้นในการ
สอนจริง เช่น การประชุมครูในสาขาวิชาเดียวกันทุกสัปดาห์ การประชุมครูตา่ งวิชาแต่ชน้ั เดียว
กันทุกสองสัปดาห์ การประชุมใหญ่ทุกเดือน เป็นต้น
๕. อ่านหนังสือวาทธรรม ครูจะได้รับมอบหมายให้อ่านหนังสือวาทธรรมบางบทเพื่อ
นำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม หรือที่ประชุม การได้อ่านและคิดเป็นประจำ นำไปสู่การ
ปลูกฝังคุณธรรมในจิตใจของครู และการคิดเทคนิคใหม่ๆในการสอน
๖. กระตุ้นจิตอาสา ครูจะต้องบำเพ็ญสาธารณกิจพร้อมนักเรียนและผู้ปกครองทุก
สั ป ดาห์ นอกจากครู จ ะเป็ น ตั ว อย่ า งที ่ ด ี แ ก่ น ั ก เรี ย น ดั ง คำกล่ า วที ่ ว ่ า “ตั ว อย่ า งที ่ ด ี
มีคา่ ยิง่ กว่าคำสอน” แล้ว การทีค่ รูได้สมั ผัสผูย้ ากไร้หรือมีทกุ ข์จริงๆ จะกระตุน้ จิตเมตตาสงสาร
ทำให้ครูออ่ นโยนขึน้ แล้วความรักทีย่ ง่ิ ใหญ่จะเกิดในจิตใจของครู นอกจากนี้ การบำเพ็ญสาธารณกิจ
ยังเป็นประสบการณ์จริงที่ครูสามารถนำมาใช้เป็นเรื่องราวในการสอนคุณธรรมวาทธรรมได้ ซึ่ง
เด็กจะสนใจมากกว่าเรื่องของคนอื่นที่ไม่รู้จักกัน
๗. การอบรมด้านวิชาการต่างๆ ตามสมควร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์
๘. การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร ได้แก่ การประเมินคุณภาพครูที่ไม่มุ่งเน้นเพียง
วิชาการด้านเดียว การสนับสนุนอุปกรณ์การสอนทีเ่ หมาะสม การสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ
แก่นักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม เงินเดือนและสวัสดิการครูที่มากพอสมควรครู จะได้ไม่ต้อง
ไปสอนพิเศษหรือทำอาชีพเสริม

168 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
ก. ด้านกายภาพ ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏต่อสายตานักเรียนล้วนเป็น “ครู”
เช่นกัน โต๊ะเก้าอี้ที่มีประโยชน์การใช้งานสูงสุด อาคารและสถานที่ทุกแห่งมีชื่อเป็นคติธรรม
สถาปัตยกรรมภายในบ่งชีป้ รัชญาฉือจี้ ความใกล้ชดิ ธรรมชาติ เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพเหล่านี้
ครูผู้สอนสามารถหยิบมาเป็นสื่อในการสอนคุณธรรม พฤติกรรม กิริยามารยาท สอดแทรกไป
กับวิชาการที่ครูกำลังสอนอยู่ได้ทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมเหล่านี้จึงกลายเป็น “ครู” ที่สอนนักเรียน
ทุกครั้งที่นักเรียนเอ่ยชื่อ หรือใช้บริการในสถานที่นั้นๆ
ข. ด้านกิจกรรมพื้นฐานของชีวิต การกิน เล่น นั่ง นอน เดิน ก็เป็นชั่วโมงฝึกหัด
มารยาท ความมีนำ้ ใจ การประมาณตน และการฝึกทักษะในการทำงาน “ครู” จะดูแลอย่างใกล้ชดิ
ให้คำแนะนำด้วยความรักและห่วงใย ส่วนการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น แสดงละคร ร้องเพลง
พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพือ่ ซือ้ เครือ่ งแต่งกายให้ลกู ๆทุกปี เพราะเด็กทุกคนจะต้องสวมเครือ่ ง
แบบนักเรียน และใช้วัสดุเหลือใช้ในการประดิษฐ์อุปกรณ์-ตกแต่งเวที การละเล่นต่างๆของเด็ก
จะสือ่ ไปในเชิงคุณธรรมทัง้ สิน้ เช่น การทำความดี การช่วยเหลือคนอืน่ การกตัญญู การเก็บขยะ
เป็นต้น จะไม่มีการส่อไปในเชิงลามกอนาจารหรือความรุนแรงโดยเด็ดขาด
ค. ด้านการเรียนการสอน โรงเรียนจะสนับสนุนด้านอุปกรณ์และสื่อการสอนที่
เหมาะสม โดยเฉพาะหนังสือวาทธรรม สมุดสื่อใยรัก กระดาษเครื่องเขียนเท่าที่จำเป็นในการ
ทำสือ่ การสอน พืน้ ทีส่ ำหรับผูก้ ระทำความดี ได้แก่ บอร์ดเพือ่ ติดประกาศวาทธรรม ที่ได้รับการ
คัดเลือกประจำสัปดาห์ และผู้ที่กระทำความดีประจำสัปดาห์ ตลอดจนเหตุการณ์บำเพ็ญ
สาธารณกิจประจำสัปดาห์ พื้นที่เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์
ในเชิงคุณธรรมต่างๆ
ง. บรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาฉือจี้จัดสภาพโรงเรียนให้มีบรรยากาศ
ของความเป็ น พ่ อ แม่ ล ู ก กล่ า วอี ก นั ย หนึ ่ ง คื อ นำสถาบั น ครอบครั ว มาไว้ ใ นโรงเรี ย น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ที่อบอุ่นใกล้ชิดดั่งครอบครัวเดียวกัน ด้วยการสนับ
สนุนให้มีอาสาสมัครผู้ปกครองในโรงเรียน มีพื้นที่และกิจกรรมสำหรับผู้ปกครอง มีกิจกรรมที่
ทำร่วมกันระหว่างครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ตลอดจน การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและ
โรงเรียน ได้แก่ ให้นักเรียนประกวดชื่อตึกอาคารและสถานที่ต่างๆในโรงเรียน ภาพเขียนของ
นักเรียนทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกนำมาใส่กรอบอย่างดีตกแต่งประดับภายในโรงเรียน ดอกไม้ทจ่ี ดั ร่วม
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 169
กันโดยนักเรียนจากชั้นเรียนจริยศิลป์ การจัดดอกไม้นำมาประดับในโรงเรียน เป็นต้น สิ่งเหล่า
นี้มีผลให้นักเรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ใกล้ชิดผูกพันกับโรงเรียนมากขึ้น
กระบวนการปลูกฝังคุณธรรมดังกล่าวข้างต้น มุง่ เน้นการให้ “รักทีย่ ง่ิ ใหญ่” แก่นกั เรียน
และใช้เทคนิคการสอนวาทธรรมและจริยศิลป์ศึกษาให้เด็กฝึก “ไตรสิกขา” ทั้งศีล-วินัย สมาธิ-
จิตสงบงดงาม และปัญญา-คิดดีคิดเป็น ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้ง ๕ ด้านที่เหมาะสม และการ
ดูแลเอาใจใส่อย่างรอบด้านของครู ๑๓ มิติ ซึง่ บ่มเพาะจิตโพธิสตั ว์ของนักเรียนด้วย “พรหมวิหาร
๔” อย่างมีปฏิสัมพันธ์ทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และสังคม สรุปได้ดังภาพที่ ๒
ภาพที่ ๒ กระบวนการจัดการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้
วัด
สื่อ

170 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
เชิงอรรถและอ้างอิง

บทความฉบับนี้ ผู้เขียนสรุปจากรายงานการวิจัย โดย เดิมแท้ ชาวหินฟ้า, รัศมี
กฤษณมิษ, สุวิดา แสงสีหนาท. (๒๕๕๐). การศึกษาแนวทางการปลูกจิตสำนึกคุณธรรมผ่าน
ระบบการ ศึกษา: กรณีศึกษามูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

Yao, Yushuang. (2001) “The Development and Appeal of the Tzu
Chi Movement in Taiwan.” Doctoral Dissertation, University of London, p.1.

อำพล จินดาวัฒนะ. (๒๕๕๙). จิตอาสา : พลังสร้างโลก. กรุงเทพฯ: ศูนย์สง่ เสริม
และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
(องค์การมหาชน). น. ๓๒.

พระไพศาล วิสาโล. (๒๕๕๐). “ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี:
ศึกษากรณีมลู นิธฉิ อื จี”้ บทความฉบับร่าง จากการเยี่ยมดูงานมูลนิธิฉือจี้ ระหว่างวันที่ ๓๐
พฤษภาคม - ๒ มิถุนายน ๒๕๕๐.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 171
172 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
เกี่ยวกับผู้เขียน
Author’s Profile
ประเวศ วะสี, Praves Vasee,
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ Ph.d., Professor, M.D.
ราษฎรอาวุโส แห่งประเทศไทย The Senior People of Thailand
http://www.prawase.com http://www.prawase.com
วิรุณ ตั้งเจริญ, ศาสตราจารย์ ดร. Wiroon Tungcharoen, Ph.d., Professor
อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Rector
๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ประสานมิตร) กรุงเทพฯ Srinakharinwirot University,
๑๐๑๑๐ 114 Sukhumvit 23 (Prasanmitra),
Bangkok 10110, Thailand
อำนาจ เย็นสบาย, รองศาสตราจารย์ Amnard Yensabye, Associate Professor
รองอธิการบดี ฝ่ายเครือข่ายการเรียนรู้ Vice Rector
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University,
๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ประสานมิตร) กรุงเทพฯ 114 Sukhumvit 23 (Prasanmitra),
๑๐๑๑๐
Bangkok 10110, Thailand
กวี วรกวิน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Kawee Worakawin, Assistant Professor
คณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย Dean, College of Bodhi Vijjalaya,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University,
๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ประสานมิตร) กรุงเทพฯ 114 Sukhumvit 23 (Prasanmitra),
๑๐๑๑๐ Bangkok 10110, Thailand
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ, ดร. Pipat Yodprudtikan, Ph.D.
ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ Director, Thaipat Institute
www.thaipat.org www.thaipat.org
Email: pipat@thaipat.org Email: pipat@thaipat.org
ดุษฎี สีตลวรางค์, ดร. Dusadee Sitalavarang, Ph.D.
ผู้อำนวยการโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา Director, Kongkrailas Vidhaya School,
จังหวัดสุโขทัย Sukothai Province, Thailand
E-mail: DUSDEEDARA@yahoo.co.th E-mail: DUSDEEDARA@yahoo.co.th

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 173
กนกศักดิ์ แก้วเทพ, รองศาสตราจารย์ ดร. Kanoksak Kaewthep, Ph.D., Associate
คณะเศรษฐศาสตร์ Professor
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ถนนพญาไท, Faculty of Economics,
กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ Chulalongkorn University, Phayathai Road,
E-mail: kanoksak50@gmail.com Bangkok 10330, Thailand
E-mail: kanoksak50@gmail.com

สุวิดา แสงสีหนาท, ดร. Suwida Sangsehanat, Ph.D.


วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย College of Bodhi Vijjalaya,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Srinakharinwirot University,
๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ประสานมิตร) กรุงเทพฯ 114 Sukhumvit 23 (Prasanmitra),
๑๐๑๑๐ Bangkok 10110, Thailand
E-mail: suwida@swu.ac.th E-mail: suwida@swu.ac.th

174 วารสารโพธิ วิจัย


Bodhi Research Journal
ĝ­¤´‡¦­¤µ·„ AnnualSubscriptionForm
BodhiResearchJournal:
ªµ¦­µ¦Ã¡›·ª·‹´¥ AJournalonHolistic
SustainableDevelopment
ªµ¦­µ¦„µ¦¡´•œµ£¼¤·­´Š‡¤°¥nµŠ¥´ÉŠ¥ºœ
เนื่อÁœºงด้É°วŠ—oยวารสารโพธิ
ª¥ªµ¦­µ¦Ã¡›· วิจัยªได้
·‹´¥รŗoับทุ¦´นš»สนัœ­œ´บสนุ­œ»
นการพิ
œ„µ¦¡· มพ์¤จ¡rากมหาวิ
‹µ„¤®µª· ทยาลั ยศรี¥น«¦¸คริœน‡¦·ทรวิ
š¥µ¨´ โรฒæ•
œš¦ª·
งบประมาณปี
Šž¦³¤µ–že ๒๕๕๓ ÓÖÖÔ ท่ า นที
šn µ ส

œš¸นใจสมั
É ­ œÄ‹­¤´ ค รเป็
‡ น สมาชิ
¦Áž} œ ก วารสารโพธิ
­¤µ· „ ว จ

ªµ¦­µ¦Ã¡›· ย
ั ฉบั บ
ª · หน้
‹ ´ ¥ า
Œ´ สามารถช่
 ®œo µ วย
­µ¤µ¦™
สนับnสนุ นการจั­œ»ดส่œง„µ¦‹´ ได้ เพียงจัดส่Á¡¸งแสตมป์ ๑๕ บาทÒÖ µš สำหรับการจั ®¦´งด„µ¦‹´
ส่งไปยั—­nงทีŠÅž¥´
่อยู่ของท่
Šš¸É°า¥¼นn…°Š
มาพร้ªอ¥­œ´ มกับใบสมั ครฉบับ—นี­n้ทŠี่กŗoรอกรายละเอี
¥Š‹´—­nยŠดสมบู­˜¤žm รณ์แล้ว และส่­Îงµมายั
šnµœ ก¤µ¡¦o
บรรณาธิ °¤„´Ä­¤´
ารวารสารโพธิ วิจัย ‡วิ¦Œ´
ทยาลัœ¸ยโพธิ ʚ¸É„¦°„¦µ¥¨³Á°¸
วิชชาลัย มหาวิ¥—­¤¼ ทยาลัย¦ศรี–rนÂคริ¨oªน¨³­n
ทรวิโรฒ Š¤µ¥´Š
๑๑๔¦¦–µ›· ซอยประสานมิ „µ¦ªµ¦­µ¦Ã¡›·
ตร ถนนสุขªุม·‹วิ´¥ท ª·กรุ š¥µ¨´
งเทพฯ ¥Ã¡›· ª·µ¨´¥ ¤®µª·š¥µ¨´¥«¦¸œ‡¦·œš¦ª·Ã¦•
๑๐๑๑๐
ÒÒÕ Ž°¥ž¦³­µœ¤·˜¦ ™œœ­»…»¤ª·š „¦»ŠÁš¡² ÒÑÒÒÑ
BodhiBodhi Research Research JournalJournalis supported is eted by Srinakhari
supported by nwirot University. Subscribers
Srinakharinwirot University.
in Thai l a nd may return the compl subscri p ti o n form to:
Subscribers lege inofThailand
Bodhi Vijjalmay aya,return
ColCollegeofBodhiVijjalaya,SrinakharinwirotUniversity, the ncompleted
Srinakhari wirot University, subscription form to:
114114Sukhumvit23(SoiPrasanmitra),Bangkok10110,Thailand
Sukhumvit 23 (Soi Prasanmitra), Bangkok 10110, Thailand
For Forsubscri subscribers
bers outsidoutsidee Thailand, Thailand,please pleasesend thisend this completed
s completed form to form the edi-to the
tor editor
at emaiatl email address:address: suwida@swu.ac.th,
suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.com.
suwida.ss@gmail.com. We will contact We will
youcontact via emaiyou l. via email.
…oµ¡Á‹o
ข้าพเจ้ าขอสมั µ…°­¤´
ครเป็‡น¦Áž} œ­¤µ·
สมาชิ „ªµ¦­µ¦Ã¡›·
กวารสารโพธิ วิจัย /ª·‹´¥ /
I would like to subscribe
I would like to subscribe to Bodhi Research to Bodhi Research Journal Journal
ºÉ°-œµ¤­„»
ชื่อ-นามสกุ ล (Name¨ (Name andand Surname):
Surname): ……………………………………………………………
……………………………………………………………
˜ÎµÂ®œn
ตำแหน่ ง (TiŠtle(Title)) : …………………………………………………………………………
: ………………………………………………………………………
ที่อยูš¸่ทÉ°ี่ต¥¼้อnšงการให้
¸É˜o°Š„µ¦Ä®oจัดส่ง‹ ´—­nŠ : ………………………………………………………………………
: …………………………………………………………………………
(Mailing
(Mailing Address) Address) ………………………………………………………………………….
…………………………………..........……………………………………….
จังหวั‹´Šด®ª´(State/Provi
— (State/Province) : …………………………………………………………………………..
nce) : ………………………………………………………………………
รหัส¦®´
ไปรษณี ­Åž¦¬–¸¥r (Post/Zip Code)
ย ์ (Post/Zi p Code) : ……………………………………………………………………
: …………………………………………………………………
ประเทศ
ž¦³Áš« (Country) (Country) : …………………………………............………………………………………
: …………………………………………………………………………
โทรศัÚ¦«´พท์ ¡(Tel šr )(Tel)
: ………………………………………………………………………
: …………………………………………………………………………
Ú¦­µ¦
โทรสาร (Fax)
(Fax) : …………………………………………………………………………
: ………………………………………………………………………
E-mail
E-mail : …………………………………………………………………………
: ………………………………………………………………………
¨ŠºÉ° (Signature)................................................................
ª´œลงชื ่อ (Signature)..................................................................
š¸É (Date) .........................................................................
วันที่ (Date) .........................................................................

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 175
176 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์
คำแนะนำสำหรับการเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารโพธิวิจัย
๑. เป็นบทความทางวิชาการหรือบทความวิจัย ในศาสตร์ทุกสาขา ที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใด
มาก่อน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับ โดยมี
เป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึง่ ตนเองของชุมชนและสังคมบนฐานความรูแ้ ละคุณธรรม
๒. เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ
๓. ระบุชื่อบทความ ชื่อ - นามสกุลจริง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งทาง
วิชาการ สถานที่ทำงานของผู้เขียนบทความ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ E-mail
๔. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกินหนึ่งหน้า
กระดาษ A4 โดยระบุชื่อบทความ ชื่อ - นามสกุลผู้เขียน คำสำคัญเนื้อความ
๕. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้
ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
๖. ส่งต้นฉบับบทความมีความยาวไม่เกิน ๒๐ หน้ากระดาษ A4 หรือ ๕,๐๐๐ ตัวอักษร
จำนวน ๑ ชุด พร้อมทัง้ ส่ง File ข้อมูล.doc ทาง E-mail ไปยัง suwida@swu.ac.th,
suwida.ss@gmail.com ข้อความในบทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word
ใช้ขนาดตัวอักษร ๑๖ รูปแบบตัวอักษร Cordia New
๗. ยินดีรบั บทความตลอดเวลา แต่วารสารโพธิวจิ ยั พิมพ์เผยแพร่ปลี ะฉบับในเดือนกันยายน
จึงแนะนำให้ส่งต้นฉบับก่อนกำหนดพิมพ์เผยแพร่ที่ต้องการอย่างน้อย ๖ เดือน
๘. เกณฑ์การพิจารณา มีดังนี้
๘.๑ กองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้น
๘.๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ประเมินบทความ) จำนวน ๓ ท่าน เป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ
ตรวจสอบความถูกต้อง และคุณภาพทางวิชาการ
๙. กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับและแผ่นบันทึกข้อมูลให้กับเจ้าของบทความ
๑๐.ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำต้อง
ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่มีแหล่งให้ทุน จะต้องมีการ
อนุญาตให้ส่งบทความเป็นลายลักษณ์อักษรจากแหล่งให้ทุน
๑๑.การอ้างอิงเอกสาร ใช้การอ้างอิงแบบนามปี และการเขียนบรรณานุกรมตามแบบของ
APA (American Psychological Association) ดังตัวอย่าง
เนื่อง นิลรัตน์, ม.ล. (๒๕๓๙). ชีวิตในวัง ๑. กรุงเทพฯ: ศรีสารา.
Tichner, Fred J. (1981). Apprenticship and Employee Training. In The
New Encyclopedia.

วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 177
Instruction to Authors
Instructions for Preparation and Submission of Manuscripts
1. We welcome original articles in every field of discipline. The article should
be related to sustainable development and empowerment of communities,
especial y through promoting community autonomy and self-reliance.
2. The article may be written in Thai or English.
3. Details of contributors required:
Names of author(s) (in Thai and Roman alphabets for Thai contributors):
Given name followed by last name;
Academic title if any:
Name(s) of affiliated institution(s):
Corresponding address:
Telephone/fax contacts:
Email address:
4. Abstract should be in Thai and English (for Thai contributions), not more
than 300 words.
5. Contributions which are Thai translations of foreign articles may be considered
if proof of permission from the copyright owners is furnished together with
the submission.
6. Manuscripts should preferably be submitted in both hard copy and
digital form. Hard copy should be typed double-space on one side of
a standard 8.5 by 11 inch (A4) size paper. Digital form may be
submitted through E-mail attachments to suwida@swu.ac.th, suwida.ss@
gmail.com . Maximum length is 5,000 words including tables, figures and
references.
7. Contributions may be submitted throughout the year. However, Bodhi
Research Journal wil publish once a year in September.
8. The submitted articles wil be assessed for relevance to the theme of the
issue by the Editorial Board. Papers wil be sent for peer reviews by
three peers with expertise in the area concerned. Reviewers’ comments
on provisionally accepted papers wil be sent back to the authors for
consideration and necessary adjustment or revision.
9. Hard copy submitted wil not be returned to the authors.
10. Contributors are responsible for obtaining and furnishing the necessary
permission from copyright owners where applicable.
11. Format of in-text citations and references: Use APA (American Psychological
Association) system.
178 วารสารโพธิ วิจัย
Bodhi Research Journal
วารสารโพธิวิจัย
Bodhi Research Journal 179

You might also like