You are on page 1of 36

1

แบบเสนอโครงการวิจัย (Research Project)

ประกอบการเสนอของบประมาณของสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ งชาติ

ประจาปี งบประมาณ 2554

.............................................................................

ชื่อโครงการวิจัย

การศึกษาปัจจัยด้านจิตวิทยาและภูมิหลังที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของ


นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและผูป้ ระกอบการไทยในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

A Study of Psychological Factors and Backgrounds Affecting Individual Entrepreneurial Intention


among Graduated Students and Entrepreneurs in Thai SMEs

ชื่อแผนงานวิจัย

การส่ งเสริ มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านทางกระบวนการวิจยั ด้านจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์


โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง

Promoting Small and Medium Enterprises (SMEs) via Psychological and Economic Research Process
using Structural Equation Modeling (SEM)

ส่ วน ก. : องค์ ประกอบของข้ อเสนอโครงการวิจัย

1. ผูร้ ับผิดชอบประกอบด้วย
1.1 หัวหน้าโครงการ:
ชื่อ พันตรี ดร. วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ
ชื่อหน่วยงาน สถาบันส่ งเสริ มการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ
หมายเลขบัตรประจาตัวประชาชน 3100600757173
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
2

หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1420 โทรสาร 02 350 3671


E-mail: verawoot.v@bu.ac.th
1.2 ผูร้ ่ วมงานวิจยั :
ชื่อ นางสาว รมณี ย ์ ยิง่ ยง
ชื่อหน่วยงาน สถาบันส่ งเสริ มการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1607 โทรสาร 02 350 3671
E-mail: rommanee.y@bu.ac.th
1.3 ผูร้ ่ วมงานวิจยั :
ชื่อ นางสาว ถวิสา รักยงค์
ชื่อหน่วยงาน สถาบันส่ งเสริ มการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1613 โทรสาร 02 350 3668
E-mail: thavisa.r@bu.ac.th
1.4 หน่วยงานหลัก:
ชื่อหน่วยงาน สถาบันส่ งเสริ มการวิจยั และพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1420 โทรสาร 02 350 3671
1.5 หน่วยงานสนับสนุน
1.5.1 ชื่อหน่วยงาน สานักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1706-1707
E-mail: library@bu.ac.th
1.5.2 ชื่อหน่วยงาน ศูนย์บริ การวิชาการ
สถานที่ติดต่อ มหาวิทยาลัยกรุ งเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ าไท
หมายเลขโทรศัพท์ 02 350 3500 ต่อ 1607 โทรสาร 02 350 3671
3

2. ประเภทการวิจยั :

โครงการวิจยั นี้เป็ น การวิจัยประยุกต์ (applied research) เพื่อนาความรู ้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา


และเตรี ยมความพร้อมในการเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทาการวิจยั :

สาขาเศรษฐศาสตร์

4. คาสาคัญ (keyword) ของการวิจยั :

ผูป้ ระกอบการ, ความตั้งใจ, การทานายพฤติกรรม, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Entrepreneur, Intention, Predicting behaviour, Theory of Planned Behaviour

5. ความสาคัญและที่มาของปัญหา

ในศตวรรษที่ 21 ยุคแห่งปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่สามารถสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ
ซึ่งหมุนเร็ วขึ้น ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมภายนอกที่ยากแก่คาดการณ์ การพัฒนาจากเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของ
ประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานความรู ้ (knowledge-based economy) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy)
ที่ถูกผลักดันจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ล้ าสมัย การเติบโตของฐานข้อมูล และลักษณะทางสังคมที่แปร
เปลี่ยนไป ส่ งผลให้รูปแบบการแข่งขันในโลกธุรกิจจาเป็ นต้องปรับตัวตาม ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งถือได้วา่ เป็ นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของชาติ และเป็ นผูซ้ ่ ึงมีความเต็มใจที่จะรับ
ผลตอบแทนที่มาพร้อมกับความเสี่ ยงในการดาเนินธุรกิจ ต้องแข่งขันกันด้วย “ความคิดสร้ างสรรค์ (creativity)”
และ “นวัตกรรมสมัยใหม่ (innovation)” เพื่อสร้างความต่างของกระบวนการการส่ งมอบสิ นค้าหรื อบริ การ ให้ถึง
มือผูบ้ ริ โภคขั้นสุ ดท้ายพร้อมกับความพึงพอใจสูงสุ ด ประเทศไทยจึงจาเป็ นต้องส่งเสริ มแนวคิดเรื่ อง เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์และส่ งเสริ มให้มีผปู ้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น และมีการบรรจุไว้ใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวและอยู่
รอดได้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวฒั น์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจ และสังคม โดยไม่พ่ งึ หวังเพียงแค่
ทรัพยากรด้านเงินทุน ทรัพยากรทางธรรมชาติ และทรัพยากรด้านเทคโนโลยี ในการเสริ มสร้างความสามารถใน
4

การแข่งขันโดยเปรี ยบเทียบ (competitive advantage) เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอีกต่อไป รัฐบาลจึงสนับสนุน


ให้ผปู ้ ระกอบการ หรื อ ทุนมนุษย์ที่ประเทศมีอยู่ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาทรัพยากรอันล้ าค่าของ
ประเทศ เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ตลอดจนสิ นค้าพื้นเมืองที่มีอยู่
แล้ว ให้นาไปใช้ในแนวทางใหม่ๆหรื อวิธีการใหม่ๆ และสามารถนามาพัฒนาให้เกิดผลประโยชน์เชิง
เศรษฐศาสตร์ได้จริ ง สมกับการเป็ นยุคแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยยึดหลัก “ประโยชน์ สูง ประหยัดสุด”

ด้วยเหตุน้ ีผปู ้ ระกอบการในยุคเศรษฐกิจฐานความรู ้ จึงไม่สามารถที่จะจากัดการเรี ยนรู ้ของตนอยูเ่ พียงแค่มิติ


ใดมิติหนึ่ง หรื อพึ่งพาเพียงแค่ความสามารถเฉพาะตน ความสัมพันธ์ส่วนตัว หรื อ เพียงแค่ประสบการณ์ที่ถูก
ถ่ายทอดจากผูป้ ระกอบการในยุคก่อน แต่ยงั ต้องเตรี ยมตัว ปรับตัว และเปิ ดกว้างสาหรับการเรี ยนรู ้สิ่งรอบตัวใน
ลักษณะองค์รวม และสามารถผสมผสานความรู ้เหล่านั้นเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ จนก่อให้เกิดนวัตกรรม
ใหม่ๆขึ้นมา การเตรี ยมความพร้อมที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการที่ดีกเ็ ช่นกัน ต้องเริ่ มตั้งแต่การบ่มเพาะความคิดเชิง
ธุรกิจในระดับรากฐานให้กบั คนรุ่ นต่อมาที่ต้ งั ใจที่จะมาเป็ นผูป้ ระกอบการ และปรับทัศนคติ ความเชื่อต่างๆ
รวมทั้งปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลเป้ าหมายให้เป็ นไปตามคุณลักษณะที่ตอ้ งการ

เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็ นระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่พ่ งึ พาภาคแรงงานเป็ นหลัก แต่ใน


ปัจจุบนั ประเทศไทยมีเป้ าหมายและมีความพยายามที่จะส่ งเสริ มให้มีจานวนของผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) มากขึ้น โดยหวังว่าผูป้ ระกอบการรายย่อยเหล่านั้นจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า
พื้นบ้านไทยและใช้กลยุทธ์ทางการค้าเชิงรุ กมากขึ้น จนในที่สุดจะทาให้ปริ มาณการค้าระหว่างประเทศเพิม่ ขึ้น
ตามไปด้วย ยิง่ กว่านั้น อาคม เติมพิทยาไพสิ ฐ (2008) ยังรายงานว่า ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ถูก
บรรจุไว้ในแผนปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ จะเน้นที่การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แท้จริ ง
(real sector) โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภาคเกษตรกรรม และภาคการผลิต ซึ่งจะเห็นได้วา่ ประเทศไทยยังมีโอกาส
สาหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะก้าวขึ้นเป็ นผูน้ าในการส่ งออกสิ นค้าและบริ การอีกมาก และรัฐบาลก็
ยังมีนโยบายที่ชดั เจนในการส่ งเสริ มผูป้ ระกอบการรายย่อย ผูป้ ระกอบการในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้จึง
จาเป็ นต้องเข้าใจข้อจากัดที่ตนมีและเตรี ยมตัวให้พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีคุณลักษณะของผูป้ ระกอบการ
เชิงสร้างสรรค์ที่ดี
5

หน่วยงานด้านการศึกษา หรื อ องค์กรที่เกี่ยวข้องในการรับผิดชอบการพัฒนาผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาด


กลางและขนาดย่อม (SMEs) หรื อ แม้แต่ตวั ผูป้ ระกอบการเองที่อยูใ่ นวิสาหกิจชุมชน หรื อ เครื อข่ายความร่ วมมือ
เชิงธุรกิจของชุมชนก็เช่นกัน การที่จะสามารถวางแผนพัฒนาการเรี ยนรู ้และความพร้อมทั้งของตนและของ
ผูป้ ระกอบการรุ่ นต่อไปได้น้ นั ต้องมีความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงความตั้งใจหรื อเจตนาในการเป็ น
ผูป้ ระกอบการของบุคคล ซึ่งในที่สุดแล้วความตั้งใจนั้นก็จะถูกสะท้อนออกมาในรู ปแบบของพฤติกรรมของ
บุคคลที่จะเลือกเป็ นผูป้ ระกอบการหรื อเจ้าของกิจการด้วยตนเอง ความเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อ
การตัดสิ นใจหรื อพฤติกรรมที่แสดงออก และมีการวางแผนเตรี ยมความพร้อมสาหรับการเป็ นผูป้ ระกอบการที่ดี
นั้น มีความสาคัญโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกลุ่มนักศึกษาที่กาลังศึกษาอยูใ่ นระดับอุดมศึกษาและใกล้จะจบการศึกษา
ทั้งในสายสามัญและสายอาชีวะ เนื่องจากคนกลุ่มนี้กาลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานและส่ วนหนึ่งอาจจะมีความ
ตั้งใจที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจของตนเองแต่อาจจะขาดความเชื่อมัน่ และอาจจะขาดการเตรี ยมความพร้อม
ที่ดี เมื่อปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบถึงความตั้งใจ ความเชื่อ ทัศนคติ และบรรทัดฐานของสังคมต่อการเป็ น
ผูป้ ระกอบการได้ถูกศึกษา วิเคราะห์และหาความสัมพันธ์กนั แล้ว ความรู ้ที่ได้เหล่านี้จะทาช่วยให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องสามารถที่จะวางแผนและพัฒนาโครงการต่างๆที่ส่งเสริ มให้ประเทศไทยมีการบริ หารจัดการทรัพยากร
มนุษย์ที่ดีข้ ึนและสามารถพัฒนาเพิ่มจานวนผูป้ ระกอบการที่มีคุณลักษณะที่ตอ้ งการได้ในที่สุด ยิง่ กว่านั้น
หน่วยงานต่างๆที่สนใจในการคัดเลือกกลุ่มบุคคลเป้ าหมายที่จะถูกพัฒนาให้เป็ นผูป้ ระกอบการต่อไป ก็จะ
สามารถพัฒนาเครื่ องมือที่ได้จากปัจจัยที่จะถูกศึกษาจากโครงการวิจยั นี้เพื่อแยกแยะบุคคลที่มีศกั ยภาพ มีความ
พร้อมในการเป็ นผูป้ ระกอบการทีดี จนในที่สุดจะสามารถสนับสนุนส่ งเสริ มบุคคลกลุ่มนี้ได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี

เนื่องจากความตั้งใจหรื อเจตนาในการแสดงพฤติกรรมเป็ นตัวแปรทางด้านจิตวิทยา ในทฤษฎีพฤติกรรมตาม


แผน (Theory of Planned Behaviour) การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมควรต้องศึกษาปัจจัยทางด้าน
จิตวิทยา แต่ปัจจุบนั ยังไม่มีการศึกษาใดในประเทศไทยที่ศึกษาถึงปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ
หรื อเจตนาในการเป็ นผูป้ ระกอบการของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิง่ การศึกษาเปรี ยบเทียบทัศนคติและความตั้งใจ
ในการเป็ นผูป้ ระกอบการของกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กาลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน กับ กลุ่ม
ผูป้ ระกอบการในธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมตาม
แผน นอกจากนี้ผวู ้ จิ ยั เชื่อว่า ผลของงานวิจยั นี้จะนาไปสู่การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสาหรับ
การศึกษาและพยากรณ์พฤติกรรมของผูท้ ี่ต้ งั ใจจะมาเป็ นผูป้ ระกอบการรุ่ นใหม่ของประเทศไทย และอาจจะ
6

นาไปสู่การสร้างเครื่ องมือที่สามารถบ่งชี้ได้วา่ บุคคลใดมีความต้องการเป็ นผูป้ ระกอบการอยูภ่ ายในตัว ทั้ง


กลุ่มเป้ าหมายอาจจะเป็ นเจ้าของกิจการเองหรื อเป็ นบุคคลที่ทางานอยูภ่ ายในองค์กรต่างๆ เมื่อพัฒนาจนได้
เครื่ องมือที่เชื่อถือได้และมีประสิ ทธิภาพแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่ งเสริ มผูป้ ระกอบการรายย่อยก็จะ
สามารถใช้เครื่ องมือเหล่านั้นแยกแยะบุคคลที่มีศกั ยภาพ มีคุณลักษณะของความเป็ นผูป้ ระกอบการที่ตอ้ งการ
และสามารถพัฒนาสนับสนุนส่ งเสริ มได้อย่างถูกต้อง ยิง่ ไปกว่านั้นข้อค้นพบจากโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ของความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของบุคคล ยังจะสามารถใช้เป็ นแนวทางในการกาหนดนโยบายส่ งเสริ ม
และพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อีกด้วย

กล่าวโดยสรุ ป ปัญหาการวิจยั ที่ตอ้ งการศึกษามีดงั ต่อไปนี้ คือ การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางจิตวิทยาที่มี


ผลต่อความตั้งใจที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษารวมทั้งอาชีวศึกษา และในกลุ่ม
ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมีการศึกษาเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรง
ของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามหลักสถิติวิเคราะห์ช้ นั สูง ผลการวิจยั นี้จะได้พบขนาดและทิศทางของ
อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้านจิตวิทยาและภูมิหลัง ที่มีต่อความตั้งใจของบุคคลในการเป็ น
ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

6. วัตถุประสงค์ของการวิจยั

ในการศึกษาครั้งนี้มีวตั ถุประสงค์ของการวิจยั ทั้งสิ้ น 4 ประการคือ

6.1 เพื่อศึกษาระดับและเปรี ยบเทียบความแตกต่างของระดับความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ


ระหว่างกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและกลุ่มผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
6.2 เพื่อศึกษาเปรี ยบเทียบภูมิหลังและปัจจัยด้านจิตวิทยาของกลุ่มนักศึกษาและผูป้ ระกอบการในธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
6.3 พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการโดยมี
ปัจจัยทางจิตวิทยาและภูมิหลังเป็ นปัจจัยเชิงสาเหตุตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและตรวจสอบ
ความตรงของโมเดล
7

6.4 เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยทางจิตวิทยา ได้แก่ ตัวแปรด้านทัศนคติ


(attitudes) อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง (subjective norms) และการรับรู ้ความสามารถในการควบคุม
พฤติกรรม (perceive behavioral control) ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจของบุคคลในการเป็ น
ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (intention to be an entrepreneur in SMEs)

7. ขอบเขตของการวิจยั

โครงการวิจยั เรื่ อง ‚การศึกษาปั จจัยด้ านจิตวิทยาและภูมิหลังที่มีอิทธิ พลต่ อความตั้งใจในการเป็ น


ผู้ประกอบการของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและผู้ประกอบการไทยในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่ อม
(SMEs)‛ เป็ นการศึกษาวิจยั เชิงปริ มาณ (quantitative research) และเป็ นการศึกษาวิจยั เชิงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal research) การศึกษานี้จะกาหนดขอบเขตการศึกษาเฉพาะตัวแปรด้านจิตวิทยาสังคม (social psychology)
และเน้นความสาคัญของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behaviour) เนื่องจากการทบทวน
วรรณกรรมแสดงให้เห็นว่า ตัวแปรด้านจิตวิทยาสังคมมีความสาคัญต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจในการ
กระทาพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของบุคคล (intention to perform a behaviour) และการคาดการณ์การกระทา
พฤติกรรมของบุคคลนั้น ผูว้ ิจยั จึงได้กาหนดขอบเขตการวิจยั ด้านอื่นไว้ดว้ ยดังนี้

ขอบเขตด้ านเนือ้ หา

โครงการวิจยั นี้มุ่งทาการศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีต่อความตั้งใจ หรื อเจตนาของบุคคล


ที่จะมาเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of
Planned Behaviour) เชื่อว่าความตั้งใจหรื อเจตนาซึ่งจะส่ งผลถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของบุคคล ประกอบด้วยตัว
แปรทางด้านจิตวิทยา 3 ตัวคือ 1) ทัศนคติต่อพฤติกรรมที่จะมาเป็ นผูป้ ระกอบการ (personal attitude toward
entrepreneurship) 2) การคล้อยตามคนรอบข้างที่มีอิทธิพลหรื อการปฏิบตั ิตามบรรทัดฐานของสังคม (subjective
norm) และ 3) การรับรู ้หรื อความเชื่อว่าตนสามารถปฏิบตั ิพฤติกรรมนั้นได้ หรื อสามารถเป็ นผูป้ ระกอบการเอง
ได้ (perceived behaviour control) โดยที่โครงการวิจยั นี้จะประยุกต์นาเอาตัวแปรภูมิหลังของผูป้ ระกอบการ
ได้แก่ ระดับการศึกษาและตัวแปรทางบริ บทอื่น เช่น อายุ เพศ และขนาดของธุรกิจ ที่เชื่อว่ามีผลกระทบผ่าน
ทัศนคติและความเชื่อส่ วนบุคคล และจะส่ งผลถึงความตั้งใจของบุคคลนั้นที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการต่อไปใน
อนาคตเพิ่มเข้าไปในโมเดลของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
8

ขอบเขตด้ านพืน้ ที่

โครงการวิจยั นี้จะศึกษาเฉพาะในกลุ่มของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา และกลุ่มของผูป้ ระกอบการใน


ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุ งเทพมหานครเท่านั้น เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อม (SMEs) ส่ วนใหญ่อยูใ่ นเขตนี้

ขอบเขตด้ านประชากร

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจยั ครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ

1) กลุ่มนักศึกษาระดับปริ ญญาตรี ปริ ญญาโท รวมทั้งอาชีวศึกษาที่กาลังศึกษาอยูใ่ น


สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน (สช.) เหตุผลที่ผวู ้ ิจยั ไม่เลือกสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แต่
เลือกศึกษาในสถาบันการศึกษาของเอกชน เนื่องจากผูว้ จิ ยั เชื่อว่า นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่ วนใหญ่
เมื่อจบการศึกษาแล้วจะไปเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2) กลุ่มผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ทางานอยูใ่ นบริ ษทั หรื อห้าง
หุน้ ส่ วนนิติบุคคลที่มีมูลค่าขั้นสูงของสิ นทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน สาหรับการประกอบกิจกรรมด้านการผลิต
หรื อการให้บริ การไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ตามคานิยามของ สถาบันพัฒนา
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Institute for Small and Medium Enterprises Development: ISMED, 2008)

ขอบเขตด้ านเวลา

โครงการวิจยั นี้จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้ นประมาณ 12 เดือนนับตั้งแต่การได้รับอนุมตั ิให้ทุน


สนับสนุนการวิจยั

ขอบเขตด้ านการใช้ ประโยชน์

ผูว้ ิจยั จะนาข้อค้นพบของอิทธิพลจากตัวแปรต่างๆในการศึกษาต่อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ มา


ใช้เป็ นแนวทางในการสร้างชุดโครงการพัฒนา/เรี ยนรู ้ดว้ ยตนเอง สาหรับนักศึกษาและประชาชนผูท้ ี่ตอ้ งการเป็ น
ผูป้ ระกอบการจะได้นาไปใช้ประโยชน์ในอนาคต นอกจากนี้ผวู ้ ิจยั จะจัดทารายงานสรุ ปสาหรับผูบ้ ริ หารเสนอ
ต่อผูม้ ีหน้าที่รับผิดชอบในการส่ งเสริ มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทสไทย เพื่อใช้ประโยชน์เป็ น
แนวทางในการกาหนดนโยบายและแผนดาเนินงานต่อไป
9

8. ทฤษฎี สมมติฐาน และกรอบแนวคิดของการวิจยั

แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมและสถิติต่างๆที่เกี่ยวข้ อง
ปัจจุบนั ประเทศไทยได้ให้ความสาคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเป็ นธุรกิจที่มี
ลักษณะเฉพาะตัว มีการบริ หารที่ค่อนข้างอิสระ มีความยืดหยุน่ ในการดาเนินการ และมักจะอยูใ่ นท้องถิ่นที่
สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยูร่ อบตัวหรื อที่มีอยูใ่ นพื้นที่ใกล้เคียงที่ธุรกิจนั้นดาเนินการอยู่ ธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมนี้ มีความสาคัญต่อระบบเศรษฐกิจของชาติเป็ นอย่างยิง่ เนื่องจากธุรกิจฯดังกล่าวช่วยให้เกิดการจ้าง
งาน สร้างรายได้ อีกทั้งยังเป็ นจุดเริ่ มต้นในการลงทุนสาหรับนักลงทุนหรื อเจ้าของกิจการที่ไม่มีเงินทุนมากนัก
เมื่อธุรกิจฯสามารถดาเนินการไปได้ระยะเวลาหนึ่งจะทาให้เกิดการพัฒนาทักษะฝี มือของทั้งเจ้าของกิจการและ
พนักงาน และยังช่วยสร้างเสริ มประสบการณ์ทางธุรกิจอีกด้วย สิ่ งเหล่านี้จะเป็ นพื้นฐานให้ธุรกิจฯสามารถ
พัฒนาไปเป็ นธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไป เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็ นธุรกิจที่ลงทุนไม่มากนักและ
เริ่ มต้นได้ไม่ยากเกินไป ซึ่งอาศัยความสามารถของเจ้าของกิจการเป็ นหลักจึงทาให้มีปริ มาณของธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อมมากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศไทย และจากข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับ
สถานการณ์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปี 2552 เมื่อเปรี ยบเทียบกับปี 2551 พบว่า โดย
ภาพรวมน่าจะมีธุรกิจ SMEs จานวนประมาณ 2.42 ล้านราย ขยายตัวร้อยละ 0.53 หรื อเพิ่มขึ้น 12,311 ราย
(ธนาคารกสิ กรไทย, 2552)
ส่ วนคานิยามของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(Institute for Small and Medium Enterprises Development: ISMED, 2008) ได้กาหนดลักษณะของ SMEs ไว้ 2
ลักษณะคือ

1) แบ่งตามมูลค่าชั้นสูงของสิ นทรัพย์ถาวร สาหรับกิจการแต่ละประเภทดังนี้


1.1 กิจการการผลิต ธุรกิจขนาดกลาง ไม่เกิน 200 ล้านบาท และขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท
1.2 กิจการบริ การ ธุรกิจขนาดกลาง ไม่เกิน 200 ล้านบาท และขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้านบาท
1.3 กิจการการค้า ธุรกิจค้าส่ งขนาดกลาง ไม่เกิน 100 ล้านบาท และขนาดย่อม ไม่เกิน 50 ล้าน
บาท ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลาง ไม่เกิน 60 ล้านบาท และขนาดย่อม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
2) แบ่งตามจานวนการจ้างงาน สาหรับกิจการแต่ละประเภทดังนี้
1.1 กิจการการผลิต ธุรกิจขนาดกลาง ไม่เกิน 200 คน และขนาดย่อม ไม่เกิน 50 คน
10

1.2 กิจการบริ การ ธุรกิจขนาดกลาง ไม่เกิน 200 คน และขนาดย่อม ไม่เกิน 50 คน


1.3 กิจการการค้า ธุรกิจค้าส่ งขนาดกลาง ไม่เกิน 50 คน และขนาดย่อม ไม่เกิน 25 คน
ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลาง ไม่เกิน 30 คน และขนาดย่อม ไม่เกิน 15 คน

ยิง่ กว่านั้นสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED, 2008) ยังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจขนาด


กลางและขนาดย่อมมีความสาคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเป็ นผูท้ ี่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กบั สิ นค้าในประเทศ ลดการ
นาเข้าโดยการผลิตสิ นค้าเพื่อทดแทนสิ นค้าต่างประเทศ ทาให้เกิดการประหยัดเงินตราต่างประเทศและยัง
สามารถส่ งออกสิ นค้า นาเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศอีกด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการ

เมื่อพูดถึงความหมายของ “ผู้ประกอบการ” บางแนวคิดให้นิยามความหมายของผูป้ ระกอบการในมิติ


ของการเป็ นเจ้าของกิจการ คือ หมายรวมถึงแค่ผปู ้ ระกอบการที่เป็ นเจ้าของกิจการเท่านั้น แต่ Bolton and
Thompson (2000) ได้ให้คาจากัดความของ ‚ผู้ประกอบการ‛ ว่า เป็ นบุคคลที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
และสามารถนามาสู่การเพิ่มมูลค่าของระบบเศรษฐกิจได้ ภายใต้โอกาสที่มองเห็น จะเห็นว่าผูป้ ระกอบการตาม
ความหมายของ Bolton and Thompson (2000) ไม่ได้จากัดอยูเ่ พียงแค่เจ้าของกิจการเท่านั้น แต่อาจรวมถึง
บุคคลากรในองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชนที่มีความเป็ นผูป้ ระกอบการอยูภ่ ายใน และมองเห็นโอกาสจน
สามารถผลักดันทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขององค์กรได้

แนวคิดดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงความจาเป็ นที่จะต้องแยกกันให้ออกระหว่าง ผูป้ ระกอบการที่เป็ นเจ้าของ


กิจการ และ บุคคลที่มีความเป็ นผูป้ ระกอบการอยูภ่ ายใน เนื่องจากในความเป็ นจริ งแล้ว ผูป้ ระกอบการที่เป็ น
เจ้าของกิจการต้องรับความเสี่ ยงในการดาเนินธุรกิจด้วยตนเอง และยิง่ ต้องมีความพร้อมภายนอกด้านอื่นที่
เกี่ยวข้องกับการดาเนินกิจการด้วย ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะสมและสามารถเป็ นเจ้าของกิจการได้ และบุคคล
เหล่านั้นจึงไม่ควรที่จะถูกชักจูงหรื อทาให้เชื่อว่าพวกเขาควรจะเป็ นเจ้าของกิจการด้วย แต่ควรแนะนาให้บุคคลที่
มีความเป็ นผูป้ ระกอบการอยูภ่ ายในตัวและทางานในองค์กรใหญ่ๆ ค้นหาสิ่ งที่ตนเองทาได้ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไข
เวลาและโอกาสที่เหมาะสม

ถ้ามองจากวัตถุประสงค์ของการเตรี ยมตัวเพื่อที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการที่ดี จากการศึกษาของ ไพฑูรย์ สิ น


ลารัตน์ และคณะ (2550) เพื่อหาแนวทางในการเปลี่ยนผ่านการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนได้เต็มตามศักยภาพ
11

เพื่อเตรี ยมประเทศให้กา้ วสู่เศรษฐกิจฐานความรู ้ พบว่า ระบบการศึกษาของไทยส่ งผลให้เกิดวัฒนธรรมการ


เรี ยนรู ้และวัฒนธรรมการมีชีวิต ที่เป็ นแบบวัฒนธรรมการรับ (receiving culture) ทาให้มีคุณลักษณะที่ไม่พึง
ประสงค์ เช่น เชื่อตามที่ได้ฟัง ขาดความมัน่ ใจ ไม่แสวงหาข้อมูล คิดตามแบบเดิมและไม่คานึงถึงส่ วนรวม
คุณลักษณะเหล่านี้เป็ นอุปสรรคอย่างยิง่ ต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างเสริ มจินตนาการ
ผูป้ ระกอบการไทยจึงจาเป็ นต้องรู ้เท่าทันข้อจากัดเหล่านี้และตระหนักถึงปัญหาที่อาจคงอยู่ การฝึ กฝนการใช้
ความคิดสร้างสรรค์ดว้ ยตนเองโดยมีฐานความคิดที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของความเป็ นไทย จะทาให้ขอ้ จากัด
เหล่านั้นลดน้อยลง

ส่ วนการเตรี ยมความพร้อมในการเป็ นผูป้ ระกอบการนั้น Thompson (1999) ได้อธิบายไว้และชี้ให้เห็น


ว่า ผูป้ ระกอบการต้องมีการเตรี ยมจิตใจและฝึ กให้มีจิตสานึกในการทางานให้พร้อมกันทั้ง 5 ด้าน ได้แก่

1) มีความไตร่ ตรองที่ดี สามารถนาเอาความรู ้และประสบการณ์มาใช้ร่วมกัน


2) มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ สามารถแปรข้อมูลที่องค์กรมีอยูแ่ ละนาไปสู่การตัดสิ นใจที่ดี
ได้
3) มีทศั นคติที่ดีต่อการทางานเป็ นทีมและสามารถสร้างความร่ วมมือระหว่างกัน
4) มีความตระหนักถึงสภาวะแวดล้อมภายนอกที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ ว แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่
จะมาถึง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
5) มีแรงกระตุน้ ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

การฝึ กจิตใจให้มีความพร้อมสาหรับการเป็ นผูป้ ระกอบการ ไม่จาเป็ นต้องมีความพร้อมทั้ง 5 ด้าน อาจ


เป็ นการฝึ กที่เน้นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็ นพิเศษ ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั คุณลักษณะของผูป้ ระกอบการแต่ละคน
นอกเหนือจากความพร้อมทางด้านสติปัญญาและจิตใจ อันเป็ นความพร้อมภายในแล้ว ผูป้ ระกอบการในยุค
ปัจจุบนั ยังต้องมีความพร้อมภายนอก เช่น ความพร้อมด้านแหล่งเงินทุน มีทรัพยากรที่เพียงพอ มีความกล้าท้า
ทายและกล้าเสี่ ยงกับอุปสรรคที่จะเจอ และมีอิสระในการทางาน ยิง่ ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีการแข่งขันสูง
นั้น ผูป้ ระกอบการต้องมีความคิดสร้างสรรค์ซ่ ึงแตกต่างจากคนอื่น มองเห็นถึงความเป็ นไปได้ของความคิด
ใหม่ๆ และสามารถแปลงความคิดเป็ นธุรกิจได้จริ ง การตระหนักถึงสิ่ งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ ว และมีความสามารถในการเสาะแสวงหาความร่ วมมือ จากทั้งผูร้ ่ วมงาน ผูท้ ี่เกี่ยวข้องในเครื อข่ายธุรกิจ
12

ลูกค้า หรื อ บุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการดาเนินธุรกิจ ซึ่งจะทาให้ผปู ้ ระกอบการเชิงสร้างสรรค์สามารถลด


อุปสรรคในการทางาน และเพิม่ โอกาสสู่ความสาเร็ จได้

ปั จจัยทางด้ านจิตวิทยา

(Psychological factors)

รู ปที่ 1 ความพร้อมที่ตอ้ งมีสาหรับการเป็ นผูป้ ระกอบการ

ที่มา: ดัดแปลงจาก Thompson (1999)

กล่าวโดยสรุ ป คุณลักษณะของความเป็ นผูป้ ระกอบการที่ประสบความสาเร็ จนั้นส่ วนใหญ่มิได้มีมาแต่


กาเนิด แต่เกิดจากการเรี ยนรู ้บ่มเพาะจากการหล่อหลอม หรื อจากการใฝ่ หาฝึ กฝน เพือ่ การพัฒนาไปสู่คุณลักษณะ
ที่ดีดงั กล่าว

แนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
ทฤษฎีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านจิตวิทยา พยายามที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่าง
ทัศนคติ (attitude) ความเชื่อ (beliefs) ความตั้งใจ (intention) และพฤติกรรมที่เกิดขึ้น (behaviour) แต่ทฤษฎีที่มี
ความน่าเชื่อถือและถูกนาไปใช้เป็ นกรอบในการศึกษาวิจยั เกี่ยวกับการพยากรณ์พฤติกรรมมากที่สุด ซึ่งเป็ น
ทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคม (social psychology) ที่เกิดขึ้นในปี 1980 ได้แก่ ทฤษฎีการกระทาด้วยเหตุผล (Theory
13

of Reasoned Action: TRA) ของ Ajzen and Fishbein และได้พฒั นาต่อมาเป็ นทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory
of Planned Behaviour: TPB) ในปี 1985 โดย Ajzen ซึ่งเป็ นนักสังคมจิตวิทยา ผูม้ ีความเชื่อว่า ทัศนคติสามารถ
อธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษย์ (Ajzen and Fishbein, 1980, p. 13) Ajzen ได้เสนอแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรม
ตามแผนโดยมีตวั แบบจาลองการศึกษาทางทฤษฎี ดังแสดงในรู ปที่ 2
ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเป็ นโมเดลที่มีประโยชน์ในการศึกษาเพื่อพยากรณ์พฤติกรรมของมนุษย์ แต่
เนื่องจากการกระทาใดๆของบุคคลหนึ่งที่จะเกิดขึ้นจริ ง (actual behaviour) ในอนาคต สามารถวัดได้ยาก
เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกอื่นๆที่ไม่สามารถควบคุมได้ส่งผลกระทบมาถึงพฤติกรรมจริ งที่แสดงออกมา

รู ปที่ 2 โมเดลการศึกษาความตั้งใจและพฤติกรรมตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
(Theory of Planned Behaviour) ที่มา: Ajzen and Madden (1986)
14

ทฤษฎีน้ ีซ่ ึงเป็ นที่ยอมรับกันอย่างแพร่ หลาย และมีการศึกษาทดสอบมากมายว่าเป็ นทฤษฎีที่มีความ


น่าเชื่อถือ ได้ใช้เจตนาหรื อความตั้งใจในการกระทาพฤติกรรมนั้นเป็ นตัวแทนของพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นใน
อนาคต เนื่องจากผูศ้ ึกษาวิจยั สามารถใช้เครื่ องมือในการชี้วดั เจตนานั้นได้ตามหลักจิตวิทยา และทฤษฎีดงั กล่าว
ระบุวา่ ทัศนคติของบุคคลต่อการกระทาพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง (attitudes toward behaviour) มีผลโดยตรง
ต่อเจตนาหรื อความตั้งใจในการกระทาพฤติกรรมนั้น (intention to perform that behaviour) ส่ วนการคล้อยตาม
ต่ออิทธิพลของคนรอบข้าง กลุ่มอ้างอิงที่สาคัญหรื ออาจเรี ยกได้วา่ เป็ นบรรทัดฐานของสังคม (subjective norms)
และการรับรู ้วา่ ตนเองสามารถควบคุมให้พฤติกรรมนั้นเป็ นไปตามที่ตอ้ งการได้หรื อไม่ (perceived behavioural
control) ก็ส่งผลต่อความตั้งใจนั้นเช่นกัน ความสัมพันธ์ดงั กล่าวนั้นเป็ นความสัมพันธ์เชิงบวก (positive
relationship) นัน่ คือ หากบุคคลนั้นเชื่อว่าการกระทาพฤติกรรมหนึ่งจะส่ งผลทางลบหรื อเสี ยประโยชน์ บุคคล
นั้นก็จะมีทศั นคติที่ไม่ดีต่อพฤติกรรมที่มีความเชื่อนั้นอยู่ แต่ถา้ บุคคลใดมีความเชื่อว่า เมื่อได้กระทาพฤติกรรม
ใดพฤติกรรมหนึ่งแล้วผลที่ได้จะเกิดขึ้นในเชิงบวก บุคคลนั้นก็มีแนวโน้มที่จะมีทศั นคติที่ดีต่อพฤติกรรม
ดังกล่าวเช่นกัน และเมื่อมีทศั นคติที่ดีต่อพฤติกรรมก็จะเกิดเจตนาหรื อมีความตั้งใจ (intention) ที่จะแสดง
พฤติกรรมนั้นออกมาในทีสุด การที่บุคคลได้เห็นหรื อรับรู ้วา่ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อตัวเองหรื อกลุ่มอ้างอิงที่สาคัญ
หรื อบรรทัดฐานทางสังคม (subjective norm) มีความคิดเห็นใดต่อพฤติกรรมหนึ่งๆ บุคคลดังกล่าวก็จะมี
แนวโน้มที่จะคล้อยตามและมีความคิดเหมือนกันด้วย บุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดหรื อกลุ่มอ้างอิงที่สาคัญใน
แต่ละเรื่ องนั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยูก่ บั ความสอดคล้องทางพฤติกรรมของบุคคลกับกลุ่มอ้างอิงดังกล่าว ส่ วนการ
รับรู ้วา่ ตนเองสามารถควบคุมพฤติกรรมให้เป็ นไปตามที่ตอ้ งการได้หรื อไม่ (perceived behavioural control) ถ้า
บุคคลหนึ่งมีความเชื่อว่า ตนเองมีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมใดๆให้เกิดผลสาเร็ จตามที่ตอ้ งการได้
บุคคลนั้นก็มีแนวโน้มที่จะกระทาพฤติกรรมดังกล่าว
Kassin, Fein and Markus (2010) ชี้ให้เห็นถึงลักษณะสาคัญของทัศนคติและปัจจัยเด่นทางด้านจิตวิทยา
อื่นที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติวา่ 1) ทัศนคติเป็ นสิ่ งที่เกิดจากการเรี ยนรู ้หรื อประสบการณ์ไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่
กาเนิด 2) ทัศนคติเป็ นสภาวะของจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการแสดงพฤติกรรมของบุคคล 3) ทัศนคติ
เป็ นสภาวะของจิตใจที่เกิดขึ้นแล้วจะเปลี่ยนแปลงได้ยาก และสิ่ งที่มีอิทธิพลต่อการเกิดทัศนคติ ได้แก่ บุคคล
อ้างอิงที่มีอิทธิพลรอบๆตัว เช่น บิดา มารดา ครู และการอบรมพื้นฐาน การเลี้ยงดู การศึกษา วัฒนธรรมใน
สังคม ยิง่ กว่านั้น Okhomina (2010) และ Jamal (2009) ได้ทาการศึกษาอิทธิพลของระดับการศึกษาต่อทัศนคติ
ของบุคคลที่ต้ งั ใจจะเป็ นผูป้ ระกอบการ พบว่าระดับการศึกษานั้นมีผลต่อความต้องการเป็ นผูป้ ระกอบการ การ
15

ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ในการศึกษาทัศนคติและการคาดการณ์พฤติกรรมนั้นมีผสู ้ นใจนาไปประยุกต์ใช้


และทาการศึกษาวิจยั ในหลายบริ บท ยกตัวอย่างเช่น Kortteisto et. al. (2010). ได้ศึกษาถึงความตั้งใจของผู ้
ให้บริ การทางการแพทย์ในการใช้คู่มือแนวทางการให้บริ การทางคลินิก Ariff, Bidin, Sharif and Ahmad (2010)
ซึ่งได้ศึกษาคาดการณ์ความตั้งใจของนักศึกษาชาวมาเลย์ที่ตอ้ งการเป็ นผูป้ ระกอบการ และ Vatjanapukka and
Warysak (2004) ได้ศึกษาความแตกต่างของทัศนคติของผูร้ ับบริ การทางการแพทย์ต่อข้อมูลด้านการแพทย์จาก
แหล่งต่างๆในประเทศออสเตรเลีย การศึกษาเหล่านี้ลว้ นชี้ให้เห็นว่า กรอบแนวคิดตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน
นั้น มีความน่าเชื่อถือและสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้ในบริ บทที่ตอ้ งการศึกษาต่างๆกัน

กรอบแนวคิดและสมมุติฐานของการวิจัย

จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้น สรุ ปได้วา่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการเป็ นผูป้ ระกอบการ (attitudes


toward entrepreneurship) รวมทั้งบรรทัดฐานของสังคมหรื ออิทธิพลของคนรอบตัวต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการ
(subjective norms) และการรับรู ้หรื อความเชื่อว่าตนสามารถเป็ นผูป้ ระกอบการได้น้ นั (perceived behavioural
control) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจหรื อเจตนาในการเป็ นผูป้ ระกอบการ (intention to be an
entrepreneur) ยิง่ กว่านั้นข้อมูลพื้นฐานของบุคคลและของธุรกิจฯยังมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (causal
effect) ต่อเจตนาหรื อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ (intention to be an entrepreneur) ผ่านตัวแปรทางด้าน
ทัศนคติต่อพฤติกรรมในการเป็ นผูป้ ระกอบการ (attitudes toward entrepreneurship) และการรับรู ้ความสามารถ
ในการควบคุมพฤติกรรม (perceived behavioural control) หรื ออีกนัยหนึ่ง ทัศนคติต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการใน
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการรับรู ้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมนั้นเป็ นตัวแปรส่ งผ่าน
(mediator) ที่ส่งผลถึงความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของบุคคล การวิจยั ครั้งนี้จะใช้กรอบแนวคิดดังกล่าว
ร่ วมกับการค้นพบของการศึกษาวิจยั อื่นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลกับความต้องการเป็ นผูป้ ระกอบการ และ
ทัศนคติต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการ สิ่ งเหล่านี้เป็ นสิ่ งที่อยูภ่ ายในจิตใจของบุคคลอันเป็ นผลสื บเนื่องมาจากการ
ได้รับประสบการณ์จึงทาให้บุคคลมีท่าทีต่อสิ่ งใดสิ่ งหนึ่งซึ่งอาจเป็ นไปในทางบวกหรื อลบก็ได้ จากการทบทวน
วรรณกรรมยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลพื้นฐานในระดับบุคคล เช่น ระดับการศึกษา เพศ อายุ ประสบการณ์ในอดีต
รวมทั้งสิ่ งแวดล้อมของการทางาน การดาเนินชีวิต และข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจยังมีผลต่อทัศนคติของบุคคลต่อ
ความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการด้วย กรอบแนวคิด (รู ปที่ 3) และสมมุติฐานของการวิจยั จึงมีดงั ต่อไปนี้
16

รูปที่ 3 กรอบแนวคิดในการวิจยั
17

จากกรอบแนวคิดในการวิจยั ผูว้ ิจยั ได้กาหนดสมมุติฐานของโครงการวิจยั ไว้ 3 ข้อ คือ

1) ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความตั้งใจในการเป็ น


ผูป้ ระกอบการสูงกว่ากลุ่มนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
2) ทัศนคติของบุคคลต่อพฤติกรรมการเป็ นผูป้ ระกอบการ (attitudes toward entrepreneurship)
อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง (subjective norms) และความเชื่อว่าตนสามารถเป็ นผูป้ ระกอบการได้
(perceived behavioural control) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจในการเป็ น
ผูป้ ระกอบการ (intention to be an entrepreneur) ของบุคคลนั้น
3) อิทธิพลของคนรอบข้างหรื อกลุ่มอ้างอิง (subjective norm) มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ
ความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของนักศึกษา (intention to be an entrepreneur) โดยมี
ทัศนคติต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการ (attitudes toward entrepreneurship) เป็ นตัวแปรส่ งผ่าน
(mediator)
4) ตัวแบบจาลองที่พฒั นาขึ้นมามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

9. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

จากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนนอกเหนือจากกรอบแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned


Behaviour) ที่อยูใ่ นหัวข้อที่ 8 แล้วชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลพื้นฐานของบุคคล เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษาของบุคคล
ภูมิลาเนา ระดับรายได้และข้อมูลในบริ บทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผปู ้ ระกอบการนั้นอยู่ เช่น ขนาด
ของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ ระยะเวลาการก่อตั้ง จานวนพนักงาน รายได้ต่อปี มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะเป็ น
ผูป้ ระกอบการ (Intention to be an entrepreneur) ผ่านตัวแปรทางด้านทัศนคติของบุคคลและการรับรู ้
ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม นอกเหนือไปจากตัวแปรหลัก 3 ตัวของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่ได้
กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งได้แก่ ทัศนคติของบุคคลต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการ (attitudes toward entrepreneurship)
ซึ่งมีผลโดยตรงต่อเจตนาหรื อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ ส่ วนการคล้อยตามต่ออิทธิพลของคนรอบ
ข้างหรื อบรรทัดฐานของสังคม (subjective norms) และการรับรู ้วา่ ตนเองสามารถควบคุมให้พฤติกรรมนั้น
เป็ นไปตามที่ตอ้ งการได้หรื อไม่ (perceived behavioural control) ก็ส่งผลต่อความตั้งใจนั้นเช่นกัน
18

ผูว้ ิจยั ได้กาหนดแผนการดาเนินการวิจยั ไว้วา่ ในการดาเนินการวิจยั ขั้นต่อไปจะมีการทบทวนวรรณกรรม


เพิม่ เติม โดยเฉพาะวรรณกรรมการวิจยั ที่ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนในการศึกษาบริ บทของผูป้ ระกอบการใน
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ได้แบบการวิจยั (research design) และข้อค้นพบของการวิจยั ที่อาจนามา
เพิ่มเติมในโมเดลที่ใช้เป็ นกรอบการวิจยั อีกด้วย

10. เอกสารอ้างอิงของการวิจยั

ธนาคารกสิ กรไทย. 2552. สิ่ งพิมพ์ -สมุนไพร-รี ไซเคิลธุรกิจยังรุ่ ง...ปี วัวบ้ า. [Online]. Available :
http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=3603. Assessed: September 2010.
ไพฑูรย์ สิ นลารัตน์ และคณะ. 2550. สัตตศิลา: หลักเจ็ดประการสาหรั บการเปลี่ยนผ่ านการศึกษาเข้ าสู่ยคุ
เศรษฐกิจฐานความรู้ (พิมพ์ ครั้ งที่2). กรุ งเทพมหานคร. โครงการวิจยั บูรณาการ: การเปลี่ยนผ่าน
การศึกษาเข้าสู่ยคุ เศรษฐกิจฐานความรู ้. คณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Institute for Small and Medium Enterprises Development:
ISMED). 2008. นิยาม SMEs. [Online]. Available :
http://www.ismed.or.th/SME/src/bin/controller.php?
view=generalContents.GeneralContent&form=&rule=generalContents.FMGeneralContent.bctrl_Id=2
73. Accessed: September 2010.
อาคม เติมพิทยาไพสิ ฐ. 2551. The 10th National Economic and Social Development Plan and Creative
Economy. กรุ งเทพมหานคร. Presented at NECTEC Annual Conference & Exhibition 2008.
Ajzen, I., and Fishbein, M. 1980. Understanding Attitude and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs.
New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Ajzen, I. 1985. From intentions to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckmann (Eds.),
Action control: From cognition to behavior. Berlin, Heidelber, New York: Springer-Verlag
Ajzen, I., and Madden, T. J. 1986. Prediction of goal-directed behavior: Attitudes, intentions, and perceived
behavioral control. Journal of Experimental Social Psychology. Vol. 22. pp. 453-474.
19

Ariff, H.M. A., Bidin, Z., Sharif, Z., and Ahmad, A. 2010. Predicting entrepreneurship intention among Malay
university accounting students in Malaysia. Unitar E-Journal. Vol.6. Issue 1.
Bolton W.K. and Thompson J.L.. 2000. Entrepreneurs: Talent, Temperament, Technique. Butterworth
Heinemann. Oxford.
Jamal, R. 2009. University Students Perceptions on Entrepreneurship: Commerce Students Attitudes at
Lincoln University. Journal of Accounting, Business & Management. Vol. 16. Issues 2. pp. 36-53.
Kassin, S., Fein, S. and Markus, H.R. 2010. Social Psychology: 8 editions. Wadsworth Publishing. Belmont.
CA.
Kortteisto, T., Kaila, M., Komulainen, J., Mantyranta, T., and Rissanen, P. 2010. Healthcare professionals’
intentions to use clinical guidelines: a survey using the theory of planned behaviour. Implementation
Science. 5(51).
Okhomina, D. 2010. Does level of education influence psychological traits? Evidence from used car
entrepreneurs. Journal of Management & Marketing Research. Vol. 3, pp. 1-14.
Thompson J.L., 1999. ‘The World of the Entrepreneur – A New Perspective’. Journal of Workplace Learning.
Vol. 11. No. 6. pp. 209-244.
Vatjanapukka, V.; Warysak, R. 2004, ‘Relationship between consumer knowledge, prescription drug
advertising exposure and attitudes towards direct-to-consumer prescription drug advertising’, Journal
of Medical Marketing, No.4, pp. 350-360.

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การศึกษาเรื่ อง ‚การศึกษาปั จจัยด้ านจิตวิทยาและภูมิหลังที่มีอิทธิ พลต่ อความตั้งใจในการเป็ น


ผู้ประกอบการของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และผู้ประกอบการไทยในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่ อม
(SMEs)‛ จะทาให้เกิดประโยชน์เชิงวิชาการและเกิดประโยชน์ในการนาไปใช้ที่เป็ นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรื อ
องค์กรที่รับผิดชอบในการส่ งเสริ มพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และยังเป็ นการช่วยส่ งเสริ มให้มีผปู ้ ระกอบการใน
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากความเข้าใจถึงผลกระทบของปัจจัยต่างๆต่อ
20

ความตั้งใจที่จะเป็ นผูป้ ระกอบการ จะช่วยให้ผทู ้ ี่รับผิดชอบในการส่ งเสริ มธุรกิจฯสามารถวางแผนการส่ งเสริ ม


ได้อย่างถูกต้องและมีทิศทาง อีกทั้งยังสามารถนาไปใช้ในการกาหนดกลยุทธ์ของหน่วยงานในการกาจัด
อุปสรรคที่ขดั ขวางการเป็ นผูป้ ระกอบการ และสามารถทราบถึงรวมทั้งสามารถตอบสนองความคาดหวังของ
ผูป้ ระกอบการในอนาคตได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ กล่าวโดยสรุ ป ประโยชน์เชิงวิชาการและเชิงการประยุกต์ใช้ผล
จากการวิจยั ที่คาดว่าจะได้รับมี ดังต่อไปนี้

11.1 ประโยชน์เชิงวิชาการ

11.1.1 เป็ นประโยชน์ต่ออาจารย์และนิสิตนักศึกษาในการเรี ยนรู ้สาขา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ และ


บริ หารธุรกิจ ซึ่งจะได้ขอ้ ค้นพบจากการวิจยั สามารถนาไปใช้เป็ นองค์ความรู ้ดา้ นการส่ งเสริ มธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs)

11.1.2 เป็ นประโยชน์ต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา โดยนักศึกษาจะได้ประโยชน์จากการทาวิจยั


ใหม่โดยใช้ผลจากงานวิจยั นี้เป็ นพื้นฐาน และขยายไปทาการศึกษาในพื้นที่อื่นๆให้เหมาะสมต่อบริ บทของแต่ละ
พื้นที่ หรื อ ค้นหาเจาะลึก เพิม่ ตัวแปรวิจยั ที่ใช้ในโมเดลของการศึกษาครั้งนี้

11.2 ประโยชน์เชิงปฎิบตั ิ

หน่วยงานที่รับผิดชอบหรื อมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการ


ส่ งเสริ มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนาผลการวิจยั ไปประยุกต์ใช้ได้ ดังต่อไปนี้

11.2.1. ใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาและเตรี ยมความพร้อมของผูป้ ระกอบการสาหรับธุรกิจขนาดกลาง


และขนาดย่อม (SMEs) ในบริ บทของประเทศไทยต่อไป

11.2.2 ใช้ในการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรให้มีความเป็ นผูป้ ระกอบการ โดยใช้ปัจจัยทางด้าน


จิตวิทยาที่คน้ พบจากการวิจยั
21

12. แผนการถ่ายทอดผลการวิจยั สู่กลุ่มเป้ าหมายเมื่อสิ้ นสุ ดการวิจยั

เมื่อสิ้ นสุ ดการวิจยั แล้ว ผูว้ ิจยั จะจัดทารายงานผลการวิจยั เพื่อเผยแพร่ ผลงาน โดยสาเนาเหล่านี้จะถูกจัดส่ งให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่ งเสริ มและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยงานที่สนใจอื่นๆ สมาคมการค้า ชุมชนของผูป้ ระกอบการ กลุ่มนักศึกษาที่
ต้องการเป็ นผูป้ ระกอบการ และจะจัดทาบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารทางวิชาการที่ได้
มาตรฐานสากล ส่ วนแผนงานถ่ายทอดผลการวิจยั เพือ่ นาไปใช้ประโยชน์น้ นั ผูว้ ิจยั จะวางแผนการนาเสนอ
ผลการวิจยั ในการประชุมนาเสนอผลงานวิจยั แห่งชาติของสานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (NRCT
Research EXPO) และจัดให้มีการประชุมเพื่อเผยแพร่ ผลงานให้แก่ นิสิต นักศึกษา ผูป้ ระกอบการและบุคคล
ทัว่ ไปที่สนใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ เมื่อมีการจัดประชุมเพื่อเผยแพร่ ผลงานวิจยั และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
แล้ว ข้อมูลที่ได้รับกลับจะถูกนาไปใช้ในการปรับปรุ งข้อเสนอแนะในการทาการวิจยั เพื่อที่จะเป็ นประโยชน์
สาหรับนักวิจยั อื่นในอนาคต

13. วิธีการดาเนินการวิจยั และสถานที่ทาการเก็บข้อมูล

การวิจยั เรื่ อง การศึกษาปัจจัยด้านจิตวิทยาและภูมิหลังที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็ น


ผูป้ ระกอบการของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และผูป้ ระกอบการไทยในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) เป็ นการศึกษาในลักษณะที่เป็ นเหตุเป็ นผลกัน (causal research) และเป็ นการวิจยั เชิงปริ มาณ
(quantitative research)

ข้ อมูลและแหล่ งข้ อมูล

แหล่งข้อมูลที่จะถูกใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้สามารถจาแนกได้ตามประเภทของข้อมูล ออกเป็ น 2
ประเภทคือ

1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

การศึกษานี้จะใช้วิธีการสารวจโดยการออกแบบสอบถาม (questionnaire) ซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการวิจยั จะ


แบ่งออกตามประเภทของตัวแปรเป็ น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
22

1.1 ตัวแปรตาม คือ ความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ (intention to be an entrepreneur) ของบุคคล


หมายถึง เจตนาที่จะปฏิบตั ิพฤติกรรมนั้น หรื อ ความประสงค์ หรื อ การมุ่งเป้ าที่จะปฏิบตั ิพฤติกรรมหนึ่ง
พฤติกรรมใดและพร้อมที่จะกระทา ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวในการศึกษานี้คือการเป็ นผูป้ ระกอบการ โดยความ
ตั้งใจดังกล่าวจะถูกวัดจากข้อคาถามที่สอบถามถึงความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของบุคคล

1.2 ตัวแปรเชิงสาเหตุ ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 2 กลุ่ม คือ


1.2.1 กลุ่มปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่
1.2.1.1 ทัศนคติต่อพฤติกรรม (attitude towards behaviour) ซึ่งหมายถึง ผลผสมผสานระหว่าง
ความนึกคิด ความเชื่อ ความคิดเห็น ความรู ้ และความรู ้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่ งหนึ่งสิ่ งใด คนใดคนหนึ่ง
สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรื อ พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง ในการประเมินค่าทัศนคติอาจเป็ นไป
ในทางยอมรับหรื อปฎิเสธก็ได้ ความเชื่อและการรับรู ้เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทาให้บุคคลกระทาหรื อไม่กระทา
พฤติกรรมนั้น โดยทัศนคติเกี่ยวกับการเป็ นผูป้ ระกอบการจะถูกวัดจากข้อคาถามที่เกี่ยวกับความเชื่อในการเป็ น
ผูป้ ระกอบการและผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับความเชื่อนั้น
1.2.1.2 การคล้อยตามคนรอบข้างที่มีอิทธิพลหรื อกลุ่มอ้างอิง (subjective norms) หมายถึง การ
รับรู ้ของบุคคลว่าบุคคลหรื อกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดรอบๆข้างนั้น คิดว่าพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง
ควรที่จะกระทาหรื อไม่ ถ้าสังคมรอบข้างคิดว่าไม่ควรที่จะกระทาพฤติกรรมนั้น บุคคลผูน้ ้ นั ก็จะหลีกเลี่ยงที่จะ
แสดงออกในพฤติกรรมดังกล่าว โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงจะถูกวัดด้วยข้อคาถาม ที่ถามถึงความคิดเห็นต่อ
คนที่มีความสาคัญต่อตัวผูต้ อบแบบสอบถาม
1.2.1.3 การรับรู ้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (perceived behavioural control)
หมายถึง การรับรู ้หรื อความเชื่อของบุคคลว่าตนเองมีความสามารถที่จะแสดงออกและควบคุมพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่งได้อย่างเหมาะสมตามที่ตอ้ งการหรื อไม่ ซึ่งความเชื่อดังกล่าว อาจจะเกิดจากปัจจัยภายในที่
เกี่ยวกับความเชื่อมัน่ ในความสามารถของตนเอง หรื อเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ได้รับการสนับสนุนจากผูอ้ ื่นก็
ตาม โดยการรับรู ้ถึงความสามารถในการเป็ นผูป้ ระกอบการจะสะท้อนในข้อคาถามที่สอบถามถึงความเชื่อมัน่
ของผูต้ อบแบบสอบถาม ว่าจะสามารถปฏิบตั ิพฤติกรรมนั้นได้หรื อไม่
1.2.2 กลุ่มข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของนักศึกษาผูต้ อบแบบสอบถาม จะถูกวัดโดยคาถามที่
เกี่ยวกับ อายุ เพศ สถานภาพของผูต้ อบแบบสอบถาม ระดับรายได้และภูมิลาเนา
23

1.2.3 กลุ่มข้อมูลเกี่ยวกับภูมิหลังของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะถูกวัดโดย


คาถามที่เกี่ยวกับ ประเภทนิติบุคคล ขนาดทุนของธุรกิจ อายุของกิจการ จานวนพนักงาน และปริ มาณยอดขายต่อ
ปี
2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)

ผูว้ ิจยั จะทาการสื บค้นเอกสารทางวิชาการที่เป็ นบทความในวารสารวิชาการต่างๆ วิทยานิพนธ์ และข้อมูล


การศึกษาวิจยั ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับผูป้ ระกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจหรื อเจตนาในการกระทาพฤติกรรม รวมทั้งงานวิจยั ที่เกี่ยวกับการ
คาดการณ์พฤติกรรมของบุคลที่ตอ้ งการเป็ นผูป้ ระกอบการโดยเฉพาะในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
และผลของปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจหรื อเจตนาที่จะปฏิบตั ิพฤติกรรมนั้น รวมทั้งปัจจัยใหม่อื่นๆที่มี
ความเป็ นไปได้ที่จะมีผลกระทบถึงเจตนาดังกล่าวด้วย เพื่อที่จะใช้เป็ นข้อมูลในการสร้างและจัดทา
แบบสอบถามที่สามารถใช้เป็ นเครื่ องชี้วดั ตัวแปรต่างๆที่กาลังศึกษาอยู่

ประชากรและกลุ่มตัวอย่ าง

ประชากรในการวิจยั ครั้งนี้มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ นักศึกษาระดับปริ ญญาตรี ปริ ญญาโทและนักศึกษา


อาชีวะในเขตกรุ งเทพมหานคร กลุ่มที่สองคือกลุ่มของผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มี
ยอดขายไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อปี และมีจานวนพนักงานไม่เกินกว่า 200 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างมีการ
ดาเนินการดังนี้

กลุ่มนิสิตนักศึกษา ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) โดยระดับการศึกษา


คือระดับอาชีวศึกษา ระดับปริ ญญาตรี และระดับปริ ญญาโท โดยสุ่ มเลือกสถาบันการศึกษาเอกชนมา 3-5 แห่ง
แต่ละแห่งสุ่ มเลือกนักศึกษา 2 ปี สุ ดท้ายของหลักสูตรมาแห่งละ 50 คนให้ได้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มๆละ 150 คน
รวมจานวนทั้งสิ้ น 450 คน

กลุ่มผูป้ ระกอบการ ผูว้ ิจยั ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster sampling) โดยสุ่ มเลือกเขต


ที่ผปู ้ ระกอบการนั้นมีธุรกิจอยู่ 3 เขตในกรุ งเทพมหานคร โดยกระจายเป็ นเขตรอบๆกรุ งเทพฯและเขตกรุ งเทพฯ
ชั้นใน จากนั้นผูว้ ิจยั จะเลือกธุรกิจจากแต่ละเขตให้ได้ 150 แห่ง รวมจานวนผูป้ ระกอบการทั้งหมดอย่างน้อย 450
คน ซึ่งการกาหนดขนาดตัวอย่างนั้นถูกกาหนดโดยใช้โปรแกรมทางสถิติในการประเมินขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
24

ซึ่งได้แก่ โปรแกรม G* power 3 ที่ระดับอัลฟ่ า 0.05 และระดับพาวเวอร์เท่ากับ 0.8 วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ


นี้จะสามารถเพิม่ ประสิ ทธิผลในการเลือกกลุ่มตัวอย่างพร้อมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลลงได้

สาหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็ นเอกสารสาหรับการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ผูว้ ิจยั กาหนดรายการเอกสารที่จะ


ศึกษาค้นคว้าได้แก่ เอกสารทางวิชาการ วารสารทางวิชาการ ข้อมูลสถิติจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เชื่อถือได้
จานวนอย่างน้อย 20 รายการ

นิยามศัพท์ เฉพาะในการวิจัย

ผูป้ ระกอบการ (entrepreneur) หมายถึง ผูท้ ี่ประกอบธุรกิจของตนเอง มีการวางแผนการดาเนินงานและ


ดาเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้วยตนเอง โดยยอมรับความเสี่ ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดาเนินธุรกิจนั้น
โดยมุ่งหวังผลตอบแทนที่จะเกิดจากการดาเนินงานของธุรกิจตนเอง

นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง ผูท้ ี่กาลังศึกษาต่อหลังจากจบมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็ น 3 กลุ่ม


คือ 1) กลุ่มอาชีวศึกษา ได้แก่ หลักสูตรอนุปริ ญญา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2) กลุ่ม
นักศึกษาระดับปริ ญญาตรี และ 3) กลุ่มนักศึกษาระดับปริ ญญาโทที่เรี ยนอยูใ่ นสถานศึกษาเอกชนในเขต
กรุ งเทพมหานคร ซึ่งอาจจะมีภูมิลาเนาอยูใ่ นเขตกรุ งเทพมหานครหรื อไม่กไ็ ด้

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) หมายถึงธุรกิจที่มีการดาเนิน


กิจกรรมทางด้านการผลิต การจาหน่าย การค้าและการบริ การที่เป็ นอิสระ มีเอกชนเป็ นเจ้าของ ดาเนินการโดย
เจ้าของธุรกิจเอง มักเริ่ มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก มีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาทและมีพนักงานจานวนไม่เกิน
กว่า 200 คน

เครื่ องมือที่ใช้ ในการเก็บข้ อมูล

เครื่ องมือในการวิจยั ครั้งนี้ประกอบด้วย เครื่ องมือ 2 ชุดคือ 1) แบบสอบถาม (questionnaires) และ 2)


แบบบันทึกสาระจากการค้นข้อมูลทุติยภูมิ โดยแบบสอบถามจะประกอบด้วย 3 ส่ วนดังนี้

แบบสอบถามส่ วนที่ 1 เป็ นข้อคาถามสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่ วนบุคคลของผูต้ อบ


แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ปี ที่ศึกษาอยู่ รายได้ต่อเดือนและภูมิลาเนา
25

และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริ บทของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผปู ้ ระกอบการนั้นดาเนินการอยู่ ซึ่งจะ


ประกอบด้วยลักษณะของข้อคาถามที่เป็ นแบบเลือกตอบหลายตัวเลือก (multiple choices) ทั้งนี้แบบสอบถาม
ของนักศึกษาที่เกี่ยวกับบริ บทของธุรกิจฯจะให้นกั ศึกษาตอบคาถามตามความคาดหวังที่นกั ศึกษาคิดว่าธุรกิจฯ
ควรจะเป็ น

แบบสอบถามส่ วนที่ 2 เป็ นข้อคาถามสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติ (attitudes) ของผูต้ อบ


แบบสอบถามต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความเชื่อต่อบรรทัดฐานของสังคม
หรื อการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้าง (subjective norms) ต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการของผูต้ อบ
แบบสอบถาม และการรับรู ้หรื อความเชื่อว่า ตนสามารถที่จะแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมหรื อความเชื่อว่าตน
สามารถเป็ นผูป้ ระกอบการที่ดีได้ (perceived behaviour control) ข้อคาถามเหล่านี้จะใช้มาตรวัดแบบมาตร
ประเมินค่า (rating scale) 5 ระดับ แบบ Likert’s scale ตั้งแต่ 1 = น้อยที่สุด จนถึง 5 = มากที่สุด

แบบสอบถามส่ วนที่ 3 เป็ นข้อคาถามสอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคที่ผตู ้ อบแบบสอบถามคิดว่าเป็ น


ข้อกีดขวางในการเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของตนเอง และความคาดหวังของผูต้ อบ
แบบสอบถามต่อการส่ งเสริ มและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความคาดหวังต่อการ
สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ ในส่ วนนี้คาถามจะเป็ นแบบปลายเปิ ดให้ผตู ้ อบ
แบบสอบถามสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่ องมือ

ผูว้ ิจยั จะสร้างมาตรวัดปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ ตามกรอบ


แนวคิดของการศึกษาครั้งนี้ โดยจากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจกระทาพฤติกรรมใด
พฤติกรรมหนึ่ง พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการนั้น ประกอบด้วย 3 ปัจจัยด้าน
จิตวิทยาและ 2 ปัจจัยด้านภูมิหลังของผูป้ ระกอบการและของธุรกิจฯ

จากองค์ประกอบของทั้ง 5 ปัจจัยนั้นจะนาไปสู่การสร้างชุดคาถาม โดยผูว้ จิ ยั จะพยายามสร้างข้อคาถาม


ให้เท่าๆกันในแต่ละปัจจัย รวมถึงจะพยายามสร้างข้อคาถามทั้งทางบวกและทางลบให้เท่าๆกันในแต่ละ
องค์ประกอบ จากนั้นแบบสอบถามที่พฒั นาแล้วจะถูกส่งให้ผทู ้ รงคุณวุฒิ 3 ท่านช่วยพิจารณาตรวจสอบความ
เที่ยงตรงของเนื้อหา โครงสร้างของแบบสอบถาม และความเหมาะสมของคาถาม แบบสอบถามที่ได้ปรับปรุ ง
26

แก้ไขแล้วจะถูกนาไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งในขั้นการวิเคราะห์ขอ้ คาถาม (item analysis) กลุ่มตัวอย่างจะ


เป็ นกลุ่มตัวอย่างที่ทราบลักษณะอยูแ่ ล้ว ได้แก่ ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
หลังจากนั้นผูว้ ิจยั จะนาคะแนนของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ขอ้ คาถาม โดยวิธีทาง
สถิติในการคานวณหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อคาถามแต่ละข้อ กับคะแนนรวมจากข้ออื่นๆทั้งหมดในมาตร
(Corrected Item-Total Correlation: CITC) โดยกาหนดระดับนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 ข้อคาถามที่ไม่ผา่ นการ
ทดสอบจะถูกตัดออก

หลังจากนั้นแบบสอบถามจะถูกทาการทดสอบหาความตรง (validity) ของมาตรวัดปัจจัยด้านจิตวิทยาที่


มีผลต่อความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการ โดยจะนาข้อคาถามทั้งหมดที่ผา่ นการทดสอบในขั้นการวิเคราะห์
ข้อคาถาม (item analysis) ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างในขั้นหาความตรง ซึ่งเป็ นกลุ่มตัวอย่างที่รู้ลกั ษณะอยูแ่ ล้ว
และไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเดียวกับที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ คาถาม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและกลุ่ม
ผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มละ 30 คน โดยวิธีนาค่าเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มมา
ทดสอบหาความแตกต่างกัน เนื่องจากแนวโน้มความตั้งใจในการเป็ นผูป้ ระกอบการของกลุ่มนักศึกษาน่าจะน้อย
กว่ากลุ่มผูป้ ระกอบการที่ได้เลือกเส้นทางการทางานแล้ว ส่ วนความน่าเชื่อถือ (reliability) ของแบบสอบถามนั้น
จะถูกทดสอบโดยนาไปทดลองใช้กบั กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 30 ตัวอย่างและผลที่ได้จะถูกนามาวิเคราะห์หาค่า
ความเชื่อมัน่ ของข้อคาถามในแต่ละส่ วนของแบบสอบถาม ด้วยสัมประสิ ทธิ์อลั ฟ่ าของครอนบราค (Cronbach’s
Alfa Coefficient) แบบสอบถามที่นามาทดสอบจะถูกแก้ไขจนกว่าผลการวิเคราะห์จะมีค่าสัมประสิ ทธิ์อลั ฟ่ าของ
ครอนบราคมากกว่า 0.7 ซึ่งแสดงว่าแบบสอบถามนั้นมีความน่าเชื่อถือในการทดสอบ

การวิเคราะห์ ข้อมูล

เมื่อแบบสอบถามถูกเก็บรวบรวมกลับมาแล้ว จะถูกนามาตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของ
ข้อมูล หลังจากนั้นจะถูกนามาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสาเร็ จรู ปทางสถิติ โดยแบ่งการวิเคราะห์ขอ้ มูลเป็ น
ส่ วนๆดังนี้

1) การวิเคราะห์ขอ้ มูลเบื้องต้นของผูต้ อบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้


ต่อเดือนและภูมิลาเนา ด้วยค่าสถิติพ้นื ฐาน เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต และส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
27

2) การวิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจหรื อเจตนา (intention) ของ


นักศึกษาต่อการเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และทดสอบสมมติฐานโดยการ
ใช้โปรแกรมการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling program: LISREL)
3) การวิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรคที่ผตู ้ อบแบบสอบถามคิดว่าเป็ นข้อกีดขวางในการเป็ นผูป้ ระกอบการ
ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของตนเอง และความคาดหวังของผูต้ อบแบบสอบถามต่อการส่ งเสริ มและ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความคาดหวังต่อการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมของภาครัฐ จะใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เพื่อศึกษาถึงความเชื่อและการรับรู ้ถึง
อุปสรรคในการเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนักศึกษาที่กาลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน

14. ระยะเวลาการทาการวิจยั และแผนการดาเนินงาน

โครงการวิจยั นี้เป็ นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารอ้างอิง เอกสารทางวิชาการ สถิติต่างๆที่เกี่ยวข้องและ


ข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้จากแบบสอบถามที่สมั ภาษณ์นกั ศึกษาระดับอุดมศึกษาและผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาด
กลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตจังหวัดกรุ งเทพมหานคร ใช้ระยะเวลาการศึกษาทั้งสิ้ นประมาณ 12 เดือน
นับตั้งแต่วนั ที่โครงการวิจยั ได้รับการอนุมตั ิ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
28

ตารางที่ 1 แผนการดาเนินการวิจยั

เดือน
กิจกรรม
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

จัดทาโครงการวิจยั

ทบทวนวรรณกรรม

สร้างและพัฒนาแบบสอบถาม

ส่ งแบบสอบถามให้ผทู ้ รงคุณวุฒิตรวจ

ทดลองใช้แบบสอบถาม

เก็บข้อมูล

วิเคราะห์ผลการวิจยั

เขียนรายงานและจัดทาต้นฉบับงานวิจยั

แก้ไขและปรับปรุ ง

จัดทารายงานฉบับสมบูรณ์
29

15. เป้ าหมายของผลผลิต (Output) และตัวชี้วดั

ตารางที่ 2 ผลผลิตและตัวชี้วดั ของแผนงานวิจยั

ตัวชี้วดั
ผลผลิต
เชิงปริ มาณ เชิงคุณภาพ เวลา ต้นทุน
เครื่ องมือการวัดตัวแปรที่มี - ต้นทุนในการ
เมื่อเสร็ จ
เครื่ องชี้วดั ตัวแปร 6 ฉบับ คุณภาพและมีมาตรฐานที่ได้ ออกแบบ
งานวิจยั
ตรวจสอบความเที่ยง เครื่ องมือวิจยั
- ต้นทุนในการ
พัฒนาโมเดล
- ต้นทุนในการ
โมเดลการศึกษา 2 เดิอน
โมเดลแสดงคุณภาพที่ผา่ นการ รวบรวม
ความตั้งใจในการ 1 โมเดล สุ ดท้ายก่อน
ตรวจสอบโดยสถิติช้ นั สูง ข้อมูล
เป็ นผูป้ ระกอบการ เสร็ จงานวิจยั
- ต้นทุนในการ
วิเคราะห์
ข้อมูล
- ฉบับ
รายงานวิจยั ทั้งใน สมบูรณ์
รายงานฉบับ 5 เล่ม หลังเสร็ จสิ้ น
ผลงานวิจยั ที่มีคุณภาพและ
สมบูรณ์และ - ฉบับ การวิจยั โดย ต้นทุนการวิจยั ทั้งหมด
มาตรฐาน
รายงานสรุ ป ผูบ้ ริ หาร ทันที
สาหรับผูบ้ ริ หาร 500 ชุด

บทความวิจยั จาก บทความวิจยั ที่มีคุณภาพเผยแพร่ 1 ปี หลังจาก


2 บทความ ต้นทุนการวิจยั ทั้งหมด
งานวิจยั ได้ในระดับสากล เสร็ จงานวิจยั
30

พัฒนานักวิจยั รุ่ นใหม่ให้มี


1 ปี หลังจาก
นักวิจยั รุ่ นใหม่ 2 คน ความสามารถในการทาวิจยั โดย ต้นทุนการวิจยั ทั้งหมด
เสร็ จงานวิจยั
อิสระได้

16. เป้ าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วดั

ตารางที่ 3 แสดงผลลัพธ์และตัวชี้วดั ของแผนงานวิจยั

ตัวชี้วดั
ผลลัพธ์
เชิงปริ มาณ เชิงคุณภาพ เวลา ต้นทุน
วารสารทางวิชาการที่มี
บทความวิจยั ที่ตีพิมพ์
2 บทความ คุณภาพที่อยูใ่ นฐานข้อมูลของ 1 ปี ต้นทุนการวิจยั ทั้งหมด
เผยแพร่
TCI ยอมรับให้เผยแพร่
วิทยานิพนธ์หรื อ นักศึกษา/ผูท้ ี่สนใจที่จะนา
2 เรื่ อง 1 ปี ต้นทุนการวิจยั ทั้งหมด
งานวิจยั ผลการวิจยั ไปศึกษาต่อ

17. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจยั ที่มีอยู่

หน่วยงานหลักต้นสังกัดของผูว้ ิจยั มีความพร้อมและสนับสนุนให้ผวู ้ ิจยั มีผลงานการวิจยั โดยเฉพาะอย่างยิง่


งานวิจยั ที่ได้รับการอุดหนุนทุนการวิจยั จากหน่วยงานภายนอก ยิง่ กว่านั้นนโยบายของประเทศไทยยังมีความ
ชัดเจนในการสนับสนุนให้เกิดผูป้ ระกอบการใหม่ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทาให้หน่วยงาน
ต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการส่ งเสริ มธุรกิจมีความตื่นตัวและมี
ความสนใจพร้อมที่จะสนับสนุนงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องและได้ประโยชน์
31

18. งบประมาณของโครงการวิจยั

ตารางที่ 4 รายละเอียดงบประมาณของโครงการวิจยั

รายการ จานวนเงิน

1.งบบุคคลากร
1.1 ค่าจ้างชัว่ คราว สาหรับนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยๆละ 3 แห่งๆละ 2 คน รวม 6 คนโดยให้ทา 90,000
หน้าที่เป็ นผูช้ ่วยเก็บแบบประเมิน และประสานงานโครงการ โดยจ่ายค่าจ้างเป็ นรายวัน วันละ
250 บาท จานวน 60 วัน (6*250*60)
1.2 ค่าจ้างชัว่ คราวสาหรับ ผูช้ ่วยเก็บแบบประเมิน และประสานงานโครงการกับผูป้ ระกอบการใน 3 60,000
เขตๆละ 2 คนรวม 6 คน โดยจ่ายค่าจ้างเหมารายเดือนๆละ 5,000 บาท จานวน 2 เดือน
(6*5,000*2)
2.งบดาเนินงาน
2.1 ค่ าตอบแทน
2.1.1 ค่าตอบแทนหัวหน้านักวิจยั (เหมาจ่ายเดือนละ 7,000 บาท) (7,000*12) 84,000
2.1.2 ค่าตอบแทนนักวิจยั 2 คน (เหมาจ่ายเดือนละ 5,000 บาท/คน) (5,000*2*12) 120,000
2.1.3 ค่าตอบแทนผูเ้ ชี่ยวชาญตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม 3 ท่าน คนละ 5,000 บาท/ 30,000
ครั้ง 2 ครั้ง) (3*5,000*2)
2.2.ค่ าใช้ สอย
2.2.1 ค่าน้ ามัน ค่าพาหนะ กรุ งเทพ-ปริ มณฑล (เฉลี่ยทั้งโครงการ) วันละ 1,000 บาท 60 วัน 60,000

2.2.2 ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึ กอบรม (เหมาจ่าย 3 ครั้ง*15,000) 45,000


2.2.3 ค่าจัดประชุมนักวิจยั ในโครงการและผูเ้ ก็บข้อมูล ( เหมาจ่าย 6 ครั้ง*10,000) 60,000

2.2.4 ค่าประชุมกลุ่มย่อยกับผูท้ รงคุณวุฒิและผูท้ ี่เกี่ยวข้อง ( 3 ครั้ง*15,000) 45,000


2.2.5 ค่าตอบแทนผูต้ อบแบบสารวจ (900 ชุดๆละ 50บาท) 45,000
2.2.6 ค่าตรวจสอบความสมบูรณ์และบันทึกข้อมูล (Coding) 900 ชุดๆละ 12 บาท 10,800
2.2.7 ค่าวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริ มาณในการทาวิจยั 45,000
32

2.2.8 ค่าสังเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพในการทาวิจยั 45,000


2.2.9 ค่าวิเคราะห์สังเคราะห์ขอ้ มูลในการทาวิจยั 40,000
2.2.8 ค่าจัดทารายงานการวิจยั (5 เล่ม เฉลี่ยเล่มละ 500 บาท) 2,500
2.2.9 ค่าจัดทารายงานการวิจยั สาหรับผูบ้ ริ หาร (200 เล่ม) เฉลี่ยเล่มละ 200 บาท 40,000

2.2.10 ค่าสาเนาเอกสารและค่าใช้จ่ายด้านเอกสารตลอดโครงการ 10,000


2.2.11 ค่าแปลเอกสาร เป็ นภาษาอังกฤษ (รายงานวิจยั 2 เรื่ อง 30 หน้า และบทความวิชาการ อย่าง 50,000
น้อย 2 เรื่ อง 20 หน้า) (เฉลี่ยหน้าละ 1,000 บาท รวม 50 หน้า)

2.2.12 ค่าประสานงานตลอดโครงการ 10,000


2.2.13 ค่าใช้สอยอื่นๆ 10,000
2.3.ค่ าวัสดุ
2.3.1 วัสดุสานักงาน (เหมาจ่าย) กระดาษ ปากกา ดินสอ ที่อดั เทป กล่องเก็บเอกสาร กล่องเก็บแบบ 30,000
สารวจ เชือก แม็ก ไส้แม็ก ซองเอกสาร ผงหมึกPrinter CD DVD บันทึกข้อมูล เป็ นต้น

2.3.2 วัสดุโฆษณาและเผยแพร่ (3 มหาวิทยาลัย แห่งละ 2,000 บาท) 6,000


2.3.3 วัสดุหนังสื อ วารสารและตารา 10,000
2.3.4 วัสดุอื่นๆ ฯลฯ
2.4.ค่ าธรรมเนียมการอุดหนุนสถาบัน (ค่าสาธารณูปโภค ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบวิจยั ไม่ รวม 100,000
ค่าตอบแทนนักวิจยั และค่าตอบแทนที่ปรึ กษา
3.งบลงทุน
- ครุ ภณั ฑ์(ต้องชี้แจงเหตุผลความจาเป็ นพร้อมใบเสนอราคา)
- ฯลฯ
รวมงบประมาณ 1,048,300

19. ผลสาเร็ จและความคุม้ ค่าของการวิจยั ตามแผนการบริ หารงานและแผนการดาเนินงานตลอดแผน


งานวิจยั
33

ผลสาเร็ จของงานวิจยั จะอยูภ่ ายใต้การควบคุมดูแลและตรวจสอบของผูอ้ านวยการแผนงานวิจยั ซึ่งจะจัดให้


มีการรายงานความคืบหน้าของโครงการวิจยั ทุกๆ 3 เดือนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทาวิจยั และข้อมูล
ต่างๆ ระหว่างผูว้ ิจยั ส่ วนความคุม้ ค่าของโครงการวิจยั นั้นจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้ผลการวิจยั เนื่องจากงานวิจยั ใน
ลักษณะนี้ยงั ไม่มีผใู ้ ดทามาก่อนในประเทศไทย ส่ วนผลสาเร็ จของงานวิจยั จะอยูใ่ นประเภท ผลสาเร็ จตาม
เป้ าประสงค์ (goal results: G) เนื่องจากงานวิจยั นี้เป็ นงานวิจยั เชิงประยุกต์ (applied research) ที่ได้นาผลสาเร็ จ
เบื้องต้นและกึ่งกลางมาต่อยอด พร้อมกับเชื่อมโยงทฤษฎีสู่ภาคปฏิบตั ิ ทาให้ผลงานวิจยั ที่ออกมามีศกั ยภาพที่จะ
ก่อให้เกิดผลกระทบ (impact) ต่อนโยบายและกระบวนการส่ งเสริ มผูป้ ระกอบการในธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อม (SMEs) ของประเทศไทย ซึ่งจะทาให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และทาให้เกิดการเพิ่มมูลค่าการค้าการ
ส่ งออกของสิ นค้าพื้นบ้านของไทย ได้อย่างที่ตอ้ งการ

20. ข้อเสนอการวิจยั หรื อส่ วนหนึ่งของข้อเสนอการวิจยั นี้

โครงการวิจยั นี้ไม่ได้เสนอต่อแหล่งทุนอื่น

21. คาชี้แจงอื่นๆ

ไม่มี
zz.u$td oilr: or nr: r{J
ufiil€nurI or I n: r nr: i,t'rr

9tluton6Yl:tluu

z:. arufiofiorirnrfiIn:.rnr:rrasfnio-uirruIn:rnr:rfio1#rirfu:o.rlunr:,fi'qdrrlorauonr:io-
sirrfiunr:?o-oflruil:vnrgdrfnrrunuvnn:unr:io-urrilsryrer'(rr.)
rlo.r nr:fil.florcuonr:i'fi'u
i-
tvt'o rJ: yifril { uil : yurruzss+
t ofr nr : ariu ar1u quqorur1u nr: ?,0"'u

o
\' Vt""^te.
-n
I
(niry0).....................Y_....

(r,liusr3
or:.i:v'1on^
r-our4nnu
)
rirrfirln:rnr:
tuiczt ror^ouri'uuruu
1n.fl.2553

(aqdo)tUu{ {rSr
(ur.rdr?
:ufi ti o'.ru.r) (u1.:d]?CIXrYl
:nU{ft)
J

t)r ad 9r au
ll:?u?ou
vs
r.t:?tJ?ou

-i q
a
yr.fl.2553
riufrzt rfiouri'uoruu yt.fl.2553
iufizt rfiouniuurou
zl. riror1ffiros{'risfi'urYqvr:v6'uoGu6 g?offiiliuuoudruto1nio
m?orfisurvirro.rnrnYg
n::runr:{6'ornr:'lnd
niorfisurdrludauqro.rn'rnronuu
1nieffi&iuuoudtutqlunr:Euuorl/oUqrel
hi'sirrfiunr:iffu:arufr'.r'l#l#sorufi
qrJn:ai
uavfl'rfi'r:turllnn'lunr:sirrfiunr:io'u

-4.
(a{5o)
(n:.rimur
arusr'5n:)
OIAdA
9r'r[[1.t
u { 0t n]: u9ttJ141?ytutn unE{ryt?{
-i
?uYt28 nuuluu 1\.f,.2553
v a v dt j av
|<
fi uiltro:u :o{ nt:tlj uYtlJ:RUItruu{tu?o u

- a v J / 4 d u I y z) tngv dr j o- A
tt t, r<
11?\tn'l:fL 9r:. vrl\:gru?{ut0:€ul0uuuu?'r 1'lv'rr0'l
t9t:utljuytlJ:nu1[[r.tu.l'lu']0utto.1
I A A | | av t a a /S S,
nltd'ltd:ilq:nnlJulnna'l{rlaslu'l9ru0rJp.t1u111{n:yu?un1:?0u9t1u09t1ytulttnstfl:uqflld9t:
tqu t5

Irurnnarunr:ln:.ra#rr q:.i:v'tfr iouvunnvd'.rri'sr


d.:fiu.sr. aarriua.rra?runr:Td'urrnvd'oruruifln::il
a u dt 9o ae
tJfi1?mulnunq{rYtl\
tilury01u?un]:rrr'ru.t1u
nn0q:uuvr?n1n1:9t'tluunl:?0u

n{uo.

(:s.er:.frnfsrrf
r.:riroiry)
-i
1Uy12l flUUlUUV't.fl.
2553

You might also like